ขมิ้น พืชสารพัดประโยชน์ คู่สังคมไทย นิยมมาทำอาหารรวมถึงใช้รักษาโรค บำรุงผิวพรรณ ลักษณะของต้นขมิ้นเป็นอย่างไร ประโยชน์และโทษของขมิ้นมีอะไรบ้าง

ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรบำรุงผิว

ต้นขมิ้น ภาษาอังกฤษ เรียก Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น ขมิ้นอยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน นิยมนำไปใช้ในการประกอบอาหาร แต่งสีอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร อาหารไทยที่มีขมิ้นเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น

นอกจากนี้ ขมิ้นมีประโยชน์ทางสมุนไพรใช้รักษาโรคได้ มีประวัติในการนำขมิ้นใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สรรพคุณของขมิ้นเช่น ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง ลดไขมันในเลือด เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาฆ่าเชื้อรา รักษาฝี รักษาแผลไฟไหม้ บำรุงตับ ช่วยย่อยอาหาร ลดไขมันในตับ เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ขมิ้น เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นขมิ้น มีดังนี้

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก
  • ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น

ขมิ้น มีวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งตับได้ ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร

ขมิ้นชัน อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น

สรรพคุณของขมิ้น

สำหรับการใช้ขมิ้นในการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จากเหง้าของขมิ้น ซึ่งสรรพคุณของขมิ้น มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงผิวหนัง ช่วยป้องกันผิวหนังจากสภาพแวดล้อมต่างๆ แก้อาการผื่นคันตามร่างกาย รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน บรรเทาอาการผิวหนังพุพอง ทำให้ ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต
  • ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ล้างพิษ ลดการเกิดพิษในร่างกาย
  • บำรุงกระดูก รักษาโรคเกาต์ ลดกรดยูริคในเลือด ลดอาการปวดบวมตามข้อ
  • บำรุงร่างกายสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยเพิ่มน้ำนม
  • รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้หายใจคล่อง บำรุงปอด
  • บำรุงสมอง ลดอาการสมองเสื่อม แก้อาการเวียนหัว
  • แก้ปวด ลดการอักเสบ บวมแดงของร่างกาย
  • ช่วยลดไข้ ลดอาการไอ
  • รักษาแผลที่ปาก แผลร้อนใน
  • บรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยรักษาอาการท้องเสีย  รักษาอาการจุดเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาโรคลำไส้อักเสบ รักษาโรคแผลในลำไส้ ช่วยเรื่องการขับถ่าย ลดการบีบตัวของลำไส้  รักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม อาการอุจจาระไม่ออก ช่วยขับลม ป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน
  • บำรุงตับให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันการเกิดตับอักเสบ และตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล
  • แก้อาการตกเลือด แก้อาการตกขาว
  • รักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • รักษาแผล ช่วยสมานแผล

โทษของขมิ้น

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้นหากใช้อย่างไม่ถูกต้องสามารถทำให้เกิดโทษได้ ดังนี้

  • หากรับประทานขมิ้นแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว หรือ นอนไม่หลับ ต้องหยุดการรับประทานขมิ้นทันที
  • การใช้ขมิ้นเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เมื่ออาการเหล่านั้นหายดีแล้ว ควรเลิกรับประทาน ไม่ควรรับประทานต่อเนื่อง
  • ขมิ้นชั้นเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดีได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

เสาวรส Passion fruit หรือ กระทกรกฝรั่ง ผลไม้ สรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ แก้ไอ ขับเสมหะ ผลเสาวรสนิยมยำมาทำอาหาร รสชาติอร่อย วิตามินสูง

เสาวรส กระทกรกฝรั่ง ผลไม้ สมุนไพร

ต้นเสาวรส ภาษาอังกฤษ เรียก Passionfruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของเสาวรส คือ Passiflora edulis ชื่อเรียกอื่นๆของเสาวรส เช่น กระทกรก สุคนธรส เป็นต้น ต้นเสาวรสมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งพบว่ามีเสาวรสในบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา ประโยชน์ของเสาวรส มีสรรพคุณหลากหลาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุสังกะสี และคาร์โบไฮเดรต นิยมรับประทานเสาวรสเป็นผลไม้สด

แหล่งปลูกเสาวรสเพื่อการพาณิชย์มีหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา นิวซีแลนด์ ประเทศแถบทะเลแคริบเบียน บราซิล โคลอมเบีย โบลิเวีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย เปรู เปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย แอฟริกาตะวันออก เม็กซิโก อิสราเอล คอสตาริกา แอฟริกาใต้ และ โปรตุเกส

สายพันธ์เสาวรส

ต้นเสาวรส มีอีกชื่อหนึ่งว่า กะทกรกฝรั่ง สำหรับเสวรสในประเทศไทย นิยมปลูก 3 สายพันธุ์ คือ เสาวรสสีม่วง เสาวรสสีเหลือง และ เสาวรสลูกผสม รายละเอียด ดังนี้

  • เสาวรสสีม่วง ลักษณะของผลจะมีสีม่วง เป็นเสาวรสที่พบได้มากในที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดเวลา สายพันธ์นี้ผลจะมีขนาดเล็ก มีรสชาติดี มีกรดต่ำสีสวยและหวาน เหมาะสำหรับรับประทานเป็นผลไม้สด
  • เสาวรสสีเหลือง ลักษณะของผลเป็นสีเหลือง พบได้ตามพื้นที่สูงตามชายฝั่งทะเล ลักษณะเด่นผลมีขนาดใหญ่ ผลดก มีกรดมาก เหมาะสำหรับแปรรูป
  • เสาวรสลูกผสม เกิดจากการผสมระหว่างเสาวรสสีม่วงกับเสาวรสสีเหลือง ลักษณะผลใหญ่ ให้ผลดก มีเมล็ดมาก สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี

เสาวรสในประเทศไทย

สำหรับเสาวรสในประเทศไทย เราพบว่ามีการปลูกเสาวรสอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ เสาวรสพันธุ์สีม่วง เสาวรสพันธ์สีเหลือง และ เสาวรสพันธ์ผสม สำหรับพันธ์สีม่วง เปลือกสีม่วง เนื้อในสีเหลืองอมหวาน แต่ไม่ค่อยทนโรคในเขตร้อน เสารสพันธุ์สีเหลือง หรือ เสาวรสสีทอง เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกในเขตร้อน ผลแก่สีเหลือง รสเปรี้ยวมาก  ส่วนเสาวรสพันธุ์ผสม ผลสุกเป็นสีม่วงอมแดง รสเปรี้ยวจัด และ กลิ่นแรง

ลักษณะของต้นเสาวรส

ต้นเสาวรส เป็นไม้เลื้อย การขยายพันธุ์เสาวรส สามารถขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การปักชำ และ การตอนเถา ซึ่งนิยมขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์มากที่สุด ลักษณะของต้นเสาวรส มีดังนี้

  • ลำต้นเสาวรส ลำต้นเป็นเถา ไม้เลื้อย มีหนามขนาดเล็ก เถาแตกมือเกาะบริเวณซอกใบ
  • ใบเสาวรส เป็นใบเดี่ยว ใบมีสีเขียว ปลายแฉกแหลม ใบหนา และ สากมือ
  • ดอกเสาวรส เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบและเถา ดอกสีเขียว ด้านในสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลเสาวรส เป็นผลเดี่ยว ทรงกลม อวบน้ำ สีเปลือกแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์
  • เมล็ดเสาวรส ลักษณะรี เมล็ดด้านในสีดำ เยื่อหุ้มเมล็ดมีรสเปรี้ยวจัด เมล็ดของเสาวรส เป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ทำน้ำผลไม้บริโภค

คุณค่าทางโภชนาการของเสาวรส

การบริโภคเสาวรสเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลเสาวรส ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลเสาวรส ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 97 กิโลแคลอรี และ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.38 กรัม น้ำตาล 11.2 กรัม กากใยอาหาร 10.4 กรัม ไขมัน 0.7 กรัม โปรตีน 2.2 กรัม วิตามินเอ 64 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 734 ไมโครกรัม วิตามินบี 2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 30 มิลลิกรัม วิตามินเค 0.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 68 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 348 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

น้ำเสาวรส มีสาระสำคัญ เช่น Carotenoid ( คาโรทีนอยด์ ) Pectin methyhesterase ( เอนไซม์ เพคทนเมทิลเอสเตอเรส ) Catalase ( คาทาเลส ) Leucine ( ลิวซีน ) Valine ( วาลีน ) Tyrosine ( โทโรซีน ) Prline ( โพรลีน ) Threonine ( ทรีโอนีน ) Glycine ( ไกลซีน ) Aspertic acid ( กรดแอสพาร์ทิก ) Arginine ( อาร์จินีน ) Lysine ( ไลซีน ) และ Alkalod ( อัลคาลอยด์ )

สรรพคุณของเสาวรส

การใช้ประโยชน์จากเสาวรส ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ยอดเสาวรส รากเสาวรส ใบเสาวรส และผลเสาวรส สรรพคุณของเสาวรส มีดังนี้

  • ยอดของเสาวรส สรรพคุณบำรุงธาตุขัน รักษาแผล
  • รากของเสาวรส สรรพคุณรักษาผดผื่นคัน รักษากามโรค
  • ใบของเสาวรส สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ
  • ดอกของเสาวรส สรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ
  • ผลของเสาวรส สรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน  ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ก่อนเวลาอันควร ช่วยกำจัดสารพิษในเลือด บำรุงไต รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ลดไขมันในเลือด

โทษของเสาวรส

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเสาวรสด้านการรักษาโรค ห้ามรับประทานต้นสดของเสารส เนื่องจาก ต้นเสาวรสมีพิษ เป็นอันตรายทำให่เสียชีวิตได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove