ต้นยางนา ไม้ยางนามูลค่าสูง ลักษณะของต้นยางนาเป็นอย่างไร ประโยชน์ของต้นยางนา สรรพคุณของยางนา เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน เป็นต้นยางนา น้ำมันยางนา สมุนไพร สรรพคุณของยางนา

ยางนา (Yang ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของยางนา คือ Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของยางนา เช่น ยางกุง ยางควาย ชันนา ยางตัง ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก ยางใต้ ยางเนิน ยาง กาตีล ขะยาง จะเตียล เยียง จ้อง ทองหลัก ราลอย ลอยด์ ด่งจ้อ เห่ง เป็นต้น ต้นยางนา เป็นพันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดอุบลราชธานี

ต้นยางนา สามารถพบได้ในประเทศบังกลาเทศ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ไทย และ มาเลเซีย เป็นพรรณไม้ขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน แต่ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์ มีแสงแดดแบบเต็มวัน สามารถพบได้ทั่วไปตาม ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และตามหุบเขาทั่วประเทศ

ลักษณะของต้นยางนา

ต้นยางนา เป็นไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ ความสูงมากถึง 50 เมตร สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นยางนา มีดังนี้

  • ลำต้นยางนา ลักษณะลำต้นสูง ตั้งตรง ยอดของต้นเป็นพุ่ม โคนของลำต้นเป็นพูพอน เปลือกต้นสีเทาเกลี้ยง เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง เนื้อไม้หยาบ
  • ใบยางนา ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบหนา เหนียว ใบเป็นสีเขียว
  • ดอกยางนา ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกตามง่ามใบ และ ปลายกิ่ง ดอกสีชมพูอ่อน ก้านช่อดอกมีขน ดอกยางนาจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ของทุกปี
  • ผลยางนา ลักษณะของผลยางนา เป็นแผลแห้ง รูปกระสวย ผลมีปีกขนาดใหญ่ สีแดงอมชมพู ผลสุกจะเป็นสีน้ำตาล เมล็ดมีขนสั้นๆ ผลของยางนาจะติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมของทุกปี

น้ำมันยางนา

น้ำมันยางนา คือ น้ำยางที่ได้จากการเจาะโพรงเข้าไปในต้นยางนา และ เอาไฟรน จะเกิดน้ำมันไหลออกมา น้ำมันยาง จะเป็นของเหลว ลักษณะข้น และ มีกลิ่นเฉพาะตัว น้ำมันยาง เรียกว่า Gurjun Balsam หรือ Gurjun oil

สรรพคุณของยางนา

การใช้ประโยชน์จากยางนา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก น้ำมันยางนา เปลือกลำต้น เมล็ด และ ใบ โดย สรรพคุณของยางนา มีดังนี้

  • เปลือกลำต้นยางนา สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงร่างกาย รักษาตับอักเสบ แก้ปวดตามข้อ
  • น้ำมันยางนา สรรพคุณบำรุงเหงือกและฟัน รักษาฟันผุ ช่วยขับปัสาวะ รักษานิ่ว ขับเสมหะ แก้ระดูขาว รักษาตกขาว ช่วยขับเลือด รักษาแผลหนอง รักษาโรคเรื้อน รักษาหนองใน  เป็นยาระบาย รักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • เมล็ดยางนา สรรพคุณบำรุงเหงือกและฟัน แก้ปวดฟัน
  • ใบยางนา สรรพคุณช่วยขับเลือด บำรุงเหงือกและฟัน แก้ปวดฟัน ช่วยขับเลือด

โทษของยางนา

ใบยางนา และ ยางของยางนา มีรสฝาดขม มีฤทธ์ร้อน สรรพคุณเป็นยาขับเลือด สำหรับคนท้องไม่ควรรับประทานใบยางนา และ น้ำมันยางนา เพราะ อาจทำให้แท้งลูกได้ และ อาจทำให้เป็นหมัน

ต้นยางนา คือ พืชขนาดใหญ่ ไม้ยางนามูลค่าสูง ลักษณะของต้นยางนา เป็นอย่างไร ประโยชน์ของต้นยางนา สรรพคุณของยางนา เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน เป็นต้น

ตรีผลา ( Triphala ) สมุนไพรเกิดจากส่วนผสมของ ผลไม้ 3 อย่าง คือ มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก สรรพคุณของตรีผลา ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย โทษของตรีผลา มีอะไรบ้าง

ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลา

สมุนไพรตรีผลา อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา ประกอบด้วย พืชสมุนไพร 3 อย่างรวมกัน คือ ผลแห้งสมอพิเภก ผลแห้งสมอไทย ผลมะขามป้อม สรรพคุณช่วยขับสารพิษในร่างกาย สามารถนำมาทำเครื่องดื่มได้ โดย สูตรของสมุนไพรตรีผลา คือ สมอพิเภก 100 กรัม สมอไทย 200 กรัม และ มะขามป้อม 400 กรัม นำมาต้มน้ำ 6 ลิตร ต้มนาน 30 นาที จากนั้นเติมน้ำตาลทรายแดง 600 กรัมและเกลือ 1 ช้อนชา เคี่ยวจนส่วนผสมเข้ากันได้ดี จากนั้นนำมากรองให้สะอาด ใช้ดื่มทุกเวลา เช้า กลางวัน เย็น ตรีผลา สรรพคุณช่วยขะจัดสารพิษตกค้างในร่างกาย ตำรับยาตรีผลา ใช้ได้ทุกเพศทุกวัย

สรรพคุณของตรีผลา

สำหรับการใช้ตรีผลา ในการบำรุงร่างกายและรักษาโรค จะอยู่ในรูปแบบเครื่องดื่ม นำมาดื่ม เป็นเครื่องดื่ม เพื่อสุขภาพ โดยสรรพคุณของตรีผลา มีดังนี้

  • ป้องกันมะเร็ง ช่วยต่อต้านการเกิดเนื้องอก
  • สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ช่วยชะลอวัย
  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยเพิ่มคอลลาเจน ทำให้ผิวพรรณผ่องใส รักษาสิวอักเสบ
  • บำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น แก้อาการร่างกายอ่อนเพลีย
  • บำรุงเลือด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนระบบโลหิตในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน
  • ช่วยขับเสมหะ ป้องกันไข้หวัด
  • บำรุงเส้นเสียง
  • ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย ล้างน้ำเหลืองเสีย
  • ช่วยลดน้ำหนัก
  • ช่วยลดอาการข้อเข้าอักเสบ บรรเทาอาการโรคเก๊าฑ์

โทษของตรีผลา

สำหรับการใช้ประโยชน์ การรับประทานตรีผลา ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และ ไม่รับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยข้อควรระวังในการรับประทานตรีผลา มีดังนี้

  • สิ่งที่ต้องระวัง คือ ความสะอาดของสมุนไพร ที่นำมาทำ ตรีผลา หากสมุนไพร มีการเจือปนเชื้อรา หรือ สิ่งสกปรกที่เป็นพิษต่อร่างกาย จะเกิดโทษต่อร่างกายโดยตรง
  • สำหรับสตรีที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน ไม่ควรรับประทานตรีผลา เนื่องจากจะทำให้เลือดออกมากขึ้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ควรรับประทานสมุนไพรตรีผลา

สำหรับ สมุนไพรตรีผลา ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพราะ อาจส่งผลต่อร่างกายได้ การบำรุงร่างกายที่ดีที่สุด คือ การรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ตรีผลา (Triphala) คือ สมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากส่วนผสมของ ผลไม้ 3 อย่าง คือ มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก สรรพคุณของตรีผลา ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย โทษของตรีผลา มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove