โรคไฮเปอร์ หรือ สมาธิสั้น ภาวะการขาดสมาธิ มักเกิดกับเด็กไม่เกิน 6 ขวบ ผู้ป่วยสมาธิสั้นร้อยละ 40 สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ การรักษาโรคและป้องกันทำอย่างไรโรคไฮเปอร์ โรคสมาธิสั้น การรักษาสมาธิสั้น อาการสมาธิสั้น
เพื่อความเข้าใจโรคสมาธิสั้น ภาษาอังกฤษ Attention Deficit Hyperactivity Disorder เรียกย่อๆว่า ADHD อย่างถูกต้อง พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเข้าใจและอธิบายให้บุตรหลานเข้าใจถึงความจำเป็นในการรักษาโรค แต่ไม่ควรดูแลเด็กมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะในการใช้ชีวิต แต่ก็ไม่ควรละเลยต่อการดูแลรักษา การลดการกระตุ้นอารมณ์ เช่น การเล่นรุนแรง การล้อเลียนเด็ก จะช่วยให้ทุกอย่างไม่แย่ลงไป

การสังเกตเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นหรือโรคไฮเปอร์ สามารถสังเกตุได้จาก พฤติกรรม 2 อย่าง คือ การมีสมาธิและความซุกซน โดยรายละเอียดการสังเกตุเด็กไฮเปอร์ มีดังนี้

  • ลักษณะการขาดสมาธิ ( attention deficit ) พบว่ามีอาการให้สังเกตุ คือ ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ ไม่มีสมาธิในขณะเล่นหรือทำงาน ไม่ค่อยฟังเวลาพูด ไม่ตั้งใจฟัง ไม่มีระเบียบ วอกแวก ขี้ลืม เป็นต้น
  • ลักษณะการซน ( hyperactivity ) พบว่าอาการที่สามารถสังเกตุได้ คือ ยุกยิกอยู่ไม่สุข ลุกเดินบ่อย ชอบวิ่ง ชอบปีน พูดไม่หยุด เล่นเสียงดัง ตื่นตัวตลอดเวลา รอคอยไม่เป็น

สาเหตุของโรคสมาธิสั้น

สาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้น ไม่สามารถสรุปสาเหตุได้อย่างชัดเจน แต่จากการศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อโรคสมาธิสั้น สามารถสรุปปจัจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น มักมีญาติพี่น้องที่เคยมีปัญหาสามธิสั้น
  • โครงสร้างของสมองตั้งแต่กำเนิด จากการสแกนสมองของคนทั่วไป เปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น พบว่า พื้นที่บางส่วนของสมองผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น ไม่เหมือนกับสมองคนปรกติ
  • การขาดการดูแลที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น แม่ชอบสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ รวมถึงการเสพสารเสพติดขณะตั้งครรภ์
  • การได้รับสารพิษจนเกิดความผิดปรกติของสมอง เช่น ได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก

อย่างไรก็ตาม แต่การให้เด็กดูโทรทัศน์ เล่นเกม ดูอินเตอร์เน้ต หรือ การทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างพอดี ย่อมเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงดูเด็ก

อาการของผู้ป่วยสมาธิสั้นหรือโรคไฮเปอร์

สำหรับอาการโรคไฮเปอร์ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคได้ ซึ่งเราจะสรุปไว้ได้ ดังนี้

กลุ่มอาการโรคไฮเปอร์ สำหรับกลุ่มอาการของโรคไฮเปอร์ สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มอาการ คือ กลุ่มอาการซึมเศร้า และ กลุ่มอาการกร้าวร้าว ทั้งนี้อยู่ที่การดูแลสภาพแวดล้อมของเด็ก และหากได้รับการดูแลอย่างดี จะสามารถเปลี่ยนเป็นความสามารถพิเศษได้ รายละเอียดของกลุ่มอาการดรคไฮเปอร์ มีดังนี้

  • โรคไฮเปอร์กลุ่มอาการซึมเศ้รา จะมีอาการ หงอยเหงา ไม่กล้าแสดงออก ขี้อาย ชอบเก็บตัว ไม่เข้าสังคม คนกลุ่มนี้มีโอกาสเสี่ยงการทำร้ายตนเองจน หรือ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
  • โรคไฮเปอร์กลุ่มอาการกร้าวร้าว จะมีอาการต่อต้านสังคม ชอบใช้ความรุ่นแรง ชอบขวางโลก ขาดการยั้งคิดต่อการกระทำผิด อารมณ์แปรปรวน คนกลุ่มนี่้เป็นอันตรายต่อสังคม

อาการของผุ้ป่วยสมาธิสั้น สามารถแบ่งอาการของโรคให้สามารถสังเกตุได้ 3 อาการ ดังนี้

  • อาการซนผิดปรกติ ( Hyper Activity ) ความซนะมากกว่าเด็กทั่วไป ไม่อยู่นิ่งตลอดเวลา
  • อาการวอกแวก สามารถตอบสนองสิ่งเร้าง่าย การทำงานต่างๆไม่ค่อยสำเร็จ
  • อาการหุนหันพลันแล่น ( Impulsive ) เด็กมักจะแสดงออกในลักษณะการรอคอยไม่เป็น มักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อตัวเด็กได้ง่าย

การรักษาโรคสมาธิสั้น

สำหรับการรักษาโรคสมาธิสั้นหรือโรคไฮเปอร์นั้น ต้องรักษาด้วยการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการใช้ยารักษาโรค โดยรายละเอียดการรักษาโรคไฮเปอร์ มีดังนี้

  • การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม ( Behavioral modification ) การปรับพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นต้องใช้เวลานาน และ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ โดยให้อยู่ในการดูแลและคำแนะนำของแพทย์ เราสามารถทำข้อตกลงกับเด็ก ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน สร้างแรงจูงใจ และให้คำชมเชย หากสามารถทำได้ตามเป้าหมาย
  • การรักษาด้วยการใช้ยา ในปัจจุบันนิยมใช้ยารักษามากขึ้น เนื่องจากได้ผลรวดเร็ว และสามารถทำควบคู่กับการปรับพฤติกรรมได้ การรักษาด้วยยานั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การแสดงออกทางความรุนแรง เป็นต้น

การป้องกันโรคสมาธิสั้น

สาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้น นั้นยังไม่ชัดเจนนั้น การป้องกันการเกิดโรคสมาธิสั้น ต้องทำการลดความเสี่ยงตั้งแต่การตั้งครรภ์และการเลี้ยงดุเด็ก โดยมีข้อแนะนำการป้องกันการเกิดโรคไฮเปอร์ ดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา และไม่ใช้สารเสพติดในขณะตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น สารตะกั่ว เป็นต้น
  • ปรับพฤติกรรมและรับมือกับสถานการณ์ที่แตกต่างอย่างเหมาะสม เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก

โรคไฮเปอร์ หรือ สมาธิสั้น คือ ภาวะการขาดสมาธิในการตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ไม่ใส่ใจคำสั่ง ไม่อยู่นิ่งๆ ไม่อดทน เด็กไม่เกิน 6 ขวบจะแสดงออกได้ชัดเจน ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นร้อยละ 40 สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ลักษณะอาการของโรค สาเหตุของโรค การรักษาโรคและการป้องกันทำอย่างไร

โรคเหน็บชา โรคขาดวิตามินบี1 มี 2 ลักษณะ โรคเหน็บชาในเด็ก โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ เป็นโรคระบบประสาทในประเทศไทยที่พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง กินปลาร้า กินอาหารดิบ

โรคเหน็บชา อาการมือเท้าชา โรคระบบประสาท โรคขาดวิตามินบี1

  • อาการชา หมายถึง ภาวะอวัยวะไม่สามารถรับความรู้สึกได้ หรือ ความสามารถในการสัมผัสบางอย่างเสียไปชั่วขณะหนึ่ง เช่น  ไม่เจ็บ ไม่รู้สึก ไม่ร้อนไม่เย็น เป็นต้น
  • อาการเหน็บ หมายถึง อาการเจ็บ ที่มาจากสาเหตุการกดทับ ขาหรือแขนนานๆ จนบางครั้งมีอาการอ่อนแรงจนเหยียดขาไม่ออกและลุกขึ้นไม่ได้

เหน็บชาในผู้ใหญ่

สำหรับอาการเหน็บชาในผู้ใหญ่ สามารถแบ่งลักษณะของอาการได้ 3 ประเภท คือ เหน็บชาชนิดผอมแห้ง เหน็บชาชนิดเปียก และ เหน็บชาชนิดWernicke-Korsakoff Syndrome  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เหน็บชาชนิดผอมแห็ง ( Dry Beriberi ) มี อาการชาแบบไม่บวม ชาปลายมือและปลายเท้า กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงไม่มีกำลัง โดยเฉพาะที่ขาส่วนล่าง อาจทดสอบได้โดยให้ผู้ป่วยนั่งยอง ๆ แล้วลุกขึ้นเอง ซึ่งผู้ป่วยจะทำไม่ได้ เจ็บปวด พูดไม่ชัด พูดติดขัด อาเจียน มีความผิดปกติทางจิตใจ สับสน ตาขยับเองโดยที่ไม่รู้ตัว อัมพาต
  • เหน็บชาชนิดเปียก ( Wet Beriberi ) มีอาการบวมร่วมกับอาการชาปลายมือปลายเท้า มีอาการบวม น้ำคั่งในช่องท้อง น้ำคั่งในช่องปอด ขาส่วนล่างบวม หอบเหนื่อย หายใจตื้นขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ตื่นนอนขึ้นมามีอาการหายใจตื้น หัวใจโตและเต้นเร็ว อาจทำให้หัวใจวายในกรณีไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
  • เหน็บชา Wernicke-Korsakoff Syndrome พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง เคลื่อนไหวลูกตาได้น้อย เดินเซ มีความผิดปกติทางจิตใจ ผู้ที่เป็นมากอาจทำให้เกิดอาการทางจิตที่เรียกว่า Korsakoff’s Psychosis

สาเหตุของโรคเหน็บชา

โรคเหน็บชานั้นมีสาเหตุมาจาก พฤติกรรมการกินอาหาร โดยร่างกายได้รับวิตามินบี1 ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พฤติกรรมที่ทำให้ขาดวิตามินบี 1 คือ การกินข้าวที่ซาวน้ำออกมากๆ กินอาหารที่มี ใบชา ใบเมี่ยง หมากพลู ปลาร้า ปลาส้มดิบ แหนมดิบ หอยลายดิบ ปลาน้ำจืดดิบ เป็นต้น หรือ ความผิดปรกติของร่างกายจากความสามารถในการเผาพลาญวิตามินบี1 เร็วขึ้น เช่น การตั้งครรภ์ ภาวะหญิงให้นมบุตร เด็กวัยเจริญเติบโต เป็นต้น นอกจากพฤติกรรมการบริโภค การเปรี่ยนแปลงของร่างกาย ยังมีสาเหตุอื่น เช่น การผ่าตัดทางเดินอาหาร การฟอกไต  โรคพิษสุราเรื้อรัง การบกพร่องทางพันธุกรรม เป็นต้น

กลุุ่มคนที่เสี่ยงการเกิดโรคเหน็บชา

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชา เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมเข้ากับสาเหตุของการเกิดโรคที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • สตรีที่ตั้งครรภ์
  • สตรีหลังการตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาการให้นมบุตร
  • เด็กวัยเจริญเติบโต
  • กลุ่มคยวัยทำงานที่ทำงานหนัก เช่น กรรมกร ชาวนา นักกีฬา เป็นต้น
  • คนมีอายุมาก
  • คนที่รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 น้อย
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องฟอกไต
  • บุตรหลานของผู้ที่มีประวัติเป้นโรคเหน็บชา
  • นักดื่ม ที่ชอบดื่มสุราเป็นประจำ รวมถึงผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง

อาการของผู้ป่วยโรคเหน็บชา

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคเหน็บบชานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาการของผู้ป่วยเหน็บชาในเด็ก และ อาการของผู้ป่วยเหน็บชาในผู้ใหญ่ โดยรายละเอียดของอาการของโรค มีดังนี้

  • อาการโรคเหน็บชาในเด็ก ( Infantile beriberi ) จะพบในทารก อายุไม่เกิน 6 เดือน พบได้กับทารกที่กินนมแม่ ที่ขาดสารอาหาร ขาดวิตามินบี1 จะมีอาการซึม หน้าเขียว ตัวเขียว หอบเหนื่อย ตัวบวม ขาบวม หัวใจโต หัวใจเต้นเร็ว ร้องเสียงแหบ ร้องไม่มีเสียง ตากระตุก หนังตาบนตก ชักหมดสติ เป็นต้น
  • อาการโรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ ( Adult beriberi ) ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องอืดเฟ้อ มีอาการชา  ความจำเสื่อม แต่ตรวจร่างกายแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ ต่อมา ผู้ป่วยจะรู้สึกชาบริเวณปลายมือปลายเท้า มีอาการปวดแสบและเสียวแปลบร่วมด้วย บางรายอาจเป็นตะคริว แขนขาไม่มีแรง โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ โรคเหน็บชาชนิดผอมแห้ง โรคเหน็บชาชนิดเปียก และ Wernicke-Korsakoff syndrome

วิธีรักษาโรคเหน็บชา

การรักษาโรคเหน็บชานั้นเกิดจากขาดวิตามินบี 1 การรักษาแพทย์จะให้วิตามินบี 1 เสริมในขนาด 10 ถึง 20 มิลลิกรัม เป็นการเสริมวิตามินโดยการกิน หรือ ฉีดก็ได้ สำหรับในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย ต้องให้ยาฉีดวิตามินบี 1 คู่กับการให้ยาขับปัสสาวะ และจำเป็นอาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเลือด และตรวจพิเศษอื่น ๆ สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมการกิน ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

การป้องกันเหน็บชา

การป้องกันโรคเหน็บชา นั้นสามารถป้องกันจากสาเหตุของการเกิดโรค โดยสามารถสรุปการป้องกันโรคเหน็บชาได้ ดังนี้

  • เพิ่มการกินอาหารประเภทธัญพืช เนื่องจากเป็นอาหารที่มี วิตามินบี 1 สูง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู โดยเฉพาะ เนื้อวัว เนื้อปลา และ เนื้อหมูไม่ติดมัน ตับ ไต และไข่แดง นม เป็นต้น
  • กินผักที่มีวิตมินบี1 สูง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ฟักทอง กะหล่ำดาว ผักโขม เป็นต้น

โรคเหน็บชา เรียกอีกโรค คือ โรคขาดวิตามินบี1 แบ่งได้ 2 ลักษณะ โรคเหน็บชาในเด็ก และ โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาและการป้องกันการเกิดโรค โรคจากระบบประสาทในประเทศไทย พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง กินปลาร้า กินอาหารดิบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove