กัญชา สมุนไพรแสนวิเศษ มีทั้งประโยชน์และโทษ ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รักษามะเร็งได้ ต้นกัญชาเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย ช่วยเจริญอาหาร โทษของกัญชามีอะไรบ้าง

กัญชา สมุนไพร

ปัจจุบัน การครอบครองกัญชาผิดกฏหมายในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก กัญชา เป็นสารเสพติดออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท สิ่งที่ทำให้กัญชาออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท คือ เตตระไฮโดรแคนนาบินอล ( THC ) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งจาก 483 ชนิด การใช้กัญชา ด้วยการเสพ สูบดม หรือ บริโภคน้ำมันกัญชา จะทำให้เกิดอาการเคลิ้ม ผ่อนคลาย และอยากกินอาหารเพิ่มขึ้น แต่ทำให้เกิดผลข้าวเคียงสามารถสังเกตุได้ คือ ปากแห้ง การเคลื่อนไหวร่างกายช้าลง ตาแดง เป็นต้น

ต้นกัญชา ภาาอังกฤษ เรียก Cannabis ชื่อวิทยาศาสตร์ของกัญชา คือ Cannabis sativa L. ชื่อเรียกอื่นๆของกัญชา เช่น ปาง ยานอ คุนเช้า คุณเช้า ต้าหมา เป็นต้น กัญชา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย มีการปลูกมากตามแนวเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย และกระจายไปทั่วโลก ทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ และสหรัฐอเมริกา

ลักษณะของต้นกัญชา

ต้นกัญชา เป็นพืชล้มลุก สามารถ ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ถ้าปลูกในดินร่วนซุยและมีอาหารอุดมสมบูรณ์จะงอกงามดีมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ลักษณะของต้นกัญชา มีดังนี้

  • ลำต้นกัญชา ลักษณะลำต้นตั้งตรง ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนสีเขียวอมเทาและไม่ค่อยแตกสาขา ความสูงได้ประมาณ 1 เมตร
  • ใบกัญชา ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ขนาดใบที่ฝ่ามือ ใบลักษณะเป็นแฉกๆ 5 ถึง 8 แฉก ใบยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบเป็นสีเทาอ่อน ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว
  • ดอกกัญชา ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามปลายกิ่งและง่ามใบ ดอกกัญชาเป็นสีเหลือง และ สีเขียว
  • ผลกัญชา ลักษณะเป็นผลแห้ง มีขนาดเล็ก ผลเป็นรูปรีมน ผลมีผิวเรียบและเป็นมัน สีน้ำตาล ในผลมีเมล็ดขนาดเล็กลักษณะกลมๆ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกัญชา

มีการศึกษาสารเคมีและสารอาหารในกัญชา พบว่ามี สารcannabinol สารcannabidiol สารtetrahydrocannabinol (THC) ย่ำมันหอมระเหยของกัญชา มีสารcannabichromenic acid สารlinolledie acid สารlecihin โปรตีน วิตามินบี1 วิตามินบี2 และ choline เป็นต้น

  • สารtetrahydrocannabinol (THC) สามารถใช้รักษาโรคได้หลายอาการ เช่น แก้ปวด ลดอาการเกร็ง รักษาอาการกล้ามเนื้อชักกระตุก รักษาโรคพาร์กินสัน รักษาโรคอัลไซเมอร์
  • สาร cannabinol สามารถใช้รักษาอาการปวด แต่สรรพคุณยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด และมีฤทธิ์ช่วยให้ผ่อนคลาย เคลิ้ม และ ทำให้ความจำเสื่อม

สรรพคุณของกัญชา

สำหรับการใช้ประโยชนืจากกัญชา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เมล็ด ใบ ดอก หรือ ทั้งต้น สรรพคุณของกัญชา มีดังนี้

  • เมล็ดกัญชา สรรพคุณเป็นยาชูกำลัง ช่วยเจริญอาหาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง แก้กระหายน้ำ เป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสตรี
  • ยอดอ่อนใบกัญชา สรรพคุณเป็นยาช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท ทำให้นอนหลับ แก้บปวด
  • ดอกกัญชา สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ
  • ใบกัญชา สรรพคุณบำรุงกำลัง รักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลม
  • ทั้งต้นกัญชา สรรพคุณช่วยให้ประจำเดือนมาตามปรกติ รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลือน รักษากล้ามเนื้อกระตุก

โทษของกัญชา

กัญชา มีทั้งประโยชน์และโทษ การสูบกัญชาทำให้เกิดการเสพติด ทำลายระบบประสาทและสมอง ซึ่งการใช้ประโยชน์จากกัญชา ต้องเลือกใช้เฉพาะส่วนที่มีประโยชน์ โทษของกัญชา มีดังนี้

  • การเสพกัญชา ส่งผลต่อระบบประสาทและสมอง ผู้เสพกัญชาจะมีอาการ คล้ายเมาเหล้า เซื่องซึม และ ง่วงนอน หากเสพในปริมาณมากติดตอกันนานๆ จะเกิดอาการหลอน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว หวาดระแวง ความคิดสับสน และควบคุมตัวเองไม่ได้
  • การเสพกัญชา ผู้เสพบางราย อาจสูญเสียความทรงจำได้ บางคนมีปัญหาเรื่องการทรงตัว กัญชามีฤทธิ์ทำลายสมรรถภาพทางกาย
  • การเสพกัญชาทำให้เสื่ิมสมรรถภาพทางเพศ ทำลายความรู้สึกทางเพศ ทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชายลดลง

กัญชา พืชที่มีทั้งประโยชน์และโทษ มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทและเป็นยารักษาโรคได้ ลักษณะของต้นกัญชา เป็นอย่างไร สรรพคุณของกัญชา ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับ ช่วยเจริญอาหาร โทษของกัญชา มีอะไรบ้าง

หญ้าหวาน สมุนไพรรสหวาน ความหวานมากกว่าน้ำตาล 15 เท่า ต้นหญ้าหวานเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงสมอง ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด โทษของหญ้าหวานมีอะไรบ้าง

หญ้าหวาน สมุนไพร

หญ้าหวาน ภาษาอังกฤษ เรียก Stevia ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าหวาน คือ Stevia rebaudiana ( Bertoni ) พืชตระกูลทานตะวัน ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สตีเวีย เป็นต้น หญ้าหวาน พืชพื้นเมืองของบราซิลและปารากวัย ใบหญ้าหวาน ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 15 เท่า แต่ไม่เกิดพลังงาน ในใบหญ้หวาน มีสารชื่อ สตีวิโอไซด์ ( Stevioside ) ซึ่งมีความหวานมากกว่าน้ำตาล 200 เท่า

หญ้าหวาน ได้รับความสนใจมากเรื่องสุขภาพ เพื่อนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม เครื่องดื่ม ยา และ การแพทย์ ประเทศญี่ปุ่น นำหญ้าหวานมาเป็นส่วนผสมอาหารต่างๆ เช่น เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว ผักดอง เนื้อปลาบด เป็นต้น

หญ้าหวานในประเทศไทย

หญ้าหวาน มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ครั้งแรกปี พ.ศ. 2518 ปลูกที่ภาคเหนือของประเทศ  สารสักัดจากหญ้าหวาน ยังเป็นการนำเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้ความหวาน หญ้าหวาน ราคาสูง ประมาณ 4,000 – 5,000 บาทต่อกิโลกรัม

ปัจจุบันประเทศไทย สามารถสกัดสารจากหญ้าหวานได้แล้ว มีหลายบริษัท ที่สามารถสกัดสารจากหญ้าหวานได้ อนาคตคาดว่าจะมีการตั้งโรงงานรับซื้อหญ้าหวานในทุกภาค แหล่งปลูกหญ้าหวานในประเทศไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และ ลำพูน

ลักษณะของต้นหญ้าหวาน

ต้นหญ้าหวาน เป็นขนาดเล็ก พืชล้มลุก คล้ายกับต้นโหระพา สามารถขยายพันธุ์ได้โดย การเพาะเมล็ดพันธ์และการปักชำ ลักษณะของต้นหญ้าหวาน มีดังนี้

  • ลำต้นหญ้าหวาน ต้นเป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ลำต้นกลมและแข็ง
  • ใบหญ้าหวาน เป็นใบเดี่ยว ลักษณะรีปลายแหลม คล้ายรูปหอก ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีรสหวานมาก
  • ดอกหญ้าหวาน ดอกมีขนาดเล็ก ออกดอกช่อ ออกดอกตามปลายกิ่ง ปลีบดอกสีขาว

สารในหญ้าหวาน

สารสกัดจากหญ้าหวาน คือ สตีวิโอไซด์ ( stevioside ) ลักษณะเป็นผลึก ละลายน้ำได้ดี สีขาว ไม่มีกลิ่น รสหวาน ละลายได้ดีในสารละลายกรด สรรพคุณของสตีวิโอไซด์ ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล ถึง 200 เท่า นอกจากนี้ สามารถพบสารอ่ื่นๆในหญ้าหวาน เช่น สารประกอบพวก ไดเทอร์พีนกลัยโคไซด์ ( diterpene glycoside ) ประกอบด้วย Stevioside ,  Rebaudioside A ถึง F  , Steviol , Steviolbioside และ Dulcoside A

สรรพคุณของหญ้าหวาน

สำหรับหญ้าหวาน มีความเป็นพิษ การใช้ประโยนข์จากหญ้าหวานจะใช้สารสกัดจากหญ้าหวาน มาใช้ประโยชน์ ซึ่ง สรรพคุณของหญ้าหวาน มีดังนี้

  • บำรุงกำลัง ช่วยเพิ่มกำลังวังชา
  • บำรุงสมอง ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น
  • บำรุงเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดไขมันในเลือด
  • บำรุงหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • ลดความอ้วย
  • บำรุงตับ
  • รักษาแผล ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก

โทษของหญ้าหวาน

การกินสารสกัดจากหญ้าหวาน อย่างปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ต้องกินอย่างถูกต้อง และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการกินสารกสัดจากหญ้าหวาน มีดังนี้

  • สารสกัดจากหญ้าหวาน สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบหวาน ต้องหมั่นวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อไม่ให้ระดัยน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคความดันต่ำ ไม่ควรกินสารสกัดจากหญ้าหวาน เนื่องจากหญ้าหวาน สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง

หญ้าหวาน สมุนไพรรสหวาน หวานมากกว่าน้ำตาล 15 เท่า ลักษณะของต้นหญ้าหวาน เป็นอย่างไร สรรพคุณของหญ้าหวาน บำรุงสมอง ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด โทษของหญ้าหวาน มีอะไรบ้าง