วิกฤตวัยกลางคน midlife crisis ภาวะเบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิต เกิดกับคนวัย 35 – 50 ปี ทั้งคนประสบความสำเร็จ และ คนกำลังค้นหาตัวเอง ไม่ใช่โรคแต่เป็นภาวะทางความคิดวิกฤตวัยกลางคน Midlife Crisis เบื่อชีวิต เบื่อโลก

วิกฤติวัยกลางคน ( midlife crisis ) คืออะไร คนที่ใช้ชีวิตมาถึงช่วงอายุหนึ่ง เมื่อรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสุขในชีวิต จะมีการคิดทบทวนชีวิตของตัวเองอย่างจริงจัง การคิดทบทวนนี้ มันจะเกิดคำถามถึงสิ่งต่างๆรอบตัว ว่าทำไมจึงไม่มีความสุขในชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้ที่อยู่ในวิกฤติวัยกลางคนจะคิดว่าชีวิตนี้เหลือเวลาอีกไม่มากแล้วเราควรจะประสบความสำเร็จได้แล้ว ปัญหานี้ไม่ใช่โรคแต่เป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่เกิดได้กับคนทั่วไป หากไม่มีที่ปรึกษาที่ดี หรือ ไตร่ตรองอย่างไม่รอบครอบจะเกิดปัญหา เช่น หย่าร้าง ลาออกจากงาน เป็นต้น คนที่เป็นมักจะมีภาวะโรคซึมเศร้าตามมา

วิกฤตวัยกลางคนคืออะไร

วิกฤตวัยกลางคน คือ ภาวะความรู้สึกของกลุ่มคนในช่วงอายุ 35-50 ปี ที่เกิดความคิดทบทวนตัวเองอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น การงาน  ชีวิตคู่ ความสุขในชีวิต หรือเรื่องต่างๆในชีวิตของตนเอง การทบทวนถึงชีวิตที่ยังเหลืออยู่และหลังจากนี้จะทำอย่างไร เพื่อให้ตนเองมีความสุข ทางการแพทย์กล่าวว่า ภาวะนี้ ไม่ใช้โรคแต่เป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา ในช่วงการเปลี่ยนผ่านของวัยกลางคน  ( midlife transition ) ซึ่งอาจทำให้ผู้ประสบภาวะนี้ ทำอะไรหุนหันพลันแล่น จนสร้างปัญหาให้กับชีวิต และ เกิดโรคซึมเศร้าได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตวัยกลางคน

ช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชีวิตของคนช่วงอายุ 35-50 ปี สามารถสรุปปัจจัยของสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตวัยกลางคน มีดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การเสื่อมลงของร่างกายตามวัย เช่น ไม่แข็งแรงเหมือนเดิม อ้วนขึ้น หัวเริ่มล้าน หรือ โรคประจำตัว เป็นต้น สิ่งต่างๆเหล่านี้สามารถทำให้เกิดความเครียดในชีวิตได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนร่างกาย สามารถเห็นได้ชัดในสตรีมากกว่าบุรุษ โดยเฉพาะสตรีวัยเริ่มหมดประจำเดือน คนที่กำลังจะเข้าสู่วัยทอง ( perimenopausal syndrome ) จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางอารมณ์และจิตใจ
  • ความคาดหวังในชีวิตสูง ต้องการความสำเร็จในชีวิต ทั้งทางด้านการงาน และ การเงิน คนส่วนใหญ่อายุยี่สิบต้นๆนั้นเป็นช่วงเริ่มทำงาน แต่ในวัยอายุเกิน 35 ปี ทำงานมาระยะหนึ่งแล้ว มีความต้องการความสำเร็จในชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม หากไม่เป็นตามความหวังจะเกิดภาวะเครียดสะสม
  • เคลียดกับชีวิตในวันเกษียณ เป็นการตระหนักถึงเวลาของเราเหลืออีกไม่มาก ช่วงชีวิตหลังเกษียณจะทำอย่างไรในขณะที่เรายังไม่ได้ทำอะไรสำหรับสิ่งนี้ทำให้เกิดการทบทวนถึงสิ่งต่างๆมากมายเกิดความเครียดสะสม
  • พบเจอกับการสูญเสียอย่างต่อเนื่อง ช่วงอายุ 35-50 ปี เป็นช่วงอายุที่ต้องสูญเสีย พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือ เพื่อนฝูง เป็นธรรมดา ซึ่งความสูญเสียต่างๆทำให้รู้สึกถึงความไม่แน่นอนของชีวิต เกิดความคิดในการทบทวนตัวเอง

การสังเกตคนที่กำลังอยู่ในช่วงวิกฤตวัยกลางคน

เราสามารถสังเกตุอาการ ของคนที่อยู่ในภาวะวสิกฤติวัยกลางคน คือ มีความคิดทสับสนกับการใช้ชีวิต มีความรู้สึกไม่พอใจในชีวิตของตน ทั้งด้านการงาน ชีวิตคู่ สิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือ สุขภาพ เป็นต้น มีความต้องการ การเปลี่ยนแปลงชีวิตในด้านต่างๆ มีอารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดบ่อย มีอารมณ์ซึมเศร้า อารมณ์เหล่านี้แสดงออกอย่างเห็นชัด บางคนถึงขั้น ลาออกจากงาน และ หย่าร้างกับคู่ครอง หรือ การใช้เงินเก็บของตนเองจนหมด ในเรื่องที่ไม่จำเป็น เช่น ซื้อรถ ซื้อบ้าน หรือ นำเงินไปลงทุนทำธรุกิจ เป็นต้น

สำหรับภาวะวิกฤตวัยกลางคน มีคำอีกคำหนึ่ง คือ รังที่ว่างเปล่า ( Empty-nest syndrome ) เป็นภาวะความรู้สึกเคว้งคว้าง ไม่รู้จะทำอะไร เช่น คนที่มีงานในการเลี้ยงลูกตลอดเวลา แต่เมื่อลูกโตและออกไปเรียนหรืออยู่ที่อื่นทำให้ ตนเองไม่มีอะไรทำ ทำให้เกิดความคิดต่างๆมากมาย จนเกิดภาวะวิกฤติวัยกลางคน ทำให้เกิดความเหงา ความเศร้า ไม่รู้จะทำอะไร รู้สึกตัวเองไม่มีค่า หากไม่สามารถปรับตัวกับสถานการณ์นี้ อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้

แนวทางการแก้ปัญหาเมื่อต้องเจอกับวิกฤตวัยกลางคน

วิกฤตวัยกลางคน เป็นภาวะของความคิดที่เกิดจากความคาดหวังกับชีวิต และ ความรู้สึกไม่มีความสุขกับชีวิตและสิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมถึงความการไม่มีกิจกรรมในการทำงานในชีวิตประจำวันน โดยแนวทางการแก้ปัญหาเหล่านี้ มีดังนี้

  • ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และหากแนวทางการแก้ปัญหาอย่าเหมาะสม ใช้ธรรมะเข้ามาจัดการ ให้เข้าใจถึงเหตุผลต่างๆ และ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมีเกิดมีดับ เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เราต้องอยู่กับสิ่งเหล่านี้อย่างเข้าใจ
  • หาที่ปรึกษา การคิดทบทวนเรื่องต่างๆ หากไม่มีที่ปรึกษาที่ดี ปล่อยให้คนที่เกิดปัญหาคิดทบทวนดด้วยตนเอง อาจทำให้เกิดการสับสน และ แก้ปัญหาอย่างไม่ถูกต้อง จนเกิดปัญหามากขึ้น จนอยากที่จะแก้ไข
  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกาย ช่วยลดความเครียด และทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันการเกิดนโรคซึมเศร้าได้
  • หากิจกรรมทำ การไม่ปล่อยให้ว่างจนเกิดความคิดต่างๆมากมาย ที่เป็นสาเหตุของปัญหา ทำให้ลดการเกิดความคิดต่างๆ ไม่ปล่อยให้มีเวลาคิดเรื่องเหล่านี้

วิกฤตวัยกลางคน midlife crisis คือ ภาวะเบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิต เกิดกับคนวัยกลาง อายุ  35 – 50 ปี เกิดขึ้นได้กัทุกคน ทั้งคนประสบความสำเร็จ และ คนกำลังค้นหาตัวเอง ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะทางความคิด ไม่ใช้อาการรุนแรง แต่หากปล่อยไว้ จะเกิดภาวะโรคซึมเศร้าได้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove