กระท้อน ( Santol ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว กระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรอล

กระท้อน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นชื่อ ผลไม้ ที่คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี ตำบักต้อง หรือ ตำกระท้อน เมนูบ้านๆ แต่กระท้อนมีสรรพคุณ สำหรับ คนรักสวยรักงาม กระท้อนป้องกันสิว กระชับผิว ลดหน้ามันได้ สนใจใน กระท้อน แล้วซิ มาทำความรู้จักกับกระท้อนกัน ว่าผลไม้ชนิดนี้ เป็นอย่างไร มีสรรพคุณการรักษาโรคอะไรบ้าง กระท้อนเป็นผลไม้ มาจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย แต่คนไทยรู้จักกระท้อนนานมาก

กระท้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Sentul หรือ Santol หรือ Red sentol หรือ Yellow sentol กระท้อนมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr. ชื่อเรียกอื่นๆของกระท้อน อาทิ เช่น เตียน, ล่อน, สะท้อน,มะต้อง, มะติ๋น ,สตียา, สะตู, สะโต เป็นต้น ผลกระท้อน มีวิตามินเอ วิตามินซีสูง และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิว ดีต่อระบบขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ กระท้อนช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ได้ดี ส่วนใบช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง เปลือกใช้รักษาโรคผิวหนังได้ดี เนื่องจากมีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะของต้นกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นไม้ยืน เป็นไม้ผลัดใบ ที่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 30 เมตร ที่ลำต้นมีกิ่งก้านตั้งแต่กลางลำต้นเป็นต้นไป ใบมีขนาดใหญ่ เป็นทรงพุ่มใหญ่

  • เปลือกของต้นกระท้อน เป็นผิวเรียบ สีน้ำตาล เนื้อไม้ของต้นกระท้อน เมื่อยังเป็นต้นอ่อนจะหักง่าย เมื่ออายุมากขึ้น เนื้อไม้จะมีความแข็งปานกลาง
  • ใบของกระท้อน เป็นใบเดี่ยว แทงออกจากปลายกิ่ง ใบมีลักษณะรูปไข่ สีเขียว ปลายใบมน ใบค่อนข้างเหนียว เนื้อใบหยาบ มีขนอ่อนๆและสากมือ ขอบใบหยักเป็นลูกคลื่น
  • ดอกของกระท้อน จะออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบและซอกกิ่ง แต่ละกิ่งจะมีประมาณช่อดอก 4 ช่อ ดอกยาว ดอกตูมมีสีเขียว ดอกบานมีสีเหลือง ดอกของกระท้อนจะพัฒนาเป็นผล
  • ผลและเมล็ดของกระท้อน ผลกระท้อนมีลักษณะกลม ผิวเปลือกเรียบ และมีขนทั่วผล ที่ผลจะมียางสีขาว ผลแก่จะมีสีน้ำตาล ผิวเปลือกหยาบก้าน มีรอย่น เปลือกจะมีความหนา ภายในผลจะมีเนื้อผล และเมล็ด สามารถนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน

นักโภชนาการได้มีการศึกษาผลกระท้อนขนาดต่อ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารมากมาย ประกอบด้วย โปรตีน 0.118 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม กากใยอาหาร 0.1 กรัม แคลเซียม 4.3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17.4 มิลลิกรัม เหล็ก 0.42 มิลลิกรัม แคโรทีน 0.003 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.045 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.741 มิลลิกรัม และวิตามินซี 86.0 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระท้อน

คุณค่าทางสมุนไพร สำหรับการรักษาโรคของกระท้อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ประกอบด้วย ผล ใบ เปลือกและเนื้อไม้ รายละเอียดดังนี้

  • ผลของกระท้อน ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว สร้างภูมต้านทานโรค ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำตาลในเลือด และลดคอเรสเตอรอล
  • เปลือกของกระท้อน มีสรรพคุณต้านเชื้อจุลินทรีย์ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาการอักเสบ รักษาแผลในปาก ป้องกันฟันผุ แก้อาการท้องเสีย รักษาอาการคันตามผิวหนัง
  • ใบของกระท้อน ช่วยในการขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยลดไข้ ลดอาการหนาวสั่น รักษากลากเกลื้อน และรักษาโรคผิวหนัง
  • รากของกระท้อน ช่วยดับพิษร้อน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

การปลูกกระท้อน

กระท้อนชอบพื้นที่ลุ่ม สำหรับการปลูกกระท้อนให้ยกร่องสูง ทนน้ำท่วม

  • การเตรียมแปลง ต้องไถให้เรียบ กำจัดวัชพืชออก ขุดลึกและกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร เว้นระยะห่างต่อหลุ่มประมาณ 6 เมตร
  • การปลูก แนะนำให้ปลูกช่วงฤดูฝน นำต้นพันธุ์ลงปลูกตรงกลาง ใช้ฟางข้าวหรือเศษใบไม้คลุมรอบโคนต้นและรดน้ำให้ชุ่ม
  • การให้น้ำ ให้น้ำสัปดาห์และ 1 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ และให้น้ำทุกวัน เมื่อต้นกระท้อนเริ่มออกดอกและติดผล
  • การใส่ปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยคอกเป็นหลักในช่วง 2 ปีแรก ที่ยังไม่ให้ผล จากนั้นค่อยให้ปุ๋ยเร่งดอก เร่งผล
  • การเก็บเกี่ยวผล ให้ห่อผล เพื่อป้องกันการเสียหายของผิวเปลือกผล เมื่อผลโต และมีสีเขียวอมเหลือง ให้ใช้กระดาษ ห่อ เพื่อป้องกันศัตรูพืชทำลาย และช่วยให้ผิวเรียบ สวย

กระท้อน ( Santol ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว สร้างภูมต้านทานโรค ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรอล

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove