คื่นช่าย คื่นฉ่าย ขึ้นฉ่าย ( Celery ) สมุนไพรกลิ่นหอม ต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงสมอง บำรุงกระดูก มีวิตามินหลายชนิด โทษของคื่นฉายผักสมุนไพร ขึ้นฉ่าย คื่นฉ่าย สมุนไพร

ต้นขึ้นฉ่าย เป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและมีกลิ่นฉุน ขึ้นฉ่าย ภาษาอังกฤษ Celery หลายคนเขียนว่า คื่นช่าย คื่นฉ่าย หรือ คึ่นไช่ ผักขึ้นฉ่ายมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Apium graveolens L. เป็นพืชตระกุลเดียวกับผักชี ชื่อเรียกอื่นๆของคื่นฉ่าย เช่น ผักข้าวปีน  ผักปืน ผักปิ๋ม เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของขึ้นฉ่าย

จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของคื่นฉ่าย ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม น้ำตาล 1.4 กรัม การใยอาหาร 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม น้ำ 95 กรัม วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.021 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.323 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 40 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 80 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของขึ้นฉ่าย

ต้นขึ้นฉ่าย ที่นิยมปลูกมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง และ ขึ้นฉ่ายจีน ซึ่งขึ้นฉ่ายฝรั่งลำต้นจะอวบใหญ่มากคื่นฉ่ายจีน ต้นขึ้นฉ่าย  เป็น พืชล้มลุก ลักษณะของต้นขึ้นฉ่ายมี ดังนี้

  • ลำต้นขึ้นฉ่าย ความสูงของต้นประมาณ 1 ฟุต ลำต้นมีลักษณะกลวง มีกลิ่นหอม อายุของขึ้นฉ่ายไม่เกิน 2 ปี
  • ใบของขึ้นฉ่าย ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก สีเขียวอมเหลือง ใบลักษณะเป็นรูปลิ่มหยัก ขอบใบหยักเป็นแฉก รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปห้าเหลี่ยม มีก้านใบยาวแผ่ออกจากกาบใบ
  • ดอกของขึ้นฉ่าย ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อ
  • ผลของขึ้นฉ่าย มีลักษณะกลมรี สีน้ำตาล ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม

สรรพคุณของขึ้นฉ่าย

การใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรของขึ้นฉ่าย นิยมรับประทานสดๆ หรือนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์ของการรับประทานคื่นฉ่าย มีดังนี้

  • ช่วยเจริญอาหาร และกระตุ้นความอยากกินอาหาร
  • ช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยขยายตัวของหลอดเลือด และ ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
  • ช่วยปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด
  • ช่วยลดอาการอักเสบ
  • ช่วยให้นอนหลับสบาย กลิ่นหอมของคื่นฉ่ายช่วยให้ผ่อนคลาย
  • ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์
  • ช่วยลดอาการของโรคหอบหืด
  • ช่วยล้างพิษในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคซิลิโคซิส ( Silicosis ) โรคระบบทางเดินหายใจ ที่มีสาเหตุมาจากการสูดฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย
  • ช่วยลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ช่วยแก้ปัญหาสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ แก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี
  • ช่วยบำรุงตับและไต
  • ช่วยรักษาโรคปวดข้อต่าง ๆ รวมถึงอาการปวดปลายประสาท ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • รักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ลมพิษ ผดผื่นคันต่าง ๆ
  • ช่วยในการคุมกำเนิดเนื่องจากื่นแ่ายมีฤทธิ์ในการลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย สามารถช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ได้

ข้อควรระวังในการรับประทานผักขึ้นฉ่าย

  • เนื่องจากคื่นฉ่ายมี สรรพคุณในการลดปริมาณการสร้างอสุจิ สำหรับคนที่ต้องการมีบุตร ไม่ควรรับประทานมากเกินไป
  • คื่นฉ่ายเป็นผักที่มีกลิ่นแรง หากทานมากเกินไปอาจทำให้มีอาหารแพ้จนถึงขั้นรุนแรงได้
  • สารสกัดจากต้นคื่นฉ่าย มีสรรพคุณช่วยเร่งให้สีผิวเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลมากขึ้น
  • ผักคื่นฉ่าย หากนำมาปรุงให้สุกเกินไป ผักจะเละและสูญเสียสารอาหารสำคัญ

คื่นช่าย คื่นฉ่าย หรือ ขึ้นฉ่าย ( Celery ) ผักสมุนไพรกลิ่นหอม ประโยชน์ของขึ้นฉ่ายมีอะไรบ้าง พืชสวนครัว สรรพคุณของขึ้นฉ่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย บำรุงสมอง บำรุงกระดูก ผักขึ้นฉ่าย ประกอบด้วย วิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และเบตาแคโรทีน เป็นต้น ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ดับกลิ่นคาวอาหาร

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดงต้นเข็ม ต้นเข็มแดง ดอกเข็ม สรรพคุณของต้นเข็ม

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) ชื่อวิทาศาสตร์ของต้นเข็ม คือ Ixora lobbii Loudon พืชไม้พุ่ม สมุนไพร ประโยชน์ของต้นเข็ม สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเข็ม รากของต้นเข็ม ใช้บำรุงไฟธาตุ ลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิได้ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดง

ดอกเข็ม เป็นไม้มงคล ตามความเชื่อของคนไทย ดอกเข็มมีลักษณะแหลมเรียว แสดงความหมายของ สติปัญญาที่เฉียบแหลม ดอกเข็ม จึงเป็นดอกไม้ประจำวันไหว้ครู ใช้บูชาพระ และจัดแจกัน ตามงานพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ต้นเข็มแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ixora lobbii Loudon ชื่อเรียกอื่นๆของต้นเข็ม คือ จะปูโย, ตุโดบุโยบูเก๊ะ, เข็มดอกแดง เป็นต้น

ลักษณะของต้นเข็มแดง

ต้นเข็มแดง เป็นไม้พุ่ม อายุยืน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง หรือปักชำ  มีขนาดเล็ก ไม่เกิน 5 เมตร กลีบดอกย่อยสีแดง มีเกสรสีเหลืองแซมข้างกลีบ ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม หนาและแข็ง สีเขียว นิยมปลูกตามบ้าน ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดสระบุรี และมีขึ้นประปรายในจังหวัดต่าง ๆ โดยนิยมนำมาปลูกกันตามชนบท และต้นเข็มสามารถขึ้นได้เองตามป่าราบและป่าเบญจพรรณ ลักษณะของต้นเข็มแดงมีอะไรบ้าง

  • ต้นของเข็มแดง เป็นพุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลัษณะต้นนั้นจะคล้ายเข็มขาว กิ่งใบมีสีน้ำตาล ขนาดเล็ก เหนียว มีใบเกาะแน่นตามกิ่ง
  • ใบของเข็มแดง ใบมีลักษณะ หนา และแข็ง สีเขียวสด ปลายใบแหลม
  • ดอกของเข็มแดง มีสีแดง ออกดอกเป็นช่อ ดอกเข็มแดงจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเข็มขาว ไม่มีกลิ่นหอม
  • ผลของเข็มแดง มีลักษณะกลม ผลอ่อน มีสีเขียว ผลสุก มีสีม่วงดำ

สรรพคุณของเข็มแดง

การใช้ประโยชน์ของเข็มแดง ในการรักษาโรค จะใช้ รากของเข็มแดง ใบและดอก โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของเข็ม มีดังนี้

  • รากของต้นเข็ม รสเย็นหวาน แก้เสมหะและแก้กำเดา บำรุงธาตุไฟ แก้ตาพิการ สามารถนำมาทำเป็น ยาบำรุงร่างกาย แก้อาการบวม ลดการอักเสบ รักษาตาพิการ ใช้หยุดเลือดกำเดา ขับเสมหะ ใช้ลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร ลดความดันโลหิต ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิ และ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบของต้นเข็ม รสขื่น เป็นยาฆ่าพยาธิ
  • ดอกต้นเข็ม รสหวานเย็น แก้โรคตา

การปลูกต้นเข็ม

การปลูกต้นเข็มสามารถปลูกต้นเข็มได้ง่าย สามารถปลูกในกระถางต้นไม้ หรือปลูกลงดินก็ได้ โดยมีวิธีปลูกต้นเข็มแดง มีดังนี้

  • การปลูกต้นเข็มแดงในกระถาง ปลูกด้วยดินร่วน ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และ แกลบ โดยใช้อัตราส่วนเท่ากัน ให้ใช้กระถางทรงสูง 12 นิ้ว ให้เติมดิน หรือ เปลี่ยนดินทุกปี หรือ หากต้นมีขนาดใหญ่มากขึ้นให้เปลี่ยนกระถางให้ใหญ่มากขึ้น
  • การปลูกต้นเข็มแดงลงดิน ต้องขุดดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร โดยใช้ดินร่วน ผสมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วนที่เท่ากันต้นเข็มเมื่อโตขึ้น จะมีลักษณะจับกลุ่มกัน ให้ตัดแต่งทรงต้นเข็มให้สวยงาม ควรปลูกต้นเข็มทางทิศตะวันออกของบ้าน

การให้น้ำสำหรับต้นเข็ม ต้นเข็มต้องการน้ำเพียงสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ชอบแดดจัด ควรใส่ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก ทุกๆ 3 เดือน การขยายพันธุ์ต้นเข็มแดง สามารถขยายพันธ์ได้ทั้งการปักชำ ตอนกิ่ง หรือ การเพาะเมล็ด การใส่ปุ๋ยเร่งดอกให้ต้นเข็มแดง หากต้องการให้ต้นเข็มออกดอก ให้ใส่ได้เดือนละครั้ง

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) พืชไม้พุ่ม สมุนไพร ประโยชน์ของต้นเข็ม สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเข็ม รากของต้นเข็ม ใช้บำรุงไฟธาตุ ลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิได้ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove