ตะขบ สมุนไพร พืชท้องถิ่น ผลตะขบสามารถรับประทานได้ รสหวาน ลักษณะของต้นตะขบเป็นอย่างไร สรรพคุณของตะขบ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับเงื่อ โทษของตะขบ มีอะไรบ้าง

ตะขบ สมุนไพร

ต้นตะขบ ภาษาอังกฤษ เรียก West Indian Cherry ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะขบ คือ Muntingia calabura L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะขบ มีหลากหลาย เช่น คนสุราษฏร์ธานี เรียก ครบฝรั่ง กะเหลี่ยงแดง เรียก หม่ากตะโก่เสะ ชาวม้ง เรียก ตากบ เมี่ยน เรียก เพี่ยนหม่าย ชาวภาคกลาง เรียก ตะขบฝรั่ง เป็นต้น

ต้นตะขบ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและผลไม้รับประทานผล ซึ่งตะขบมักพบตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่ง เนื่องจากลักษระของตะขนมีผลมาก และสามารถแพร่กระจายง่ายตามรอบๆของต้นตะขบ รวมถึงผลตะขบนิยมเป็นอาหารของนกและสัตว์ขนาดเล็ก

ลักษณะของต้นตะขบ

ต้นตะขบ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ปลูกง่าย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นตะขบ มีดังนี้

  • ลำต้นต้นตะขบ ความสูงได้ประมาณ 5 ถึง 7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านและแผ่ขนานกับพื้นดิน ลักษณะของเปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมทั่วกิ่งก้าน
  • ใบตะขบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะใบเป็นรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นหยักๆ ใบลักษณะหยาบ มีขนปกคลุม ใบมีสีเขียว
  • ดอกตะขบ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลตะขบ เจริญเติบโตจากดอกตะขบ ลักษณะผลกลม ผลสดสีเขียว และ ผลสุกสีแดง ภายในผลมีเมล็ด และ เนื้อผลมีรสหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของตะขบ

สำหรับตะขบมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลตะขบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 97 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ เช่น แคลเซียม 51.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 773 มิลลิกรัม โซเดียม 12.8 มิลลิกรัม และวิตามินกับสารอาหารต่างๆอีกมากมาย จากผลงานการวิจัยของ นพ.สมยศ ดีรัศมี พบว่าตะขบ สามารถช่วยดูดซับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ และ ป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้

สรรพคุณของตะขบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะขบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ดอก เนื้อไม้ ราก และ ใบ สรรพคุณของตะขบ มีดังนี้

  • ผลตะขบ สรรพคุณบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายสดชื่น แก้กระหายน้ำบำรุงสมอง ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็งลำไส้
  • ดอกตะขบ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดท้อง แก้อาการเกรงในทางเดินอาหาร ช่วยขัยระดูสตรี แก้ตับอักเสบ แก้ปวด แก้อักเสบ
  • เนื้อไม้ตะขบ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้หวัด ลดไข้  แก้ท้องเสีย ช่วยขับพยาธิ แก้ตานขโมย รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันตามตัว
  • ใบตะขบ สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ
  • รากตะขบ สรรพคุณขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันตามตัว
  • เปลือกตำต้น สรรพคุณเป็นยาระบาย

โทษของตะขบ

สำหรับการรับประทานผลตะขบเป็นอาหาร เนื่องจากผลตะขบมีรสหวาน สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวาน ควรรับประทานตะขบในปริมาณที่เหมาะสม และ เปลือกของลำต้นตะขบ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องท้องเสีย ไม่ควรรับประทานยาทีมีส่วนผสมของเปลือกลำต้นตะขบ

ตะขบ คือ พืชท้องถิ่น ผลตะขบสามารถรับประทานได้ รสหวาน ลักษณะของต้นตะขบเป็นอย่างไร สรรพคุณของตะขบ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับเงื่อ โทษของตะขบ มีอะไรบ้าง

เหงือกร่น ปัญหาสุขภาพช่องปาก เกิดจากหลายสาเหตุ อาการเสียวฟัน เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวมแดง มีกลิ่นปาก ฟันโยก การร่นของเหงือกรักษาไม่ได้ ลดความร่นของเหงือก

เหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน

เหงือกร่น ( Gingival Recession ) คือ ภาวะเหงือกที่ร่นเข้าไปหารากฟัน เกิดจากเนื้อเยื่อเหงือกบริเวณรอบๆฟัน อ่อนแอลงจนทำให้เนื้อของเหงือกนั้นร่นเข้าไปหารากฟัน เหงือกที่ร่นไปเห็นรากฟัน ทำให้เกิดคราบหินปูนลึกถึงรากฟัน เป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรีย จนเกิดฟันผุ โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ และจะไม่สามารถกลับเป็นเหมือนเดิมได้ แต่หากปล่อยไว้จนเกิดอาการหนักจะทำให้ฟันไม่แข็งแรงและหลุดไปในที่สุด

สาเหตุของเหงือกที่ร่น

สำหรับสาเหตุของการร่อนของเหงือกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึงสาเหตุของการเกิดโรคนี้ มีสาเหตุสรุป ได้ดังนี้

  • การแปรงฟันผิดวิธี
  • การไม่ดูแลสุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี
  • อุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บที่เหงือก
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนใร่างกาย เช่น สตรีมีครรภ์ และ สตรีวัยหมดประจำเดือน
  • การสูบบุหรี่
  • การนอนกัดฟัน
  • การใส่อุปกรณ์จัดฟันที่ไม่พอดี

อาการของเหงือกร่น

สำหรับอาการเนื้อเหงือกที่ร่น จะแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดที่เหงือก อาการที่สามารถแสดงออกได้ ดังนี้

  • มีอาการเสียวฟัน
  • มีเลือดออกตามไรฟัน โดยเฉพาะหลังการแปรงฟัน หรือ หลังการใช้ไหมขัดฟัน
  • มีอาการบวมแดงที่เหงือก และ เจ็บเหงือก
  • มีกลิ่นปาก
  • ฟันโยก
  • ลักษณะฟันดูยาวกว่าปกติ
  • กินอาหารลำบาก อาหารแข็งๆกินแล้วรู้สึกเจ็บฟัน

การรักษาอาการร่นของเหงือก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้ คือ การหาสาเหตุของเหงือกที่ร่น แต่การรักษาไม่สามารถทำให้เหงือกที่ร่นกลับมาคืนสภาพเดิมได้ ทำได้เพียงลดการร่นของเหงือก ไม่ให้มากขึ้น และ ป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการร่นขิงเหงือก แนวทางการรักษาโรคเหงือกที่ร่น มีดังนี้

  • การรักษาการร่นของเหงือกจากการแปรงฟันที่ผิด โดยปรับวิธีการแปรงฟันใหม่ให้เหมาะสม
  • การร่นของเหงือกจากโรคปริทันต์ รักษาโดยขูดหินปูนและเกลารากฟัน เพื่อขจัดคราบหินปูนที่เกาะตามฟันออก เพื่อลดอาการอักเสบให้หาย
  • การร่นของเหงือกเกิดจากการใส่อุปกรณ์จัดฟันไม่ดี ให้ทันตแพทย์จะปรับอุปกรณ์จัดฟันให้พอดีกับช่องปาก
  • สำหรับในกรณีที่เหงือกที่ร่นมีอาการรุนแรง แพทย์อาจใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การซ่อมแซมกระดูก การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อเหงือก

การป้องกันเหงือกร่น

สำหรับการป้องกันการร่นของเหงือก ต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพฟันและช่องปาก แนวทางการป้องกันเหงือกที่ร่น มีดังนี้

  • เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม
  • ตรวจสุขภาพฟันและช่องปาก อย่างน้อยปีละ 2 ครั้
  • เลิกสูบบุหรี่

เหงือกร่น ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงวัย อาการเสียวฟัน ฟันโยก มีกลื่นปาก อาจเกิดจากการร่นของเหงือกได้ การรักษาอาการเหงือกที่ร่นทำอย่างไร รักษาเหงือกที่ร่นทำได้ไหม แนวทางการป้องกันเหงือกที่ร่น