ผักกระเฉด ( Water mimosa ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ลักษณะของผักกระเฉดเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ผักกระเฉดเจริญเติมโตได้ในน้ำ

ผักกระเฉด ผัก สมุนไพร สรรพคุณของกระเฉด

ผักกระเฉด ( Water mimosa ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเฉด คือ Neptumia oleracea Lour. FL. พืชผัก สมุนไพร สรรพคุณของกระเฉด บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ผักกระเฉดเจริญเติมโตได้ในน้ำ มีรากแตกเป็นกระจุกตามข้อ ปล้องแก่มีนวมเหมือนฟองน้ำ เรียกว่า “ นมกระเฉด ” หุ้มอยู่ตามปล้องกระเฉด มีคุณสมบัติทำให้ต้นลอยน้ำ ผักกระเฉด ผักพื้นบ้านที่รู้จักกันดี นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน

ต้นกระเฉด ภาษาอังกฤษ เรียก Water mimosa มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Neptumia oleracea Lour. FL. ชื่ออื่นๆ ของผักกระเฉด เช่น ผักหละหนอง ผักหนอง ผักรู้นอน ผัดฉีด ผักกระเสดน้ำ

ผักกระเฉด เป็นพืชไม้เลื้อย หากอยู่บนดินจะเป็นพืชคลุมดิน เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับผักบุ้ง เป็นพืชพื้นเมืองของไทยผักกะเฉดสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในน้ำและบนดิน รากของผักกระเฉดจะขึ้นตามข้อ เหมือน “หนวด” ใบของผักกระเฉด เป็นลักษณะเหมือนขนนกและออกตามข้อ ขอบใบจะเป็นสีม่วง ดอกและผลของผักกระเฉดจะออกดอกเป็นช่อลักษณะกลมสีเหลืองตามซอกใบ ผลของผักกระเฉดจะออกเป็นฝักลักษณะโค้งงอ มีเมล็ดอยู่ด้านในฝัก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ลำต้นผักกระเฉด จะขึ้นและเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เลื้อยยาวลอยบนน้ำ ลำต้นมีลักษณะกลม และเรียวยาว เป็นปล้อง ภายในตัน ไม่เป็นรูกลวง แต่ละปล้องมีนวมหุ้มสีขาว ที่เรียกว่า “นม” โดยหุ้มปล้องเว้นช่วงที่เป็นข้อของปล้อง นมสีขาวนี้ทำหน้าที่ช่วยพยุงลำต้นผักกระเฉดให้ลอยน้ำได้
  • รากผักกระเฉดเป็นรากฝอย แทงออกตามข้อจำนวนมาก โคนรากมีปมของเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียมเหมือนรากของพืชตระกูลถั่วบนบก
  • ใบผักกระเฉด เป็นใบประกอบ แทงออกบริเวณข้อของลำต้น มีก้านใบหลัก แต่ละก้านใบหลักประกอบด้วยก้านใบย่อย 4-6 ก้าน และแต่ละก้านใบจะมีใบ 15-20 คู่ ใบบนก้านใบย่อยจะมีรูปไข่ ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 ซม. ใบอ่อนมีสีเขียวอมม่วง หลังจากนั้นค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวสด
  • ดอกผักกระเฉด ออกเป็นช่อสีเหลือง แต่จะมองเห็นเป็นดอกเดี่ยวคล้ายดอกกระถิน ดอกมีก้านดอกยาวประมาณ 15-20 ซม. ตัวดอกกว้างประมาณ 2 ซม. มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ บนดอกที่มองเห็นจะประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ช่อละ 30-50 ดอก โดยดอกช่วงบนจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ส่วนดอกช่วงล่างจะเป็นหมัน
  • ผลของผักกระเฉด จะออกเป็นฝักขนาดเล็ก ฝักมีลักษณะแบนยาว ฝักยาวประมาณ 2.5 ซม. ภายในฝักมีเมล็ด 4-10 เมล็ด เมื่อฝักแก่ ฝักจะปริแตกตามร่องด้านข้างเพื่อปล่อยให้เมล็ดร่วงลงน้ำ

นักโภชนาการพบว่าในผักกระเฉดมี มีวิตามินซีสูงมาก มีแคลเซียม และธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มร่างกายกันทำงานปรกติ ช่วยบำรุงระบบสืบพันธ์ บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกพรุน ทำให้กล้ามเนื้อทำงานปรกติ บำรุงเลือด

สรรพคุณทางสมุนไพรของผักกระเฉด

ตามที่กล่าวมาข้างต้น ผักกระเฉดมีวิตามินซี แคลเซียม และธาตุเหล็ก สูง บำรุงสายตา กระดูก และเลือด ได้ดี นอกจากนั้นแล้ว ผักกระเฉดเป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ถอนพิษเบื่อเมา ป้องกันโรคตับอักเสบ ประโยชน์ของผักกระเฉด ประกอบด้วย รายละเอียด ดังนี้

  1. ผักกระเฉดมีวิตามินเอซึ่งเป็นตัวช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี
  2. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  3. ผักกระเฉดมีธาตุเหล็ก ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงและช่วยป้องกันโรคโลหิตจางได้อีกด้วย
  4. ช่วยเสริมสร้างกระบวนการเผาผลาญสารอาหารให้สร้างเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี
  5. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
  6. ช่วยบำรุงร่างกายและดับพิษ
  7. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  8. กระเฉดมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงช่วยดับพิษร้อนได้เป็นอย่างดี
  9. ผักกระเฉดมีสรรพคุณช่วยแก้พิษไข้
  10. ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน ด้วยการนำผักกระเฉดมาตำผสมกับเหล้า แล้วหยอดในบริเวณฟันที่มีอาการปวด
  11. ช่วยขับเสมหะ
  12. ช่วยขับลมในกระเพาะ
  13. ช่วยรักษาโรคกามโรค
  14. ช่วยแก้อาการปวดแสบปวดร้อน
  15. ช่วยถอนพิษยาเบื่อยาเมา
  16. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบ
  17. ผักกระเฉดเป็นผักที่เหมาะอย่างมากสำหรับคนธาตุไฟและธาตุดิน ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายเกิดความสมดุลและไม่เจ็บป่วยได้ง่าย
  18. เมนูผักกระเฉด เช่น ยำวุ้นเส้นผักกระเฉด ผัดหมี่กระเฉด เส้นหมี่ผัดกระเฉดกุ้ง ผัดผักกระเฉดไฟแดง ผักกระเฉดผัดน้ำมันหอย ผักกระเฉดทอดไข่สามรส แกงส้มผักกระเฉดปลาช่อนทอด ฯลฯ หรือจะใช้รับประทานสดร่วมกับน้ำพริกก็ได้

ข้อควรระวังในการบริโภคผักกระเฉด

การรับประทานผักกระเฉดควรทำให้สุก ก่อนนำมารับประทาน เพราะมีความเสี่ยงต่อพยาธิตัวอ่อนที่อาจปะปนเข้ามา รวมไปถึง “ไข่ปลิง” ที่ทนความร้อนได้สูงมาก แอดมินไปอ่านเจอมาว่าต้องต้มด้วยความร้อนสูงถึง 500 องศาเซลเซียสและต้องต้มนานเป็นชั่วโมงเลยถึงจะรับประทานได้อย่างปลอดภัย และนอกจากนี้ยังอาจมีสารพิษจากยาฆ่าแมลง “คาร์โบฟูราน” ปลอมปนเข้ามาอีกด้วย ซึ่งสารพิษตัวนี้มีพิษร้ายแรงต่อร่างกายมนุษย์ มีผลต่อระบบประสาทและหัวใจ เป็นสารก่อมะเร็ง และอาจทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติได้ ซึ่งผักกระเฉดในบ้านเราก็เคยถูกอียูสั่งแบน ห้ามนำเข้าอย่างเด็ดขาดมาแล้วด้วยสาเหตุนี้เอง ถ้าไม่แน่ใจจริงก็รับประทานด้วยวิธีปรุงสุกจะดีกว่ารับประทานแบบประเภทยำ

สะเดา Siamese neem tree ผักพื้นบ้าน สมุนไพรมีรสขม สรรพคุณดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน ช่วยถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ลดความดัน ลดไข้ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร

สะเดา สมุนไพร สรรพคุณของสะเดา

ต้นสะเดาในประเทศไทย เราพบว่า สะเดาสามารถการกระจายพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติตามป่าเบญจพรรณและป่าแดง ทั่วประเทศ  นอกจากนี้ยังสามารถพบสะเดาได้ตามป่าแล้งในประเทอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถานและศรีลังกา

ต้นสะเดา ภาษาอังกฤษ เรียก Siamese neem tree. มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. ชื่ออื่นๆของสะเดา เช่น สะเลียม กะเดา จะตัง สะเดาบ้าน เดา กระเดา จะดัง จะตัง ผักสะเลม ลำต๋าว สะเรียม ตะหม่าเหมาะ ควินิน สะเดาอินเดีย ไม้เดา เป็นต้น

ลักษณะของต้นสะเดา

ต้นสะเดา เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 7 เมตร ใบของสะเดาเป็นแบบขนนก เรียงสลับใบ ยอดอ่อนของใบมีสีน้ำตาลอมแดง ดอกของสะเดา จะออกบริเวณปลายของกิ่ง และจะดอกสะเดาจะออกเมื่อใบของสะเดาแก่และร่วงไป ดอกสะเดามีกลีบดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม ผลของสะเดา มีลักษณะเป็นรูปรี กลม

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของสะเดา พบว่า ยอดสะเดา 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 76 กิโลแคลอรี ซึ่มประกอบไปด้วยน้ำ 77.9 กรัม แคลเซี่ยม 354 มิลลิกรัม โปรตีน 5.4 กรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 3611 ไมโครกรัม วิตามินบีสอง 0.07 มิลลิกรัม ในสะเดาพบว่ามีสารสำคัญที่มีประโยชน์ เช่น ในใบสะเดามี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ในเมล็ดสะเดามี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% ในเปลือกต้นสะเดามีสาร nimbin และ desacetylnimbin

สรรพคุณทางสมุนไพรของสะเดา

สามารถนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ยอดอ่อน ขนอ่อน เปลือกต้น ก้ายใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล เมล็ด รายละเอียด ของ สรรพคุณของสะเดา มีดังนี้

  • ดอกสะเดาและยอดอ่อนสะเดา สามารถใช้ แก้พิษโลหิต หยุดเลือดกำเดา รักษาริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ ช่วยขับลม
  • ขนอ่อนสะเดา สามารถใช้ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
  • เปลือกต้นสะเดา ใช้ลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องเดิน
  • ก้านใบสะเดา สามารถใช้ลดไข้ นำมาทำเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย
  • กระพี้ สามารถใช้รักษาถุงน้ำดีอักเสบ
  • ยางของต้นสะเดา ใช้ในการดับพิษร้อน
  • แก่นสะเดา รักษาอาการแก้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ
  • รากสะเดา สามารถนำมาใช้รักษาโรคผิวหนัง ขับเสมหะ
  • ใบสะเดา และผลสะเดา สามารถใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง และบำรุงธาตุ
  • ผลของสะเดา จะมีรสขม นิยมนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาโรคหัวใจเดินผิดปกติ
  • เปลือกของรากสะเดา จะมีรสฝาด ใช้ลดไข้ ทำให้อาเจียน และใช่รักษาโรคผิวหนัง
  • เมล็ดสะเดา สามารถนำมาสกัดน้ำมัน และสามารถใช้รักษาโรคผิวหนัง และทำเป็นยาฆ่าแมลง

ข้อควรระวังในการบริโภคสะเดา

  1. ห้ามบริโภคสะเดาในคนที่มีความดันต่ำ เนื่องจากสะเดามีฤทธ์ให้ความดันโลหิตต่ำลง
  2. สะเดา เป็น ยาเย็น มีรสขมอาจทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะได้
  3. ในสตรีหลังคลอด ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้น้ำนมแห้ง

การปลูกสะเดา

สามารถปลูกได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และก่อนปลูกควรไถพรวนแปลงอีกรอบ และตากดินนาน 3-5 วัน วิธีการปลูก เตรียมต้นกล้าสำหรับปลูกที่มีอายุ 3-5 เดือน และมีความสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร จากนั้นนำลงแปลงปลูก ขุดหลุมในระยะระหว่างหลุมประมาณ 3 เมตร ควรให้ขนานกับแนวของดวงอาทิตย์ในทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้ต้นสะเดาสามารถรับแสงได้อย่างทั่วถึง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove