มะเขือยาว นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ต้นมะเขือยาวเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเขือยาว ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย โทษของมะเขือยาวมีอะไรบ้าง

มะเขือยาว ผัดสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของมะเขือยาว

ต้นมะเขือยาว ภาษาอังกฤษ เรียก Eggplant ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเขือยาว คือ SO-LANUM MELONGENA LINN ชื่อเรียกของมะเขือยาว เช่น ยั่งมูไล่ สะกอวา มะเขือป๊าว มะเขือหำม้า มะแขว้ง มะแขว้งคม มะเขือกระโปกแพะ มะเขือจาน มะเขือจาวมะพร้าว มะเขือฝรั่ง เป็นต้น มะเขือยาว พืชล้มลุก พืชสวนครัว นิยมนำผลของมะเขือยาวมาทำอาหารกิน มะเขือยาว เป็นพืชที่เรา ใช้ส่วนผล ในการบริโภค ใช้เป็นผักสด หรือประกอบ อาหารได้หลายชนิด

ปัจจุบันมะเขือยาวมีหลายสี เช่น สีขาว สีม่วง สีม่วงปนขาว สรรพคุณทางสมุนไพร สามารถช่วย ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย ท้องร่วง แก้ปวด รักษาอาการตกเลือดในลำไส้ ช่วยขับเสมหะ อาการแก้บิดเรื้อรัง รักษาอุจจาระเป็นเลือด มะเขือยาวมี คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงสุขภาพ บำรุงกระดูก บำรุงเลือด

ลักษณะของต้นมะเขือยาว

ต้นมะเขือยาว เป็นไม้ล้มลุก พืชอายุข้ามปี สามารถเจริญ เติบโตในดิน ทุกสภาพ ดินมีความเป็น กรดเป็นด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ปลูกได้ ตลอดปี และทั่วทุกภาค ของไปประเทศไทย โดยสามารถสรุป ลักษณะของต้นมะเขือยาว มีดังนี้

  • ลำต้นมะเขือยาว ลักษณะเป็นเถา เนื้อลำต้นอ่อน สีเขียว มีขนทั่วทั้งลำต้น ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นอาจมีหนามเล็กๆ
  • ใบมะเขือยาว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกสลับตามกิ่งก้าน ใบลักษณะกลม โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ใบมีขนนุ่มปกคลุมทั่ว
  • ดอกมะเขือยาว ลักษณะของดอกมะเขือยาว ออกเป็นช่อ กลีบดอกสีม่วง
  • ผลมะเขือยาว ลักษณะยาวกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีม่วงคล้ำหรือสีขาว เปลือกของผลเรียบ ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดของมะเขือยาว ลักษณะกลมแบน

มะเขือยาว เป็นพืชในตระกูลมะเขือ ที่ปลูกง่ายเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด มะเขือยาว เป็นพืชที่ต้องการสารอาหารมาก และสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ทนทานต่อสภาพอากาศ และยังมีอายุยาวข้ามปี

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว

สำหรับการรับประทานมะเขือยาวมีประโยชน์ด้านโภชนาการ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 24 กิโลเคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย ไขมัน 0.2 g  โซเดียม 2 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 229 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม เส้นใยอาหาร 3 กรัม น้ำตาล 3.5 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินเอ 23 IU วิตามินซี 2.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม เหล็ก 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.1 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม

มะเขือยาว มีสารไกลโคอัลคาลอยด์ ( Glycoalkaloid ) สารต้านอนุมูลอิสระ ชื่อ เทอร์ปิน ( terpene )สารต้านอนุมูลอิสระ เทอร์ปิน ( terpene ) โดยมีผลงานวิจัยได้ศึกษามะเขือยาว พบว่า มะเขือยาวช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจ และ ลดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ช่วยรักษาหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันโรคความดันโลหิตสุง ลดอาการบวมและอาเจียนเป็นเลือด ช่วยขับปัสสาวะ และสามารถช่วยถอนพิษจากเห็ดพิษบางชนิด

ผิวของมะเขือยาว มีสาร นาซูนิน ( Nasunin )คุณสมบัติต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง มีผลให้เซลล์มะเร็งเติบโตช้าและลดการแพร่กระจายลง

สรรพคุณของต้นมะเขือยาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือยาว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ลำต้น ราก ใบ ผลแห้ง ผลสด ขั่วของผลแห้ง สรรพคุณของมะเขือยาว มีดังนี้

  • ใบของมะเขือยาว สรรพคุณใช้ แก้อาการปัสสาวะขัด พอกแผลบวมที่เป็นหนองได้
  • ผลสด สรรพคุณใช้รักษาแผล โดย ตำพอกแผลอักเสบมีหนอง บำรุงหัวใจ รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดอาการบวม ลดอักเสบ ช่วนขับปัสสาวะ ช่วยถอนพิษ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
  • ลำต้นและรากของมะเขือยาว สรรพคุณใช้รักษา อาการแก้บิดเรื้อรัง อุจจาระเป็นเลือด และรักษาแผลอักเสบ
  • ผลแห้งของมะเขือยาว สรรพคุณใช้เป็นแก้ปวด รักษาอาการตกเลือดในลำไส้ ช่วยขับเสมหะ

โทษของมะเขือยาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือยาว ต้องใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ซึ่งมะเขือยาวมีข้อควรหลีกเลี่ยงในการประทานมะเขือยาว ดังต่อไปนี้

  • การบริโภคมะเขือยาวต้องล้างให้สะอาด ก่อนนำมารับประทานอาหาร เพราะอาจมีสารเคมีเจือปนในผิวของมะเขือยาว
  • สำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารแบบเฉียบพลันไม่ควรรับประทานมะเขือยาว
  • เด็กทารกที่อายุต่ำกว่า 3 ปี ไม่ควรรับประทานมะเขือยาว เพราะ กากใยอาหารสูงอาจทำให้มีปัญหาการย่อยอาหาร
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานมะเขือยาว

มะเขือยาว ผักสวนครัว นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะเขือยาวเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเขือยาว เช่น ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย ท้องร่วง โทษของมะเขือยาว มีอะไรบ้าง

มะขามป้อม หรือ มะขามอินเดีย ผลไม้วิตามินซีสูง ต้นมะขามป้อมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ขับปัสสาวะ โทษของมะขามป้อมมีอะไรบ้าง

มะขามป้อม มะขามอินเดีย สมุนไพร ผลไม้วิตามินซีสูง

ต้นมะขามป้อม ( Indian gooseberry ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขามป้อม คือ Phyllanthus emblica L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะขามป้อม เช่น กันโตด กำทวด มั่งลู่ สันยาส่า หมากขามป้อม เป็นต้น มะขามป้อม จัดเป็นพืชพื้นบ้านของประเทศไทย พบมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และ ป่าดิบเขา ในทุกภาคของประเทศไทย พบมากในภาคเหนือ และ ภาคอีสาน

มะขามป้อม คือ ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว ผลมะขามป้อม มีวิตามินซีสูงมาก เมื่อเทียบกับผลไม้ต่างๆ ผลมะขามป้อม 1  ลูก มีวิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า

ลักษณะของต้นมะขามป้อม

ต้นมะขามป้อม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กและขนาดกลาง สามารถขึ้นได้ดีในประเทศเขตร้อน นิยมรับประทานผลสด เป็นผลไม้ มะขามป้อม สามารถขยายพันธ์ทางการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นมะขามป้อม มีดังนี้

  • ลำต้นมะขามป้อม ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นมะขามป้อมแตกกิ่งก้านสาขา เป็นทรงพุ่ม ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาล ผิวลำต้นเรียบ เปลือกลำต้นมะขามป้อมสามารถลอกเป็นแผ่นได้ เนื้อไม้มะขามป้อมค่อนข้างเหนียว สีของเนื้อไม้มะขามป้อมมีสีแดงอมน้ำตาล
  • ใบมะขามป้อม ลักษณะเป็นใบประกอบ คล้ายใบมะขาม ใบมะขนาดเล็ก จำนวนมาก ใบสดมีสีเขียว ใบแก่มีสีแดงอ่อน ใบมีลักษณะเรียวรี ใบเรียบ ปลายใบมน
  • ดอกมะขามป้อม ออกดอกเป็นกระจุก ออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกมะขามป้อมมีขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง ออกดอกตามปลายกิ่ง
  • ผลมะขามป้อม ลักษณะทรงกลม แบน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกจะมีสีเขียวอมเหลือง เปลือกผลเรียบ มัน เนื้อผลอ่อน ชุ่มน้ำ ภายในผลมีเมล็ด ลักษณะแข็ง รสของผลมะขามป้อมเปรี้ยว และ ฝาดเล็กน้อย

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม

สำหรับมะขามป้อมจะนำผลมะขามป้อมมาบริโภค ทั้งลักษณะของผลมะขามป้อมสด และ ผลมะขามป้อมแช่อิ่ม โดยคุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะขามป้อมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 58 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ 84.10 กรัม ไขมัน 0.50 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.30 กรัม กากใยอาหาร 2.40 กรัม โปรตีน 0.70 กรัม ธาตุแคลเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม และ วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ 100 หน่วยสากล วิตามินบี 10.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 20.04 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.2 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 276 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อมแช่อิ่ม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 222 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 37.60 กรัม ไขมัน 0.60 กรัม คาร์โบไฮเดรต 59.80 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม โปรตีน 0.50 กรัม ธาตุแคลเซียม 39 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี 0.02 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.1 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 3 มิลลิกรัม

สารต่างๆในมะขามป้อม มีมากมายในทุกส่วนของมะขามป้อม ทั้ัง เนื้อผล เมล็ด ผลสด ผลแห้ง เปลือกผล เปลือกลำต้น ใบมะขามป้อม กิ่งมะขามป้อม และ รากมะขามป้อม โดนรายละเอียด ดังนี้

  • รากมะขามป้อม มี กรดเอลลาจิก และ สารลูพิออล
  • เปลือกลำต้น มี สารแทนนิน สารลูพิออล และ สารลูโค เดลฟินิดิน
  • ใบมะขามป้อม มี สารแทนนิน กรดมาลิก และ สารลูพิออล
  • กิ่งมะขามป้อม มี สารแทนนิน
  • เมล็ดมะขามป้อม มีน้ำมันหอมระเหย ฟอสฟาไทด์
  • เนื้อมะขามป้อม มี น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี3 สารแทนนิน กรดเพ็กทิน และ เกลือแร่ต่าง ๆ

สรรพคุณมะขามป้อม

การใช้ประโยชน์ของของมะขามป้อม ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบมะขามป้อม ผลมะขามป้อม เมล็ดมะขามป้อม และ เปลือกมะขามป้อม รายละเอียด ดังนี้

  • ใบมะขามป้อม สรรพคุณบำรุงผิว ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย เสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ แก้กระหายน้ำ ลดเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเหงือกและฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน รักษาแผลในปาก ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขยายหลอดลม รักษาหอบหืด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาโรคตาแดง
  • ผลมะขามป้อม สรรพคุณบำรุงผิว ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย เสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ แก้กระหายน้ำ ลดเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเหงือกและฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน รักษาแผลในปาก ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขยายหลอดลม รักษาหอบหืด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาโรคตาแดง
  • เมล็ดของมะขามป้อม มีน้ำมันหอมระเหย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • เปลือกลำต้น และ แก่นไม้ของต้นมะขามป้อม สรรพคุณแก้อาหารเป็นพิษ ช่วยขับปัสสาวะ และ รักษาดรคผิวหนัง

โทษของมะขามป้อม

สำหรับการรับประทานมะขามป้อม หรือ การใช้ประโยชน์จากมะขามป้อม ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาดรค มีข้อควรระวัง ดังต่อไปนี้

  • มะขามป้อมมีฤทธิ์เย็น เมื่อกินเข้าไปจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง การกินมะขามป้อมต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม
  • มะขามป้อม อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยที่มีแผนในการผ่าตัดควรงดกินมะขามป้อม อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • มะขามป้อมมีรสเปรี้ยว สำหรับคนที่ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร หรือ ผ่าตัดในช่องท้อง ควรงดการกินมะขามป้อม ควรกินอาหารเบาๆรสจืดๆ

มะขามป้อม หรือ มะขามอินเดีย ผลไม้ ที่มีวิตามินซีสูง ลักษณะของต้นมะขามป้อม เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม สรรพคุณของมะขามป้อม เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ขับปัสสาวะ เป็นต้น โทษของมะขามป้อม มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove