ฟักทอง Pumpkin พืชคุณค่าทางอาหารสูง สรรพคุณของฟักทอง ช่วยควบคุมน้ำหนัก บำรุงผิว ขับปัสสาวะ แก้ไอ บำรุงร่างกาย บำรุงระบบประสาท บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา

ฟักทอง สมุนไพร สรรพคุณของฟักทอง

ต้นฟักทอง ภาษาอังกฤษ เรียก Pumpkin มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucurbita maxima Duchesne. ชื่ออื่นของฟักทอง เช่น หมากอึ มะฟักแก้ว มะน้ำแก้ว น้ำเต้า หมักอื้อ หมากฟักเหลือง เหลืองเคล่า หมักคี้ล่า ฟักทอง นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบของ อาหาร ตัวอย่าง อาหารเมนูฟักทอง เช่น  แกงเผ็ดไก่ฟักทอง แกงเลียง ฟักทองผัดไข่ ส่วนของหวานก็มี สังขยาฟักทอง ขนมฟักทอง บวดฟักทอง ฟักทองนึ่ง ฟักทองเชื่อม เป้นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของฝักทอง

นักโภชนาการได้ศึกษาผลฟักทอง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 26 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์ประกอบด้วย
คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม น้ำตาล 2.76 กรัม กากใยอาหาร 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินเอ 476 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,100 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,500 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.298 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 16 ไมโครกรัม วิตามินซี 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.44 มิลลิกรัม วิตามินเค 1.1 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.125 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 340 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.32 มิลลิกรัม

เมล็ดดอกฟังทอง สามารถสกัดน้ำมันได้ สรรพคุณ ช่วยบำรุงประสาท ป้องกันโรคต่อมลูกหมาก ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชาย

ลักษณะของต้นฟักทอง

ต้นฟักทอง จัดว่าเป็น ไม้ล้มลุก ลักษณะของลำต้น ใบ ดอก และ ผล มีดังนี้

  • ลำต้นฟักทอง ลักษณะลำต้นเป็นเถาเลื้อยไปตามพื้นดิน นิยมปลูกริมรั้ว เถาของฟักทองมีขนาดยาว ใหญ่ และมีขน ปกคลุม สีเขียว
  • ใบของฟักทอง เป็นใบเดี่ยว ใบของฝักทองมีแผ่นใหญ่สีเขียว แยกออกเป็น 5 หยักและมีขนสาก ๆ
  • ดอกของฟักทอง จะออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ และที่ส่วนยอดของเถาฟักทอง ลักษณะของดอกเป็นรูประฆังสีเหลือง
  • ผลของฟักทอง มีขนาดใหญ่ ลักษณะกลมแบน เปลือกของฟักทองจะแข็ง ผิวขรุขระ มีทั้งสีเขียวหรือสีน้ำตาล เนื้อของผลฟักทองมีสีเหลือง เมล็ดของฟักทองมีสีขาว

สรรพคุณของฟักทอง

สำหรับสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของฟักทอง สามารถใช้ประโยชน์ ทั้ง ใบ ดอก เมล็ด ราก  และ ผล มีรายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฟักทอง วิตามินซีสูงเหมือเนื้อฟักทอง นอกจากวิตามินซีแล้ว ยังมีฟอสฟอรัสสูง
  • ดอกของฟักทอง มีวิตามินเอ แคลเซียม และฟอสฟอรัส สูงและวิตามินซีเล็กน้อย
  • เมล็ดฟักทอง มีคาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน มีสารคิวเคอร์บิตาซิน ( Cucurbitacin ) สามรถกำจัดพยาธิตัวตืด  ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว และป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เมล็ดดอกฟังทอง สามารถสกัดน้ำมันได้ สรรพคุณ ช่วยบำรุงประสาท ป้องกันโรคต่อมลูกหมาก ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชาย
  • รากฟักทอง นำมาต้ม ใช้ดื่มแก้ไอ ยังช่วยบำรุงร่างกาย
  • เยื่อกลางที่ผลของฟักทอง สามรถนำมาพอกแผลได้ แก้อาการฟกช้ำปวดอักเสบ
  • ผลฟักทอง มีไขมันน้อย จึงเหมาะแก่คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ฟักทองยังมีกากไยอาหารมาก ช่วยระบบขับถ่าย
    มีคาร์โบไฮเดรตสูง ช่วยรักษาและบรรเทาอาการ แผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ ฟักทองมีคอลลาเจนตามธรรมชาติ จะช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส  ผลของฟักทองยัง สามารถช่วยบรรเทาอาการหอบหืดที่เกิดจากหลอดลมอักเสบ  สตรีหลังคลอดบุตรหากทางฟักทอง ซึ่งตามตำราสมุนไพรไทยเขาเรียก”มีฤทธิ์อุ่น” จะช่วยย่อยอาหารทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลัง และลดการอักเสบ แก้ปวดได้ดีมากๆ
  • เปลือกของผลฟักทอง ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวานได้ ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสภาพได้อีกด้วย

ฟักทอง ถือเป็นพืชในตระกูลมะระ ชนิดไม้เถาขนาดใหญ่ ผิวผลขณะยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะแล้วจะมีสีเขียวสลับเหลือง ผิวไม่เรียบขรุขระเปลือกมีลักษณะแข็งเนื้อในสีเหลือง มีเส้นใยอยู่ภายในเป็นสีเหลืองนิ่มพร้อมกับเมล็ดสีขาวแบนๆ ติดอยู่ ประโยชน์ของฟักทองนั้นมีมากมาย สามารถนำมาใช้กินบำรุงร่างกายและรักษาโรคได้ดี

โทษของฟักทอง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักทองด้านการอาหาร และ การรักษาโรค ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่มีอันตายต่อสุขภาพ โดยข้อควรระวังในการกินฟักทอง มีดังนี้

  • เมล็ดฟักทองทำให้เกิดแก็สสะสมในลำไส้ และ กระเพาะอาหาร หารกินมากไป อาจทำให้ท้องอืดได้ สตรีมีครรถ์ไม่ควรกินมากเกินไป อาจเป็นอันตรายได้
  • เมล็ดฟักทอง มีสารอาหารไขมันและให้แคลอรี่สูง สำหรับผู้ป่วยไขมันสูงไม่ควรกินมากเกินไป
  • ผลฟักทอง กระตุ้นให้ร่างกายร้อนขึ้น อาจทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง สำหรับกลุ่มคนที่มีอาการ เช่น กระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก มีแผลในช่องปาก เหงือกบวม ไม่ควรทานฟักทองมากเกินไป

ฟักทอง ( Pumpkin ) คือ พืชล้มลุก คุณค่าทางอาหารสูง สรรพคุณของฟักทอง ช่วยควบคุมน้ำหนัก บำรุงผิว ป้องกันมะเร็ง ยาถ่ายพยาธิ ขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาเบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบฟักทอง แก้ไอ บำรุงร่างกาย บำรุงระบบประสาท ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่า

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

แตงกวา Cucumber สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ บำรุงผิว แก้ท้องเสีย ลดความดัน ลดไข้ แก้กระหาย บำรุงความงาม ใช้ทำเครื่องสำอางค์

แตงกวา สมุนไพร สรรพคุณของแตงกวา พืชสวนครัว

ต้นแตงกวา ภาษาอังกฤษ เรียก Cucumber ชื่อวิทยาศาสตร์ของแตงกวา คือ Sucumis sativus Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของแตงกวา เช่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตงช้าง แตงร้าน แตงปี แตงยาง แตงเห็น แตงอ้ม ตาเสาะ อึ่งกวย เป็นต้น ชื่อของแตงกวาจะเรียกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น

ต้นกำเนิดของแตงกวา กำอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย แตงกวานิยมนำมารับประทานเคียงกับน้ำพริกต่าง ๆ ลาบ อาหารจานเดียว อย่างข้าวผัด ข้าวมันไก่ หมูแดง หมูกรอบ สลัดผัก ก็จะมีแตงกวาประกอบอยู่ด้วยเสมอ เพราะ เป็นผักที่มีน้ำมาก จึงช่วยในการผ่อนคลายความเผ็ดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยแก้เลี่ยนในอาหารได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ลักษณะของต้นแตงกวา

ต้นแตงกวา เป็นพืชชนิดไม้เถา ไม้เลื้อย มีเพียงอายุหนึ่งปี มีอายุสั้น หรือ ฤดูเดียว ปลูก ได้ในดินทุกชนิด ที่ชอบดินร่วนซุยปนทราย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแตงกวา มีดังนี้

  • ลำต้นของแตงกวา เป็นลำต้นเดี่ยว ลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ลำต้นกลม เถาแข็งแรงและเหนียว สีเขียว ลำต้นจะเกาะตามกิ่งไม้หรือสิ่งที่ยึดเกาะได้ดี ลำต้นมีขนหยาบ สีขาว
  • ใบแตงกวา เป็นใบประกอบ ขนาดเท่าฝ่ามือ ใบมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม สีเขียว มีก้านใบยาว ใบมีขนหยาบ
  • ดอกแตงกวา ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกมีสีเขียว และ สีเหลือง ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกจะยาว ไม่มีลูกเล็กๆ ติดที่โคนดอก
  • ผลของแตงกวา ลักษณะทรงกลมยาวเป็นทรงกระบอก เนื้อผลฉ่ำน้ำ รสจืด ผลมีสีเขียวเข้ม
  • เมล็ดของแตงกวา ลักษณะของเมล็ดรีแบน ปลายแหลม สีขาว เมล็ดอยู่ภายในผล มีหลายเมล็ดในผล

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวา

สำหรับต้นแตงกวานั้น นิยมรับประทานผลของแตงกวาเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้มีการศึกษา คุณประโยชน์ของแตงกวา พบว่า แตงกวา ขนาด 100 กรัม มีความชื้น 96.4%  โปรตีน 0.4 % ไขมัน 0.1 % คาร์โบไฮเดรต 2.8 % และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก วิตามินบี และวิตามินซี ตัวผลของแตงกวา มีสารเอนไซม์อยู่หลายชนิด เช่น เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน  Oxidase Ascorbic acid  Dehydroginase  Succinic malic  ซึ่งส่วนของ เถ้าและเมล็ดของแตงกวา มี ฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูง

สรรพคุณของแตงกวา

สำหรับการนำเอาแตงกวามาใช้ประโยชน์ ด้านสมุนไพร การรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ผลสด ใบ เมล็ด และ เถา โดยรายละเอียดดังนี้

  • ผลของแตงกวามาคั้นน้ำ ใช้ กระชับรูขุมขน ทำให้ผิวเรียบตึง ช่วยย่อยโปรตีนที่ผิวชั้นนอก ทำให้ผิวที่หยาบกร้าน อ่อนนุ่มลง ในวงค์การเครื่องสำอางค์ นิยมนำน้ำที่ได้จากผลแตงกว่า มาทำ คลีมล้างหน้า ครีมทาตัว
  • ผลสดของแตงกวา ใช้รับประทาน เป็น ยาเย็น ลดความร้อนในร่างกาย ใช้ลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง ผลของแตงกวานำมาใช้รักษาแผลไฟลวก แก้ผด ผื่น คัน
  • ใบของแตงกวา นำมารับประทานสดๆ ให้รสขม จะมีพิษเล็กน้อย สามารถนำมาใช้ แก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของแตงกวา นำมาทาน ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ได้ดี
  • เถาของแตงกวา จะมีรสขม และมีพิษเล็กน้อย ช่วยลดความดันโลหิต แก้บิด รักษาหนองใน ขับปัสสาวะ ได้

ข้อควรระวังในการบริโภคแตงกวา

ถ้าจะนำแตงกวามาปั่นทานทุกวันก็ไม่อาจจะไม่ค่อยเป็นผลดีต่อสุขภาพสักเท่าไหร่ เพราะ แตงกวามีกรดยูริก (ซึ่งอยู่ในน้ำเมือกใส ๆ) โดยเฉพาะถ้าเป็นการนำมาปั่นสด ๆ แล้วรับประทานทุกวัน ร่างกายก็อาจจะสะสมกรดยูริกเข้าไป ถ้าหากร่างกายกำจัดออกไม่หมด ก็จะไปสะสมทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแคลเซียมในกระบวนการสร้างเซลล์กระดูก ความแข็งแรงของเม็ดเลือด ผลที่ตามมาอาจทำให้เกิดอาการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาต์ (ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้ออยู่แล้วก็ควรระวังให้มาก)

ต้นแตงกวา ( Cucumber ) สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของแตงกวา สรรพคุณของแตงกวา เช่น ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงผิว ยาถ่ายพยาธิ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง ลดความดัน ใช้ลดไข้ แก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย บำรุงความงาม ใช้ทำเครื่องสำอางค์

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove