กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

สะเดา Siamese neem tree ผักพื้นบ้าน สมุนไพรมีรสขม สรรพคุณดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน ช่วยถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ลดความดัน ลดไข้ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร

สะเดา สมุนไพร สรรพคุณของสะเดา

ต้นสะเดาในประเทศไทย เราพบว่า สะเดาสามารถการกระจายพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติตามป่าเบญจพรรณและป่าแดง ทั่วประเทศ  นอกจากนี้ยังสามารถพบสะเดาได้ตามป่าแล้งในประเทอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถานและศรีลังกา

ต้นสะเดา ภาษาอังกฤษ เรียก Siamese neem tree. มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. ชื่ออื่นๆของสะเดา เช่น สะเลียม กะเดา จะตัง สะเดาบ้าน เดา กระเดา จะดัง จะตัง ผักสะเลม ลำต๋าว สะเรียม ตะหม่าเหมาะ ควินิน สะเดาอินเดีย ไม้เดา เป็นต้น

ลักษณะของต้นสะเดา

ต้นสะเดา เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 7 เมตร ใบของสะเดาเป็นแบบขนนก เรียงสลับใบ ยอดอ่อนของใบมีสีน้ำตาลอมแดง ดอกของสะเดา จะออกบริเวณปลายของกิ่ง และจะดอกสะเดาจะออกเมื่อใบของสะเดาแก่และร่วงไป ดอกสะเดามีกลีบดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม ผลของสะเดา มีลักษณะเป็นรูปรี กลม

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของสะเดา พบว่า ยอดสะเดา 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 76 กิโลแคลอรี ซึ่มประกอบไปด้วยน้ำ 77.9 กรัม แคลเซี่ยม 354 มิลลิกรัม โปรตีน 5.4 กรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 3611 ไมโครกรัม วิตามินบีสอง 0.07 มิลลิกรัม ในสะเดาพบว่ามีสารสำคัญที่มีประโยชน์ เช่น ในใบสะเดามี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ในเมล็ดสะเดามี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% ในเปลือกต้นสะเดามีสาร nimbin และ desacetylnimbin

สรรพคุณทางสมุนไพรของสะเดา

สามารถนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ยอดอ่อน ขนอ่อน เปลือกต้น ก้ายใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล เมล็ด รายละเอียด ของ สรรพคุณของสะเดา มีดังนี้

  • ดอกสะเดาและยอดอ่อนสะเดา สามารถใช้ แก้พิษโลหิต หยุดเลือดกำเดา รักษาริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ ช่วยขับลม
  • ขนอ่อนสะเดา สามารถใช้ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
  • เปลือกต้นสะเดา ใช้ลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องเดิน
  • ก้านใบสะเดา สามารถใช้ลดไข้ นำมาทำเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย
  • กระพี้ สามารถใช้รักษาถุงน้ำดีอักเสบ
  • ยางของต้นสะเดา ใช้ในการดับพิษร้อน
  • แก่นสะเดา รักษาอาการแก้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ
  • รากสะเดา สามารถนำมาใช้รักษาโรคผิวหนัง ขับเสมหะ
  • ใบสะเดา และผลสะเดา สามารถใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง และบำรุงธาตุ
  • ผลของสะเดา จะมีรสขม นิยมนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาโรคหัวใจเดินผิดปกติ
  • เปลือกของรากสะเดา จะมีรสฝาด ใช้ลดไข้ ทำให้อาเจียน และใช่รักษาโรคผิวหนัง
  • เมล็ดสะเดา สามารถนำมาสกัดน้ำมัน และสามารถใช้รักษาโรคผิวหนัง และทำเป็นยาฆ่าแมลง

ข้อควรระวังในการบริโภคสะเดา

  1. ห้ามบริโภคสะเดาในคนที่มีความดันต่ำ เนื่องจากสะเดามีฤทธ์ให้ความดันโลหิตต่ำลง
  2. สะเดา เป็น ยาเย็น มีรสขมอาจทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะได้
  3. ในสตรีหลังคลอด ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้น้ำนมแห้ง

การปลูกสะเดา

สามารถปลูกได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และก่อนปลูกควรไถพรวนแปลงอีกรอบ และตากดินนาน 3-5 วัน วิธีการปลูก เตรียมต้นกล้าสำหรับปลูกที่มีอายุ 3-5 เดือน และมีความสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร จากนั้นนำลงแปลงปลูก ขุดหลุมในระยะระหว่างหลุมประมาณ 3 เมตร ควรให้ขนานกับแนวของดวงอาทิตย์ในทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้ต้นสะเดาสามารถรับแสงได้อย่างทั่วถึง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove