เอดส์ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อไวรัส HIV เกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคบกพร่อง เกิดโรคง่าย ไม่มียารักษาแต่มียาต้านเชื้อลดอาการของโรคโรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคเอดส์ ( AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome ) เป็นโรคอันตราย โรคติดต่อที่ถ่ายทอดจากคนสู่คน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย การชอบเปลี่ยนคู่นอน การรักรวมเพศ การเสพยาเสพติด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ต่างเป็นสาเหตุขอการติดโรคเอดส์ ในปัจจุบันมียารักษา ผู้ป่วยโรคเอดส์ต้องกินยาต้านไวรัส ตลอดชีวิต และ ต้องดูแลสุขภาพไม่ให้ติดเชื้อโรคต่างๆ

สาเหตุของเอดส์

โรคเอดส์ เกิดจากเชื้อไวรัส ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเชียนซีไวรัส ( Human Immunodeficiency Virus ) เรียกย่อๆ ว่า HIV เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกทำลาย ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำลง จนทำให้ร่างกายไม่มีสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆได้ ผู้ป่วยโรคเอดส์ ติดเชื้อโรคได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม เชื้อรา เป็นต้น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ส่วนมากมักเสียชีวิตจากการเกิดโรคแทรกซ้อน

การเข้าสู่ร่างกายของเชื้อเอชไอวี เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีติดเชื้อเอดส์ การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกจากการตั้งครรภ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ เป็นต้น

สายพันธ์ของโรคเอดส์

ไวรัสเอชไอวี ปัจจุบันมีหลายสายพันธุ์ พบว่ามีมากกว่า 10 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ดั้งเดิมของโรคนี้ คือ เอชไอวี1 ( HIV1 )สายพันธ์นี้พบมากใน ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกากลาง และทวีปอเมริกา อีกสายพันธ์หนึ่ง คือ เอชไอวี 2 ( HIV2 ) พบมากในทวีปแอฟริกา แต่สายพันธุ์เอชไอวี ที่พบมากที่สุดในโลก คือ สายพันธุ์ซี ซี่งสายพันธ์นี้ พบใน ทวีปแอฟริกา ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศพม่า

สำหรับประเทศไทย พบว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์เออี (A/E) และ สายพันธ์บี (B) สายพันธุ์เอชไอวีที่ไม่เคยพบในประเทศไทย คือ สายพันธุ์ซี

การติดต่อโรคเอดส์

สำหรับช่องทางการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี มี 3 ช่องทาง คือ การมีเพศสัมพันธ์ การรับเชื้อโรคทางเลือด และ การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก รายละเอียด ดังนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อเอชไอวี เป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อเอดส์ จากข้อมูลของกองระบาดวิทยาระบุว่าร้อยละ 83 ของผู้ติดเชื้อเอดส์ ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
  • การรับเชื้อทางเลือด ซึ่งการรับเชื้อโรคพบได้ใน 2 กรณี คือ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และ การรับเลือดโดยตรงจากการรับเลือด
  • การติดต่อจากแม่สู่ลูก เกิดจากมารดาที่มีเชื้อเอดส์และตั้งครรภ์ ปัจจุบันมีวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกได้สำเร็จแล้ว โดยการกินยาต้านไวรัสในช่วงตั้งครรภ์

ระยะของการเกิดโรคเอดส์

สำหรับระยะการเกิดโรคเอดส์ มีอาการของโรค 3 ระยะ คือ ระยะไม่แสดงอาการ ระยะมีอาการสัมพันธ์กับโรคเอดส์ และ ระยะโรคเอดส์ รายละเอียด ดังนี้

  • ระยะไม่ปรากฏอาการ ในระยะผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์ ไม่ปรากฏอาการผิดปกติ ภายนอกดูปรกติแข็งแรง ซึ่งในระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 7 ถึง 8 ปี และในผู้ติดเชื้อบางรายไม่แสดงอาการนานถึง 10 ปี เป็นระยะอันตรายต่อการแพร่เชื้อโรคมากที่สุด เพราะ ผู้ป่วยไม่รู้ว่าตนติดเชื้อโรค
  • ระยะมีอาการสัมพันธ์กับโรคเอดส์ เป็นระยะที่เริ่มมีการตรวจพบเลือดบวก และ เห็นอาการผิดปกติของร่างกายชัดเจนมากขึ้น  เช่น มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต มีเชื้อราในช่องปาก เป็นงูสวัด มีอาการ เช่น มีไข้สูง ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุของโรค
  • ระยะโรคเอดส์ เป็นระยะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง เริ่มเกิดอาการติดเชื้อแทรกซ้อน ผู้ป่วยในระยะนี้ มักเสียชีวิตภายใน 2 ปี

อาการของโรคเอดส์

สำหรับอาการที่แสดงให้เห็นในผู้ป่วยโรคเอดส์ มักจะแสดงอาการต่างๆ ดังนี้

  • มีอาการปอดอักเสบ
  • ระบบความจำสูญเสีย มีอาการซึมเศร้า และ แสดงอาการที่ระบบประสาท
  • มีอาการท้องเสียเรื้อรัง
  • อ่อนเพลีย และ เหนื่อยง่าย
  • มีไข้สูงบ่อยๆ
  • เหงื่อออกเวลากลางคืน
  • น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
  • มีผื่นขึ้นตามตามผิวหนัง ช่องปาก จมูก และ เปลือกตา
  • มีแผลที่ริมฝีปาก อวัยวะเพศ และ ทวารหนัก
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้และขาหนีบ บวมโต

การรักษาโรคเอดส์

สำหรับการรักษาโรคเอดส์ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ การรักษาโรคเอดส์ คือ การช่วยชะลอการพัฒนาของเชื้อโรค โดยการกินยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือ ยาต้านรีโทรไวรัส ( Antiretrovirals: ARVs ) หากผู้ป่วยพบว่าตนติดเชื้อเอดส์เร็ว ก็จะสามารถควบคุมไวรัสได้ดีกว่าพบเชื้อไวรัส เมื่อเข้าสู่ระยะที่สอง

การป้องกันโรคเอดส์

สำหรับการป้องกันโรคเอดส์ ที่ดีที่สุด คือ การไม่รับเชื้อโรคในทุกช่องทางทีเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค แนวทางการป้องกันโรคเอดส์ มีดังนี้

  • ไม่มีเพศสัมพันธืกับคนที่ไม่ใช่คู่นอน
  • ไม่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ
  • สวมถุงยางอนามัย เมื่อจำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช้คู่นอน
  • ไม่เสพยาเสพติด
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ระมัดระวังการสัมผัสเลือดของผู้ติดเชื้อเอดส์

โรคเอดส์ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการติดเชื้อไวรัส HIV ส่วนมากเกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ติดเชื้อเอดส์ต้องทำอย่างไร การรักษาโรคเอดส์ และ การป้องกันโรคมีอะไรบ้าง

ข้อหลุด กระดูกเคลื่อนจากที่อยู่ มักเกิดจากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬา การกระแทก หกล้ม ผู้ป่วยข้อหลุดจะมีอาการเจ็บปวดที่ข้อ การรักษาและปฐมพยาบาลเบื้องต้นต้องทำอย่างไร

ข้อหลด ข้อเคลื่อน โรคกระดูก โรค

ข้อหลุด ( dislocation of joint ) หมายถึง ภาวะการหลุดของข้อกระดูกออกจากพื้นที่ปรกติของข้อกระดูก ทำให้ข้อกระดูกที่ไม่มั่นคง การเคลื่อนของข้อกระดูกออกจากตำแหน่งที่เคยอยู่ ทำให้เยื่อหุ้มข้อกรุดูกฉีกขาด หรือ เส้นเอ็นตรงข้อกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเลือด เนื้อเยื่อ และ เส้นประสาทเกิดการอักเสบ

ระดับของอาการข้อหลุด

ระดับของข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ มีดังนี้

  • ระดับข้อหลวม เป็นอาการข้อกระดูกเคลื่อนเพียงเล็กน้อย
  • ระดับทผิวข้อเคลื่อนออกจากกัน ระดับนี้ข้อกระดูกที่เคลื่อนยังมีการสัมผัสกันอยู่
  • ระดับข้อเลื่อนหลุดออกจากกันทั้งหมด เป็นระดับรุนแรง ข้อหลุดจากกันเลย

ข้อกระดูกเคลื่อน หมายถึง ภาวะที่มีการกระแทกที่ข้อกระดูกอย่างรุนแรง จนทำให้เยื่อหุ้มข้อกระดูก ฉีกขาด จนไม่สามารถยึดข้อกระดูกให้อยู่กับที่ได้ จนข้อกระดูกเคลื่อนหรือหลุดออกจากกัน อาการข้อหลุดจามีอาการเยื่อหุ้มข้อฉีกขาดร่วม

ระดับของอาการข้อเคลื่อน

ระดับของอาการข้อเคลื่อน สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ มีดังนี้

  • ระดับเยื่อหุ้มข้อฉีกขาด และมีกระดูกหลุดออกมาข้างนอกด้วย
  • ระดับมีการฉีกขาดที่เยื่อหุ้มข้อ แต่กระดูกดันผ่านช่องเล็กๆมาอยู่ข้างนอก คล้ายๆกับการกลัดกระดุม
  • ระดับข้อหลุดแต่ยังอยู่ในเยื่อหุ้มข้อ

สาเหตุของการเกิดข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน

สำหรับสาเหตุของอาการข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน สามารถสรุปปัจจัยต่างๆของการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • เกิดจากภาวะพิการโดยกำเนิด ซึ่งอาการของโรคแสดงที่ข้อกระดูกอย่างชัดเจน
  • เกิดจากการกระแทกบ่อยๆ พบมากในนักกีฬา ที่มีการกระแทกสูง เช่น รักบี้ ฟุตบอล เป็นต้น มักพบอาการหลุดจากการฉีกขาดของเอ็น พังผืด และเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบข้อกระดูก
  • เกิดอุบัติเหตุการหกล้ม ถูกบิด ถูกตีหรือเหวี่ยง
  • เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน

อาการของโรคข้อหลุดข้อเคลื่อน

สำหรับอาการที่แสดงให้เห็น สำหรับอาการข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน คือ ลักษณะของข้อกระดูกไม่อยู่ในที่ปรกติ และ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดและบวมมาก ตรงข้อกระดูก ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อได้ตามปกติ ซึ่งลักษณะอาการของโรคข้อหลุด สรุปอาการได้ดังนี้

  • มีอาการบวม และ ปวด ที่ข้อกระดูก เวลากดบริเวณข้อจะเจ็บมาก
  • ข้อกระดูกมีรูปร่างผิดปกติไปจากเดิม
  • ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อได้ตามปรกติ
  • มีการหดสั้นของอวัยวะ เช่น แขน หรือขา
  • เวลาคลำที่ข้อกระดูก สัมผัสหัวกระดูกที่เคลื่อนได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยข้อเคลื่อน

เมื่อพบเห็นผู้ป่วยอาการข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน ต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลให้หมอรักษา แต่ก่อนนำตัวส่งต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อน เพื่อลดความรุนแรงของโรค การปฐมพยาบาลเบื้องต้นคนข้อหลุด มีดังนี้

  • ต้องหาวัสดุช่วยหนุนและประครองข้อกระดูก เช่น เอาผ้าพันรั้งไม่ให้มีการดึงรั้งบริเวณข้อที่หลุด เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่นิ่งๆที่สุด
  • ไม่ควรพยายามดึงข้อที่หลุดกลับเข้าที่เดิม เพราะ อาจทำให้เอ็นและ เนื้อเยื่อฉีกขาดมากขึ้น
  • ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล อย่าทิ้งอาการข้อหลุดไว้นานเกินไป เพราะจะรักษาลำบาก
  • ประคบเย็นช่วยลดอาการปวดเฉพาะที่ได้ชั่วคราว
  • พันผ้ายืด (Compression bandage) เพื่อไม่ให้มีเลือดออกในเนื้อเยื่อมาก ควรพันให้กระชับส่วนที่บาดเจ็บ
  • การยกร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บ ให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้สะดวก เช่น การนอนวางขา หรือเท้าบนหมอน ในกรณีที่นั่ง ให้วางเท้าบนเก้าอี้ เป็นต้น

แนวทางการรักษาอาการข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน

สำหรับแนวทางการรักษา คือ ต้องนำเอาข้อกระดูกกลับเข้าที่เดิม และ เข้าเฝือก เพื่อให้ข้อกระดูกได้รักษาตัวเอง แต่หาก อาการหนัก จำเป็นต้องผ่าตัด เพื่อรักษาอาการของโรค แนวทางการรักษา ดังนี้

การรักษาด้วยการเข้าเฝือก

การเข้าเฝือก เพื่อให้ข้อต่ออยู่นิ่งๆ ซึ่งอาการบาดเจ็บจากเยื่อหุ้มข้อต่อนั้นๆ ต้องให้เวลาในการรักษาตัวของเนื้อเยื่อ โดยเฉลี่ยจะประมาณ 3-6 สัปดาห์ สิ่งสำคัญหลังดึงข้อต่อเข้าที่แล้ว ต้องให้ข้อต่อนิ่งๆ 3 สัปดาห์ เพื่อให้เอ็น พังผืด และเนื้อเยื่อ ติดกันเป็นปกติเหมือนเดิม

การรักษาด้วยการผ่าตัด

สำหรับแนวทางการรักษาด้วยการผ่าตัด จะใช้วิธีนี้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อให้ข้อกระดูกที่เคลื่อนหรือหลุดกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม หรือ อาการข้อต่อหลุดแบบซ้ำๆหลายครั้ง เพื่อให้อาการหายขาด ต้องเลือกใช้การผ่าตัดเท่านั้น

ข้อควรหลีกเลี่ยงสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน

ไม่ควรใช้ความร้อนในการรักษาหรือปฐมพยาบาล เพราะ จะทำให้เส้นเลือดขยายตัว และ เลือดออกมากขึ้น การรักษาให้รักษาภายใน 2 วัน จะทำให้สามารถรักษาได้ดีที่สุด

อาการข้อหลุด หรือ กระดูกเคลื่อน เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ มักเกิดจากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬา การกระแทก หกล้ม ผู้ป่วยข้อหลุดจะมีอาการเจ็บปวด การรักษาและปฐมพยาบาลผู้ป่วยข้อหลุดต้องทำอย่างไร