กระเทียม พืชเศรษฐกิจ สมุนไพรกลิ่นฉุน ลักษณะของต้นกระเทียม คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกระเทียม เช่น ลดความดัน รักษาแผลสด ฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด เป็นต้น  

กระเทียม สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. สำหรับชื่อเรียกอื่นไของกระเทียม เช่น กระเทียมขาว กระเทียมจีน ปะเซ้วา หอมขาว หอมเทียม หัวเทียม เป็นต้น การปลูกกระเทียมในประเทศไทย นิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระเทียมที่มีคุณภาพดีต้องกระเทียมศรีสะเกษ

กระเทียมในประเทศไทย

กระเทียม เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในการทำอาหาร ทั้งการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก อาหารไทย นิยมมีกระเทียมเป็นส่วนผสมของอาหาร ซึ่งกระเทียมสามารถปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย แต่นิยมปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีสภาพดินและสภาวะอากาศที่เหมาะสมมากกว่าภาคอื่นๆ ทำให้กระเทียมเจริญเติบโตได้ดี ได้ผลผลิตสูงและมีรสชาติที่ดีกว่า

ลักษณะของกระเทียม

กระเทียม เป็นพืชล้มลุก ที่มีกลิ่นแรง ลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเทียม มีลักษณะดังนี้

  • หัวกระเทียม มีลักษณะกลมแป้น ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ เนื้อของกระเทียมมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุนจัด
  • ใบกระเทียม เป็นใบเดี่ยว ลักกษณะแบนยาว ขึ้นมาจากดินและเรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ ปลายใบแหลม ปลายใบสีเขียวและสีจะค่อย ๆจางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ
  • ดอกกระเทียม ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกรูปใบหอกปลายแหลม สีขาวหรือขาวอมชมพู
  • เมล็ดกระเทียม อยู่ที่ดอกแก่ ลักษณะเมล็ดเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆรูปไข่ เมล็ดขนาดเล็กสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม สามารถรับประทานทั้งใบและหัวกระเทียม ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารสำคัยประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

สารสำคัญที่พบในกระเทียม พบว่ามีสารประกอบกำมะถัน ( Organosulfur ) เช่น อัลลิซาติน (Allisatin) อะโจอีน (Ajoene) ไดแอลลิล ซัลไฟด์ (Diallyl Sulfide) อัลเคนีล ไตรซัลไฟด์ (Alkenyl trisulfide) และ สารกลุ่มฟลาวานอยด์ เช่น เควอซิทิน (Quercetin) ไอโซเควอซิทิน (Isoquercitrin) เรย์นูทริน (Reynoutrin) แอสตรากาลิน (Astragalin)

สรรพคุณของกระเทียม

สำหรับการนำกระเทียมมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม ซึ่งสรรพคุณของกระเทียม มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวหนัง ทำให้มีสุขภาพผิวดี
  • ช่วยการเจริญอาหาร ทำให้อยากกินอาหาร เพิ่มความแข็งแรงจของร่างกาย
  • มีเบต้าเคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  • บำรุงร่างกาย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย รักษาโรคหวัด รักษาอาการไอ รักษาน้ำมูกไหล ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ
  • ช่วยระงับการเจริญเติบดตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยระงับกลิ่นปาก รักษาเชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ รักษาฝีหนอง รักษาคออักเสบ รักษาปอดบวม รักษาเชื้อวัณโรค เป็นต้น
  • บำรุงเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  • ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะและปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง
  • บำรุงเส้นผม มีประโยชน์ด้านผมและหนังศีรษะโดยช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
  • ช่วยขับพิษและสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ช่วยไล่ยุงได้

โทษของกระเทียม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเทียม หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้ไม่เกิดโทษ ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระเทียม มีดังนี้

  1. การบริโภคกระเทียม เนื่องจากกลิ่นฉุนของกระเทียมหากบริโภคมากเกินไปจะเสียรสชาติของอาหาร การใช้กระเทียมในการบริโภคสดให้ใส่ในปริมาณที่เหมาะสม
  2. สารอาหาร จำพวกอาหารเสริมที่เป็นสารสกัดมาจากกระเทียม จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดถึงปริมาณในการบริโภคที่เหมาะสมต่อร่างกาย

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

กระเทียม สมุนไพร นิยมทำเป็นเครื่องเทศ ใส่ในอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม เป็นอย่างไร สรรพคุณของกระเทียม คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม โทษของกระเทียม

กระเทียม สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม สมุนไพรไทย

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเทียม คือ  หอมเทียม (เหนือ) กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม) หอมขาว (อุดรธานี) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หัวเทียม (ใต้) ซึง ปักทาง เสิง ฮวงซาง (จีน) เป็นต้น

กระเทียม เป็นพืชล้ม มีหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ และ เพาะเมล็ดพันธ์  หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร กระเทียมมีกลิ่นฉุน ให้ความหอมในอาหาร และมีรสหวานหากนำมาต้ม การบริโภคกระเทียมก็เหมือนการกินยา

กระเทียมในประเทศไทย

หัวกระเทียม เป็นวัตถุดิบหลักในอาหารไทย กระเทียมจึงเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป ในประเทศไทยแหล่งปลูกประเทียม คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งกระเทียมคุณภาพดี กลิ่นฉุน คือ กระเทียมจากจังหวัดศรีสะเกษ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าหัวปกระเทียมขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน มากถึง 149 กิโลแคลอรี

โดย ในหัวกระเทียมขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม  ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม  วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม  ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม  ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม และ ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นกระเทียม 

ต้นกระเที่ยม เป็นพืชล้มลุก หัวของกระเทียมอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม มีดังนี้

  • รากและหัวของกระเทียม1 เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวกลม ภายในเป็นลักษณะกลีบ เนื้อมีกลิ่นฉุน ลำต้นอยู่เหนือดินทรงกระบอกยาวเนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย
  • ใบกระเทียม เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตรงจากลำต้น ใบกลม ใบยาวสีเขียว ผิวใบเรียบ และมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย นิยมรับประทานเป็นผักสด
  • ดอกกระเทียม ลักษณะดอกเป็นช่อ ก้านดอกแทงออกมาจากหัวและลำต้น ก้านดอกทรงกลม ยาว ด้านในเป็นรูกลวง ดอกตูมรูปทรงคล้ายระฆัง
  • ผลและเมล็ดกระเทียม เจริญเติบโตรวมกัน เป็นกลุ่ม ด้านในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดลักษณะกลม สีน้ำตาลอมดำ

สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวหนัง ทำให้มีสุขภาพผิวดี
  • ช่วยการเจริญอาหาร ทำให้อยากกินอาหาร
  • บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  • ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย ป้องกันอาการไอ ลดอาการน้ำมูกไหล ป้องกันไข้หวัด ช่วยแก้อาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคหลอดลม ช่วยขับเสมหะ
  • บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยละลายลิ่มเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  • ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  • แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  • บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • บำรุงเส้นผม ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า รักษาเชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ
  • ช่วยขับพิษในเลือด ช่วยขับเหงื่อ
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • บำรุงทางเดินอาหาร ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ช่วยขับลม รักษาจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • ช่วยต้านฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย
  • บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม และ ใช้กระเทียมเป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวังในใช้ประโยชน์จากกระเทียม โทษของกระเทียม มีดังนี้

  • การกินกระเทียมสด อาจทำให้ระคายเคืองช่องปาก เช่น แสบร้อนบริเวณปาก
  • หากกินกระเทียมมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นปาก และ ทำให้กลิ่นตัวแรง
  • สำหรับเด็กอ่อน กระเทียมสดๆอาจทำให้ผิวของเด็กเกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองได้
  • ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานกระเทียมสด เพราะ อาจทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
  • กลิ่นของกระเทียม หากสูดดมเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove