มะดัน ( Madan ) เป็นผลไม้รสเปรี้ยว วิตามินซีสูง กินผลสดได้ ต้นมะดันเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย แก้ไข้ทับระดู โทษของมะดัน

มะดัน ต้นมะดัน สรรพคุณของมะดัน ประโยชน์ของมะดัน

ต้นมะดัน ชื่อสามัญ คือ Madan ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะดัน คือ Garcinia schomburgkiana Pierre พืชตระกูลเดียวกับมังคุด ชื่อเรียกอื่นๆของมะดัน เช่น ส้มมะดัน  ส้มไม่รู้ถอย เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะดัน

ต้นมะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผัดใบ มีรสเปรี้ยว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน โดยเฉพาะประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของลำต้น ใบ ดอก ผล มีดังนี้

  • ลำต้นมะดัน มีความสูงประมาณ 7 – 10 เมตร ลักษณะแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกของลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ
  • ใบมะดัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบ โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบมะดันลักษณะเรียบลื่น
  • ดอกมะดัน ดอกของมะดันจะออกตามซอกใบ ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะเป็นกระจุก ซึ่งกระจุกหนึ่งจะมี 3 – 6 ดอก ดอกมะดันมีสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกคล้ายรูปไข่
  • ผลมะดัน มีลักษณะเป็นทรงรี ปลายของผลแหลม มีสีเขียว ผิวเรียบ มันลื่น ผลมะดันมีรสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ด ผลละหนึ่งเมล็ด

คุณค่าทางโภชนากการของมะดัน

สำหรับการนำมะดันมาบริโภค นั้นนิยมบริโภคใบอ่อนและผลของมะนั้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของผลมะดันและใบมะดัน โดยมีายละเอียด ดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของผลมะดัน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม กากใยอาหาร 0.4 มิลลิกรัม วิตามินเอ 431 หน่วยสากล วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินซี 5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบมะดันอ่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม วิตามินเอ 225 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 16 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 103 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของมะดัน

เนื่องจากมะดันมีวิตามิหลายชนิด และ มีวิตามินซีสูง มะดันจึงถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางค์บำรุงผิวพรรณ ทั้ง สบู่ ครีมบำรุงผิว โทนเนอร์ เป็นต้น นอกจากนั้นมะดันมีรสเปรี้ยว ดังนั้น จึงนิยมนำเอามะดันมาทำอาหาร ให้รสเปรี้ยวต่างๆ เช่น น้ำพริก ต้มยำ เป็นต้น ผลของมะดัน สามารถนำมาทำผลไม้แช่อิ่มได้

สรรพคุณของมะดัน

สำหรับมะดัน จัดเป็นพืชพื้นเมือง มีประโยชน์ต่อการดำรงค์ชีวิต ในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค โดย สรรพคุณของมะดัน มีการนำเอา รกมะดัน รากมะดัน ใบมะดัน ผลมะดัน เปลือกมะดัน ดอกมะดัน มาใช้ประโยชน์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกมะดัน มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก รักษามะเร็ง
  • ผลมะดัน มีรสเปรี้ยว สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้ชุ่มคอ แก้เจ็บคอ แก้กระษัย รักษาไข้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ขับประจำเดือน ช่วยขับน้ำคาวปลา แก้ระดูเสีย แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ
  • ใบมะดัน สรรพคุณ แก้กระษัย ช่วยขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาหวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ระดูเสียในสตรี แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยขับประจำเดือน
  • รกของมะดัน สรรพคุณแก้กระษัย ช่วยขับเลือด ฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ
  • รากของมะดัน สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ช่วนขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ
  • เปลือกของมะดัน สรรพคุณแก้กระษัย ช่วนขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ

ความเด่นของมะดัน คือ ความเปรี้ยว มีกรดอินทรีย์ วิตามินซีสูง ช่วยสร้างภูมิคุ้มโรคกรดอินทรีย์ในมะดัน สามารถนำมาใช้ในการดูแลผิวพรรณ ช่วยให้ผลัดเซลล์ผิว จึงนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเครื่องสำอาง ทั้ง สบู่ ครีมบำรุงผิว เป็นต้น

โทษของมะดัน

มะดันมีลักษณะเด่น ที่ รสเปรี้ยวมาก มีความเป็นกรดสูง แต่ก็มีวิตามินซี การใช้ประโยชน์และการบริโภคมะดัน จึงต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากมากเกินไปจะเกิดโทษต่อร่างกายได้ โดยโทษของการกินมะดันมากเกินไป มีดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร ไม่ความกินมะดัน ที่มีความเปรี้ยวในปริมาณมาก เนื่องจากกรดและความเปรีี้ยวของมะดันจะทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานหนักขึ้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคไต ควรงดการกินมะดัน เนื่องจากรสเปรี้ยวของมะดัน จะกระตุ้นให้ขับปัสสาวะมากขึ้น ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น
  • กรดจากอาหารที่มีรสเปรี้ยว จะกัดกร่อน ผิวเคลือบฟัน ทำให้ให้ฟันสึกหรอเร็ว ทำให้เสียวฟัน
  • การกินอาหารรสเปรี้ยวมากเกินไป ทำให้ ท้องเสีย ร้อนใน และ ระบบน้ำเหลืองในร่างกายมีปัญหา

มะดัน ( Madan ) คือ พืชไม้ยืนต้น เป็นผลไม้รสเปรี้ยว สามารถบริโภคผลสดได้ ต้นมะดันเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะดัน สรรพคุณของมะดัน เช่น ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย แก้ไข้ทับระดู แก้กระษัย โทษของมะดัน ผลมะดันมีวิตามินซีสูง มี เบตาแคโรทีน รวมถึงแร่ธาตุสำคัญ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส เป็นตัน

ชุมเห็ดเทศ Candelabra bush สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว ต้นชุมเห็ดเทศเป็นอย่างไร สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ เช่น เป็นยาระบาย ขับเสมหะ โทษของชุมเห็ดเทศมีอะไรบ้าง

ชุมเห็ดเทศ ต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ สมุนไพร

ต้นชุมเห็ดเทศ เป็นไม้พุ่ม จักเป็นพืชพื้นเมือง ดอกสีเหลืองทองเป็นรูปไข่ สวยงามด้วยสรรพคุณมากมาย สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด พรรณไม้ชนิดนี้ไม่ต้องการความเอาใจใส่ ปลูกแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้โตขึ้นเองได้ พบขึ้นได้ทั่วไปในประเทศไทย ทั้งบนที่ราบหรือบนภูเขาสูงจนถึง 1,500 เมตร ทำความรู้จักกับชุมเห็ดเทศ กัน

ชุมเห็ดเทศ มีชื่อสามัญ ว่า Candelabra bush ชื่อวิทยาศาสตร์ของชุมเห็ดเทศ คือ  Senna alata (L.) Roxb. จัดอยู่ในพืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของชุมเห็ดเทศ คือ ส้มเห็ด จุมเห็ด ขี้คาก ลับหมื่นหลวง ลับมืนหลาว หญ้าเล็บมือหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ด ชุมเห็ดใหญ่ ตะสีพอ ตุ๊ยเฮียะเต่า ฮุยจิวบักทง ตุ้ยเย่โต้ว เป็นต้น

ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ

ต้นชุมเห็ดเทศ เป็นพืชขนาดกลาง เป็นไม้พุ่ม สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบสูง ประเทศเขตร้อน ในประเทศไทยพบได้ตามภูเขาสูง สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ มีดังนี้

  • ลำต้นของชุมเห็ดเทศ มีความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ลำต้นมีขน เปลือกของลำต้นเรียบ สีน้ำตาล
  • ใบของชุมเห็ดเทศ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันตามกิ่งก้าน ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบโค้งมน มีหยัก โคนใบ ขอบใบเรียบ มีสีแดง เนื้อใบค่อนข้างหนา หยาบและเหนียว
  • ดอกของชุมเห็ดเทศ ดอกจะออกเป็นช่อ มีขนาดใหญ่ ตั้งตรง ออกตามซอกใบ และ ปลายกิ่ง ดอกมีสีเหลืองทอง รูปไข่ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร
  • ผลของชุมเห็ดเทศ ออกผลเป็นฝัก ลักษณะ ยาว แบน ไม่มีขน ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ฝักแก่จะเป็นสีดำ ภายในฝักมีเมล็ดรูปสามเหลี่ยมสีดำ ผิวขรุขระ

ประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ

การใช้ประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ นั้นสามารถนำมาทำเป็นอาหารเพื่อบริโภค เป็นผักสด ซึ่งนิยมรับประทาน ดอกชุมเป็ดเทศ และ ยอดอ่อน นำมาลวก ทานเป็นผักสดๆ นอกจากนั้น นิยมปลูกชุมเห็ดเทศรอบบ้าน เป็นไม้ประดับ และ ไล่มด เนื่องจากใช้ไล่มด มดไม่ชอบกลิ่นของชุมเห็ดเทศ นอกจากนั้น มีการนำเอาชุมเห็ดเทศมาสกัดเป็นอาหารเสริม และ ยารักษาโรค เช่น  ชาชง ยาแคปซูล ยาระบายอัดเม็ด หรือในรูปแบบยาทาแก้กลากเกลื้อน

สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชุมเห็ดเทศ ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย นั้น สามารถใช้ ตั้งแต่ ราก ใบ เมล็ด ดอก และ ผล รวมถึงทั้งตนของชุมเห็ดเทศ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของชุมเห็ดเทศ สรรพคุณบำรุงหัวใจ แก้ดีซ่าน ช่วยแก้กษัยเส้น ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • รากชุมเห็ดเทศ สรรพคุณบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร แก้ตาเหลือง ช่วยแก้กษัยเส้น ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • ใบชุมเห็ดเทศ สรรพคุณบำรุงหัวใจ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความมดัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้เส้นอักเสบ  ช่วยแก้กษัยเส้น ช่วยขับเสมหะ เป็นยาบ้วนปาก ยาระบาย แก้ท้องผูก รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผล ช่วยรักษาฝี รักษาแผลพุพอง
  • ดอกชุมเห็ดเทศ สรรพคุณเป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • เมล็ดของชุมเห็ดเทศ สรรพคุณช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ แก้พิษตานซาง แก้ท้องอืด ขับพยาธิในลำไส้  ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • ผลของชุมเห็ดเทศ สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • เปลือกต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย

โทษของชุมเห็ดเทศ

จากสรรพคุณของชุมเห็ดเทศเห็นว่ามีประโยชน์หลายอย่าง แต่ การใช้ประโยน์ของชุมเห้ดเทศ มีข้อควรระวัง เนื่องจาก ชุมเห็ดเทศ มีพิษเบื่อ การนำเอาไปใช้ประโยชน์ต้องใช้อย่างถูกวิธี ซึ่งมีข้อควรระวังในการใช้ชุมเห็ดเทศ ดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรชุมเห็ดเทศ เนื่องจากชุมเห็ดเทศมีสรรพคุณทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียม
  • ชุมเห็ดเทศ ทำให้ใจสั่น
  • ชุมเห็ดเทศ ช่วยกระตุ้นให้คลอดลูกเร็วขึ้น อาจทำให้แท้งได้ สำหรับสตรีมีครรภ์ห้ามใช้เด็กขาด
  • ชุมเห็ดเทศมีฤทธ์เป็นยาระบาย สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ไม้ควรใช้ชุมเห็ดเทศ ทำให้สารRhein หลั่งออกมาทางน้ำนม เป็นอันตรายต่อแม่และเด็ก
  • ห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร หรือ โรคลำไส้อุดตัน
  • เด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบห้ามใช้ยาชงชุมเห็ดเทศ
  • มีรายงานการใช้ประโยชน์ต้นอ่อนชุมเห็ดเทศเป็นยาเบื่อปลา การกินต้นอ่อนชุมเห็ดเทศจึงเป็นพิษต่อสัตว์และมนุษย์
  • ชุมเห็ดเทศความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์

ชุมเห็ดเทศ ( Candelabra bush ) สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ เป็นอย่างไร สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ เช่น เป็นยาระบาย ขับเสมหะ โทษของชุมเห็ดเทศ มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove