กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

มะนาว น้ำจากผลมะนาวมีรสเปรี้ยว สมุนไพรรสเปรี้ยว ต้นมะนาวเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะนาว เช่น เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงเลือด โทษของมะนาวมีอะไรบ้าง

มะนาว ชนิดของมะนาว ประโยชน์มะนาว สรรพคุณมะนาว

มะนาว ( Lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะนาว คือ Citrus aurantiifolia (Christm) สมุนไพร คู่ครัวไทย มีรสเปรี้ยว นิยมนำมาปรุงรส สรรพคุณของมะนาว ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยรักษาสมดุลโรคความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร แก้โรคตาแดง แก้ไข้ บำรุงเลือด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้ไอ ช่วยบรรเทาอาการเสียบแหบแห้ง บำรุงเหงือก ช่วยรักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการท้องร่วง ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้อาการบิด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

ต้นมะนาว ภาษาอังกฤษ เรียก Lime มะนาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Citrus aurantiifolia (Christm) ชื่ออื่นๆของมะนาว เช่น ส้มมะนาว โกรยชะม้า ปะนอเกล มะนอเกละ มะเน้าด์เล ปะโหน่งกลยาน ลีมานีปีห์ หมากฟ้า เป็นต้น มะนาวที่นิยมปลูกในเมืองไทย มี 4 พันธุ์ ประกอบด้วย มะนาวไข่ มะนาวแป้น มะนาวแป้นรำไพ และมะนาวหนัง มะนาวถือเป็นผลไม้ ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด ประกอบด้วยกรดซิตริก กรดมาลิค และไวตามินซี นอกจากนี้แล้ว น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากผิวมะนาว มีวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียมและฟอสฟอรัสอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของมะนาว

จากการศึกษามะนาวขนาด 100 กรัม พบว่า ข้อมูลทางโภชนาการของมะนาว ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.5 กรัม น้ำตาล 1.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.217 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 8 ไมโครกรัม วิตามินซี 29.1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 102 มิลลิกรัม และธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะนาว

สรรพคุณของมะนาว ประกอบด้วย เราได้รวบรวมประโยชน์ทางสมุนไพรของมะนาว ดังนี้ ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยรักษาสมดุลโรคความดันโลหิต ช่วยในการเจริญอาหาร แก้โรคตาแดง แก้ไข้ บำรุงเลือด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้ไอ ช่วยบรรเทาอาการเสียบแหบแห้ง บำรุงเหงือก ช่วยรักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการท้องร่วง ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้อาการบิด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

การนำมะนาวมาใช้ประโยชน์ทางความงาม ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ช่วยบำรุงตา น้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอมสดชื่น (Aromatherapy) ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพออกไป ช่วยผิวบริเวณเหล่านี้มีความนุ่มนวลเพิ่มมากขึ้น ช่วยรักษาสิวของคุณให้ลดน้อยลงได้ แก้ปัญหาผิวแตก แก้ปัญหาส้นเท้าแตก

ประโยชน์ด้านอื่นของมะนาว

  • ป้องกันภัยจากงูและสัตว์เลื้อยคลาน ด้วยการใช้เปลือกวางไว้บริเวณใกล้ที่นอน ๆ สัตว์เหล่านี้ก็จะไม่มารบกวนเพราะได้กลิ่นมะนาว
  • แก้พิษจากการโดนงูกัด
  • ถ้าก้างปลาติดคอ ให้นำน้ำมะนาว 1 ลูก เติมเกลือ ใส่น้ำตาลเล็กน้อย แล้วกลืนลงไปให้ตรงกับบริเวณที่ก้างติดคอ อมไว้สักครู่แล้วค่อย ๆ กลืน ก้างปลาจะอ่อนตัวลงแล้วหลุดลงไปในกระเพาะ
  • แก้เล็บขบ ส้นเท้าแตก ขาลาย
  • ลบรอยเปื้อนหมึก หรือรอยเตารีด บนเสื้อผ้าได้

เมื่อพูดถึงมะนาวนั้นหลายหลายคนก็คงจะนึกถึงรสชาติความเปรี้ยวจี๊ดอีกทั้งยังนึกถึงความเป็นผลไม้รสเปรี้ยวพี่อยู่คู่กับครัวคนไทยมาแต่ช้านาน โดยส่วนใหญ่แล้วมะนาวมักจะถูกนำมาเป็นเครื่องปรุงรถสำหรับการทำอาหารประเภทยำเป็นหลัก ซึ่งรสชาติความเปรี้ยวจี๊ดของมะนาวนั้นมีสรรพคุณที่ดีมากมายนั่นเอง รสชาติเปรี้ยวจี๊ดของมะนาวนั้นอุดมไปด้วยวิตามินซีจากธรรมชาติที่สูงมากโดยวิตามินซีนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระอีกทั้งยังช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเห็นได้ว่าหากมีอาการเจ็บป่วยหรืออาการไม่สบายต่างๆนั้นคนโบร่ำโบราณก็จะใช้มะนาวมาช่วยเพื่อบรรเทาอาการนั่นเอง

สรรพคุณของมะนาว นั้นมีมากมายหลากหลายอย่างซึ่งส่วนใหญ่แล้วนั้นจะช่วยในเรื่องของการบรรเทาอาการปวดศีรษะช่วยลดอาการอาเจียนเป็นลมวิงเวียนศีรษะหรือแม่กระทั่งแก้เมาเหล้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และยังรวมไปถึงมะนาวนั้นยังมีคุณสมบัติในการช่วยแก้ไอได้เป็นอย่างดีซึ่งหากมีอาการไอแล้วก็สามารถใช้มะนาวผสมกับน้ำผึ้งแล้วก็เกลือนิดหน่อยใช้จิบบ่อยๆจะช่วยลดอาการระคายเคืองคออีกทั้งยังช่วยสามารถให้ชุมคอได้เป็นอย่างดีอีกด้วย อีกครั้งมะนาวนั้นยังมีการนำมาใช้เพื่อการบำรุงผิวและเพื่อความสวยความงามได้เป็นอย่างดีอีกด้วยโดยในน้ำมะนาวนั้นจะมีกรดซิตริกสูง ซึ่งกรดซิตริกนี้จะช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพได้เป็นอย่างดี จึงเห็นได้ว่าจะมีผู้คนนำน้ำมะนาวนั้นมาผสมกับดินสอพองเพื่อพอกหน้าเป็นประจำจะช่วยลดเลือนรอยแผลเป็นอีกทั้งยังช่วยลดรอยสิวและลดอาการสิวได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นแล้วมะนาวยังสามารถนำมาใช้ประกอบการหุงข้าวทำให้ข้าวนั้นขาวและอร่อยมากยิ่งขึ้นโดยการนำน้ำมะนาวเพียงแค่สองถึงสามช้อนชาใส่ลงไประหว่างหุงข้าวนั่นเอง อีกทั้งหากต้องการให้ไข่เจียวมีความฟูและนิ่มขึ้นก็สามารถใช้น้ำมะนาวเพียงสี่ถึงห้าหยดผสมลงไปในไข่พี่เตรียมจะเจียวก็สามารถทำให้ไข่นั้นนุ่มและฟูน่ากินเป็นอย่างมาก

นอกจากนั้นแล้วในเปลือกของผิวมะนาวยังมีน้ำมันหอมระเหยหลากหลายชนิดที่ให้กลิ่นหอมสดชื่นโดยกลิ่นหอมสดชื่นนั้นจะช่วยในการลดอาการวิงเวียนศีรษะและลดอาการปวดศีรษะ อีกทั้งรวมไปถึงสามารถทำให้ร่างกายเกิดความสงบและมีสมาธิในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆได้เป็นอย่างดีมากขึ้นด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันนี้มีการแปรรูปมะนาวเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมายทั้งผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารอีกทั้งยังรวมไปถึงขนมและของกินเล่นต่างๆมากมายด้วยซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นน้ำมะนาวสำเร็จรูปมะนาวผงและรวมไปถึงมะนาวดองอีกด้วย จึงนับได้ว่ามะนาวนั้นเป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่มีสรรพคุณมากมายหลากหลายอีกทั้งยังสามารถนำมาทำเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารต่างๆเพื่อสร้างรสชาติอร่อยถูกปากกับคนไทยได้เป็นอย่างดี


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove