ท้องผูก ถ่ายอุจจาระลำบาก อุจจาระแข็ง เกิดจากลำไส้ใหญ่ดูดสารอาหาร ทำให้อุจจาระแห้งขึ้นเป็นก้อน ค้างอยู่ในลำไส้ ภาวะขาดน้ำเป็นสาเหตที่ทำให้ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากขึ้นโรคท้องผูก ถ่ายอุจจาระไม่ออก โรคระบบขับถ่าย โรคไม่ติดต่อ

อาการท้องผูก นั้นอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น นิสัยในการถ่ายอุจจาระ การออกกำลังกายน้อย การรับประทานอาหารบาง การขาดฮอร์โมนบางอย่าง เป็นต้น

โรคท้องผูก ( Constipation ) จัดว่าเป็นอาการผิดปรกติ ไม่ถึงขั้นเป็นโรค โดยทางการแพทย์ นั้นนิยามอาการท้องผูก นั้นเป็นการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง ในหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งลักษณะของอุจจาระ จะมีลักษณะแห้งและแข็ง อาการท้องผูกนี้ พบว่าร้อยละ 12 ของประชากรโลก เคยมีประสบการณ์ท้องผูก ซึ่งสามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่เกิดกับสตรีมากกว่าบุรุษ สาเหตุที่พบมากที่สุด คือ การเคลือนตัวของลำไส้ช้ากว่าปรกติ และ ความเครียด

สาเหตุของการเกิดท้องผูก

การเกิดอาการท้องผูก นั้นเป็นอาการที่เกิดจากสาเหตุของลำไส้เคลื่อนที่ช้าและบีบตัวได้น้อยสำหรับการย่อยอาหาร ซึ่งทำให้การกำจัดของเสียทางทาวารหนังไม่ปรกติ เกิดอุจจาระตกค้างในลำไส้ใหญ่ การที่อุจจาระขับถ่ายออกยากนั้น จะมีลักษณะแข็ง แห้ง และมีขนาดใหญ่ โดยเราสามารถแยกสาเหตุที่ทำให้ลำไส้เคลื่อนที่และบีบตัวช้า นั้น มีสาเหตุดังนี้

  • เกิดจากผลของการใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาลดกรด ยาระงับอาการทางจิต ยารักษาอาการชัก อาหารเสริมกลุ่มแคลเซียมและธาตุเหล็ก ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
  • ความผิดปรกติของฮอร์โมนร่างกาย จากการขาดความสมดุลของระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการรักษาของเหลวในร่างกาย ซี่งเกิดจากโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคเบาหวาน การตั้งครรภ์ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ เป็นต้น
  • ความผิดปรกติของร่างกายเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ การบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้และทวารหนัก มีผลต่อการเกิดท้องผูก หากกล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้ดี การเคลือนที่ของลำไส้อละทวารหนัก ก็ทำได้น้อย ลักษณะสาเหตุของอาการ เช่น เส้นประสาทถูกทำลายจากโรคเบาหวาน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคพาร์กินสัน เส้นประสาทไขสันหลังบาดเจ็บ โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น
  • ความผิดปรกติของลำไส้ โดยเกิดการอุดตันภายในลำไส้ บริเวณทวารหนัก เช่น แผลปริขอบทวารหนัก ลำไส้อุดตัน มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าสาเหตุของอาการท้องผู้นั้น เกิดจากความผิดปรกติของ ร่างกายที่เกี่ยวกับลำไส้ ฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำในร่างกาย กล้ามเนื้อ ซึ่งนอกจากนี้แล้ว การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน เป็นปัจจัยเอื่ออำนวยให้เกิดการท้องผูกได้มากขึ้น ปัจจัยที่ทำให้มีคามเสี่ยงท้องผูก มีรายละเอียด ดังนี้

  • การอั้นอุจจาระ
  • การรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารน้อย
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • ภาวะน้ำหนักตัวมากผิดปรกติหรือโรคอ้วน
  • การดื่มน้ำน้อยและภาวะการขาดน้ำ
  • ความเครียด
  • การเสื่อมของร่างกายตามวัย

การรักษาอาการท้องผูก

สำหรับการรักษาอาการท้องผูกนั้น แนวทางการรักษาที่สำคัญ คือ การทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มเคลื่อนที่ง่าย ต้องกินอาหารมีกากใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การแก้ปัญหาอาการท้องผูก สามารถทำได้ตามคำแนะนำข้างต้น แต่หากไม่ดีขึ้น นั้น สามารถใช้ยาระบาย ช่วยให้ถ่ายอุจจาระง่ายขึ้น แต่การใช้ยาระบายต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้มากเกินไป จะทำให้ร่างกายขาดน้ำและช็อกได้

อาหารช่วยแก้ท้องผูก

สำหรับอาหารแนะนำในการแก้ท้องผูก จะเป็นอาหารที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ทานเข้าไปในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูกได้โดยไม่ต้องรักษาด้วยยา อาหารแนะนำมีดังนี้

  • มะขามเปียก ให้นำมะขามเปียกมาขยำเอาน้ำและต้มสุกใส่เกลือนิดหน่อยดื่ม หรือ กินมะขามสุกสดๆจิ้มเกลือและดื่มน้ำเปล่าตามมากๆ
  • มะขามแขก ให้นำใบแห้ง 1 ถึง 2 หยิบมือ หักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มกับน้ำ ดื่มก่อนนอน
  • ลูกพรุนแห้ง ให้รับประทานทั้งผล ตอนกลางคืนก่อนเข้านอน
  • แอปเปิลเขียว ให้รับประทานทั้งผล ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร
  • สับปะรด และมะละกอ มีน้ำย่อยช่วยกัดกากคราบโปรตีนเก่า ๆ ที่ถูกย่อยไม่หมด ทำให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น
  • เม็ดแมงลัก นำเม็ดแมงลัก 2 ช้อนชา แช่ในน้ำเปล่า ดื่มก่อนนอน จะช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
  • ขี้เหล็ก เป็นสมุนไพรกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ช่วยการขับถ่าย นำใบอ่อน  4 ถึง 5 กำมือ มาต้มกับน้ำ ดื่มก่อนนอน
  • กล้วยน้ำว้าสุก เป็นผลไม้ช่วยเพิ่มกากอาหาร ทำให้ขับถ่ายได้สะดวกขึ้น ควรทานทุกวัน ๆ ละ 2 ผล
  • มะเฟือง ผลไม้รสเปรี้ยว มีฤทธิ์เป็นยาระบาย และช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร

การป้องกันอาการท้องผูก

สำหรับการป้องกันการเกิดอาการท้องผู้นั้น สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  • กินอาหารมีกากใยอาหารสูง
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • มีอาการท้องผูกนานเกิน 7 วัน ให้รีบปรึกษาแพทย์
  • หากมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และ อุจจาระมีเลือดปน ให้รีบพบแพทย์

ภาวะท้องผูก หมายถึง อาการถ่ายอุจจาระลำบาก มีอุจจาระแข็ง สำไส้ใหญ่จะดูดน้ำและสารบางอย่างเพื่อนำสารอาหารที่มีประโยชน์ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งการที่ลำไส้ใหญ่ดูดสารอาหารทำให้อุจจาระแห้งขึ้นเป็นก้อน ค้างอยู่ในลำไส้ แต่ภาวะขาดน้ำ ก็เป็นสาเหตที่ทำให้ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากขึ้น

ไส้ติ่งอักเสบเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่รักษาอาจเกิดการติดเชื้อเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการปวดท้องด้านขาวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีไข้ไส้ติ่งอักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร

ไส้ติ่ง หากจะกล่าวถึงไส้ติ่ง นั้น คืออะไร อยู่ตำแหน่งใดของร่างกาย และมีหน้าที่อย่างไร ไส้ติ่งนั้นเป็นส่วนขยายของลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ้เป็นเหมือนหนอน ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างเหมือนถุงยาวๆขนาดเท่านิ้วก้อย ยื่นออกมาจากลำไส้ใหญ่ ตำแหน่งอยู่ที่ท้องน้อย ด้านขวา ผนังด้านในของไส้ติ่งมีเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองกระจายอยู่ หน้าที่และประโยชน์ของไส้ติ่ง คือ เป็นแหล่งเก็บแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร เป็นตัวกระตุ้นในการสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย เพื่อปกป้องคุ้มครองร่างกาย

ความเชื่อเก่าเก่าว่าไส้ติ่งนั้นไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายนั้นไม่ใช่อีกต่อไป แต่อาการไส้ติ่งอักเสบนั้น หากไม่รักษาอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ได้ เรามาเรียนรู้เรื่องโรคไส้ติ่งอักเสบกันว่า เป็นอย่างไร สังเกตุอาการและรักษาอย่างไร

โรคไส้ติ่งอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก appendicitis โรคไส้ติ่งอักเสบ คือ ภาวะโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของไส้ติ่ง  เป็นการอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากเกิดไส้ติ่งอักเสบ ต้องรักษาด้วยการตัดไส้ติ่งทิ้ง และหากไม่ทำการรักษา อาจทำให้ไส้ติ่งแตก เกิดการติดเชื้อโรคภายในร่างกาย หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ก็เป็นอันตรายถึงชีวิต โอกาสในการเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ตั้งแต่เด็ก 2 ขวบจนถึงคนชรา แต่พบบ่อยมากที่สุด คือกลุ่มคนอายุ 15 ถึง 30 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ

โรคไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากการอุดตันที่ไส้ติ่ง ไม่ว่าจะเป็น ก้อนอุจจาระที่แข็ง หรือเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองที่ผนังไส้ติ่งหนาตัวขึ้น ทำให้เกิดอาการอักเสบได้

อาการของผู้ป่วยโรคไส้ติ่งอักเสบ

ผู้ป่วยที่ เป็น ไส้ติ่งอักเสบ นั้น จะมีอาการปวดท้อง อย่างรุนแรง บริเวณ ด้านขาวล่างของท้อง เป็นอาการปวดแบบเฉียบพลัน สำหรับ อาการไส้ติ่งอักเสบ นั้น สามารถแบ่งระยะของอาการได้ เป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก ระยะต่อมา และระยะรุนแรง รายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ระยะแรก คือ ระยะไส้ติ่งเริ่มอุดตัน จะมีอาการปวดท้องแบบกะทันหัน จากนั้นจะมีอาการเบื่ออาหาร จุกแน่น มักจะปวดในตำแหน่งรอบสะดือ
  • ระยะต่อมา คือ ระยะไส้ติ่งบวมโป่ง ระยะนี้เชื้อโรคมีการขยายตัวลุกลามถึงไส้ติ่งชั้นนอก ผุ้ป่วยจะปวดท้องอย่างรุนแรง อาการปวดจะย้ายมาตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา และจะปวดมากขึ้นหากมีอาการ ไอหรือจาม ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกร่วมอยู่ด้วย
  • ระยะรุนแรง คือ ระยะไส้ติ่งแตก การปล่อยให้อาการเจ็บท้องมากขึ้นและไม่รักษา อาการอักเสบก้จะบวมมากขึ้นตจนกระทั้งแต่ เชื้อโรคจะมีการแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะภายในอื่นๆที่ใกล้เคียง อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ต้องรับการผ่าตัดไส้ติ่งอย่างเร่งด่วน

การรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ

สำหรับ การรักษาไส้ติ่งอักเสบ เป็นวิธีรักษามาตราฐาน คือ การตัดเอาไส้ติ่งออก สามารถรักษาได้ 100 % สำหรับ การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ นั้น ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง และนอนพักที่โรงพยาบาล 2 – 3 วัน  ในปัจจุบัน การผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก ไม่ว่าจะด้วยวิธีผ่าเปิดช่องท้องหรือการผ่าแบบส่องกล้องยังคงเป็นวิธีหลักใน การรักษาไส้ติ่งอักเสบ ธรรมดา

ไส้ติ่งอักเสบ คือ อาการบวมและอักเสบจากการติดเชื้อของไส้ติ่ง อยู่บริเวณตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา อาการไส้ติ่งอักเสบ คือ ปวดท้อง ตามด้วยเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก หรือท้องเสีย มีไข้ ท้องอืด การวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบ สามารถทำได้ด้วยการตรวจร่างกาย ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่องท้อง

โรคไส้ติ่งอักเสบมีการศึกษาครั้งแรกจากการผ่าตรวจศพ โดยศาสตราจารย์ Lorenz Heirster ในปี พ.ศ. 2254 สำหรับการรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบด้วยการผ่าตัดเกิดขึ้นครั้งแรกที่ กองทัพอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2278

โรคระบบทางเดินอาหาร

ตับอ่อนอักเสบ โรคตับ การติดเชื้อ อาการโรคตับตับอ่อนอักเสบ
โรคกรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไม่ติดต่อโรคกรดไหลย้อน
มะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อมะเร็งหลอดอาหาร
โรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหารโรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหารโรคแผลเพปติก
มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ การรักษามะเร็งมะเร็งกระเพาะอาหาร

ไส้ติ่งอักเสบ โรคไส้ติ่งอักเสบ คือ ภาวะเกี่ยวกับไส้ติ่ง เกิดการอักเสบของไส้ติ่ง เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ไส้ติ่งอักเสบต้องตัดไส้ติ่งทิ้ง หากไม่รักษาอาจเกิดอาการติดเชื้อ หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการของโรคไส้ติ่ง คือ ปวดท้องอย่างรุนแรง ด้านขาว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีไข้ ไส้ติ่งแตก ต้องผ่าตัดไส้ติ่ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove