แมงลัก นิยมนำมาบริโภคใบและเมล็ด ต้นแมงลักเป็นอย่างไร สรรพคุณของแมงลัก เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ คุณค่าทางโภชนาการและโทษของแมงลักมีอะไรบ้างแมงลัก เมล็ดแมงลัก ใบแมงลัก สมุนไพร

ต้นแมงลัก ( Hairy Basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมงลัก คือ Ocinum canum . Sim. ชื่อเรียกอื่นๆของแมงลัก เช่น มังลัก ขาวมังลัก ผักอี่ตู่ กอมก้อขาว เป็นต้น ใบแมงลัก มีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว และ เพิ่มความหอมของอาหารได้ดี เมนูอาหาร ที่นำใบแมงลักมาทำอาหาร เช่น แกงเลียง แกงหน่อไม้ เป็นต้น

แมงลักในประเทศไทย

สำหรับแมงลักในประเทศไทย จัดว่าเป็นพืชเศรษบกิจชนิดหนึ่ง มีการปลูกแมงลัก เพื่อผลิตใบสดและเมล็ดแมงลักในเชิงพาณิชย์ สามารถพบเห็นแมงลักได้ทั่วไปตามตลาด สายพันธุ์แมงลัก ที่นิยมปลูก คือ แมงลักสายพันธ์ศรแดง ที่มีลักษณะใบใหญ่ แหล่งปลูกต้นแมงลัก พบได้ทั่วไปทั่วประเทศ

ลักษณะของต้นแมงลัก

ต้นแมงลัก เป็นพืชล้มลุก  อายุสั้นไม่ถึง 1 ปี นิยมกินเป็นอาหาร ต้นแมงลัก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำและการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแมงลัก มีดังนี้

  • ลำต้นของแมงลัก เนื้อไม้ของต้นแมงลักอ่อน อวบน้ำ ความสูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างเป็นทรงเหลี่ยม เปลือกลำต้นสีเขียว มีระบบรากเป็นแก้วและรากฝอย รากของต้นแมงลักสามารถลึกได้ถึง 30 เซ็นติเมตร
  • ใบแมงลัก ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ออกตามกิ่งของต้นแมงลัก ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมน มีขนอ่อนปกคลุมทั่วใบ
  • ดอกแมงลัก ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ ดอกออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีเขียว
  • เมล็ดแมงลัก อยู่ภายในดอกแก่ของต้นแมงลัก เมล็ดแมงลักมีลักษณะรีแบน สีดำ สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก

ต้นแมงลัก นั้นนำมาใช้ประโยชน์บริโภคใบสดและเมล็ด โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเม็ดแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 420 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 54 กรัม โปรตีน 15 กรัม ไขมัน 16 กรัม กากใยอาหาร 54 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 32 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10,666 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.30 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 78 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 2.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม และ โปรตีน 2.9 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก

สำหรับน้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก มีมากในใบแมงลัก ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด มี 3 ชนิด ประกอบด้วย

  • น้ำมันหอมระเหยที่มี methyl cinnamate
  • น้ำมันหอมระเหยที่มี d-camphor
  • น้ำมันหอมระเหยที่มี polyuronide

สรรพคุณของแมงลัก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแมงลัก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นใช้ประโยชน์จาก ใบแมลงลัก และ เมล็ดแมงลัก โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของแมงลัก มีดังนี้

  •  เมล็ดแมงลัก สรรพคุณยาระบายอ่อนๆ ทำให้อุจจาระอ่อนตัว ลดอาการท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น เสริมการสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม ช่วยอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดน้ำหนัก
  • ใบแมงลัก สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ป้องกันโรคมะเร็ง แก้เจ็บคอ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาไข้หวัด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องผูก ป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษากลากน้ำนม

โทษของเม็ดแมงลัก

สำหรับการรับประทานแมงลัก ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานเม็ดแมงลักมากเกินไป อาจทำให้เกิดโทษได้ โดย ข้อควรระวังในการรับประทานแมงลัก มีรายละเอียด ดังนี้

  • หากรับประทานเมล็ดแมงลักมากเกินไป จะทำให้รู้สึกแน่นท้อง ไม่สบายตัว
  • เม็ดแมงลัก ที่ยังไม่พองตัวอย่างเต็มที่ หากรับประทานเข้าไป เมล็ดแมงลักอาจดูดน้ำจากกระเพาะอาหาร จนเกิดเป็นก้อนภายในกระเพาะอาหาร ทำให้อุดตันในลำไส้ ทำให้ท้องผูก
  • เม็ดแมงลัก ไม่ครวรับประทานพร้อมกับยาอื่น ๆ เพราะ เมล็ดแมงลักอาจดูดสรรพคุณของยา เหล่านั้นได้

แมงลัก คือ พืชสมุนไพร ตระกูลเดียวกับโหระพาและกระเพรา นิยมนำมาบริโภคใบและเมล็ด ลักษณะของต้นแมงลักเป็นอย่างไร สรรพคุณของแมงลัก เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ คุณค่าทางโภชนาการและโทษของแมงลัก มีอะไรบ้าง

ท้าวยายม่อม นิยมนำหัวของท้าวยายม่อมมาทำแป้ง เรียก แป้งท้าวยายม่อม ต้นท้าวยายม่อมเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงหัวใจ เจริญอาหาร ขับเสมหะ โทษของท้าวยายม่อมเป็นอย่างไรท้าวยายม่อม แป้งท้าวยายม่อม สมุนไพร สรรพคุณของท้าวยายม่อม

ต้นเท้ายายม่อม ( East Indian arrow root ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นท้าวยายม่อม คือ Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze[1] ชื่อเรียกอื่นๆของเท้ายายม่อม คือ บุกรอ สิงโตดำ นางนวล ไม้เท้าฤาษี ว่านพญาหอกหลอก เป็นต้น ท้าวยายม่อม จัดอยู่ในพืชตระกูลกลอย

เท้ายายม่อม เป็นพืชไม่มีลำต้น กลุ่มไม้ล้มลุก อายุยืนยาว มีหัวอยู่ใต้ดิน ถิ่นกำเนิดของท้าวยายม่อมมาจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา โอเชียเนีย และ ประเทศหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก หัวของท้าวยายม่อม ไม่สามารถนำมารับประทานผลแบบสดๆได้ หัวของท้าวยายม่อม เป็นส่วนที่นำมาทำ แป้งท้าวยายม่อม

ลักษณะของต้นเท้ายายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีร่มเงา ชอบดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทราย สามารถขยายพันธุ์ด้วย การเพาะด้วยเมล็ดพันธ์ และ การแยกหน่อ ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของท้าวยายม่อม ไม่มี โดยจะมีหัวอยู่ใต้ดิน หัวท้าวยายม่อมเป็นแหล่งสะสมอาหาร ลักษณะกลม แบนรี ผิวด้านนอกของหัวท้าวยายม่อมบาง มีสีน้ำตาล เนื้อในเป็นสีขาว
  • ใบท้าวยายม่อม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว เรียงสลับออกจากก้านใบ ใบมีขนาดใหญ่ ใบเว้าลึกคล้ายรูปฝ่ามือ ปลายใบเป็นแฉกๆ ก้านใบสูงประมาณ 1 เมตร
  • ดอกท้าวยายม่อม ลักษณะดอกออกเป็นช่อ โดยแทงช่อสูงออกมาจากหัวท้าวยายม่อม ก้านดอกมีสีม่วง กลีบดอกสีเขียวอมเหลือง ดอกท้าวในช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ของทุกปี
  • ผลท้าวยายม่อม ลักษณะกลมรี ปลายแหลม ผลสดมีสีเขียว ภาวในมีเมล็ดจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของท้าวยายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม นั้นนิยมใช้ประโยชน์นำหัวท้าวยายม่อม มาทำแป้ง และ นำมาทำอาหารต่างๆ นักโภชนาการได้ศึกษาหัวท้าวยายม่อม พบ่วา

คุณค่าทางโภชนาการหัวเท้ายายม่อมสด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 0.05 กรัม ไขมัน 0.02 กรัม คาร์โบไฮเดรต 99.32 กรัม กากใยอาหาร 0.52 กรัม

หัวของท้าวยายม่อม มีสารสำคัญที่ให้รสขม ประกอบด้วย

  • β – sitosterol
  • Cerylic alcohol
  • Taccalin
  • Alkaloids
  • Steroidal sapogenins
  • Sapogenins

สรรพคุณเท้ายายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ได้หลายส่วน ประกอบด้วย หัวท้าวยายม่อม รากท้าวยายม่อม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หัวท้าวยายม่อม สรรพคุณให้พลังงาน ช่วยบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย รักษาแผลฝี ช่วยห้ามเลือด แก้ผื่นคัน
  • รากท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยขับเสมหะ

โทษของท้าวยายม่อม

หัวท้าวยายม่อม สดมีรสขม ไม่สามารถนำมารับประทานแบบสดๆได้ ต้องนำมาล้าง ตากแห้ง เพื่อให้พิษของหัวออกก่อน นำมาใช้ประโยชน์

ท้าวยายม่อม คือ พืชท้องถิ่น นิยมนำหัวของท้าวยายม่อม มาทำแป้ง เรียก แป้งท้าวยายม่อม ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม เป็นอย่างไร สรรพคุณของท้าวยายม่อม เช่น บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ โทษของท้าวยายม่อม เป็นอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove