ต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำราชกาลที่10 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ไม้หอม ต้นรวงผึ้งเป็นอย่างไร ต้นรวงผึ้ง ดอกสีเหลือง พรรณไม้ไทยแท้ ต้นไม้ประจำร10 ต้นรวงผึ้ง ต้นไม้มงคล ไม้หอม

ต้นรวงผึ้ง ( Yellow star ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นรวงผึ้ง คือ Schoutenia glomerata king subsp. Paregrina (Craib) Roekm. Et Martono พืชในวงศ์ Tiliaceae สำหรับชื่อเรียกอืื่นๆของต้นรวงผึ้ง เช่น ดอกน้ำผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นต้น ถิ่นกำเนิดของต้นรวงผึ้ง คือ ทางภาคเหนือของประเทศไทย ต้นรวงผึ้ง เป็นต้นไม้ประจำพระองค์ของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10  ดอกรวงผึ้งมีสีเหลือง เป็นสีประจำวันพระราชสมภพ และ ออกดอกช่วงวันพระราชสมภพพอดี

ประวัติของต้นรวงผึ้ง

ต้นรวงผึ้ง เป็นพืชไม้หอม ที่พบในประเทศไทย พบมากทางภาคเหนือ ในพื้นที่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 ถึง 1,100 เมตร มีชื่อเรียกต่างๆตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ต้นน้ำผึ้ง ต้นสายน้ำผึ้ง ดอกน้ำผึ้ง  ต้นรวงผึ้ง ถือเป็น พรรณไม้อันทรงคุณค่า ถูกยกให้เป็นพรรณไม้ประจำ รัชกาลทีี10 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องจาก ดอกรวงผึ้งจำผลิดอกให้ความสวงงามมากที่สุดในช่วงเวลาเดียวกับ เดือนพระบรมราชสมภพ สีของดอกรวงผึ้ง เป็น สีเหลือง แสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง เป็นมงคล ต้นรวงผึ้ง จึงถูกปลูกไว้จำนวนมาก ตามสถานที่ต่างๆ ที่พระองค์จะเสด็จฯ ไปประกอบพระราชกรณียกิจ

ลักษณะของต้นรวงผึ้ง

ต้นรวงผึ้ง เป็นไม้หอม ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ดอกมีกลิ่นหอม และ ออกดอกประมาณเดือน ธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์ ของทุกปี สามารถขยายพันธุ์ โดยการตอนกิ่ง ลักษณะของต้นรวงผึ้ง มีดังนี้

  • ลำต้นรวงผึ้ง ลักษณะของลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นสีน้ำตาล แตกกิ่งต่ำ ลักษณะเป็นพุ่ม กิ่งไม้ค่อนข้างเล็ก
  • ใบรวงผึ้ง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตามกิ่ง ใบสีเขียวและน้ำตาล ผิวของใบด้านบนเป็นสีเขียว ส่วนผิวด้านล่างของใบเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ
  • ดอกรวงผึ้ง ดอกออกเป็นกระจุก กลีบดอกเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอม ให้กลิ่นหอมนาน ประมาณ 7 วัน ดอกออกตามซอกใบ ลักษณะเป็นช่อสั้น ดอกคล้ายรูปดาว เมื่อดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามอร่ามตาและส่งกลิ่นหอมชื่นใจ
  • ผลรวงผึ้ง ผลของรวงผึ้งเกิดจากดอกที่แห้ง ลักษณะผลจึงเป็นผลแห้ง กลมและมีขน

ประโยชน์ของต้นรวงผึ้ง

สำหรับต้นรวงผึ้งมีประโยชน์หลากหลาย โดยข้อดีของต้นรวงผึ้ง มีดังนี้

  • ดอกรวงผึ้งให้กลิ่นหอม หากปลูกไว้ต้นลม จะทำให้พื้นที่มีกลิ่นหอม ช่วยผ่อนคลาย และ ต้นรวงผึ้ง ออกดอกครั้งละมากๆ
  • ต้นรวงผึ้ง เป็นพืชต้องต้องการน้ำน้อย มีช่วงการปลูกกว้าง สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน ทั้งดินที่แห้งแล้งและดินที่ชื้น
  • ต้นรวงผึ้ง ดูแลง่าย ใบไม่ร่วงง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทำให้ไม่ต้องการการดูแลมาก แต่ให้ความสวยงาม อีกทั้ง ต้นรวงผึ้งมีระบบรากที่ดี ไม่หักโค่นง่าย การปลูกเพื่อช่วยบังลมพายุตามสวนต่างๆก็ดี
  • กลิ่นหอมของดอกรวงผึ้ง ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ผ่อนคลาย และ หลับง่ายขึ้น

ต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำราชกาลที่ 10 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ไม้หอม ลักษณะของต้นรวงผึ้งเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของ ต้นรวงผึ้ง ดอกสีเหลือง พรรณไม้ไทยแท้

ผักไชยา Chaya คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร เรียกต้นผงชูรส ต้นไชยาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้างคะน้าเม็กซิกัน ผักไชยา สมุนไพร ต้นผงชูรส

ต้นผักไชยา ( Chaya ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักไชยา คือ Cnidoscolus chayamansa เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นยางพารา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักไชยา เช่น ชายา มะละกอกินใบ คะน้าเม็กซิกัน ต้นผงชูรส ผักโขมต้น เป็นต้น ลำต้นผักไชยา นำมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ใช้แทนผงชูรสได้ดี ใช้ผสมกับอาหาร ช่วยให้มีรสชาติกลมกล่อม ผักไชยา นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ส่วนของยอดอ่อนและใบ เมื่อเด็ดยอดอ่อนแล้วต้องนำมาปอกเปลือกออก ในเมืองไทยนิยมนำมาทำเมนู ผัดไชยาน้ำมันหอย ผักไชยาผัดไข่ ผัดราดหน้า ผัดซีอิ๊ว แกงส้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ได้

ลักษณะของต้นผักไชยา

ต้นผักไชยา หรือ คะน้าเม็กซิกัน สามารถขยายพันธุ์ ได้โดยการตอนกิ่ง ปักชำ และ เพาะเมล็ดพันธ์ คะน้าเม็กซิโก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด ระยะเวลาปลูก 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อนำมารับประทานได้

ต้นคะน้าเม็กซิโก เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่ม ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน ประเทศเม็กซิโก พบต้นคะน้าเม็กซิกัน การกระจายพันธุ์อยู่ในกัวเตมาลา และ ทวีปอเมริกากลาง ลักษณะของต้นไชยา มีดังนี้

  • ลำต้นไชยา ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบไชยา ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก
  • ดอกผักไชยา ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง

ต้นไชยาเป็นไม้พุ่ม ชนิดหนึ่ง ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ เมื่อเด็ดออกมาจะมียางสีขาว ต้นโตง่าย สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบอเมริกากลาง

คุณค่าทางโภชนาการของผักไชยา

สำหรับคะน้าเม็กซิโกหรือผักไชยา นำยมรับประทานก้านและยอด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบผักไชยาขนาด 100 กรัม ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอด้วย น้ำร้อยละ 85.3 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 4.2 โปรตีนร้อยละ 5.7 ไขมันร้อยละ 0.4 กากใยอาหารร้อยละ 1.9 แคลเซียม 199.4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 217.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 11.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 164.7 มิลลิกรัม และ วิตามินเอ 0.085 มิลลิกรัม ผักไชยามีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมมากถึง 2 เท่า

สรระคุณของผักไชยา

การนำผักไชยามาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จากก้านและใบ โดย สรรพคุณของผักไชยา มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยบำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนดี ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มธาตุเหล็กให้กับเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบในเส้นเลือด ช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร
  • บำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา
  • บำรุงกระดูก เพิ่มแคลเซียมให้กระดูก รักษาโรคกระดูกพรุน
  • บำรุงสมอง ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันอาการปวดหัว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ป้องกันอาการไอ ลดการสะสมและลดการติดเชื้อในปอด ช่วยฆ่าเชื้อในปอด
  • ช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลของระบบการเผาผลาญ
  • บำรุงตับ ช่วยล้างพิษในตับ

โทษของผักไชยา

ต้นไชยามีพิษ เนื่องจาก มีสารกลูโคไซด์ เป็นสารที่อยู่ในผักไชยาดิบ การนำผักไชยามารับประทานต้องทำให้้สุกก่อน เพื่อทำลายฤทธิ์ของสารพิษ ให้นำไปต้ม หรือ ผัด อย่างน้อย 1 นาที และ  ห้ามต้มในภาชนะอะลูมิเนียม เพราะ อาจทำให้น้ำพิษ ทำให้ท้องร่วงได้

ผักไชยา ( Chaya ) หรือ คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร ต้นผงชูรส ลักษณะของผักไชยา เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้าง