ต้นเตย ลักษณะเป็นอย่างไร พืชให้กลิ่นหอม ใบเตยนิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของใบเตย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน กินใบเตยสดๆความหอมของใบเตยทำให้อ้วกได้

ใบเตย สมุนไพร ใบเตย สรรพคุณของเตย

ต้นเตย หรือ เตยหอม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Pandan leaves เตยมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Pandanus amaryllifolius Roxb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของต้นเตย อาทิ เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง เป็นต้น จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตามลำต้น เราสามารถนำใบเตยมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง เป็นพืชที่อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน

ต้นเตยในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยใบเตยหอม เป็นวัตถุดิบหนึ่งในอาหารไทย ใบเตยเป็นเครื่องแต่งกลิ่นและสีของอาหาร จึงจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ทุกท้องถิ่นของประเทศไทยจะมีใบเตยขายตามตลาด ปัจจุบันการส่งออกใบเตย มีขายในรูปใบแช่แข็ง ซึ่งส่งออกไปหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า จีน ศรีลังกา ตลาดใบเตยหอมอยู่ทั่วดลกที่มีคนไทยอาศัยอยู่

ชนิดของเตย

ปัจจุบันต้นเตยในประเทศไทย สามารถพบเห็นต้นเตยได้ 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม ซึ่งรายละเอียดของเตยแต่ละชนิด มีดังนี้

  • เตยหนาม หรือ ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ไม่นิยมนำใบมาประกอบอาหาร และนิยมนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน เป็นต้นเตยที่ออกดอก และ ดอกมีกลิ่นหอม
  • เตยไม่มีหนาม หรือ เตย หรือ เตยหอม นิยมนำใบมาแต่งกลิ่นอาหารและให้สีเขียวผสมอาหาร ลักษณะของเตยไม่มีหนาม คือลำต้นเล็ก ไม่มีดอก

ลักษณะของต้นเตย

ต้นเตย เป็นพืชที่เป็นพุ่มขนาดเล็ก ลักษณะเป็นกอ สามารถขยายพันธ์โดยการแยกกอ และ การแตกหน่อ ใบเตยนิยมนำมาทำสีผสมอาหาร ให้สีเขียว ลักษณะของต้นเตย มีดังนี้

  • ลำต้นเตย ความสูงของลำต้นประมาณ 60 – 100 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นกลม เป็นข้อๆ ลำต้นโผล่ออกจากดิน เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นแตกรากแขนงออกเป็นรากค้ำจุน
  • ใบเตย ลักษณะเรียวยาว ปลายใบแหลม ใบผิวเรียบปลายใบแหลม เป็นสีเขียว ใบแตกออกจากด้านข้างรอบลำต้น เรียงสลับวนเป็นเกลียว ใบมีกลิ่นหอม

คุณค่าทางอาหารของใบเตย

สำหรับการรับประทานใบเตย นั้นนิยมนำมาคั้นน้ำเพื่อเพิ่มความหอมและสีสันของอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบเตยขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 35 กิโลแคลอรี่ โดยมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 85.3 กรัม โปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม แคลเซียม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2,987 ไมโครกรัม วิตามินเอ 498 RE ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 1.2 มิลลิกรัม ไนอาซีน 3 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 100 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย ประกอบไปด้วยสารสำคัญหลายชนิด ประกอบด้วย เบนซิลแอซีเทต ( benzyl acetate ) แอลคาลอยด์ ( alkaloid ) ลินาลิลแอซีเทต ( linalyl acetate ) ลินาโลออล ( linalool ) และ เจอรานิออล ( geraniol ) ซึ่งสารจากน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอม คือ คูมาริน ( coumarin ) และ เอทิลวานิลลิน ( ethyl vanillin )

สรรพคุณของเตย

การใช้ประโยชน์จากเตย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถเตยมาสมุนไพร ได้ ตั้งแต่ ราก ลำต้น น้ำมันหอมระเหย และ ใบ ซึ่ง สรรพคุณของเตย มีรายละเอียดดังนี้

  • รากเตย สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ลำต้นเตย สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ รักษาโรคเบาหวาน ทำให้คอชุ่มชื่น แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่วในไต รักษาหนองใน แก้กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
  • ใบเตย สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ลดอาการอาหารไม่ย่อย แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ ช่วยบำรุงหัวใจ ลดการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ นิยมนำมาน้ำผสมกับขนมไทย ให้เกลิ่นหอมและมีสีเขียว
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย สรรพคุณช่วยแก้อาการหน้าท้องเกร็ง แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการดปวดหัว แก้โรคลมชัก ลดอาการเจ็บคอ ลดอาการอักเสบในลำคอ

โทษของใบเตย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากใบเตย ความหอมของใบเตยมาจากน้ำมันหอมระเหยในใบเตย การบริโภคเตยปลอดภัย มีข้อมูลทางการแพทย์น้อยมากว่าการบริโภคเตยมีอันตราย ซึ่งหากนำมาต้มจะให้กลิ่นและรสชาติที่รู้สึกสดชื่น แต่ การรับประทานใบแบบสดๆ อาจทำให้อาเจียนได้ ต้องนำมาต้มหรือคั้นน้ำออกมา

ต้นเตย ลักษณะเป็นอย่างไร พืชให้กลิ่นหอม ใบเตยนิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของใบเตย เช่น ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน กินใบเตยสดๆความหอมของใบเตยทำให้อ้วกได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

ยอ สมุนไพรไทย ต้นยอเป็นอย่างไร สรรพคุณของลูกยอ เช่น แก้อาเจียน ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของลูกยอ ลูกยอเป็นอันตรายกับคนท้อง ทำให้แท้งลูกได้

ลูกยอ สรรพคุณของลูกยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นยอ ภาษาอังกฤษ เรียก Great morinda , Tahitian noni , Indian mulberry , Beach mulberry ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นยอ คือ Morinda citrifolia L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นยอ เช่น แย่ใหญ่ ตาเสือ มะตาเสือ ยอบ้าน เป็นต้น ต้นยอ เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศแถบโพลีนีเซียตอนใต้ ( Polynesia ) ซึ่งพบได้ทั่วไป ผลยอมีรสชาติเผ็ดร้อนและมีกลิ่นแรง

ลูกยอ มีสารอาหารต่างๆหลากหลาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผลลูกยอมีสารอาหารประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม กรดไขมัน ลิกนิน พอลิแซ็กคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ สโครโปเลติน แอลคาลอยด์ เป็นต้น ซึ่งในทางการแพทย์แผนไทย นิยมใช้ในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม และ ช่วยย่อยอาหาร แต่เป็นอันตรายสำหรับสตรีมีครรภ์ อาจทำให้แท้งลูกได้

สายพันธุ์ต้นยอ

สำหรับต้นยอ สามารถแบ่งได้ เป็น 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย citrifolia  , bracteata และ cultivar potteri  รายละเอียด ดังนี้

  • citrifolia พบได้บริเวณหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ฮาวาย ตาฮิติ เป็นต้นสายพันธุ์นี้ลักษณะของผลมีหลายขนาด
  • bracteata พบมากในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งลักษณะของลูกยอสายพันธุ์นี้มีผลขนาดเล็ก
  • cultivar potteri พบทั่วไปตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งสายพันธุ์นี้มีใบเป็นสีเขียวและสีขาว

ลักษณะของต้นยอ

ต้นยอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะของผลยอ มีเอกลักษณ์และลักษณะที่ไม่เหมือนใคร ลักษณะของต้นยอ มีดังนี้

  • ลำต้นยอ ความสูงของต้นยอประมาณ 5 เมตร เปลือกของลำต้นบางติดกับเนื้อไม้ เปลือกของลำต้นสีเหลืองนวล หยาบและสากเล็กน้อย
  • ใบยอ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งใบจะแทงออกตรงข้ามกันตามกิ่ง ใบเป็นทรงรี ใบอ่อนมีสีเขียวสด ใบแก่สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม ผิวใบเป็นมัน ลักษณะเป็นคลื่น
  • ดอกยอ ลักษณะดอกเป็นช่อเดี่ยว กลีบดอกสีขาว ลักษณะเป็นหลอด ดอกยอจะแทงออกตามง่ามใบ ผิวดอกด้านนอกเรียบ ส่วนผิวดอกด้านในมีขน
  • ผลยอ ลักษณะกลมรี มีตุ่มทั่วผล ผลอ่อนมีสีเขียวสด ผลแก่เป็นสีเหลืองอมเขียว ภายในลูกยอมีเมล็ดมีจำนวนมาก ซึ่งลักษณะของเมล็ดยอ ลักษณะแบน สีน้ำตาลเข้ม

คุณค่าทางโภชนาการของยอ

สำหรับสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ของยอ ใช้ประโยชน์จากลูกยอและใบยอ ลูกยอสุก สามารถรับประทานได้ กินกับเกลือ หรือ กะปิ สามารนำมาคั้นน้ำลูกยอ ใช้ดื่มเป็นยาลดความดันโลหิต ส่วนใบอ่อนยอ สามารถรับประทานเป็นผักสด โดยใบอ่อนยอนำมาลวกกินกับน้ำพริก ต้มแกงจืด ทำแกงอ่อม เป็นต้น ลูกยอ มีสารเคมีหลายชนิด เช่น ลิกนัน โพลีแซคคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ กรดไขมัน สโคโปเลติน และ อัลคาลอยด์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของใบยออ่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม โปรตีน 3.8 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม กากใยอาหาร 1.9 กรัม แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 9,164 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14มิลลิกรัม และ วิตามินซี 78 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผลยอดิบ ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.5 กรัม โปรตีน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 39 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04มิลลิกรัม และ วิตามินซี 208 มิลลิกรัม

สรรพคุณของยอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากยอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบยอ ผลยอ รากยอ และ น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ สรรพคุณของยอ มีดังนี้

  • ผลยอ สรรพคุณช่วยชะลอวัย ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ช่วยลดความดัน ช่วยขยายหลอดเลือด รักษาวัณโรค ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ข่วยผ่อนคลาย บำรุงธาตุไฟ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี บำรุงสมอง รักษาสิวแก้เวียนหัว รักษาแผลในปาก แก้เจ็บคอ แก้ปวดฟัน แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับประจำเดือน รักษาแผล
  • น้ำลูกยอ สรรพคุณช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยลดความดัน
  • ใบยอ สรรพคุณช่วยรักษาเบาหวาน ช่วยลดความดัน รักษาวัณโรค แก้กระษัย แก้เบื่ออาหาร บำรุงสายตา รักษาโรคมาลาเรีย แก้ปวดหัว รักษาแผล แก้ปวดตามข้อกระดูก กำจัดเหา
  • ลำต้นยอ สรรพคุณช่วยลดความดัน รักษาโรคดีซ่าน
  • รากยอ สรรพคุณแก้กระษัย รักษาแผลอักเสบ
  • น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ สรรพคุณลดอาการอักเสบ ช่วยป้องกันแมลง รักษาสิว กำจัดเหา

โทษของยอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากยอ ต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเมล็ดยอ มีความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ลูกยอ สรรพคุณช่วยขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน อาจทำให้เสียเลือด และ แท้งลูกได้

ยอ สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นยอเป็นอย่างไร สรรพคุณของลูกยอ เช่น แก้อาเจียน ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของลูกยอ โทษของลูกยอ เป็นอันตรายกับคนท้อง ทำให้แท้งลูกได้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove