กลาก หรือ ขี้กลาก ( Ringworm ) ภาวะติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผม และ เล็บ อักเสบผิวหนัง เป็นวงสีแดง มีขุยสีขาว ติดต่อจากการสัมผัส การรักษาป้องกันโรคทำอย่างไรโรคกลาก ติดเชื้อราที่ผิวหนัง โรคผิวหนัง โรคติดต่อ

โรคกลาก ภาษาทางการแพทย์ เรียก Ringworm คือ โรคติดต่อ จากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งกลากสามารถเกิดได้ตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น หนังหัว ใบหน้า มือ เท้า เล็บ และ ขาหนีบ สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยพบในเด็กมากที่สุด โรคกลาก หากเกิดกับเด็กจะพบว่ามีกลากขึ้นที่ศีรษะมากที่สุด แต่หากเป็นผู้ใหญ่พบว่ากลากขึ้นมากที่เท้า ส่วนในผู้ชายวัยรุ่นมักพบกลากขึ้นที่ขาหนีบ

สาเหตุของการเกิดโรคกลาก

กลาก เกิดจากเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโทไฟท์ ( Dermatophytes ) ที่ผิวหนัง ซึ่งเชื้อราอาศัยอยู่บนผิวหนัง ส่วนเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว  เชื้อราเหล่านี้ไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ เชื้อราชนิดนี้มีลักษณะเป็นสปอร์ขนาดเล็กๆ อาศัยอยู่ตามผิวหนังของมนุษย์ หรือ พื้นดิน สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพอากาศร้อนชื้น เชื้อราสามารถติดต่อสู่คนโดยการสัมผัส

กลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลาก

โดยคนที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลาก คือ กลุ่มคนที่เหงื่อออกง่าย ทำความสะอาดร่างกายไม่สะอาด และ อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อนและมีความชื้นสูง โดยกลุ่มคนเหล่านี้ ประกอบด้วย

  • เด็กอ่อน
  • ผู้สูงอายุ
  • คนอ้วน หรือ คนที่มีน้ำหนักมากกว่ามาตราฐาน
  • กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอชไอวี คนที่ผ่านการทำเคมีบำบัด เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีประวัติเคยติดเชื้อราที่ผิวหนังมาก่อน
  • กลุ่มผู้ป่วยบางโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคกลาก

สำหรับอาการของโรคกลาก คือ เกิดผื่นแดงหรือผื่นสีขาวเป็นขุย ลักษณะเป็นวงกลม มีอาการคัน สามารถลามไปสู่ผิวหนังส่วนต่างๆได้ และ ติดต่อสู่คนอื่นได้ โดยจุดที่มักเกิดกลาก คือ หนังศรีษะ ผิวหนัง เล็บ ขาหนีบ และ เท้า โดยลักษณะของอาการกลากในตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

  • กลากที่หนังศีรษะ จะพบว่าที่หนังศีรษะจะเป็นจุดๆสีขาวตกสะเก็ด คันที่หนังศีรษะ ผมจะร่วงเป็นหย่อมๆ อาจมราตุ่มหนองเล็กๆที่หนังศรีษะ ซึ่งสามารถเป็นแผลขนาดใหญ่ได้
  • กลากที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะคันรอบๆแผลที่อักเสบ ลักษณะของแผลจะเป็นขอบชัดเจน และ สีแดง บางรายแผลเป็นวงขนาดใหญ่ มีตุ่มหนองขึ้นได้
  • กลากที่เล็บ ผู้ป่วยจะมีลักษณะเล็บมีสีขาวขุ่น เล็บหนาขึ้น และ เล็บเปราะหักง่าย รู้สึกเจ็บและระคายเคืองที่นิ้วบริเวณผิวหนังรอบเล็บ
  • กลากที่ขาหนีบ เกิดผื่นแดง และ คัน ที่ผิวหนังที่ขาหนีบ ทำให้ผู้ป่วยเกาจนเกิดแผล เรียกว่า โรคสังคัง ซึ่งผิวหนังที่ขาหนับอาจตกสะเก็ด มีตุ่มหนอง ตุ่มพอง
  • กลากที่เท้า มีอาการคันที่เท้าบริเวณง่ามนิ้ว อาจมีตุ่มหนอง และ ตุ่มพอง จนทำให้รู้สึกเจ็บ เรียกอาการนี้ว่า ฮ่องกงฟุต หรือ น้ำกัดเท้า

การรักษาโรคกลาก

สำหรับการรักษาโรคกลาก คือ แพทย์จะรักษาอาการติดเชื้อรา เป็นการให้ยาทา เพื่อรักษาอาการคัน และ ฆ่าเชื้อรา โดยต้องใช้ประมาณ 15-30 วัน จนกว่าจะฆ่าเชื้อราได้หมด แต่การรักษาโรคกลาก นั้น นอกจากจะใช้ยาทาในการรักษา ตัวผู้ป่วยเอง ต้องปรับสุขอนามัยพื้นฐานของตนเอง ไม่ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดเชื้อรา เช่าน หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าอับชื้นที่มีเชื้อรา ทำความสะอาดเครื่องนอน ทำความสะอาดผิวหนังให้แห้ง

สำหรับการติดเชื้อราที่หนังศีรษะ ต้องใช้ยารับประทานต้านเชื้อรา ได้แก่ กริซีโอฟูลวิน ( Griseofulvin ) โดยต้องรับประทานประมาณ 3 เดือน ส่วนการรักษาเชื้อราที่เล็บ ต้องรักษาสุขอนามัย ของมือและเท้า

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกลาก

สำหรับภาวะแทรกซ้อนของโรคกลาก คือ หากเชื้อราแพร่ไปสู่ผิวหนังชั้นใน อาจทำให้เกิดความรุนแรง และ รักษาให้หายยากขึ้น การลุกลามของกลาก จากจุดหนึ่งไปส่วนต่างๆของร่างกาย ส่งผลต่อบุคคลิกภาพที่เสีย ทำให้สังคมรังเกรียจ ไม่อยากเข้าใกล้

การป้องกันโรคกลาก

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคกลาก นั้นต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโรคกลาก และ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ให้สะอาด เพื่อลดการเกิดเชื้อรา โดยแนวทางการปฏิบัตเพื่อป้องกันโรคกลาก มีดังนี้

  • ล้างมือเป็นประจำ
  • ทำความสะอาดร่างกายทุกวัน และ เช็ดตัวให้แห้ง หากสระผมต้องทำให้ผมและหนังศรีษะแห้ง
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่อับชื้น
  • ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รวมถึงผู้ป่วยโรคกลากด้วย
  • ทำความสะอาดพื้นที่ส่วนรวม ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ให้อับชื้นเป็นที่อยู่ของเชื้อรา
  • ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคกลาก
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยงที่เป็นกลาก
  • หมั่นตัดเล็บมือเล็บเท้า และ ทำความสะอาดเล็บอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่สวมร้องเท้าที่มีความอับชื้น
  • เช็ดร่างกายให้แห้งหลังจากอาบน้ำโดยเฉพาะส่วนขาหนีบ และ ที่สำคัญสวมกางเกงชั้นในที่สะอาด แห้ง ไม่นำกางเกงชั้นในเก่าที่ยังไม่ซักมาใช้งานซ้ำ

โรคกลาก หรือ ขี้กลาก ( Ringworm ) คือ ภาวะติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผม และ เล็บ โดยเกิดการอักเสบที่ผิวหนัง เป็นวงสีแดงหรือ มีขุยสีขาว โรคนี้เป็นโรคติดต่อจากการสัมผัสได้ สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาโรค และ การป้องกันโรค ทำอย่างไร

โรคหัดเยอรมัน โรคเหือด โรคหัดสามวัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน ทำให้เกิดผื่นแดงตามร่างกาย เกิดได้กับทุกคน ไม่ใช่โรคร้ายแรง การรักษาและป้องกันทำอย่างไรโรคหัดเยอรมัน โรคเหือด โรคหัดสามวัน โรคติดต่อ

โรคหัดเยอรมัน เป็นโรคที่มีอาการคล้ายโรคหัด ซึ่งการแสดงอาการของโรคนั้น แสดงให้เห็นที่ผิวหนัง เกิดอาการผื่น มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต สำหรับประเทศไทย เรียกโรคนี้ว่า โรคเหือด หรือ โรคหัดสามวัน

สาเหตุของการเกิดโรคหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมัน เกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัสรูเบลลา ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำมูก หรือ น้ำลายของคนที่มีเชื้อไวรัสรูเบลลา และ เกิดการแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น โดยผ่านการไอ การจาม และ การสูดอากาศที่มีเชื้อโรคอยู่ หากเกิดการติดเชื้อกับหญิงที่ตั้งครรภ์อยู่สามารถติดเชื้อสู่ทารกผ่านทางกระแสเลือดได้

กลไกการเกิดโรคหัดเยอรมัน คือ เมื่อเกิดการหายใจรับเชื้อโรคไวรัสหัดเยอรมันเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เชื้อกระจายเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลือง ตับ และ ม้าม สุดท้านเชื้อโรคจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆของร่างกายผิดปรกติ

ระยะของการเกิดโรค

สำหรับระยะของการเกิดโรค มี 2 ระยะ คือ ระยะการฟักตัวของโรค และ ระยะติดต่อ ซึ่งทั้งสองระยะนี้ จะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ระยะการฟักตัวของโรค ระยะนี้ประมาณ 14 – 23 วัน แต่โดยเฉลี่ยและ ระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 16 – 18 วัน หลังจากนั้นเช้ือโรคจะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ โดยไม่มีอาการผื่นขึ้นตามร่างกาย
  • ระยะติดต่อ ระยะนี้จะเกิดขึ้น 5 วันก่อนร่างกายเกิดผื่น ช่วง 7 วันก่อนมีผื่น และ 7 วันหลังผื่นหาย คืิอ ระยะที่สามารถแพรกระจายเชื้อโรคสู่ผู้อื่นได้ โรคนี้มักระบาดในโรงเรียน โรงงาน สถานที่ทำงาน และ เกิดมากในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน

อาการของโรคหัดเยอรมัน

สำหรับโรคหัดเยอรมัน นั้นจะแสดงอาการในระยะแรก เหมือนอาการติดเชื้อไวรัสธรรมดา หลังจากได้รับเชื้อโรคแล้ว จะแสดงอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส
  • มีอาการบวมที่คอ ท้ายทอย และ หลังหู เกิดจากอาการต่อมน้ำเหลืองโต
  • มีผื่นแดง และ ตุ่มนูน ขึ้นที่ใบหน้า และ ลามไปตามผิวหนังส่วนต่างๆ เช่น แขน ขา และกระจายตามตัว บางรายอาจมีอาการคันตามผิวหนัง
  • มีอาการปวดหัว
  • เบื่ออาหาร
  • มีอาการตาแดง จากสาเหตุเยื่อบุตาอักเสบ
  • คัดจมูกและมีน้ำมูก
  • มีอาการบวม และ ปวดตามข้อกระดูก

อาการของโรคจะมีประมาณ 2 – 3 วัน ยกเว้นอาการต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งมีอาการนี้ใช้เวลานานหลายสัปดาห์จึงหาก โรคนี้เป็นภาวะโรคที่อันตรายสำหรับสตรีมีครรภ์

โรคหัดเยอรมันโดยกำเนิด ( Congenital Rubella Syndrome )

โรคหัดเยอรมันโดยกำเนิด คือ ภาวะการเกิดโรคหัดเยอรมัน ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมันระหว่างการตั้งครรภ์ ทารกที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน จะมีอาการพิการของร่างกาย เช่น พัฒนาการช้า สติปัญญาบกพร่อง หูหนวก เกิดต้อกระจก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ก ารทำงานของตับ ม้ามและไขกระดูกมีปัญหา ขนาดศีรษะเล็กและสมองไม่พัฒนา

วิธีรักษาโรคหัดเยอรมัน

การรักษาโรคหัดเยอรมัน โดยทั่วไปที่ไม่ได้เกิดกับสตรีมีครรภ์ การรักษาโรคแพทย์จะรักษาโดยการประคับประคองอาการของโรคตามอาการของโรค เช่น การให้ยาลดไข้ การให้ยาทาแก้ผดผื่นคัน การให้ยาต้านการอักเสบ เป็นต้น

การรักษาหัดเยอรมันสำหรับสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก แพทย์จะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ ส่วนสตรีที่มีอายุครรภ์เกิน 7 เดือนทารกมักจะปลอดภัย ส่วนสตรีที่มีอายุครรภ์ต่ำกว่า 6 เดือน ทารกมักมีโอกาสพิการ ซึ่งในกรณีนี้แพทย์มักตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ แต่สำหรับในบางรายที่ไม่ยอมยุติการตั้งครรภ์ แพทย์จะฉีดอิมมูนโกลบูลินให้ผู้ป่วย ป้องกันการติดเชื้อสู่ทารกและช่วยลดความรุนแรงของโรคกับทารกได้

วิธีป้องกันการเกิดโรคหัดเยอรมัน

การป้องกันการเกิดโรคหัดเยอรมัน ในปัจจุบันสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน โดยวัคซีนจะกำหนดให้ฉีดเข็มแรก สำหรับ เด็กอายุ 9 – 12 เดือน และ ฉีดเข็มที่ 2 เมื่ออายุได้ 4 – 6 ปี ซึ่งจะสร้างภูมิต้านทานโรคคางทูมได้ตลอดชีวิต

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคหัดเยอรมัน

สำหรับผู้ป่วยโรคหัดเยอร์มัน มีข้อควรปฏิบัตตน ดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยโรคหัดเยอรมันระยะติดต่อ ควรหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม อาการอยู่ในพื้นที่ที่มีผู้คนแออัด
  • ไม่ควรเข้าใกล้ผู้ป่วยโรคอื่นๆ เพราะอาจทำให้เกิดการติดต่อสู่ผู้อื่นได้ง่าย และ อาจจะรุนแรงมาก
  • อุปกรณ์ต่างๆ เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว โทรศัพท์ ของเล่น เครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องแยกอุปกรณ์ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น

โรคหัดเยอรมัน โรคเหือด โรคหัดสามวัน คือ โรคติดต่อ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน ทำให้เกิดผื่นแดงตามร่างกาย สามารถเกิดได้กับทุกคน โรคนี้ไม่ร้ายแรง สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาโรค และ การป้องกันการเกิดโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove