ว่านหางจระเข้ ( Aloe ) ต้นว่านหางจระเข้เป็นอย่างไร โทษของว่านหางจรเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น สมานแผล บำรุงผิวพรรณ ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้

ว่านหางจระเข้ สมุนไพรบำรุงผิวพรรณ

ว่านหางจระเข้ ( Aloe ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของว่านหางจระเข้ คือ Aloe barbadenisi Mill. ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้ โทษของว่านหางจรเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้ ชื่ออื่นๆของว่านหางจระเข้ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้ สมุนไพร สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น รักษาแผล บำรุงผิว รักษาแผลในกระเพาะอาหาร และ บำรุงเส้นผม ว่านหางจระเข้ นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอางค์ สำหรับบำรุงผิว

ว่านหางจระเข้ ( Aloe Vera ) คือ พืชชนิดหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในประเภทพืชล้มลุก สีเขียว มีลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้อง ใบเดี่ยว ใบหนายาวและโคนใบใหญ่ ปลายแหลม ขอบใบมีหนามห่างกันเป็นระยะ เรียงเป็นชั้น ข้างในใบเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน มีเมือกเหนียว สามารถออกดอกสีแดงอมเหลืองที่ปลายยอดได้ มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา สามารถปลูกได้ง่ายในดินทราย หรือในกระถางก็ได้ เป็นพืชชอบน้ำ แต่ต้องมีทางระบายน้ำได้ดี ป้องกันไม่ให้อมน้ำมากเกินไปจนรากเน่า

ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้

ต้นว่านหางจระเข้ เป็น ไม้ล้มลุก ความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นข้อและปล้องสั้น ใบของว่านหางจระเข้ เป็น ใบเดี่ยว ยาว อวบน้ำ มีสีเขียวอ่อน ภายในใบมีวุ้นใส ดอกว่านหางจระเข้ จะเป็นช่อออกตรงกลางต้น ดอกย่อยของว่านหางจระเข้ เป็นหลอดห้อยลง จะมีสีส้ม

สรรพคุณของว่านหางจระเข้

การใช้ประโยชน์จากว่านหางจระเข้ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราจะใช้น้ำยางที่ใบของว่านหางจระเข้มาใช้ ซึ่ง การใช้ว่านหางจระเข้ ทางสมุนไพร มีดังนี้

  • นำว่านหางจระเข้มารักษาแผลไฟไหม และน้ำร้อนลวก โดย ใช้น้ำยางมาทาผิวของแผล ช่วยรักษาแผล และสมานแผลได้
  • การรักษาสิว โดยใช้ยางว่านหางจระเข้ทาหน้า รักษาสิวให้แห้งและหลุดง่าย
  • บำรุงผมและหนังศีรษะ โดยใช้ยางว่านหางจระเข้ มาเป็นส่วนผสมของยาสระผม ทำให้ ลดอาการคันหนังศรีษะ ไม่มีรังแค
  • นำว่านหางจระเข้มารับประทาน ใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้

เมื่อสรรพคุณของว่านหางจระเข้มีอยู่มากมายรอบด้านขนาดนี้ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากว่านหางจระเข้ก็ย่อมต้องทยอยออกมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคมากขึ้น ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์ที่ถูกแปรรูปจากว่านหางจระเข้อยู่หลากหลาย ดังนี้

  • เจลว่านหางจระเข้ สรรพคุณ ใช้ทาเพื่อลดอาการบวม เป็นครีมทาใต้ตา บำรุงผิวหน้า เพิ่มความชุ่มชื้น ใช้ผสมกับส่วนผสมต่าง ๆ พอกหน้าแทนวุ้นว่านหางจระเข้ได้ ทั้งยังใช้ทาแผลพุพอง แผลสด เพื่อบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งผ่านการยิงเลเซอร์ และมีรอยไหม้แดงบนใบหน้า จะทำให้บรรทาอาการลงและฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ครีมว่านหางจระเข้ ก็มีสรรพคุณเดียวกันกับเจลว่านหางจระเข้ แตกต่างกันที่เนื้อผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์เข้มข้นกว่า อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีหน้ามัน เพราะเนื้อครีมจะให้ความรู้สึกหนักกว่าเนื้อเจล แต่ค่อนข้างเหมาะกับผู้ที่มีหน้าแห้ง เพราะจะให้ความชุ่มชื้นที่มากกว่า

ทั้งนี้นอกจากเจลว่านหางจระเข้และครีมว่านหางจระเข้แบบทั่วไปแล้ว ยังถูกต่อยอดออกไปเป็นเจลล้างหน้าว่านหางจระเข้ เจลและครีมว่านหางจระเข้แบบผสมสารกันแดด นอกจากนี้ยังมีน้ำว่านหางจระเข้สำหรับดื่มอีกด้วย โดยสรรพคุณไม่แตกต่างจากว่านหางจระเข้สดมากนัก

คำแนะนำในการใช้ว่านหางจระเข้

  • การเลือกใช้ใบจากต้นว่านหางจระเข้ควรเลือกต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ขึ้นไป และให้เลือกใบล่างสุดเพราะจะอวบโตและมีวุ้นมากกว่าใบที่อยู่ด้านบน
  • เนื่องจากวุ้นของว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรปอกโดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อ Aseptic technique เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • การนำวุ้นมาใช้เพื่อรักษาแผลจำเป็นต้องล้างน้ำให้สะอาด เพื่อป้องกันน้ำยางจากเปลือกที่มีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้
  • ว่านหางจระเข้จะมีคุณภาพสูงสุดเมื่อตัดมาแล้วใช้ทันที และจะมีสรรพคุณทางยาที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
  • วุ้นของว่านหางจระเข้จะไม่คงตัวเท่าไหร่นัก ดังนั้นถ้าปอกแล้วจะเก็บไว้ได้เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
  • หากนำว่านหางจระเข้ไปแช่ในตู้เย็นจนเย็นก่อนการนำมาใช้ จะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นเย็นสบายมากยิ่งขึ้น
  • การใช้เพื่อใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่กำลังจะมีประจำเดือน รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารด้วย
  • การใช้วุ้นจากใบเพื่อใช้เป็นยาทาภายนอก สำหรับบางรายแล้วอาจจะเกิดอาการแพ้ได้ (จากงานวิจัยพบว่าไม่ถึง 1%) โดยลักษณะของอาการแพ้หลังจากหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดงบาง ๆ หรืออาจมีอาการเจ็บแสบด้วย โดยอาการจะแสดงหลังจากทาไปแล้วประมาณ 2-3 นาที ถ้าคุณมีอาการแพ้หลังการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ก็ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด และเลิกใช้ทันที

ว่านหางจระเข้ ( Aloe ) ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้ เป็นอย่างไร โทษของว่านหางจรเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น สมานแผล บำรุงผิวพรรณ ชื่ออื่นๆของว่านหางจระเข้ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้

เสาวรส ( Passionfruit ) กระทกรกฝรั่ง สมุนไพร สรรพคุณช่วยสมานแผล บำรุงผิว บำรุงสายตา ลดไขมันในเลือด ช่วยถ่ายพยาธิ แก้ไอ ขับเสมหะ นิยมนำมารับประทานผลเสาวรสเสาวรส กระทกรกฝรั่ง สมุนไพร สรรพคุณของกระทกรก

ต้นเสาวรส ภาษาอังกฤษ เรียก Passionfruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของเสาวรส คือ Passiflora edulis สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของเสาวรส เช่น กระทกรก สุคนธรส เป็นต้น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาใต้ พบในประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา

ต้นเสาวรส หรือเรียกอีกชื่อว่า กะทกรกฝรั่ง เป็นผลไม้ เพื่อสุขภาพที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกาใต้ ลักษณะของผลกลม มีสีเขียว เมื่อสุกจะมีหลายสี เช่น สีม่วง สีเหลือง สีส้ม เป็นต้น สำหรับเสวรสในประเทศไทยนิยมปลูก 3 สายพันธุ์ โดยในผลเสาวรสนั้นจะมีเมล็ดจำนวนมาก มีกลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสออกเปรี้ยวจัด แต่บางสายพันธุ์จะมีรสออกอมหวานด้วย

เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส

เสาวรส เป็นไม้เลื้อย ผลของเสาวรสจะมีทรงกลม ผลอ่อนของเสารสจะมีสีเขียว เมื่อสุกมื่อสุกจะมีหลายสี เช่น สีม่วง สีเหลือง สีส้ม กลิ่นคล้ายผลฝรั่งสุก มีรสเปรี้ยว แหล่งปลูกเสาวรสเพื่อการพาณิชย์มีหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา นิวซีแลนด์ ประเทศแถบทะเลแคริบเบียน บราซิล โคลอมเบีย โบลิเวีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย เปรู เปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย แอฟริกาตะวันออก เม็กซิโก อิสราเอล คอสตาริกา แอฟริกาใต้ และ โปรตุเกส

เสาวรสในประเทศไทย

สำหรับเสาวรสในประเทศไทย เราพบว่ามีการปลูกเสาวรสอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ เสาวรสพันธุ์สีม่วง เสาวรสพันธ์สีเหลือง และ เสาวรสพันธ์ผสม สำหรับพันธ์สีม่วง เปลือกสีม่วง เนื้อในสีเหลืองอมหวาน แต่ไม่ค่อยทนโรคในเขตร้อน เสารสพันธุ์สีเหลือง หรือ เสาวรสสีทอง เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกในเขตร้อน ผลแก่สีเหลือง รสเปรี้ยวมาก  ส่วนเสาวรสพันธุ์ผสม ผลสุกเป็นสีม่วงอมแดง รสเปรี้ยวจัด และ กลิ่นแรง

ลักษณะของต้นเสาวรส

สำหรับต้นเสาวรส ไม้เลื้อย สามารถขยายพันธ์ โดยการปักชำและการเสียบยอด ลักษณะของต้นเสาวรส มีดังนี้

  • ลำต้นเสาวรส ลำต้นเป็นเถา ไม้เลื้อย มีหนามขนาดเล็ก เถาแตกมือเกาะบริเวณซอกใบ
  • ใบเสาวรส เป็นใบเดี่ยว ใบมีสีเขียว ปลายแฉกแหลม ใบหนา และ สากมือ
  • ดอกเสาวรส เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบและเถา ดอกสีเขียว ด้านในสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลเสาวรส เป็นผลเดี่ยว ทรงกลม อวบน้ำ สีเปลือกแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์
  • เมล็ดเสาวรส ลักษณะรี เมล็ดด้านในสีดำ เยื่อหุ้มเมล็ดมีรสเปรี้ยวจัด เมล็ดของเสาวรส เป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ทำน้ำผลไม้บริโภค

คุณค่าทางโภชนาการของเสาวรส

สำหรับการบริโภคเสาวรสเป็นอาหาร นิยมบริโภคผลเสาวรส นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลเสาวรสขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 97 กิโลแคลอรี และ มีสารอาหารสำคัญมากมาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.38 กรัม น้ำตาล 11.2 กรัม กากใยอาหาร 10.4 กรัม ไขมัน 0.7 กรัม โปรตีน 2.2 กรัม วิตามินเอ 64 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 734 ไมโครกรัม วิตามินบี 2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 30 มิลลิกรัม วิตามินเค 0.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 68 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 348 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

ในเสาวรสมี ไลโคพีนในชั้นเพอริคาร์บ ผลเสาวรสสุก มีบีตา-แคโรทีน โพแทสเซียมและใยอาหารสูง ส่วนน้ำเสาวรส ให้วิตามินซีสูง ผลเสารสสีม่วง นิยมบริโภคสด

สรรพคุณของเสาวรส

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเสาวรสเพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ ยอด ราก ใบ ผล ซึ่งรายละเอียดของ ประโยชน์ของเสาวรส มีดังนี้

  • ยอดของเสาวรส นำมารับประทานเป็นผัดสด สามารนำไปทำแกง หรือลวก ทากับน้ำจิ้ม เนื้อไม้ของเสาวรส เป็นยาบำรุงธาตุขัน ใช้รักษาแผลได้
  • รากของเสาวรส หากนำมาต้ม สามารถใช้ รักษาผดผื่นคัน และกามโรคได้
  • ใบของเสาวรส หากนำมาบดละเอียดคั้นน้ำ สามารถทำเป็นยาถ่ายพยาธิได้
  • ดอกของเสาวรส สามารถใช้แก้ไอ ขับเสมหะ
  • ผลของเสาวรส รับประทานเมล็ด นำมาคั้นเป็นน้้ำเสาวรส ดื่มเพื่อสุขภาพ น้ำเสาวรสมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา และบำรุงผิวพรรณ น้ำเสารสมีวิตามินซีสูง ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน  นอกจากนั้นยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ก่อนเวลาอันควร สามารถกำจัดสารพิษในเลือด บำรุงไต รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สามารถลดไขมันในเลือดได้

สำหรับประโยชน์ของเสาวรสและสรรพคุณของเสาวรสนั้นก็มีมากมายหลายข้อ เพราะเสาวรสอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมอยู่หลายชนิด ซึ่งได้แก่ วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุสังกะสี และคาร์โบไฮเดรต โดยยังมีของแถมนั่นก็คือใยอาหารในปริมาณสูงรวมอยู่ด้วย ซึ่งนิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้สด โดยเสาวรสที่ลักษณะดีนั้นต้องไม่เหี่ยว ผิวต้องเต่งตึง

โทษของเสาวรส

ห้ามรับประทานในส่วนของต้นสดเสารสเด็ดขาด เนื่องจาก ต้นเสาวรสมีสารพิษอันตราย อาจทำให้เสียชีวิตได้

เสาวรส ( Passion fruit ) กระทกรกฝรั่ง สมุนไพร สรรพคุณของเสาวรส ช่วยสมานแผล บำรุงผิว บำรุงสายตา ลดไขมันในเลือด ช่วยถ่ายพยาธิ แก้ไอ ขับเสมหะ นิยมนำมารับประทานเนื้อของผลเสาวรส น้ำมาทำอาหารต่างๆมากมาย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove