เสาวรส Passion fruit หรือ กระทกรกฝรั่ง ผลไม้ สรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ แก้ไอ ขับเสมหะ ผลเสาวรสนิยมยำมาทำอาหาร รสชาติอร่อย วิตามินสูง

เสาวรส กระทกรกฝรั่ง ผลไม้ สมุนไพร

ต้นเสาวรส ภาษาอังกฤษ เรียก Passionfruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของเสาวรส คือ Passiflora edulis ชื่อเรียกอื่นๆของเสาวรส เช่น กระทกรก สุคนธรส เป็นต้น ต้นเสาวรสมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งพบว่ามีเสาวรสในบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา ประโยชน์ของเสาวรส มีสรรพคุณหลากหลาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุสังกะสี และคาร์โบไฮเดรต นิยมรับประทานเสาวรสเป็นผลไม้สด

แหล่งปลูกเสาวรสเพื่อการพาณิชย์มีหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา นิวซีแลนด์ ประเทศแถบทะเลแคริบเบียน บราซิล โคลอมเบีย โบลิเวีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย เปรู เปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย แอฟริกาตะวันออก เม็กซิโก อิสราเอล คอสตาริกา แอฟริกาใต้ และ โปรตุเกส

สายพันธ์เสาวรส

ต้นเสาวรส มีอีกชื่อหนึ่งว่า กะทกรกฝรั่ง สำหรับเสวรสในประเทศไทย นิยมปลูก 3 สายพันธุ์ คือ เสาวรสสีม่วง เสาวรสสีเหลือง และ เสาวรสลูกผสม รายละเอียด ดังนี้

  • เสาวรสสีม่วง ลักษณะของผลจะมีสีม่วง เป็นเสาวรสที่พบได้มากในที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดเวลา สายพันธ์นี้ผลจะมีขนาดเล็ก มีรสชาติดี มีกรดต่ำสีสวยและหวาน เหมาะสำหรับรับประทานเป็นผลไม้สด
  • เสาวรสสีเหลือง ลักษณะของผลเป็นสีเหลือง พบได้ตามพื้นที่สูงตามชายฝั่งทะเล ลักษณะเด่นผลมีขนาดใหญ่ ผลดก มีกรดมาก เหมาะสำหรับแปรรูป
  • เสาวรสลูกผสม เกิดจากการผสมระหว่างเสาวรสสีม่วงกับเสาวรสสีเหลือง ลักษณะผลใหญ่ ให้ผลดก มีเมล็ดมาก สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี

เสาวรสในประเทศไทย

สำหรับเสาวรสในประเทศไทย เราพบว่ามีการปลูกเสาวรสอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ เสาวรสพันธุ์สีม่วง เสาวรสพันธ์สีเหลือง และ เสาวรสพันธ์ผสม สำหรับพันธ์สีม่วง เปลือกสีม่วง เนื้อในสีเหลืองอมหวาน แต่ไม่ค่อยทนโรคในเขตร้อน เสารสพันธุ์สีเหลือง หรือ เสาวรสสีทอง เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกในเขตร้อน ผลแก่สีเหลือง รสเปรี้ยวมาก  ส่วนเสาวรสพันธุ์ผสม ผลสุกเป็นสีม่วงอมแดง รสเปรี้ยวจัด และ กลิ่นแรง

ลักษณะของต้นเสาวรส

ต้นเสาวรส เป็นไม้เลื้อย การขยายพันธุ์เสาวรส สามารถขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การปักชำ และ การตอนเถา ซึ่งนิยมขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์มากที่สุด ลักษณะของต้นเสาวรส มีดังนี้

  • ลำต้นเสาวรส ลำต้นเป็นเถา ไม้เลื้อย มีหนามขนาดเล็ก เถาแตกมือเกาะบริเวณซอกใบ
  • ใบเสาวรส เป็นใบเดี่ยว ใบมีสีเขียว ปลายแฉกแหลม ใบหนา และ สากมือ
  • ดอกเสาวรส เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบและเถา ดอกสีเขียว ด้านในสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลเสาวรส เป็นผลเดี่ยว ทรงกลม อวบน้ำ สีเปลือกแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์
  • เมล็ดเสาวรส ลักษณะรี เมล็ดด้านในสีดำ เยื่อหุ้มเมล็ดมีรสเปรี้ยวจัด เมล็ดของเสาวรส เป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ทำน้ำผลไม้บริโภค

คุณค่าทางโภชนาการของเสาวรส

การบริโภคเสาวรสเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลเสาวรส ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลเสาวรส ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 97 กิโลแคลอรี และ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.38 กรัม น้ำตาล 11.2 กรัม กากใยอาหาร 10.4 กรัม ไขมัน 0.7 กรัม โปรตีน 2.2 กรัม วิตามินเอ 64 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 734 ไมโครกรัม วิตามินบี 2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 30 มิลลิกรัม วิตามินเค 0.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 68 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 348 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

น้ำเสาวรส มีสาระสำคัญ เช่น Carotenoid ( คาโรทีนอยด์ ) Pectin methyhesterase ( เอนไซม์ เพคทนเมทิลเอสเตอเรส ) Catalase ( คาทาเลส ) Leucine ( ลิวซีน ) Valine ( วาลีน ) Tyrosine ( โทโรซีน ) Prline ( โพรลีน ) Threonine ( ทรีโอนีน ) Glycine ( ไกลซีน ) Aspertic acid ( กรดแอสพาร์ทิก ) Arginine ( อาร์จินีน ) Lysine ( ไลซีน ) และ Alkalod ( อัลคาลอยด์ )

สรรพคุณของเสาวรส

การใช้ประโยชน์จากเสาวรส ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ยอดเสาวรส รากเสาวรส ใบเสาวรส และผลเสาวรส สรรพคุณของเสาวรส มีดังนี้

  • ยอดของเสาวรส สรรพคุณบำรุงธาตุขัน รักษาแผล
  • รากของเสาวรส สรรพคุณรักษาผดผื่นคัน รักษากามโรค
  • ใบของเสาวรส สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ
  • ดอกของเสาวรส สรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ
  • ผลของเสาวรส สรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน  ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ก่อนเวลาอันควร ช่วยกำจัดสารพิษในเลือด บำรุงไต รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ลดไขมันในเลือด

โทษของเสาวรส

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเสาวรสด้านการรักษาโรค ห้ามรับประทานต้นสดของเสารส เนื่องจาก ต้นเสาวรสมีพิษ เป็นอันตรายทำให่เสียชีวิตได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

แตงกวา ( Cucumber ) สมุนไพร ประโยชน์ของแตงกวา สรรพคุณของแตงกวา บำรุงผิวพรรณ แก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย พืชใช้บำรุงความงามทำให้ผิวพรรณดีแตงกวา สมุนไพร สรรพคุณของแตงกวา

ต้นแตงกวา ภาษาอังกฤษ เรียก Cucumber ชื่อวิทยาศาสตร์ของแตงกวา คือ Sucumis sativus Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของแตงกวา เช่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตงช้าง แตงร้าน แตงปี แตงยาง แตงเห็น แตงอ้ม ตาเสาะ อึ่งกวย เป็นต้น ชื่อของแตงกวาจะเรียกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย นิยมนำผลแตงกวามารับประทานเคียงกับน้ำพริก ลาบ อาหารจานเดียวต่างๆ เช่น ข้าวผัด ข้าวมันไก่ หมูแดง หมูกรอบ สลัดผัก เป็นต้น

ประโยชน์ของแตงกวา น้ำของแตงกวา สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เช่น ครีมล้างหน้า เจลล้างหน้า สบู่ล้างหน้า ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด เป็นต้น  แตงกวานำมาทำทรีตเมนต์ ช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ลดสิว บำรุงผิวหน้า นอกจากนั้นนำผลแตงกวามาทำอาหารรับประทาน โดยเมนูแตงกวา เช่น ยำแตงกวา ต้มจืดแตงกวา ส้มตำแตงกวา  เป็นต้น

ลักษณะของต้นแตงกวา

ต้นแตงกวา พืชล้มลุก ชนิดไม้เถา อายุเพียงหนึ่งปี เป็นพืชอายุสั้น ปลูกได้ในทุกสภาพดินชอบดินร่วนซุยปนทราย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแตงกวา มีดังนี้

  • ลำต้นของแตงกวา เป็นลำต้นเดี่ยว ลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ลำต้นกลม เถาแข็งแรงและเหนียว สีเขียว ลำต้นจะเกาะตามกิ่งไม้หรือสิ่งที่ยึดเกาะได้ดี ลำต้นมีขนหยาบ สีขาว
  • ใบแตงกวา เป็นใบประกอบ ขนาดเท่าฝ่ามือ ใบมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม สีเขียว มีก้านใบยาว ใบมีขนหยาบ
  • ดอกแตงกวา ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกมีสีเขียว และ สีเหลือง ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกจะยาว ไม่มีลูกเล็กๆ ติดที่โคนดอก
  • ผลของแตงกวา ลักษณะทรงกลมยาวเป็นทรงกระบอก เนื้อผลฉ่ำน้ำ รสจืด ผลมีสีเขียวเข้ม
  • เมล็ดของแตงกวา ลักษณะของเมล็ดรีแบน ปลายแหลม สีขาว เมล็ดอยู่ภายในผล มีหลายเมล็ดในผล

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวา

สำหรับต้นแตงกวานั้น นิยมรับประทานผลของแตงกวาเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้มีการศึกษา คุณประโยชน์ของแตงกวา พบว่า แตงกวา ขนาด 100 กรัม มีความชื้นร้อยละ 96.4  โปรตีนร้อยละ 0.4 ไขมันร้อยละ 0.1 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 2.8 และแร่ธาตุต่างๆ ตัวผลของแตงกวา มีสารเอนไซม์อยู่หลายชนิด เช่น เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน  Oxidase Ascorbic acid  Dehydroginase  Succinic malic  ซึ่งส่วนของ เถ้าและเมล็ดของแตงกวา มี ฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูง

  • กากใยอาหาร ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • สารไฟโตนิวเทรียนท์ ( Phytochemicals ) เป็นสารตามธรรมชาติที่พบได้ในอาหารจำพวกพืชผักผลไม้ ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) คิวเคอร์บิทาซิน ( Cucurbitacin ) และลิกแนน ( Lignan ) เป็นต้น
  • สารต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidants ) แตงกวามีสารที่ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกายได้
  • วิตามิน แตงกวาอุดมไปด้วยวิตามินต่างๆที่เป็นประโยชน์สุขภาพ ประกอบกด้วย วิตามินเอ วิตามินบี และ วิตามินซี เป็นต้น
  • แร่ธาตุ แตงกวามีแร่ธาตุหลายชนิดที่อาจเป็นผลดีต่อสุขภาพผิวและระบบหมุนเวียนโลหิตได้ เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณของแตงกวา

สำหรับการนำเอาแตงกวามาใช้ประโยชน์ ด้านสมุนไพร การรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ผลสด ใบ เมล็ด และ เถา โดยรายละเอียดของสรรพคุณของแตงกวา มีดังนี้

  • ผลสดของแตงกวา สรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง รักษาแผลไฟลวก แก้ผด ผื่น คัน ช่วยกระชับรูขุมขน ทำให้ผิวเรียบตึง ทำให้ผิวที่หยาบกร้านอ่อนนุ่มลง
  • ใบของแตงกวา สรรพคุณแก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของแตงกวา สรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ
  • เถาของแตงกวา สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต แก้บิด รักษาหนองใน ขับปัสสาวะ

โทษของแตงกวา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแตงกวาด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • แตงกวามีกรดยูริกในน้ำเมือกใสๆ ร่างกายก็อาจจะสะสมกรดยูริกเข้าไปมากเกินไป  ถ้าหากร่างกายกำจัดออกไม่หมด
  • ใบแตงกวาสด มีรสขม มีความเป็นพิษ ไม่ควรรับประทานใบแตงกวาสด
  • เถาแตงกวาสดมีความเป็นพิษรสขม ไม่ควรรับประทานเถาแตงกวาสด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove