นิ่วที่ถุงน้ำดี เรียกหลายชื่อ นิ่วน้ำดี เกิดก้อนิ่วขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี ทำให้ปวดท้อง ท้องอืดง่าย เจ็บที่ลิ้นปี่และชายโครงขาว ตัวเหลือง ตาเหลืองนิ่วถุงน้ำดี นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วที่ถุงน้ำดี รักษานิ่วถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี ภาษาอังกฤษเรียก Gallstone หรือ Cholelithiasis คือ ภาวะขาดความสมดุลของสารประกอบในน้ำดี จึงทำให้เกิดการตกผลึกเป็นก้อนนิ่ว ขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี โดยทั่วไปโรคนี้ไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ เป็นโรคของผู้ใหญ่ พบมากในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อัตราการเกิดโรคผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

ข้อสังเกตุสัญญาณว่าเรามีโอกาศเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี มีข้อสังเกตุ ดังนี้

  1.  มีอาการปวดท้อง จุกเสียด และแน่น บริเวณลิ้นปีี่หรือใต้ชายโครงด้านขวา
  2. มีอาการอาหารไม่ย่อย และ อิ่มง่าย หลังจากกินอาหารที่มีความมัน
  3. มีอาการคลี่นไส้และอาเจียน พร้อมกับมีไข้
  4. มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง

สาเหตุของการเกินนิ่วในถุงน้ำดี

ถุงน้ำดี จะเป็นอวัยวะที่ทำงานร่วมกับตับ ซึ่งตับจะสร้างน้ำดี และนำไปเก็ยที่ถุงน้ำดี เมื่อร่างกายต้องการน้ำดีเพื่นนำไปย่อยไขมัน ถุงน้ำดีจะส่งน้ำดีผ่านทางท่อน้ำดี ไปยังลำไส้เพื่อทำหน้าที่ย่อยอาหาร การเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี เกิดจากการสะสมสารประกอบในน้ำดีที่ไม่สมดุล จึงทำให้เกิดการตกผลึก เป็นนิ่ว และเข้าไปอุดตันทางเดินของน้ำดี ทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี

ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเกิดก้อนนิ่วที่ถุงน้ำดี มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะคอเล็สเตอรัลสูง ในคนอ้วนทำให้ความสามารถการบีบตัวของถุงน้ำดีน้อยลง
  • การได้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ระดับคอเลสเตอรัลในน้ำดีสูง
  • ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • เพศ ซึ่งพบว่าเพศหญิงมีโอกาสการเกิดโรคสูงกว่าเพศชาย เนื่องจากการตั้งครรถ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้คอเรสเตอรัลสูง
  • อายุที่มากขึ้น ทำให้การสะสมคอเรสเตอรัลมีมากขึ้น
  • การกินยาลดไขมัน
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป

ชนิดของนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี สามารถแบ่งชนิดของนิ่วได้ 3 ชนิด คือ นิ่วในถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล นิ่วในถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • นิ่วถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล (cholesterol stones) สามารถพบได้ร้อยละ 80 ของสาเหตุการเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี ลักษณะจะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือ เขียว เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลมากในน้ำดี และถุงน้ำดีไม่สามารถบีบออกได้มากพอ จนเกิดการสะสม
  • นิ่วถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากเม็ดสี หรือ บิลิรูบิน (pigment stones) พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง หรือ คนที่มีความผิดปกติของเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจาง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วนโรคนิ่วในถุงน้ำดี

สำหรับโรคนิ่วในถุงน้ำดี สามารถพบอาการของโรคได้ ดังนี้

  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง บริเวณช่วงท้องส่วนบน หรือ ชายโครงด้านขวา มีอาการปวดร้าวไปยังบริเวณกระดูกสะบัก หรือ บริเวณไหล่ด้านขวา
  • มีอาการอาเจียน และ คลื่นไส้
  • มีอาการด้านระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนที่ยอดอก มีลมในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่หลังรับประทานอาหารมัน
  • มีไข้
  • มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม

การรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้ มีแนวทางการรักษา คือ การผ่าตัดถุงน้ำดี การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง  การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนในกรณีที่มีนิ่วในท่อน้ำดีร่วมด้วย โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • การรักษาเริ่มต้นด้วยการประคับประคองตามอาการ เช่น การลดกรดในกระเพราอาหาร ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียของถุงน้ำดี และให้ผู้ป่วยงดการรับประทานอาหารมัน ๆ
  • การใช้ยาละลายนิ่วในถุงน้ำดี การใช้ยาสามารถรักษาได้ผลกับนิ่วบางชนิดเท่านั้น และผู้ป่วยยังต้องกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • การสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ( Extracorporeal shock wave lithotripsy – ESWL )  เป็นการใช้คลื่นเสียงกระแทกนิ่วให้แตก แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ป่วยจะปวดท้อง และมีอัตราการรักษาสำเร็จไม่สูง การรักษาด้วยวิธีทนี้ปัจจุบันแพทย์ไม่นิยมใช้
  • การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ( Cholecystectomy ) เป็นการรักษาที่ทำให้หายขาด แต่มีผลข้างเคียง และ ต้องป้องกันและเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบันจะมี 2 วิธี คือ การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง (Open cholecystectomy) การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง (Laparoscopic cholecystectomy)
  • การส่องกล้องเพื่อตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic retrograde cholangiopancreatography – ERCP) ใช้สำหรับการรักษาในผู้ป่วยมีนิ่วในท่อน้ำดี เพื่อเอานิ่วออกจากท่อน้ำดี

การป้องกันการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี

  • ควบคุมอาหาร ลดการกินอาหารที่มีความมัน มีคอเสเตอรัลสูง รวมถึงอาหารหวาน เช่น น้ำอัดลม อาหารกระป๋อง เป็นต้น
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
  • ทานอาหารจำพวกแป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ผักผลไม้สด ถั่ว และธัญพืชต่างๆ เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี

โรคนิ่วที่ถุงน้ำดี เรียกหลายชื่อ เช่น นิ่วน้ำดี นิ่วถุงน้ำดี หรือ นิ่วในถุงน้ำดี การเกิดก้อนิ่วขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี ทำให้ ปวดท้อง ท้องอืดง่าย เจ็บที่ลิ้นปี่ และ ชายโครงขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง

ท้องผูก ถ่ายอุจจาระลำบาก อุจจาระแข็ง เกิดจากลำไส้ใหญ่ดูดสารอาหาร ทำให้อุจจาระแห้งขึ้นเป็นก้อน ค้างอยู่ในลำไส้ ภาวะขาดน้ำเป็นสาเหตที่ทำให้ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากขึ้นโรคท้องผูก ถ่ายอุจจาระไม่ออก โรคระบบขับถ่าย โรคไม่ติดต่อ

อาการท้องผูก นั้นอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น นิสัยในการถ่ายอุจจาระ การออกกำลังกายน้อย การรับประทานอาหารบาง การขาดฮอร์โมนบางอย่าง เป็นต้น

โรคท้องผูก ( Constipation ) จัดว่าเป็นอาการผิดปรกติ ไม่ถึงขั้นเป็นโรค โดยทางการแพทย์ นั้นนิยามอาการท้องผูก นั้นเป็นการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง ในหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งลักษณะของอุจจาระ จะมีลักษณะแห้งและแข็ง อาการท้องผูกนี้ พบว่าร้อยละ 12 ของประชากรโลก เคยมีประสบการณ์ท้องผูก ซึ่งสามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่เกิดกับสตรีมากกว่าบุรุษ สาเหตุที่พบมากที่สุด คือ การเคลือนตัวของลำไส้ช้ากว่าปรกติ และ ความเครียด

สาเหตุของการเกิดท้องผูก

การเกิดอาการท้องผูก นั้นเป็นอาการที่เกิดจากสาเหตุของลำไส้เคลื่อนที่ช้าและบีบตัวได้น้อยสำหรับการย่อยอาหาร ซึ่งทำให้การกำจัดของเสียทางทาวารหนังไม่ปรกติ เกิดอุจจาระตกค้างในลำไส้ใหญ่ การที่อุจจาระขับถ่ายออกยากนั้น จะมีลักษณะแข็ง แห้ง และมีขนาดใหญ่ โดยเราสามารถแยกสาเหตุที่ทำให้ลำไส้เคลื่อนที่และบีบตัวช้า นั้น มีสาเหตุดังนี้

  • เกิดจากผลของการใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาลดกรด ยาระงับอาการทางจิต ยารักษาอาการชัก อาหารเสริมกลุ่มแคลเซียมและธาตุเหล็ก ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
  • ความผิดปรกติของฮอร์โมนร่างกาย จากการขาดความสมดุลของระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการรักษาของเหลวในร่างกาย ซี่งเกิดจากโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคเบาหวาน การตั้งครรภ์ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ เป็นต้น
  • ความผิดปรกติของร่างกายเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ การบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้และทวารหนัก มีผลต่อการเกิดท้องผูก หากกล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้ดี การเคลือนที่ของลำไส้อละทวารหนัก ก็ทำได้น้อย ลักษณะสาเหตุของอาการ เช่น เส้นประสาทถูกทำลายจากโรคเบาหวาน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคพาร์กินสัน เส้นประสาทไขสันหลังบาดเจ็บ โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น
  • ความผิดปรกติของลำไส้ โดยเกิดการอุดตันภายในลำไส้ บริเวณทวารหนัก เช่น แผลปริขอบทวารหนัก ลำไส้อุดตัน มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าสาเหตุของอาการท้องผู้นั้น เกิดจากความผิดปรกติของ ร่างกายที่เกี่ยวกับลำไส้ ฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำในร่างกาย กล้ามเนื้อ ซึ่งนอกจากนี้แล้ว การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน เป็นปัจจัยเอื่ออำนวยให้เกิดการท้องผูกได้มากขึ้น ปัจจัยที่ทำให้มีคามเสี่ยงท้องผูก มีรายละเอียด ดังนี้

  • การอั้นอุจจาระ
  • การรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารน้อย
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • ภาวะน้ำหนักตัวมากผิดปรกติหรือโรคอ้วน
  • การดื่มน้ำน้อยและภาวะการขาดน้ำ
  • ความเครียด
  • การเสื่อมของร่างกายตามวัย

การรักษาอาการท้องผูก

สำหรับการรักษาอาการท้องผูกนั้น แนวทางการรักษาที่สำคัญ คือ การทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มเคลื่อนที่ง่าย ต้องกินอาหารมีกากใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การแก้ปัญหาอาการท้องผูก สามารถทำได้ตามคำแนะนำข้างต้น แต่หากไม่ดีขึ้น นั้น สามารถใช้ยาระบาย ช่วยให้ถ่ายอุจจาระง่ายขึ้น แต่การใช้ยาระบายต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้มากเกินไป จะทำให้ร่างกายขาดน้ำและช็อกได้

อาหารช่วยแก้ท้องผูก

สำหรับอาหารแนะนำในการแก้ท้องผูก จะเป็นอาหารที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ทานเข้าไปในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูกได้โดยไม่ต้องรักษาด้วยยา อาหารแนะนำมีดังนี้

  • มะขามเปียก ให้นำมะขามเปียกมาขยำเอาน้ำและต้มสุกใส่เกลือนิดหน่อยดื่ม หรือ กินมะขามสุกสดๆจิ้มเกลือและดื่มน้ำเปล่าตามมากๆ
  • มะขามแขก ให้นำใบแห้ง 1 ถึง 2 หยิบมือ หักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มกับน้ำ ดื่มก่อนนอน
  • ลูกพรุนแห้ง ให้รับประทานทั้งผล ตอนกลางคืนก่อนเข้านอน
  • แอปเปิลเขียว ให้รับประทานทั้งผล ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร
  • สับปะรด และมะละกอ มีน้ำย่อยช่วยกัดกากคราบโปรตีนเก่า ๆ ที่ถูกย่อยไม่หมด ทำให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น
  • เม็ดแมงลัก นำเม็ดแมงลัก 2 ช้อนชา แช่ในน้ำเปล่า ดื่มก่อนนอน จะช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
  • ขี้เหล็ก เป็นสมุนไพรกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ช่วยการขับถ่าย นำใบอ่อน  4 ถึง 5 กำมือ มาต้มกับน้ำ ดื่มก่อนนอน
  • กล้วยน้ำว้าสุก เป็นผลไม้ช่วยเพิ่มกากอาหาร ทำให้ขับถ่ายได้สะดวกขึ้น ควรทานทุกวัน ๆ ละ 2 ผล
  • มะเฟือง ผลไม้รสเปรี้ยว มีฤทธิ์เป็นยาระบาย และช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร

การป้องกันอาการท้องผูก

สำหรับการป้องกันการเกิดอาการท้องผู้นั้น สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  • กินอาหารมีกากใยอาหารสูง
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • มีอาการท้องผูกนานเกิน 7 วัน ให้รีบปรึกษาแพทย์
  • หากมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และ อุจจาระมีเลือดปน ให้รีบพบแพทย์

ภาวะท้องผูก หมายถึง อาการถ่ายอุจจาระลำบาก มีอุจจาระแข็ง สำไส้ใหญ่จะดูดน้ำและสารบางอย่างเพื่อนำสารอาหารที่มีประโยชน์ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งการที่ลำไส้ใหญ่ดูดสารอาหารทำให้อุจจาระแห้งขึ้นเป็นก้อน ค้างอยู่ในลำไส้ แต่ภาวะขาดน้ำ ก็เป็นสาเหตที่ทำให้ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากขึ้น


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove