ฝีคัณฑสูตร ฝีทวารหนัก  ( Fistula in ano ) อักเสบที่ทวารหนักจนเกิดรูจากการติดเชื้อ ปวดและบวมที่รอบๆรูทวารหนัก มีหนองเลือดปน คันรอบๆฝี การรักษาต้องผ่าตัดดูดหนองฝีคัณฑสูตร ฝีทวารหนัก โรคระบบขับถ่าย โรคติดเชื้อ

ฝีคัณฑสูตร หรือ ฝีที่ทวารหนัก ภาษาอังกฤษ เรียก Fistula in ano โรคนี้ถือเป็นโรคที่เกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคหนึ่ง ซึ่งโรคฝีที่ทวารหนักเกิดจากการติดเชื้อของต่อมชนิดหนึ่งบริเวณทวารหนัก ต่อมนี้ทำหน้าที่สร้างเมือกหล่อลื่นเพื่อช่วยการขับถ่าย เมื่อต่อมชนิดนี้อับเสบและติดเชื้อ จะเกิดฝีที่ทวารหนักได้  ฝีที่ทวารหนักมักจะเริ่มเกิดที่บริเวณระหว่าง หูรูด และการติดเชื้อนั้นจะขยายไปรอบ ๆของทวารหนัก

โรคฝีคัณฑสูตร คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบที่ทวารหนักจนเกิดรู สาเหตุหลักของการเกิดฝีที่ทวารหนัก พบได้ในคนทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ และทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายมีโอกาสเกิดมากกว่าผู้หญิง 2 เท่าตัว และเกิดมากในคนอายุ 35 ปีขึ้นไป

สาเหตุของโรคฝีทวารหนัก

สำหรับ โรคฝีคัณฑสูตรมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อที่ต่อมภายในทวารหนัก เช่น เชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นของเสียที่อุจาระ และ ของเสีย สาเหตุของการติดเชื้อนั้น สามารถแบ่งเป็นสาเหตุได้ ดังนี้

  • เกิดจากเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิด Crohn disease ulcerative colitis
  • เกิดจากการมีแผลที่ขอบทวารหนัก
  • เกิดจากโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี
  • เกิดจากโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อซิฟิลิส
  • เกิดจากโรคแทรหซ้อนจากการติดเชื้อวัณโรค
  • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น Actinomycosis Chlamydia
  • เกิดจากเนื้อร้าย มะเร็งทวารหนัก หรือโรคมะเร็งผิวหนัง
  • เกิดจากการมีประวัติเคยเข้ารับการรักษา โดยการฉายรังสีรักษาบริเวณท้องน้อยและทวารหนัก
  • เกิดจากการมีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณทวารหนักหรือเคนเข้ารับการผ่าตัดที่ทวารหนัก
  • เกิดจากโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อหนองใน

อาการของผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตร

ลักษณะอาการของผู้ป่วยที่เป็นฝีที่ทวารหนักนั้น จะมีอาการปวดและบวมที่แก้มก้น รวมถึงรอบๆรูทวารหนัก มีน้ำเหลืองซึมออกมาจากรูที่ผิวหนัง มีเลือดปน มีหนอง คันรอบๆรูฝี ในกรณีเกิดการติดเชื้อและเกิดการอุดตัน ทำให้เกิดเป็นฝีหนอง ผู้ป่วยจะปวดมากขึ้น รวมถึงมีไข้ ฝีจะค่อยๆใหญ่ขึ้นจนเห็นผิวหนังบวมอย่างชัดเจนมากขึ้น ตามการอักเสบ

รักษาผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตร

สำหรับ การรักษาฝีที่ทวารหนัก นั้น หรือ การรักษาโรคฝีคัณฑสูตร ใช้การผ่าฝี เพื่อระบายหนองออกจากแผล และให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาลดไข้ เพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ รวมถึงดูแลทำความสะอาดบริเวณทวารหนัก เพื่อป้องกันการติดเชื้อมากขึ้น สำหรับการรักษาโดยการผ่าตัด มีหลายเทคนิคและวิธีในการรักษา ประกอบด้วย

  • Fistulotomy ใช้ยาชาฉีดเข้าไขสันหลัง หรือการดมยาสลบ ทำโดยการใส่ตัวนำทาง Probe เข้าไปที่รูเปิดที่ผิวหนังจนกระทั่งไปโผล่ออกที่รูเปิดภายในทวารหนัก แล้วใช้มีดกรีดเปิดเส้นทางเชื่อมต่อออกสู่ภายนอก แล้วจี้ทำลายตลอดความยาวของ tract เปิดแผลไว้ โดยปกติแล้วจะหายเองภายใน 5 สัปดาห์ วิธีนี้ใช้กับฝีคัณฑสูตรชนิด intersphincteric fistula แต่อาจมีปัญหาด้านกลั้นผายลมได้ไม่ดี
  • Seton ligation วิธีนี้ทำเหมือนวิธี Fistulotomy แต่เนื่องจากมีการ involve external sphincter ด้วยจึงต้องใช้วิธีรัดส่วนของ external sphincter แล้วค่อยๆตัดให้ขาด วิธีนี้ฝีที่ทวารหนักจะหายในเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ วิธีนี้เหมาะสำหรับฝีชนิด Complex fistulas
  • Fistulectomy วิธีนี้การรักษาใช้วิธีการรักษาคล้ายกับ Fistulotomy แต่จะตัดส่วนของเส้นทางเชื่อมต่อ Fistula tract ออกไปด้วย แล้วใช้เนื้อเยื่อบางส่วนของลำไส้มาปิดแผลและเย็บซ่อมกล้ามเนื้อหูรูด

ในการณีที่เกิดฝีหนองกำเริบ ให้รักษาฝีหนองให้หายก่อน ด้วยการกรีบหนองออกและใช้ยาปฏิชีวนะช่วย เมื่อหายอักเสบแล้วจึงค่อยผ่าตัดเอาฝีออก

การป้องกันโรคฝีทวารหนักหรือโรคฝีคัณฑสูตร

สำหรับ การป้องกันโรคฝีคัณฑสูตร นั้นสามารถป้องกันการเกิดฝีได้ดังต่อไปนี้

  • ป้องกันการเกิดแผลที่ทวารหนัก
  • รับประทานอาหารจำพวก ผัก และผลไม้ ที่มีกากใยอาหารมาก ป้องกันการเกิดท้องผูก
  • ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ป้องกันอาการท้องผูก
  • ทำความสะอาดก้นหลังจากการถ่ายอุจจาระให้สะอาดทุกครั้ง ป้องกันสิ่งสกปรก ทำให้เกิดการติดเชื้อ
  • หากมีแผลที่ปากทวารหนัก ให้รักษาความสะอาดเป็นพิเศษ ป้องกันการติดเชื้อ

โรคฝีคัณฑสูตร ฝีทวารหนัก  ( Fistula in ano ) การอักเสบที่ทวารหนักจนเกิดรู จากการติดเชื้อ อาการปวดและบวมที่แก้มก้น รวมถึงรอบๆรูทวารหนัก มีน้ำเหลืองซึมออกมาจากรู มีเลือดปน มีหนอง คันรอบๆรูฝี การรักษาต้องผ่าตัด ดูดหนอง

ไส้ติ่งอักเสบเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่รักษาอาจเกิดการติดเชื้อเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการปวดท้องด้านขาวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีไข้ไส้ติ่งอักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร

ไส้ติ่ง หากจะกล่าวถึงไส้ติ่ง นั้น คืออะไร อยู่ตำแหน่งใดของร่างกาย และมีหน้าที่อย่างไร ไส้ติ่งนั้นเป็นส่วนขยายของลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ้เป็นเหมือนหนอน ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างเหมือนถุงยาวๆขนาดเท่านิ้วก้อย ยื่นออกมาจากลำไส้ใหญ่ ตำแหน่งอยู่ที่ท้องน้อย ด้านขวา ผนังด้านในของไส้ติ่งมีเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองกระจายอยู่ หน้าที่และประโยชน์ของไส้ติ่ง คือ เป็นแหล่งเก็บแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร เป็นตัวกระตุ้นในการสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย เพื่อปกป้องคุ้มครองร่างกาย

ความเชื่อเก่าเก่าว่าไส้ติ่งนั้นไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายนั้นไม่ใช่อีกต่อไป แต่อาการไส้ติ่งอักเสบนั้น หากไม่รักษาอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ได้ เรามาเรียนรู้เรื่องโรคไส้ติ่งอักเสบกันว่า เป็นอย่างไร สังเกตุอาการและรักษาอย่างไร

โรคไส้ติ่งอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก appendicitis โรคไส้ติ่งอักเสบ คือ ภาวะโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของไส้ติ่ง  เป็นการอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากเกิดไส้ติ่งอักเสบ ต้องรักษาด้วยการตัดไส้ติ่งทิ้ง และหากไม่ทำการรักษา อาจทำให้ไส้ติ่งแตก เกิดการติดเชื้อโรคภายในร่างกาย หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ก็เป็นอันตรายถึงชีวิต โอกาสในการเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ตั้งแต่เด็ก 2 ขวบจนถึงคนชรา แต่พบบ่อยมากที่สุด คือกลุ่มคนอายุ 15 ถึง 30 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ

โรคไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากการอุดตันที่ไส้ติ่ง ไม่ว่าจะเป็น ก้อนอุจจาระที่แข็ง หรือเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองที่ผนังไส้ติ่งหนาตัวขึ้น ทำให้เกิดอาการอักเสบได้

อาการของผู้ป่วยโรคไส้ติ่งอักเสบ

ผู้ป่วยที่ เป็น ไส้ติ่งอักเสบ นั้น จะมีอาการปวดท้อง อย่างรุนแรง บริเวณ ด้านขาวล่างของท้อง เป็นอาการปวดแบบเฉียบพลัน สำหรับ อาการไส้ติ่งอักเสบ นั้น สามารถแบ่งระยะของอาการได้ เป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก ระยะต่อมา และระยะรุนแรง รายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ระยะแรก คือ ระยะไส้ติ่งเริ่มอุดตัน จะมีอาการปวดท้องแบบกะทันหัน จากนั้นจะมีอาการเบื่ออาหาร จุกแน่น มักจะปวดในตำแหน่งรอบสะดือ
  • ระยะต่อมา คือ ระยะไส้ติ่งบวมโป่ง ระยะนี้เชื้อโรคมีการขยายตัวลุกลามถึงไส้ติ่งชั้นนอก ผุ้ป่วยจะปวดท้องอย่างรุนแรง อาการปวดจะย้ายมาตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา และจะปวดมากขึ้นหากมีอาการ ไอหรือจาม ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกร่วมอยู่ด้วย
  • ระยะรุนแรง คือ ระยะไส้ติ่งแตก การปล่อยให้อาการเจ็บท้องมากขึ้นและไม่รักษา อาการอักเสบก้จะบวมมากขึ้นตจนกระทั้งแต่ เชื้อโรคจะมีการแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะภายในอื่นๆที่ใกล้เคียง อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ต้องรับการผ่าตัดไส้ติ่งอย่างเร่งด่วน

การรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ

สำหรับ การรักษาไส้ติ่งอักเสบ เป็นวิธีรักษามาตราฐาน คือ การตัดเอาไส้ติ่งออก สามารถรักษาได้ 100 % สำหรับ การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ นั้น ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง และนอนพักที่โรงพยาบาล 2 – 3 วัน  ในปัจจุบัน การผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก ไม่ว่าจะด้วยวิธีผ่าเปิดช่องท้องหรือการผ่าแบบส่องกล้องยังคงเป็นวิธีหลักใน การรักษาไส้ติ่งอักเสบ ธรรมดา

ไส้ติ่งอักเสบ คือ อาการบวมและอักเสบจากการติดเชื้อของไส้ติ่ง อยู่บริเวณตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา อาการไส้ติ่งอักเสบ คือ ปวดท้อง ตามด้วยเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก หรือท้องเสีย มีไข้ ท้องอืด การวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบ สามารถทำได้ด้วยการตรวจร่างกาย ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่องท้อง

โรคไส้ติ่งอักเสบมีการศึกษาครั้งแรกจากการผ่าตรวจศพ โดยศาสตราจารย์ Lorenz Heirster ในปี พ.ศ. 2254 สำหรับการรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบด้วยการผ่าตัดเกิดขึ้นครั้งแรกที่ กองทัพอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2278

โรคระบบทางเดินอาหาร

ตับอ่อนอักเสบ โรคตับ การติดเชื้อ อาการโรคตับตับอ่อนอักเสบ
โรคกรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไม่ติดต่อโรคกรดไหลย้อน
มะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อมะเร็งหลอดอาหาร
โรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหารโรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหารโรคแผลเพปติก
มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ การรักษามะเร็งมะเร็งกระเพาะอาหาร

ไส้ติ่งอักเสบ โรคไส้ติ่งอักเสบ คือ ภาวะเกี่ยวกับไส้ติ่ง เกิดการอักเสบของไส้ติ่ง เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ไส้ติ่งอักเสบต้องตัดไส้ติ่งทิ้ง หากไม่รักษาอาจเกิดอาการติดเชื้อ หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการของโรคไส้ติ่ง คือ ปวดท้องอย่างรุนแรง ด้านขาว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีไข้ ไส้ติ่งแตก ต้องผ่าตัดไส้ติ่ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove