ตะไคร้ สมุนไพรไทย น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีประโยชน์ นิยมนำมาทำอาหารไทย เช่น ต้มยำ แกงต่างๆ สรรพคุณของตะไคร้ เช่น บำรุงผิว ช่วยขับลม เป็นต้น

ตะไคร้ สมุนไพร

ต้นตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemongrass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ตะไคร้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย นิยมนำลำต้นตะไคร้มาประกอบอาหาร มีสรรพคุณทางยา เช่น ช่วยเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาการปวด แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลม เป็นต้น ประเภทของตะไคร้มี 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ เป็นต้น

ประโยชน์ของตะไคร้ นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารไทยหลายชนิด เช่น ต้มยำ ใช้เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร กลิ่นหอมของตะไคร้ใช้ไล่ยุงได้ดี น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่าง ๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม รวมถึงสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตะไคร้ผงอบแห้ง ชาตะไคร้ เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การปลูกตะไคร้ เราใช้การปักชำลำต้นของตะไคร้ ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร
  • ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
  • ดอกตะไคร้ ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ จะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ 

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ลำต้นตะไคร้มาทำอาหาร ซึ่งนักโภขนาการได้ศึกษาตะไคร้ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม ตามินเอ 43 ไมโครกรัม มีไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

สารสำคัญพบในน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ ( Volatile oil ) ประกอบด้วย ซิทราล ( Citral ) ซึ่งพบมากที่สุด 90%
ทรานซ์ ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีน ออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับประโยชน์ของตะไคร้มีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทั้งต้น หัว ราก ต้น ใบ

  • รากของตะไคร้ สามารถใช้แก้ปวดท้อง และรักษาอาการท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็น ยาขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหนองใน และช่วยดับกลิ่นคาวอาหารได้ด้วย
  • ใบสดของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดอาการไอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดได้ แก้อาการปวดศีรษะ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ จำเป็นต้องใช้อย่างถูกต้องและใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะไม่เกิดโทษ ซึ่งโทษของตะไคร้มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ว่านหางจระเข้ Aloe สมุนไพรบำรุงผิวพรรณ รักษาแผล ช่วยชะลอวัย ทำความรู้จักกับต้นว่านหางจระเข้ว่าเป็นอย่างไร สรรพคุณและโทษของว่านหางจรเข้ ผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ สมุนไพรบำรุงผิวพรรณ

ว่านหางจระเข้ ภาษาอังกฤษ เรียก Aloe ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของว่านหางจระเข้ คือ Aloe barbadenisi Mill. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของว่านหางจระเข้ เช่น  ว่านไฟไหม้ หางตะเข้ เป็นต้น นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอางค์ สำหรับบำรุงผิว สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น รักษาแผล บำรุงผิว รักษาแผลในกระเพาะอาหาร และ บำรุงเส้นผม

ประโยชน์ของว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ สามารถช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ชรา และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมไปถึงกรดอะมิโนอีกหลายชนิดที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่มีวิตามินบี12

ว่านหางจระเข้ มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ปลูกง่าย โดยการใช้หน่ออ่อน ปลูกได้ดีในบริเวณทะเลที่เป็นดินทราย และมีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ดี จะปลูกเอาไว้ในกระถางก็ได้ ในแปลงปลูกก็ได้ ปลูกห่างกันสัก 1-2 ศอก เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องมีการระบายน้ำดีพอ ชอบแดดรำไร ไม่ชอบแดดจัด

ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้

ต้นว่านหางจระเข้ เป็น ไม้ล้มลุก ความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นข้อและปล้องสั้น ใบของว่านหางจระเข้ เป็น ใบเดี่ยว ยาว อวบน้ำ มีสีเขียวอ่อน ภายในใบมีวุ้นใส ดอกว่านหางจระเข้ จะเป็นช่อออกตรงกลางต้น ดอกย่อยของว่านหางจระเข้ เป็นหลอดห้อยลง จะมีสีส้ม

สรรพคุณของว่านหางจระเข้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากว่านหางจระเข้ ในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราจะใช้น้ำยางที่ใบของว่านหางจระเข้มาใช้ประโยชน์ สามารถรับประทานและทาภายนอกได้ ซึ่งสามารถสรุปสรรพคุณของว่านหางจระเข้ ได้ดังนี้

  • ช่วยรักษาแผล รักษาฝี รักษาแผลสด รักษาแผลที่ริมฝีปาก รักษาแผลถลอก ช่วยสมานแผล รักษาแผลไฟไหม้ รักษาแผลน้ำร้อนลวก
  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยขจัดรอยแผลเป็น ช่วยปกป้องผิวพรรณจากแสงแดด ลดอาการผิวแห้ง รักษาฝ้า รักษาโรคเรื้อน
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน
  • ช่วยแก้อาการปวดหัว
  • ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
  • เป็นยาระบาย ช่วยรักษาโรคท้องผูก ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ

สารสำคัญในว่านหางจระเข้

น้ำยางของว่านหางจระเข้ มี สารโพลียูโรไนด์และโพลีแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่สามารถช่วยรักษาแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้นและป้องกันการติดเชื้อได้ดี แต่การสกัดสารโพลียูโรไนด์และโพลีแซคคาไรด์ต้องใช้กระบวนการผลิตที่ดีเท่านั้น นอกจากว่านหางจระเข้ทำให้แผลสะอาด ยังกระตุ้นเนื้อเยื่อที่เสียให้เจริญเติบโตขึ้นใหม่ได้เร็วขึ้น

ผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณเด่นในเรื่องการบำรุงผิวพรรณและรักษาแผล จึงมีผลิตภัณฑ์ที่ถูกแปรรูปจากว่านหางจระเข้อยู่หลากหลายเกี่ยวกับผิวพรรณและการรักษาแผล มีดังนี้

  • เจลว่านหางจระเข้ สรรพคุณ ใช้ทาเพื่อลดอาการบวม เป็นครีมทาใต้ตา บำรุงผิวหน้า เพิ่มความชุ่มชื้น ใช้ผสมกับส่วนผสมต่าง ๆ พอกหน้าแทนวุ้นว่านหางจระเข้ได้ ทั้งยังใช้ทาแผลพุพอง แผลสด เพื่อบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งผ่านการยิงเลเซอร์ และมีรอยไหม้แดงบนใบหน้า จะทำให้บรรทาอาการลงและฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ครีมว่านหางจระเข้ ก็มีสรรพคุณเดียวกันกับเจลว่านหางจระเข้ แตกต่างกันที่เนื้อผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์เข้มข้นกว่า อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีหน้ามัน เพราะเนื้อครีมจะให้ความรู้สึกหนักกว่าเนื้อเจล แต่ค่อนข้างเหมาะกับผู้ที่มีหน้าแห้ง เพราะจะให้ความชุ่มชื้นที่มากกว่า

ทั้งนี้นอกจากเจลว่านหางจระเข้และครีมว่านหางจระเข้แบบทั่วไปแล้ว ยังถูกต่อยอดออกไปเป็นเจลล้างหน้าว่านหางจระเข้ เจลและครีมว่านหางจระเข้แบบผสมสารกันแดด นอกจากนี้ยังมีน้ำว่านหางจระเข้สำหรับดื่มอีกด้วย โดยสรรพคุณไม่แตกต่างจากว่านหางจระเข้สดมากนัก

โทษของว่านหางจระเข้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากว่านหางจระเข้ มีข้อควรระวังอยู่บ้าง ซึ่งคำแนะนำในการใช้ว่านหางจระเข้ มีดังนี้

  • วุ้นจากใบว่านหางจระเข้นำมาใช้รักษาแผลได้ดี แต่ต้องทำให้สะอาดก่อนนำมาพอกและทาแผลไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  • ว่านหวางจะระเข้ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย สำหรับสตรีมีครรภ์และสรีระหว่างมีประจำเดือนไม่ควรใช้
  • ไม่ควรรับประทานสารสกัดจากใบว่านหางจระเข้ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะ เป็นอัยตรายต่อร่างกาย อาจทำให้มีผลข้างเคียงต่างๆ เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง และ ภาวะไตวายฉับพลัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove