ตะไคร้ พืชล้มลุก สมุนไพรไทย ต้นตะไคร้มีกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหยตะไคร้มีประโยชน์มากมาย ลักษณะของต้นตะไคร้ สรรพคุณบำรุงผิว ช่วยขับลม บำรุงระบบประสาท โทษของตะไคร้

ตะไคร้ สมุนไพร

ต้นตะไคร้ ( Lemongrass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf สมุนไพร นิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของตะไคร้ ยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาการปวด แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลมในลำไส้ แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง บำรุงผิว บำรุงระบบประสาท เป็นต้น

ต้นตะไคร้ Lemongrass )  เป็นพืชตระกูลหญ้า เป็นพืชล้มลุก ใบของตะไคร้เป็นเรียวยาว ใบมีขน ทั้งต้นตะไคร้มีกลิ่นฉุน สามารถขยายพันธ์โดยแตกหน่อ เราสามารถแบ่งตะไคร้ได้เป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งตะไคร้เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การปลูกตะไคร้ เราใช้การปักชำลำต้นของตะไคร้ ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร
  • ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
  • ดอกตะไคร้ ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ จะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ 

การศึกษาของตะไคร้ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม เส้นใย 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม และ เถ้า 1.4 กรัม

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับประโยชน์ของตะไคร้มีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทั้งต้น หัว ราก ต้น ใบ

  • ทั้งต้นของตะไคร้  นิยมใช้เป็นยา ใช้รักษาโรคหอบหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยทำเป็นยาทานวด นำมารับประทาน ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อได้
  • หัวของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยา ใช้รักษากลากเกลื้อน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะขัด รักษานิ่ว บำรุงไฟธาตุ เป็นยาแก้อาเจียน ยาลดความดันโลหิตสูง แก้กษัยเส้น และแก้ไข้ เป็นต้น
  • รากของตะไคร้ สามารถใช้แก้ปวดท้อง และรักษาอาการท้องเสีย
  • ต้นตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็น ยาขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหนองใน และช่วยดับกลิ่นคาวอาหารได้ด้วย
  • ใบสดของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดอาการไอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดได้ แก้อาการปวดศีรษะ

ตะไคร้ ชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Lemongrass ชื่อวิทยาศาสตร์ ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ตะไคร้มีประโยชน์ เป็นทั้งยารักษาโรค และมีประโยชน์ทางโภชนาการสูง เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณอื่นๆของตะไคร้ เช่น ช่วยไล่แมลง ล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยซ่อมแซมและบำรุงระบบประสาท ช่วยรักษาอาการอักเสบ ช่วยบำรุงผิว

โทษของตะไคร้

พิษของน้ำมันตะไคร้ ปริมาณน้ำมันตะไคร้ ที่ทำให้หนูขาวตายที่ครึ่งหนึ่งของจำนวนหนูขาวทั้งหมด ด้วยการให้ทางปาก  ที่ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และการให้น้ำมันหอมระเหยทางกระเพาอาหารแก่กระต่ายที่ทำให้กระต่ายตายที่ครึ่งหนึ่ง พบว่า มีปริมาณความเข้มข้นเดียวกันกับการให้แก่หนูขาว

พิษเฉียบพลันของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ที่ความเข้มข้น 1,500 ppm ในระยะเวลา 60 วัน กลับพบว่า หนูขาวที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีการเติบโตเร็วกว่ากลุ่มที่ไม้ได้รับ และค่าทางเคมีของเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

ขิง ( Ginger ) สมุนไพรไทย พืชเศรษฐกิจ นิยมนำเหง้าขิงมาทำอาหาร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้อาเจียน ลดไข้ขิง สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณขิง

เหง้าขิง ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ลดไข้  ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ ขิงเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการของตลาดสูงมาก นิยมนำมาทำเป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร ใช้ในอุตสาหกรรมความงาม อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

ขิง เป็นพืชที่พบได้ในทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขิงมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า zingiber offcinale Roscoe ภาษาอังกฤษ เรียก Ginger ชื่ออื่นๆของขิง เช่น ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงดอกเดียว ขิงแดง ขิงแกลง ขิงเผือก เป็นต้น

ลักษณะของต้นขิง

ขิง เป็น พืชล้มลุก มีเหง้าลักษณะคล้ายมือ เปลือกเหง้าจะมีสีเหลืองอ่อน ขิงเป็นพืชชนิดเดียวกันกับ ข่า ขมิ้น ซึ่งขิงมีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ผลยิ่งแก่จะมีรสเผ็ดร้อนมากขึ้น ลำต้นเป็นกอมีความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ใบของขิง เป็นกาบหุ้มซ้อนกันเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว เหมือนใบไผ่ ปลายใบจะเรียวแหลม ดอกของขิง จะมีสีขาว ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม

คุณค่าทางโภชนาการของขิง

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของขิง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ และมี สารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรท 4.4 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม กากใยอาหาร 0.8 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เบต้า-คาโรทีน 10 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ไธอะมีน 0.02 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1 มิลลิกรัม และไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม

สรรพคุณของขิง

การใช้ประโยชน์จากขิง ในด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย ขิง นิยมยมนำ เหง้าขิง หรือ หัวขิง มาใช้ประโยชน์โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ขิง ในตำราสมุนไพรไทยบอกว่าขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น และยังแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ลดไข้  ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ
  • น้ำขิง มาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ทำอย่างไร แก้อาเจียน อาการเบื่ออาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะ รักษาไข้หวัดได้  ช่วยขับเหงื่อ ลดอาการไข้ ช่วยบรรเทาอาหารไอ อาการเจ็บคอ ช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือน แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง
  • ขิงเผาให้สุก และนำมาพอกแผล สามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบได้
  • ขิงแก่บดละเอียด และนำไปคั่วกับน้ำสารส้ม คั่วจนเกรียม นำมาพอกฟัน แก้ปวดฟันได้
  • เหง้าขิง รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด และยังเป็นสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ
  • ต้นขิง รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • ใบขิง รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
  • ดอกขิง รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
  • รากขิง รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
  • ผลขิง รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก่นขิง ฝนทำยาแก้คัน

“ ขิง ” ไม่ได้เป็นเพียง สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อการปรับสมดุลร่างกาย เท่านั้น แต่ยัง ช่วยแก้ปวดท้อง วิงเวียนศีรษะได้ด้วย ขิง จึงถือเป็น ยาจากธรรมชาติ ที่ให้ทั้งประโยชน์ และ บรรเทาเยียวยาอาการต่างๆได้ เรามักนิยมใช้ ขิงแก่ เพราะ ยิ่งแก่จะยิ่งให้ความเผ็ดร้อน จึงมี สรรพคุณทางยา ที่มากกว่า ขิงอ่อน และยัง มีใยอาหาร มากขึ้นตามไปด้วย แต่เนื่องจาก ขิงมีรสเผ็ด มี คุณสมบัติอุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือ มีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทาน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

โทษของขิง

เนื่องจากขิง เป็น สมุนไพร ซึ่ง สรรพคุณของขิง คือ มีฤทธ์ร้อน ทำให้ร่างกายอบอ่อน ไม่ควรกินสุรา หรือ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ร่วมกับขิง และ ในคนที่ป่วย หรือ มีอุณหภูมิร่างกายสูง การกินขิงอาจทำให้ร่างกายร้อนขึ้น

  • ขิงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับสตรีมีครรภ์
  • ขิง ทำให้เกิดแผลร้อนในภายในปากได้ สามารถเยื่อบุภายในช่องปากเกิดการอักเสบจนร้อนในได้
  • ขิง มีสพพรคุณช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด หากมีอาการเลือดออกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิง

ขิง ( Ginger ) สมุนไพรไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ มีความต้องการของตลาดสูง นิยมนำเหง้าขิงมาทำอาหาร ประโยชน์ของขิง สรรพคุณของขิง ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ลดไข้  ขับลมในกระเพาะอาหาร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove