ขี้เหล็กเทศ ( Coffea senna ) สมุนไพรตระกูลถั่ว ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย รักษาแผล ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาหนองใน ลดความดัน ต้นขี้เหล็กเทศเป็นอย่างไรขี้เหล็กเทศ สมุนไพร ต้นขี้เหล็ก สมุนไพรบำรุงหัวใจ

สมุนไพร สำหรับวันนี้ ขี้เหล็กเทศ ภาษาอังกฤษ เรียก Coffea senna ชื่อวิทยาศาสตร์ของขี้เหล็กเทศ คือ Senna occidentalis (L.) Link เป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่ออื่น ๆของขี้เหล็กเทศ คือ ขี้เหล็กเผือก ผักเห็ด ลับมืนน้อย หมากกระลิงเทศ ขี้เหล็กผี ชุมเห็ดเล็ก พรมดาน ชุมเห็ดเทศ ผักจี๊ด กิมเต่าจี้ ม่อกังน้ำ ว่างเจียงหนาน คางเค็ด ผักเค็ด ผักเคล็ด เลนเค็ด

หากจะกล่าวถึง ขี้เหล็กเทศ เป็นพืชมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อนชื้น โดยจะขึ้นพื้นที่โล่ง รกร้าง ตามไหล่เขา ริมคลอง ยอดอ่อนและใบถูกนำมาเป็น ส่วนผสมสำหรับทำ แกงเลียง แกงเผ็ด ต่างก็ใช้ขี้เหล้กเทศ มีความอร่อยของอาหาร มีการนำเมล็ดของขี้เหล็กเทศมาบดดื่มแทนชาและกาแฟ แต่การรับประทานขี้เหล็กเทศต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสำ หากรับประทานมากเกินไปจะเป็นพิษต่อกระเพาะอาหาร ต่อตับ ระบบเลือด หัวใจ ปอดและลำไส้ได้ ซึ่งพิษของขี้เหล็กเทศอยู่ที่เมล็ด แต่

ประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ

สำหรับ ประโยชน์ของต้นขี้เหล็กเทศ คือ ใช้บำรุงร่างกาย  รักษาแผลในหู เป็นยาเย็น แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน รักษาโรคหัวใจ ใช้ลดความดันโลหิต เป็นยาแก้วิงเวียน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ แก้ไอ หอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี แก้ปวดกระเพาะอาหาร ใช้รักษาโรคเบาหวาน แก้ปวดหัว แก้ปวดฟัน ยาลดไข้ เป็นยาถ่าย ยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทารักษากลากเกลื้อน ผิวหนังพุพอง โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังต่าง ๆ ใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ต้นแลใบของขี้เหล็กเทศเป็นอาหารสัตว์ชั้นยอด เหมาะแก่การให้ โคและกระบือรับประทานเป็นอาหารเสริม เนื่องจากขี้เหล็กเทศ มีทั้ง โปรตีน ใยอาหาร ไขมัน คาร์โบไฮเดรต หรือนำมาทำปุ๋ยก็เป็นแหล่งโพแทสเซียมชั้นดี

จากข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ได้ศีกษาขี้เหล็กเทศ พบว่าในขี้เหล็กเทศมีสาร เช่น Aloe-emodin, Cassiollin, Chrysophanol, Dianthronie heteroside, Emodin, Homodianthrone, Islandicin, N-methylmorpholine alkaloid, Physcion, Physcion-l-glycoside, Physcion homodianthrone, Toxalbulmin, Rhein, กรดอะมิโน, น้ำมันหอมระเหย แต่มีงานวิจัย พบสารที่สกัดจากใบและเปลือกของขี้เหล็กเทศ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นหัวใจ และฆ่าได้ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ กระตุ้นลำไส้ ช่วยในการขับถ่าย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ

ต้นขี้เหล็กเทศ เป็น พืชล้มลุก อายุยืน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ มีดังนี้

  • ลำต้นของขี้เหล็กเทศ ความสูงไม่เกิน 2 เมตร ลำต้นสีเขียว เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด
  • ใบของต้นขี้เหล็กเทศ เป็นใบประกอบ แบบขนนกปลายคู่
  • ดอกต้นขี้เหล็กเทศ ออกเป็นช่อจะออกตามปลายกิ่ง
  • ผลของต้นขี้เหล็กเทศ มีลักษณะเป็นฝัก ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนฝักแก่เป็นน้ำตาล

สรรพคุณของขี้เหล็กเทศ

การนำเอาขี้เหล็กเทศมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ต้องระมัดระวังการใช้งาน เนื่องจากตัวขี้เหล็กเทศ มีพิษ ซึ่งพิษของขี้เหล็กเทศจะเป็นพิษต่อกระเพาะอาหาร ต่อตับ ระบบเลือด หัวใจ ปอดและลำไส้ได้ โดยประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ สามารถนำมาใช้ได้ทั้ง เมล็ด เปลือก รากและใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของขี้เหล็กเทศ ใช้บำรุงร่างกาย  รักษาแผลในหู เป็นยาเย็นดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน
  • เมล็ดของขี้เหล็กเทศ ใช้บำรุงธาตุ รักษาโรคหัวใจ ใช้ลดความดันโลหิต เป็นยาแก้วิงเวียน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ แก้ไอหอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี
  • เปลือกของขี้เหล็กเทศ ใช้รักษาโรคเบาหวาน รักษาไข้มาลาเรีย รักษาโรคหนองใน
  • ใบของขี้เหล็กเทศ ใช้ แก้ปวดหัว แก้ปวดฟัน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ ยาลดไข้ แก้ไอหอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี เป็นยาถ่าย ยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคหนองใน เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ใช้ทารักษากลากเกลื้อน ผิวหนังพุพอง โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังต่าง ๆ ใช้เป็นยาถอนพิษ ใช้รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากขี้หล็กเทศ

เนื่องจากขี้เหล็กเทศมีพิษ ซึ่งต้องกำจัดพิษของขีเหล็กเทศก่อน โดยพิษของขี้เหล็กเทศมีโปรตีนที่เป็นพิษ โดยการกำจัดพิษ สามารถทำได้โดยการนำเมล็ดไปคั่วจนเป็นสีน้ำตาลและมีกลิ่นหอมเสียก่อน หากไม่กำจัดพิษ หรือกำจัดพิษไม่หมด จะมีอาการอาเจียนและท้องร่วงอย่างรุนแรง ให้รีบล้างท้องและนำส่งแพทย์โดยด่วน

ขี้เหล็กเทศ ( Coffea senna ) พืชตระกูลถั่ว สมุนไพร ประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ สรรพคุณของขี้เหล็กเทศ บำรุงร่างกาย รักษาแผลในหู เป็นยาเย็น แก้ไข้มาลาเรีย ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน ลดความดันโลหิต ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ

สะเดา Siamese neem tree ผักพื้นบ้าน สมุนไพรมีรสขม สรรพคุณดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน ช่วยถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ลดความดัน ลดไข้ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร

สะเดา สมุนไพร สรรพคุณของสะเดา

ต้นสะเดาในประเทศไทย เราพบว่า สะเดาสามารถการกระจายพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติตามป่าเบญจพรรณและป่าแดง ทั่วประเทศ  นอกจากนี้ยังสามารถพบสะเดาได้ตามป่าแล้งในประเทอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถานและศรีลังกา

ต้นสะเดา ภาษาอังกฤษ เรียก Siamese neem tree. มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. ชื่ออื่นๆของสะเดา เช่น สะเลียม กะเดา จะตัง สะเดาบ้าน เดา กระเดา จะดัง จะตัง ผักสะเลม ลำต๋าว สะเรียม ตะหม่าเหมาะ ควินิน สะเดาอินเดีย ไม้เดา เป็นต้น

ลักษณะของต้นสะเดา

ต้นสะเดา เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 7 เมตร ใบของสะเดาเป็นแบบขนนก เรียงสลับใบ ยอดอ่อนของใบมีสีน้ำตาลอมแดง ดอกของสะเดา จะออกบริเวณปลายของกิ่ง และจะดอกสะเดาจะออกเมื่อใบของสะเดาแก่และร่วงไป ดอกสะเดามีกลีบดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม ผลของสะเดา มีลักษณะเป็นรูปรี กลม

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของสะเดา พบว่า ยอดสะเดา 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 76 กิโลแคลอรี ซึ่มประกอบไปด้วยน้ำ 77.9 กรัม แคลเซี่ยม 354 มิลลิกรัม โปรตีน 5.4 กรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 3611 ไมโครกรัม วิตามินบีสอง 0.07 มิลลิกรัม ในสะเดาพบว่ามีสารสำคัญที่มีประโยชน์ เช่น ในใบสะเดามี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ในเมล็ดสะเดามี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% ในเปลือกต้นสะเดามีสาร nimbin และ desacetylnimbin

สรรพคุณทางสมุนไพรของสะเดา

สามารถนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ยอดอ่อน ขนอ่อน เปลือกต้น ก้ายใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล เมล็ด รายละเอียด ของ สรรพคุณของสะเดา มีดังนี้

  • ดอกสะเดาและยอดอ่อนสะเดา สามารถใช้ แก้พิษโลหิต หยุดเลือดกำเดา รักษาริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ ช่วยขับลม
  • ขนอ่อนสะเดา สามารถใช้ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
  • เปลือกต้นสะเดา ใช้ลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องเดิน
  • ก้านใบสะเดา สามารถใช้ลดไข้ นำมาทำเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย
  • กระพี้ สามารถใช้รักษาถุงน้ำดีอักเสบ
  • ยางของต้นสะเดา ใช้ในการดับพิษร้อน
  • แก่นสะเดา รักษาอาการแก้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ
  • รากสะเดา สามารถนำมาใช้รักษาโรคผิวหนัง ขับเสมหะ
  • ใบสะเดา และผลสะเดา สามารถใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง และบำรุงธาตุ
  • ผลของสะเดา จะมีรสขม นิยมนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาโรคหัวใจเดินผิดปกติ
  • เปลือกของรากสะเดา จะมีรสฝาด ใช้ลดไข้ ทำให้อาเจียน และใช่รักษาโรคผิวหนัง
  • เมล็ดสะเดา สามารถนำมาสกัดน้ำมัน และสามารถใช้รักษาโรคผิวหนัง และทำเป็นยาฆ่าแมลง

ข้อควรระวังในการบริโภคสะเดา

  1. ห้ามบริโภคสะเดาในคนที่มีความดันต่ำ เนื่องจากสะเดามีฤทธ์ให้ความดันโลหิตต่ำลง
  2. สะเดา เป็น ยาเย็น มีรสขมอาจทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะได้
  3. ในสตรีหลังคลอด ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้น้ำนมแห้ง

การปลูกสะเดา

สามารถปลูกได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และก่อนปลูกควรไถพรวนแปลงอีกรอบ และตากดินนาน 3-5 วัน วิธีการปลูก เตรียมต้นกล้าสำหรับปลูกที่มีอายุ 3-5 เดือน และมีความสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร จากนั้นนำลงแปลงปลูก ขุดหลุมในระยะระหว่างหลุมประมาณ 3 เมตร ควรให้ขนานกับแนวของดวงอาทิตย์ในทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้ต้นสะเดาสามารถรับแสงได้อย่างทั่วถึง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove