วิกฤตวัยกลางคน midlife crisis ภาวะเบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิต เกิดกับคนวัย 35 – 50 ปี ทั้งคนประสบความสำเร็จ และ คนกำลังค้นหาตัวเอง ไม่ใช่โรคแต่เป็นภาวะทางความคิดวิกฤตวัยกลางคน Midlife Crisis เบื่อชีวิต เบื่อโลก

วิกฤติวัยกลางคน ( midlife crisis ) คืออะไร คนที่ใช้ชีวิตมาถึงช่วงอายุหนึ่ง เมื่อรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสุขในชีวิต จะมีการคิดทบทวนชีวิตของตัวเองอย่างจริงจัง การคิดทบทวนนี้ มันจะเกิดคำถามถึงสิ่งต่างๆรอบตัว ว่าทำไมจึงไม่มีความสุขในชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้ที่อยู่ในวิกฤติวัยกลางคนจะคิดว่าชีวิตนี้เหลือเวลาอีกไม่มากแล้วเราควรจะประสบความสำเร็จได้แล้ว ปัญหานี้ไม่ใช่โรคแต่เป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่เกิดได้กับคนทั่วไป หากไม่มีที่ปรึกษาที่ดี หรือ ไตร่ตรองอย่างไม่รอบครอบจะเกิดปัญหา เช่น หย่าร้าง ลาออกจากงาน เป็นต้น คนที่เป็นมักจะมีภาวะโรคซึมเศร้าตามมา

วิกฤตวัยกลางคนคืออะไร

วิกฤตวัยกลางคน คือ ภาวะความรู้สึกของกลุ่มคนในช่วงอายุ 35-50 ปี ที่เกิดความคิดทบทวนตัวเองอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น การงาน  ชีวิตคู่ ความสุขในชีวิต หรือเรื่องต่างๆในชีวิตของตนเอง การทบทวนถึงชีวิตที่ยังเหลืออยู่และหลังจากนี้จะทำอย่างไร เพื่อให้ตนเองมีความสุข ทางการแพทย์กล่าวว่า ภาวะนี้ ไม่ใช้โรคแต่เป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา ในช่วงการเปลี่ยนผ่านของวัยกลางคน  ( midlife transition ) ซึ่งอาจทำให้ผู้ประสบภาวะนี้ ทำอะไรหุนหันพลันแล่น จนสร้างปัญหาให้กับชีวิต และ เกิดโรคซึมเศร้าได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตวัยกลางคน

ช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชีวิตของคนช่วงอายุ 35-50 ปี สามารถสรุปปัจจัยของสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตวัยกลางคน มีดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การเสื่อมลงของร่างกายตามวัย เช่น ไม่แข็งแรงเหมือนเดิม อ้วนขึ้น หัวเริ่มล้าน หรือ โรคประจำตัว เป็นต้น สิ่งต่างๆเหล่านี้สามารถทำให้เกิดความเครียดในชีวิตได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนร่างกาย สามารถเห็นได้ชัดในสตรีมากกว่าบุรุษ โดยเฉพาะสตรีวัยเริ่มหมดประจำเดือน คนที่กำลังจะเข้าสู่วัยทอง ( perimenopausal syndrome ) จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางอารมณ์และจิตใจ
  • ความคาดหวังในชีวิตสูง ต้องการความสำเร็จในชีวิต ทั้งทางด้านการงาน และ การเงิน คนส่วนใหญ่อายุยี่สิบต้นๆนั้นเป็นช่วงเริ่มทำงาน แต่ในวัยอายุเกิน 35 ปี ทำงานมาระยะหนึ่งแล้ว มีความต้องการความสำเร็จในชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม หากไม่เป็นตามความหวังจะเกิดภาวะเครียดสะสม
  • เคลียดกับชีวิตในวันเกษียณ เป็นการตระหนักถึงเวลาของเราเหลืออีกไม่มาก ช่วงชีวิตหลังเกษียณจะทำอย่างไรในขณะที่เรายังไม่ได้ทำอะไรสำหรับสิ่งนี้ทำให้เกิดการทบทวนถึงสิ่งต่างๆมากมายเกิดความเครียดสะสม
  • พบเจอกับการสูญเสียอย่างต่อเนื่อง ช่วงอายุ 35-50 ปี เป็นช่วงอายุที่ต้องสูญเสีย พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือ เพื่อนฝูง เป็นธรรมดา ซึ่งความสูญเสียต่างๆทำให้รู้สึกถึงความไม่แน่นอนของชีวิต เกิดความคิดในการทบทวนตัวเอง

การสังเกตคนที่กำลังอยู่ในช่วงวิกฤตวัยกลางคน

เราสามารถสังเกตุอาการ ของคนที่อยู่ในภาวะวสิกฤติวัยกลางคน คือ มีความคิดทสับสนกับการใช้ชีวิต มีความรู้สึกไม่พอใจในชีวิตของตน ทั้งด้านการงาน ชีวิตคู่ สิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือ สุขภาพ เป็นต้น มีความต้องการ การเปลี่ยนแปลงชีวิตในด้านต่างๆ มีอารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดบ่อย มีอารมณ์ซึมเศร้า อารมณ์เหล่านี้แสดงออกอย่างเห็นชัด บางคนถึงขั้น ลาออกจากงาน และ หย่าร้างกับคู่ครอง หรือ การใช้เงินเก็บของตนเองจนหมด ในเรื่องที่ไม่จำเป็น เช่น ซื้อรถ ซื้อบ้าน หรือ นำเงินไปลงทุนทำธรุกิจ เป็นต้น

สำหรับภาวะวิกฤตวัยกลางคน มีคำอีกคำหนึ่ง คือ รังที่ว่างเปล่า ( Empty-nest syndrome ) เป็นภาวะความรู้สึกเคว้งคว้าง ไม่รู้จะทำอะไร เช่น คนที่มีงานในการเลี้ยงลูกตลอดเวลา แต่เมื่อลูกโตและออกไปเรียนหรืออยู่ที่อื่นทำให้ ตนเองไม่มีอะไรทำ ทำให้เกิดความคิดต่างๆมากมาย จนเกิดภาวะวิกฤติวัยกลางคน ทำให้เกิดความเหงา ความเศร้า ไม่รู้จะทำอะไร รู้สึกตัวเองไม่มีค่า หากไม่สามารถปรับตัวกับสถานการณ์นี้ อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้

แนวทางการแก้ปัญหาเมื่อต้องเจอกับวิกฤตวัยกลางคน

วิกฤตวัยกลางคน เป็นภาวะของความคิดที่เกิดจากความคาดหวังกับชีวิต และ ความรู้สึกไม่มีความสุขกับชีวิตและสิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมถึงความการไม่มีกิจกรรมในการทำงานในชีวิตประจำวันน โดยแนวทางการแก้ปัญหาเหล่านี้ มีดังนี้

  • ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และหากแนวทางการแก้ปัญหาอย่าเหมาะสม ใช้ธรรมะเข้ามาจัดการ ให้เข้าใจถึงเหตุผลต่างๆ และ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมีเกิดมีดับ เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เราต้องอยู่กับสิ่งเหล่านี้อย่างเข้าใจ
  • หาที่ปรึกษา การคิดทบทวนเรื่องต่างๆ หากไม่มีที่ปรึกษาที่ดี ปล่อยให้คนที่เกิดปัญหาคิดทบทวนดด้วยตนเอง อาจทำให้เกิดการสับสน และ แก้ปัญหาอย่างไม่ถูกต้อง จนเกิดปัญหามากขึ้น จนอยากที่จะแก้ไข
  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกาย ช่วยลดความเครียด และทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันการเกิดนโรคซึมเศร้าได้
  • หากิจกรรมทำ การไม่ปล่อยให้ว่างจนเกิดความคิดต่างๆมากมาย ที่เป็นสาเหตุของปัญหา ทำให้ลดการเกิดความคิดต่างๆ ไม่ปล่อยให้มีเวลาคิดเรื่องเหล่านี้

วิกฤตวัยกลางคน midlife crisis คือ ภาวะเบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิต เกิดกับคนวัยกลาง อายุ  35 – 50 ปี เกิดขึ้นได้กัทุกคน ทั้งคนประสบความสำเร็จ และ คนกำลังค้นหาตัวเอง ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะทางความคิด ไม่ใช้อาการรุนแรง แต่หากปล่อยไว้ จะเกิดภาวะโรคซึมเศร้าได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

สมองพิการ ( Cerebral Palsy ) โรคซีพี การพิการทางสมองอย่างถาวรตั้งแต่เด็ก ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ใบหน้าเกร็ง การทรงตัวไม่ดี การนั่ง ยืนและเดินผิดปกติโรคสมองพิการในเด็ก โรคซีพี โรคสมองพิการ สมองขาดออกซิเจน

โรคซีพีที่พบในเด็กมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนา ทำให้มีพัฒนาการช้า โดยเฉพาะการเดิน การยืน การทรงตัว การควบคุมตนเองได้ยากเช่น น้ำลายยืด การพูดทำได้ช้า เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคสมองพิการ

ร้อยละ 25 ของผู้ป่วยโรคซีพี ไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน แต่ส่วนมากพบว่าเกิดความผิดปรกติของสมองตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคซีพี  หรือ โรคสมองพิการ ได้ 3 ระยะ คือ ระยะก่อนคลอด ระยะระหว่างคลอด และ ระยะหลังคลอด โดยรายละเอียดของสาเหตุการเกิดโรค มีดังนี้

  • สาเหตุการเกิดโรคสมองพิการในระยะก่อนคลอด ( prenatal period ) ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กมีความพิการทางสมองตั้งแต่กำเนิด ประกอบด้วย การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ติดเชื้อซิฟิลิส ติดเชื้อหัดเยอรมัน ติดโรคเริม ติดเชื้อมาเลเรีย เป็นต้น การขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ การขาดสารอาหารของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ โรคประจำตัวของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ การได้รับสารพิษระหว่างการตั้งครรภ์ ความผิดปกติของสมองของเด็กตั้งแต่เกิด เช่น เกิดภาวะน้ำคั่งศีรษะ สมองไม่เจริญ สมองลีบ สมองเล็ก
  • สาเหตุของการเกิดโรคสมองพิการในระยะระหว่างคลอด( perinatal period ) นับระยะของการเกิดโรคโดยอายุครรภ์ 6 เดือน จนถึงการคลอด สาเหตุของการเกิดโรค เช่น การคลอดลูกก่อนกําหนด การขาดออกซิเจนในระหว่างคลอดของเด็ก  ซึ่งเกิดจากการคลอดผิดปรกติ เช่น คลอดยาก สายสะดือพันคอ เป็นต้น
  • สาเหตุของการเกิดโรคสมองพิการในระยะหลังการคลอด ( postnatal period ) เกิดจากสาเหตุของสมองขากออกซิเจน การติดเชื้อโรคในสมอง และ การเกิดอุบัติเหตุต่อสมอง เป็นต้น

อาการของโรคสมองพิการ ( โรคซีพี )

การพบความผิดปรกติของโรคสมองพิการจะพบว่าสามารถพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุก่อน 1 ขวบ โดยสามารถสังเกตุอาการจาก ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อมีอาการอ่อนแรง กล้ามเนื้อเกร็ง เด็กกำมือมากกว่าแบมือ และพัฒนาการเกี่ยวกับการเดิน โดยเด็กไม่สามารถเดินได้ ลักษณะอาการของโรคสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการเกร็ง กลุ่มอาการกระตุก และ กลุ่มอาการเกร็งและกระตุก โดยรายละเอียดดังนี้

  • กลุ่มอาการเกร็ง ( spastic ) อาการนี้พบมากที่สุด โดยกล้ามเนื้อมีความตึงตัวมากผิดปกติ ทำให้กิดการเกร็ง โดยการเกร็งมี 3 แบบ คือ เกร็งครึ่งซีก เกร็งครึ่งท่อน และ เกร็งทั้งตัว
  • กลุ่มอาการกระตุก ( athetoid ) มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ไมสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้  หรือ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อน้อยจนผิดปกติ ทำให้มีปัญหาการทรงตัว
  • กลุ่มอาการเกร็งและกระตุกผสมกัน ( mixed type )

นอกจากอาการผิดปรกติของกล้ามเนื้อแล้ว โรคสมองพิการ หรือ โรคซีพี จะเกิดโรคอื่นๆ ร่วมด้วย โดยสามารถสรุปโรคที่เกี่ยวกับโรคสมองพิการ มีดังนี้

  • เกิดภาวะปัญญาอ่อน มีความบกพร่องด้านระดับสติปัญญา และมักจะมีปัญหาอื่นร่วมด้วยเสมอ เช่น การมองเห็นไม่ดี การฟังไม่ดี การพูดไม่ดี อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  • มีอาการเศร้าซึม เนื่องจากทำการเคลื่อนไหวไม่ได้ดังตั้งใจ บางครั้งทำได้ บางครั้งทำไม่ได้ ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้ ช่วยตัวเองไม่ได้เลยทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้
  • เกิดโรคลมชัก พบว่าร้อยละ 50 ของเด็กสมองพิการ จะมีอาการชัก
  • มีปัญหาด้านกระดูก อาจพบภาวะกระดูกสันหลังคด ( scoliosis ) การหดรั้งและเท้าแปแต่กำเนิด ( equinus ) เป็นต้น
  • มีปัญหาด้านฟันและช่องปาก เด็กสมองพิการมักมีปัญหาฟันผุ เนื่องจากความสามารถในการดูแลร่างกายต่ำ

การรักษาโรคสมองพิการ

เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ เพราะ สมองมีความพิการ ไม่สามารถทำให้กลับมาปรกติได้ สิ่งที่ทำได้ คือ การฟื้นฟูและบรรเทาอาการ รวมถึงฟื้นฟูสภาพจิตใจ เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสังคม สำหรับการรักษาโรคซีพี สามารถรักษาเพื่อให้ใช้ชีวิตให้ได้ปรกติที่สุด สามารถใช้ยารักษา การผ่าตัด การกายภาพบำบัดร่วม รวมถึงการอุปกรณ์เสริม โดยรายละเอียดการรักษา มีดังนี้

  • การรักษาด้วยการทำภาพบำบัด เพื่อทำการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด และ รักษาเพื่อฟื้นฟูความสามารถในการพูด
  • การรักษาด้วยการให้ยา ยากินมี 2 ลักษณะ คือ ยกกิน และ ยาฉีด โดน ยากินเพื่อช่วยลดความเกร็งของกล้ามเนื้อ ส่วนยาฉีดจะใช้เฉพาะที่แต่เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ยาจะมีฤทธิ์ทำให้ประสาทส่วนปลายถูกขัดขวาง เพื่อลดความผิดรูปของข้อและกล้ามเนื้อที่เกร็งผิดรูป
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด โดยผ่ากล้ามเนื้อที่ยึดตึง ย้ายเอ็น เพื่อสร้างความสมดุลของข้อกระดูก และ ผ่าตัดกระดูกที่ผิดรูป ให้มีความสมดุลย์ นอกจากการผ่าตัดกล้ามเนื้อและกระดูก ยังมีการผ่าตัดอื่นๆ เช่น การผ่าตัดแก้ตาเหล่ ผ่าตัดแก้น้ำลายยืด
  • การรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์เสริมร่วมกับ เป็นการนำเอาอุปกรณ์มาช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายดีกว่าปรกติ เช่น เฝือกอ่อนพยุงข้อเท้า ( ankle foot orthoses – AFO ) อุปกรณ์ช่วยเดิน ( walker ) เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคซีพี

  • ควรให้ผู้ป่วยขยับร่างกายบ่อยๆ เช่น ฝึกเดิน ฝึกการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง บริหารกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ การฟื้นฟูร่างกาย ควรเริ่มตั้งแต่เด็ก โดยไม่ควรเกินอายุ 7 ปี จะทำให้เด็ดมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
  • ต้องปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เช่น อุปกรณ์ต่างๆที่ช่วยให้ใช้ชีวิตง่ายขึ้น ทางเดินควรเป็นทางลาด ไม่ควรวางสิ่งของกีดขวางทางเดิน เป็นต้น
  • หากิจกรรมช่วยการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก เช่น พาเข้าสังคม ทำกิจกรรมเสริมทักษะทั้งกล้ามเนื้อ สมอง
  • การฝึกให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองในกิจกรรมพื้นฐาน เช่น การเคี้ยวอาหาร การหยิบจับสิิ่งของ การใส่เสื้อผ้าเอง การขับถ่าย เป็นต้น

สมองพิการ ( Cerebral Palsy ) นิยมเรียก โรคซีพี  คือ โรคในเด็ก เป็นการพิการทางสมองอย่างถาวร ตั้งแต่เด็ก ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายผิดปรกติเช่น ใบหน้าเกร็ง การทรงตัวไม่ดี การนั่ง ยืน และ เดิน ผิดปกติ รวมถึงการทำงานของสมอง เช่น ความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา และ โรคลมชัก เป็นต้น

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove