กระเทียม สมุนไพร นิยมทำเป็นเครื่องเทศ ใส่ในอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม เป็นอย่างไร สรรพคุณของกระเทียม คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม โทษของกระเทียม

กระเทียม สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม สมุนไพรไทย

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเทียม คือ  หอมเทียม (เหนือ) กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม) หอมขาว (อุดรธานี) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หัวเทียม (ใต้) ซึง ปักทาง เสิง ฮวงซาง (จีน) เป็นต้น

กระเทียม เป็นพืชล้ม มีหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ และ เพาะเมล็ดพันธ์  หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร กระเทียมมีกลิ่นฉุน ให้ความหอมในอาหาร และมีรสหวานหากนำมาต้ม การบริโภคกระเทียมก็เหมือนการกินยา

กระเทียมในประเทศไทย

หัวกระเทียม เป็นวัตถุดิบหลักในอาหารไทย กระเทียมจึงเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป ในประเทศไทยแหล่งปลูกประเทียม คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งกระเทียมคุณภาพดี กลิ่นฉุน คือ กระเทียมจากจังหวัดศรีสะเกษ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าหัวปกระเทียมขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน มากถึง 149 กิโลแคลอรี

โดย ในหัวกระเทียมขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม  ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม  วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม  ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม  ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม และ ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นกระเทียม 

ต้นกระเที่ยม เป็นพืชล้มลุก หัวของกระเทียมอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม มีดังนี้

  • รากและหัวของกระเทียม1 เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวกลม ภายในเป็นลักษณะกลีบ เนื้อมีกลิ่นฉุน ลำต้นอยู่เหนือดินทรงกระบอกยาวเนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย
  • ใบกระเทียม เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตรงจากลำต้น ใบกลม ใบยาวสีเขียว ผิวใบเรียบ และมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย นิยมรับประทานเป็นผักสด
  • ดอกกระเทียม ลักษณะดอกเป็นช่อ ก้านดอกแทงออกมาจากหัวและลำต้น ก้านดอกทรงกลม ยาว ด้านในเป็นรูกลวง ดอกตูมรูปทรงคล้ายระฆัง
  • ผลและเมล็ดกระเทียม เจริญเติบโตรวมกัน เป็นกลุ่ม ด้านในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดลักษณะกลม สีน้ำตาลอมดำ

สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวหนัง ทำให้มีสุขภาพผิวดี
  • ช่วยการเจริญอาหาร ทำให้อยากกินอาหาร
  • บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  • ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย ป้องกันอาการไอ ลดอาการน้ำมูกไหล ป้องกันไข้หวัด ช่วยแก้อาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคหลอดลม ช่วยขับเสมหะ
  • บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยละลายลิ่มเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  • ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  • แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  • บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • บำรุงเส้นผม ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า รักษาเชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ
  • ช่วยขับพิษในเลือด ช่วยขับเหงื่อ
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • บำรุงทางเดินอาหาร ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ช่วยขับลม รักษาจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • ช่วยต้านฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย
  • บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม และ ใช้กระเทียมเป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวังในใช้ประโยชน์จากกระเทียม โทษของกระเทียม มีดังนี้

  • การกินกระเทียมสด อาจทำให้ระคายเคืองช่องปาก เช่น แสบร้อนบริเวณปาก
  • หากกินกระเทียมมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นปาก และ ทำให้กลิ่นตัวแรง
  • สำหรับเด็กอ่อน กระเทียมสดๆอาจทำให้ผิวของเด็กเกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองได้
  • ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานกระเทียมสด เพราะ อาจทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
  • กลิ่นของกระเทียม หากสูดดมเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

ตะลิงปลิง ผลรสเปรี้ยว สมุนไพร นิยมรับประทานผลสด ต้นตะลิงปลิง คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร บำรุงผิวพรรณ ขับเสมหะ โทษของตะลิงปลิงมีอะไรบ้างตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิง

ต้นตะลิงปลิง ( Bilimbi ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะลิงปลิง คือ Averrhoa bilimbi L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะลิงปลิง เช่น มูงมัง กะลิงปริง ลิงปลิง ปลีมิง บลีมิง มะเฟืองตรน หลิงปลิง เป็นต้น ตะลิงปลิง เป็นพืชท้องถิ่นของภาคใต้ สามารถพบได้ตามป่าดิบชื้นในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงประเทศใกล้เคียง อย่าง มาเลเชีย และ อินโดนีเชีย

ตะลิงปลิง เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน และ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล นิยมปลูกทั่วไป เพื่อใช้รับประทานผล ตะลิงปลิงคล้ายกับมะเฟือง แต่มีความแตกต่างกันตรงขนาดของผลมะเฟืองใหญ่กว่าตะลิงปลิง

ลักษณะของต้นตะลิงปลิง

สำหรับต้นตะลิงปลิง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การตอนกิ่ง และ การเสียบยอด เป็นต้น ลักษณะของตะลิงปลิง มีดังนี้

  • ลำต้นตะลิงปลิง ลักษณะลำต้นขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 8 เมตร มีใบจำนวนมาก ลักษณะของลำต้นคล้ายกับต้นมะยม เปลือกลำต้นสีน้ำตาล แต่ผิวเปลือกลำต้นเรียบ เนื้อไม้ไม่แข็ง ค่อนข้างเปราะ กิ่งหักง่าย
  • ใบตะลิงปลิง ลักษณะเป็นใบเลี้ยงคู่ ลักษณะใบรีปลายใบแหลม คล้ายหอก ใบเป็นมัน ใบอ่อนมีสีส้มแดง ใบแก่สีเขียวสด
  • ดอกตะลิงปลิง ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกตามลำต้น และ โคนกิ่ง ช่อดอกมีสีน้ำตาลอมม่วง  กลีบดอกมีสีแดงอมม่วง
  • ผลตะลิงปลิง ลักษณะทรงกลมรียาว เป็นทรงกระบอก ผลอ่อนสีเขียวสด เนื้อในผลสีเขียวอ่อนอมขาว ส่วนผลสุกสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ด ผลมีรสเปรี้ยว
  • เมล็ดตะลิงปลิง อยู่ภายในผลตะลิงปลิง เมล็ดสีน้ำตาล เมล็ดเป็นทรงกระบอกแบน

คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง

สำหรับการบริโภคตะลิงปลิง นิยมกินผล ซึ่งให้รสเปรี้ยว นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลตะลิงปลิง พบว่ารายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลตะลิงปลิง ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 0.61 กรัม เบต้า แคโรทีน 0.035 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.010 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.026 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.302 มิลลิกรัม วิตามินซี 15.5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 3.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.01 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 11.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของตะลิงปลิง

สำหรับประโยชน์ของตะลิงปลิง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ดอก ใบ เมล็ด เปลือกลำต้น และ ราก โดย สรรพคุณของตะลิง รายละเอียด ดังนี้

  • ผลตะลิงปลิง สรรพคุณบำรุงร่างกาย ป้องกันมะเร็ง ช่วยย่อยอาหาร บำรุงผิวพรรณ ปกป้องการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง ช่วยขับสารพิษ แก้ไอ แก้คออักเสบ ช่วยละลายเสมหะ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน รักษาโรคหอบหืด รักษาแผลร้อนใน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาสิว รักษาฟ้า รักษากะ และ รักษาผิวด่างดำ ช่วยรักษาตาอักเสบ
  • ดอกตะลิงปลิง สรรพคุณแก้ไอ บำรุงผิวพรรณ รักษาสิว ลดรอยกะ ลดรอยฟ้า และ รักษารอยด่างดำ
  • ใบตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยแก้ผดผื่นคัน รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผลฝี ช่วยรักษาสิว แก้ท้องเสีย ช่วยลดไข้ รักษาโรคซิฟิลิส และ แก้ปวดตามข้อกระดูก
  • เมล็ดตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยขับพยาธิ แก้ท้องอืด และ ช่วยขับลม
  • เปลือกลำต้นตะลิงปลิง และ แก่นไม้ตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง
  • รากตะลิงปลิง สรรพคุณแก้ร้อนใน แก้กระหาย ช่วยลดไข้ ลดอาการกระเพาะอาหารอักเสบ รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้อาการคันตามผิวหนัง รักษาโรคผิวหนัง ช่วยรักษาแผล

โทษของตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง เป็นผลไม้รสเปรี้ยว ซึ่งการกินอาหารเปรี้ยวจัด ส่งเสียต่อสุขภาพของฟัน ทำให้ฟันกันกล่อนง่าย ทำให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย และทำให้บาดแผลหายช้า

ตะลิงปลิง ไม้ผลรสเปรี้ยว สมุนไพร นิยมรับประทานผลสด ลักษณะของต้นตะลิงปลิง คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง สรรพคุณของตะลิงปลิง เช่น ช่วยย่อยอาหาร บำรุงผิวพรรณ ช่วยขับเสมหะ โทษของตะลิงปลิง มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove