โหระพา Sweet basil สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณขับลม ช่วยเจริญอาหาร ใบโหระพามีกลิ่นหอม โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

โหระพา ต้นโหระพา ใบโหระพา สรรพคุณของโหระพา

ต้นโหระพา มีชื่อสามัญว่า Sweet basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของโหระพา คือ Ocimum basilicum L. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกะเพรา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารและแต่งกลิ่นอาหาร

ลักษณะของต้นโหระพา

ต้นโหระพา พืชล้มลุก ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปเอเชียและทวีปอาฟริกา สามารถขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ และ การเพาะเมล็ด ซึ่งรายละเอียดของต้นโพระพา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากและลำต้นของโหระพา รากมีรากแก้วและรากฝอย ลำต้นของโหระพามีความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม เนื้อไม้อ่อน สีม่วงแดง
  • ใบโหระพา มีใบลักษณะใบเดี่ยว ออกตามข้อกิ่ง ใบรูปไข่ปลายแหลม ผิวใบเรียบ สีเขียวเข้ม
  • ดอกของโหระพา ดอกจะออกเป็นช่อ ออกที่ปลายยอดของต้น ดอกออกเรียงเป็นชั้นๆ ดอกมีสีขาวอมแดงม่วง
  • เมล็ดของโหระพา เป็นเม็ดเล็กสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดโหระพามีเมือกหุ้มเมล็ด หากนำมาแช่น้ำจะมีเมือกพองตัวคล้ายเมล็ดแมงลัก

ประโยชน์ของโหระพา

โหระพา คือ ต้นไม้ประเภทพืชล้มลุก ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การใช้ประโยชน์ของโหระพา ส่วนใหญ่จะเป็นการนำมารับประทานเป็นอาหาร ซึ่งสรรพคุณของโหระพา มีมากมายช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคได้ นอกจากนั้นใบโหรพพาสามารถนำมาสักัดเอาน้ำมัน ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและความงามหลายอย่าง โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • นำใบมากินเป็นอาหาร นิยมใส่ในอาหารให้มีกลิ่นหอม
  • นำใบโหระพามาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย ให้กลิ่นหอม สามารถนามาเป็นสารตั้งต้นในการทำ อาหารในอุตสาหกรรมสำหรับแต่งกลิ่น
  • น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม สบู่ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนากการของต้นโหระพา

สำหรับการศึกษาคุณค่างทางอาหารของโหระพา นั้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบโหระพา ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 14.4 กรัม ไขมัน 4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 61 กรัม แคลเซียม 2,113 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 42 มิลลิกรัม แมงกานีส 42.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 490 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 3,433 มิลลิกรัม โซเดียม 34 มิลลิกรัม สังกะสี 6 มิลลิกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 9375 IU เบต้าแคโรทีน 452.2 ไมโครกรัม และ กากใยอาหาร 17.8 กรัม

นอกจากนั้นได้ศึกษาสารสำคัญจากใบโหระพา พบว่ามีสารสำคัญมากมาก แต่พบ Methyl chavicol มากถึงร้อยละ 90 และส่วนที่เหลือประกอบด้วย Pinene β-Pinene β-Bourbonene β-Elemene β-Cubebene β-Caryophyllene β-Copaene β-Acoradiene
Camphor Ocimene Eucalyptol Linalool Benzaldehyde Sabinene  Myrcene Cis-Hex-3-Enyl Acetate p-Cymene Limonene Eucalyptol  cis-Beta-Ocimene cis-Linalool Oxide trans-Linalool Oxide trans-Myroxide Neo-Allo-Ocimene Menth-2-en-1-ol Pinocarvone Terpinen-4-ol Endo Fenchyl Acetate Nerol Neral Geraniol Geranial Carvacrol
Bicycloelemene Exo-2-Hydroxycineole Acetate Cubebene Geranyl Acetate Methyl Eugenol Trans-Alpha-ergamotene
Cadina-3,5-Diene Epsilon-Muurolene Germacrene Bicylogermacrene

สรรพคุณต้นโหระพา

สำหรับการใช้ประโยชน์ของโหระพา ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค นั้น มีการใช้ประโยชน์จาก ใบ ลำต้น เมล็ด และ น้ำมันหอมระเหย โดยรายละเอีนด ดังนี้

  • ใบและลำต้นของโหระพา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สรรพคุณแก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ขับลม ขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด ช่วยลดอาการอักเสบของแผล รักษาแผล ช่วยห้ามเลือด ช่วยให้ลดอาการปวด
  • เมล็ดของโหระพา สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพา สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการเหนื่อยล้า แก้อาการกระตุก แก้จมูกอักเสบ ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย

โทษของโหระพา

สำหรับโหระพามีกลิ่นหอม ซึ่งสามารถสกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพาได้ แต่น้ำมันหอมระเหยไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

โหระพา ( Sweet basil ) คือ พืชล้มลุก สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ต้นโหระพาเป็นอย่างไร ประโยชน์ของโหระพา คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณของโหระพา เช่น ขับลม ช่วยเจริญอาหาร เป็นต้น ใบโหระพามีกลิ่นหอม โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

มะยม ( Star gooseberry ) สมุนไพร ผลไม้รสเปรี้ยว ประโยชน์ของมะยม สรรพคุณของมะยม โทษของมะยม คุณค่าทางโภชนาการของมะยม เรื่องต่างๆเกี่ยวกับสมุนไพรชนิดนี้มีอะไรบ้างต้นมะยม มะยม สรรพคุณของมะยม สมุนไพร

ต้นมะยม คือ พืชที่พบได้ทั่วไปตามประเทศเขตร้อน พบในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะยม มีชื่อสามัญ ว่า Star gooseberry ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะยม คือ Phyllanthus acidus (L.) Skeels พืชตระกูลมะขามป้อม ชื่อเรียกอื่นๆของมะยม เช่น หมากยม หมักยม ยม เป็นต้น

สำหรับต้นมะยมนั้นตามความเชื่อของคนไทย เชื่อว่า ต้นมะยม เป็นพืชมงคล ช่วยป้องกันสิ่งไม่ดีได้ จะทำให่ผู้อยู่อาศัยมีเมตตามหานิยม ทุกบ้านของคนไทย จึงนิยมปลูกมะยม

ลักษณะของต้นมะยม

ต้นมะยม เป็นไม้ยืน ต้นขนาดกลาง มะยมมีทั้งมะยมตัวผู้และมะยมตัวเมีย ต้นมะยมตัวผู้จะออกดอกเต็มต้นแต่ไม่ติดลูก ส่วนต้นมะยมตัวเมียนั้นจะมีดอกน้อยกว่า สรรพคุณทางยาของมะยมตัวผู้ค่อนข้างสูงกว่ามะยมตัวเมีย สามารถพบได้ทั่วไปในทุกจังหวัดของประเทศไทย ซึ่งเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ทั้งดินเค็ม และเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะยม มีดังนี้

  • ลำต้นมะยม มีสูงประมาณ 3 ถึง 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด เปลือกของต้นมะยมขรุขระ มีสีเทาปนน้ำตาล
  • ใบมะยม ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามกิ่งของมะยม ใบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลม ขอบใบเรียบ มีสีเขียว
  • ดอกมะยม ดอกออกเป็นช่อ ออกอดกตามกิ่ง ดอกย่อยมีสีเหลืองอมน้ำตาล
  • ผลมะยม ลักษณะเหมือนดวงดาว ปลายกลม มีรสเปรี้ยว ผลมะยมอ่อน มีสีเขียว ส่วนผลมะยมแก่ มีสีเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะแข็ง สีน้ำตาลอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของมะยม

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมะยมสด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 33 แคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.40  g  ไขมัน 0.40 กรัม โปรตีน 0.90 กรัม แคลเซียม 32 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.50 มิลลิกรัม  ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 200 มิลลิกรัม โซเดียม  2 มิลลิกรัม วิตามินB1  0.10 มิลลิกรัม วิตามินB2 0.03 มิลลิกรัม วิตามินB6 0.02 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 28 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของมะยม

สำหรับมะยม สามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็น อาหาร และ เป็นนำมาใช้รักษาโรค บำรุงร่างกาย ผลมะยมสามารถนำมาทำอาหารแปรรูปได้หลากหลาย เช่น มะยมแช่อิ่ม มะยมดอง มะยมเชื่อม น้ำมะยม มะยมแยม มะยมกวน หรือนำมาใช้ทำเป็นน้ำส้มสายชู

สรรพคุณของมะยม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมะยมด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก เปลือก ใบ ดอก และ ผล โดยรายละเอียดของสรรพคุณของมะยม มีดังนี้

  • รากของมะยม มีรสจืด สรรพคุณรักษาผดผื่น รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับน้ำเหลือง ดับพิษเสมหะ แก้อาการคัน แก้หืดหอบ แก้อาการปวดหัว ลดไข้
  • เปลือกของต้นมะยม มีรสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู แก้ผดผื่นคัน
  • ใบของมะยม มีรสจืดและมัน สรรพคุณเป็นยาแก้ไอ บำรุงประสาท ขับเสมหะ รักษาอีสุกอีใส ลดไข้ ขับเหงื่อ รักษาเบาหวาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของตับอ่อน ช่วยลดความดันโลหิต
  • ดอกของมะยม มีรสเปรี้ยวและฝาด สรรพคุณแก้โรคในตา
  • ผลของมะยม มีรสเปรี้ยว สรรพคุณขับเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ปวดกล้ามเนื้อ แก้ปวดหลัง ขับเหงื่อ แก้หลอดลมอักเสบ และ ขับปัสสาวะ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ชะลอความเสื่อมของร่างกาย
  • กาฝากมะยม สรรพคุณช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ เป็นยาลดบุหรี่ ใช้เลิกบุหรี่

โทษของมะยม

  • มะยมมีรสเปรี้ยว มีความเป็นกรดสูง สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร โรคกระเพาะอาหาร ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
  • น้ำยางจากเปลือกของรากมะยม มีคุณสมบัติเป็นพิษ มีสาร Phyllanthusols A และ สาร Phyllanthusols B หากรับประทานเข้าไป จะทำให้ปวดท้อง ปวดหัว และ มีอาการง่วงซึม

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove