ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม เกิดจากปอดติดเชื้อ อาการอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย รักษาและป้องกันอย่างไร
ปอดบวม ปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ

โรคปอดอักเสบ ( pneumonitis ) ภาวะการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจในส่วนของปอด โรคนี้พบบ่อย ในเด็ก คนแก่ และ คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ สำหรับกลุ่มเสี่ยง สามารถป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้

สาเหตุของโรคปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบ สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุ คือ ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ และ ปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เกิดจากการรับเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ปอด จนเกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อปอด ซึ่งอาการของโรคแตกต่างกันตามสภาพร่างกายของผู้ติดเชื้อ
  • ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยลักษณะของการเกิดกระแทกที่ปอดอย่างรุนแรง หรือ การระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจนานๆ นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะ อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคปอดอักเสบ

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคปอดอักเสบ มีรายละเอียด ดังนี้

  • คนอายุน้อยที่อายุต่ำกว่า 2 ปี
  • กลุ่มคนอายุมากกว่า 65 ปี
  • กลุ่มผู้ป่วยหนักที่เข้ารับการรักษาในห้องไอซียู
  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์  คนที่ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • กลุ่มคนสูบบุหรี่

ปอดอักเสบในผู้สูงอายุ

สำหรับการติดเชื้อที่ปอดของผู้สูงอายุ เกิดจากการเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือ เชื้อรา โดยการรับเชื้อโรคเกิดจากการหายใจเข้าสู้ระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการต่อเนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่

ปอดอักเสบในเด็ก

ภาวะปอดอักเสบในเด็ก เกิดจากสาเหตุทั้ง การติดเชื้อโรคและการไม่ติดเชื้อโรค เนื่องจากเด็กภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้โอกาสการติดเชื้อโรคง่ายขึ้น

อาการของโรคปอดอักเสบ

สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อโรคและไม่ติดเชื้อโรคนั้น มีการแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ แสดงอาการ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการไอและมีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอกเวลาไอ
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว และหายใจหอบ
  • มีไข้สูง มีเหงื่อออก และมีอาการหนาวสั่น
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • มีอาการซึม

การรักษาโรคปอดอักเสบ

สำหรับการรักษาโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการรักษาโรคโดยการใช้ยารักษาโรค การรักษาด้วยการประคับประคองโรค และ การรักษาภาวะแทรกซ้อน ของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคปอดอักเสบ มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับผู้ป่วยในกรณีติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาในปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลาย ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดการดื้นยา
  • การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ สามารถใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น การให้ยาลดไข้ การใช้ยาขยายหลอดลม การให้ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
  • การรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัว เช่น การติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาการฝีในปอด ภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ผู้ป่วยบางรายมีความรุนแรงของโรคมาก ส่งผลต่อการเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การป้องกันโรคปอดอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการปฏิบัติตน ต่อไปนี้

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค การฉีดวัคซีนที่ให้อัตราการเกิดโรคปอดอักเสบลดลง วัคซีนที่ป้องกันโรคปอดอักเสบ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารทที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • รักษาสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม ให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค

โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อปอด เกิดจากการติดเชื้อโรค บางครั้งอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการของปอดบวม ไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย การรักษาโรค และ การป้องกันโรค

แคนดิไดอะซิส ภาวะการติดเชื้อราแคนดิดาเป็นยีสต์ที่พบทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค

โรคแคนดิไดอะซิส โรคติดเชื้อ ติดเชื้อราที่ช่องปาก โรคติดต่อ

เชื้อชนิดนี้พบได้ตามเยื่อเมือกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร อวัยวะเพศหญิง ยีสต์กลุ่มนี้จะไม่ทำให้เกิดโรค แต่ความอับชื้นทำให้ ยีสต์ชนิดนี้มีความรุนแรงจนก่อให้เกิดเป็นโรค โรคแคนดิไดอะซิสพบได้บ่อยเกิดได้ทั่วโลก พบในทุกเพศ ทุกวัย และ พบทารกแรกเกิด และ ผู้สูงอายุ มากที่สุด จากรายงานของโรคพบว่า ร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อมักติดเชื้อที่คอหอย

สาเหตุของการติดเชื้อแคนดิไดอะซิส

โรคแคนดิไดอะซิสเกิดจากติดเชื้อราช่ือแคนดิดา เป็นเชื้อราที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ แต่เชื้อราเกิดการเจริญเติบโตรวดผิดปกติ จนเกิดภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ โดยมักเกิดกับอวัยวะที่มีความชื้นสูง เช่น ช่องคลอด ช่องปาก โรคนี้สามารถแพร่จากคนสู่คน จากการสัมผัสเชื้อโรค และ เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคแคนดิไดอะซิส ได้แก่ กลุ่มคนต่างๆเหล่านี้

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเอดส์ เด็กทารก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีอวัยวะเพศอับชื้น
  • กลุ่มคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สุขอนามัยไม่ดี
  • กลุ่มคนที่ใช้ยาบางประเภทอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาปฏิชีวนะ และ ยากลุ่มCorticosteroid
  • กลุ่มคนใส่ฟันปลอม

อาการของโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับอาการของโรคแคนดิไดอะซิส สามารถแบ่งอาการของโรค 3 ลักษณะ คือ การติดเชื้อเฉพาะที่ การติดเชื้อในกระแสเลือด และ การติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยรายละเอียดของโรคแคนดิไดอะซิส มีดังนี้

  • อาการติดเชื้อเฉพาะที่ จะติดเชื้อบริเวณอวัยวะที่มีเยื่อเมือก เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร ช่องคลอด อวัยวะเพศ โดยอาการของโรคจะแสดงอาการ คือ เกิดเนื้อเยื้อสีขาวข้น ผิวเรียบ เป็นมันเหมือนไขนม รอบๆของเนื้อเยื่อ จะมีลักษณะ แดง เจ็บ แสบ และ คัน  ซึ่งอาการอื่นๆที่พบ คือ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาการมักไม่รุนแรง รักษาให้หายได้
  • อาการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลืือด ซึ่งภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีความรุนแรง อันตรายทำให้เสียชีวิตได้ โดยพบว่ามีการติดเชื้อ ที่หัวใจ สมอง ตับ ไต ร่วมด้วย อาการตอดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะแสดงอาการ คือ มีไข้สูง  อ่อนเพลีย อวัยวะต่างๆอักเสบ ปวดตัว อาการเหล่านี้มักพบคนที่มีภูมิคุ้มต้านทานโรคต่ำ
  • อาการติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตผิดปรกติจนเกิดโรค อาการนี้ขึ้นกับภูมิต้านทานโรคของแต่ละบุคคล

การรักษาโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับแนวทางการรักษาโรคแคนดิไดอะซิส คือ การรักษาที่สาเหตุของการเกิดโรค เช่น การใช้ยาต้านเชื้อรา การหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงการประคับประครองอาการของโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยาต้านเชื้อรา ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และ อาจเป็นการใช้ยาทาเฉพาะที่ ยากิน หรือ ยาฉีด
  • สำหรับสาเหตุของโรคจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ให้ทำการหยุดการใช้ยาที่เป็นสาเหตุของโรค
  • การรักษาโรคด้วยการประคับประคองตามอาการ เช่น การใช้ยาแก้ปวด เพื่อลดอาการปวดจากอวัยวะอักเสบ

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับผู้ป่วนโรคแคนดิไดอะซิส ควรมีแนวทางการดูแลตนเอง ดังต่อไปนี้

  • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้อยู่ในสภาพที่ดี
  • ไม่ควรอยู่ในสถานที่เสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค

การป้องกันการติดเชื้อโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับการป้องกันโรคแคนดิไดอะซิส มีแนวทางการปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  • ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • รักษาความสะอาดของอวัยวะที่มีโอกาสติดเชื้อ เช่น อวัยวะเพศ ช่องปาก
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะ หรือ ยาสเตียรอยด์ เพื่อใช้เอง

โรคแคนดิไดอะซิส ( Candidiasis ) ภาวะการติดเชื้อแคนดิดา เป็นยีสต์ที่พบได้ทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove