ฮีสโตพลาสโมสิส Histoplasmosis ภาวะติดเชื้อรา Histoplasma capsulatum ในขี้นก ขี้ไก่ ขี้ค้างคาว อาการไอ หายใจลำบาก อ่อนแรง ต่อมน้ำเหลืองโต รักษาและป้องกันอย่างไรโรคฮีสโตพลาสโมสิส ติดเชื้อรา ปอดอักเสบ โรคติดเชื้อ

เชื้อราHistoplasma capsulatum พบได้ทั่วโลก เป็นเชื้อรานี้จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง เช่น ดินในถ้ำ เล้าไก่ กรงนก และ สวนสาธารณะ โดยพื้นที่ที่มีนกหรือค้างคาวถ่ายมูลไว้ โรคฮีสโตพลาสโมสิส สามารถโรคที่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่คนสามารถติดเชื้อจากการหาใจ และ การสัมผัสเชื้อโรค โรคมักพบในสัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข เป็นต้น

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงติเชื้อโรคฮีสโตพลาสโมสิส

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเกิดการติดเชื้อโรคฮีสโตพลาสโมสิส ประกอบด้วยกลุ่มคนต่างๆ ดังนี้

  • เกษตรกรกลุ่มกำจัดแมลง
  • เกษตรกลุ่มผู้เลี้ยงเป็ดไก่
  • ช่างก่อสร้าง
  • ช่างหลังคา
  • นักจัดสวน
  • นักสำรวจถ้ำ

สาเหตุของการติดเชื้อฮีสโตพลาสโมสิส

สาเหตุหลักของโรค คือ เชื้อรา Histoplasma capsulatum  เข้าสู่ร่างกาย ผ่านการสูดดม ซึ่งสาเหตุอื่นๆที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การท้องเสียจากการติดพยาธิปากขอ การขยายขนาดของตับ การขยายขนาดของม้าม และ การขยายขนาดของต่อมน้ำเหลือง

อาการของโรคฮีสโตพลาสโมสิส

โรคฮีสโตพลาสโมสิส มีตั้งแต่ระดับอ่อนโดยไม่แสดงอาการจนถึงระดับที่รุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้ อาการของโรคมักแสดงอาการใน 3 ถึง 17 วัน เริ่มจากการเป็นไข้ มีอาการหนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดตัว ไอแห้งๆ เจ็บหน้าอก และบางรายมีอาการปวดข้อและมีผื่นคัน ร่วมด้วย สำหรับอาการของโรคสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • มีอาการไอ
  • หายใจลำบาก
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ออกกำลังกายไม่ได้
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต
  • มีไข้สูง
  • เหงือกซีด
  • มีอาการดีซ่าน
  • ตับและม้ามมีการขยายตัว

อาการของโรคฮีสโตพลาสโมสิส จะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ อาการปอดอักเสบแบบเฉียบพลัน และ อาการปอดอักเสบแบบเรื้อรัง โดยส่วนมาก ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยติดเชื้อโรคฮีสโตพลาสโมสิส เกิดอาการปอดอักเสบแบบเฉียบพลัน

การรักษาโรคฮีสโตพลาสโมสิส

การรักษาโรคฮีสโตพลาสโมสิส ด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อ คือ Amphotericin B และ Itraconazole สำหรับระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและตำแหน่งของอาการติดเชื้อ

การป้องกันโรคฮีสโตพลาสโมสิส

สำหรับแนวทางป้องกันการติดเชื้อรา ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสในการติดเชื้อโรค เช่น ถ้ำ เล้าเป็ด เล้าไก่ สถานที่ที่มีนกหรือค้างคาว หมั่นรักษาความสะอาดเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรค

โรคฮีสโตพลาสโมสิส ( Histoplasmosis ) ภาวะติดเชื้อรา Histoplasma capsulatum เชื้อโรคอยู่ในขี้นก ขี้ไก่ ขี้ค้างคาว อาการของโรค เช่น การไอ หายใจลำบาก อ่อนแรง ต่อมน้ำเหลืองโต รักษาอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

น้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต โรคเท้านักกีฬา ( Athlete’s foot ) การติดเชื้อราที่ผิวบริเวณเท้า เกิดได้ในทุกคน อาการรอยแดง คันง่ามเท้า เกิดแผลที่เท้า การรักษาอย่างไรน้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต ติดเชื้อที่ผิวหนัง

โรคน้ำกัดเท้า หรือ โรคฮ่องกงฟุต ( Athlete’s foot หรือ Hong Kong foot) เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดียวกับโรคขี้กลาก คือ เชื้อราสายพันธุ์ Dermatophytes เป็นเชื้อราที่เจริญเติบโตได้ดี ในที่อับชื้น เช่น รองเท้าที่มีน้ำขัง พื้นห้องน้ำ เชื้อราชนิดนี้ มักจะอยู่ใน รองเท้า ถุงเท้า ผ้าเช็ดตัว พบบ่อยในผู้ชาย โดยเฉพาะวัยรุ่น โรคน้ำกัดเท้าพบบ่อยในนักกีฬา ที่มีรองเท้าเปียกชื้น เราเรียกโรคนี้ว่า โรคเท้านักกีฬา

สาเหตุของการเกิดโรคน้ำกัดเท้า

โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากการติดเชื้อราสายพันธุ์ Dermatophytes ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดเดียวที่ทำให้เกิดโรคกลาก แต่เป็นการติดเชื้อราที่ผิวหนังบริเวณเท้า โดยมักเกิดที่ง่ามเท้า เชื้อราชนิดนี้ เจริญเติบโตได้ดีในที่อับชื้น ร้องเท้า ถุงเท้า และ ผ้าเช็ดตัว เชื้อราทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง อักเสบ และ เกิดแผล และ แผลที่เกิดขึ้นรักษาไม่หายสักที จะเกิดปัญหาเรื่องการเดิน

กลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคน้ำกันเท้า

สำหรับกลุ่มคนที่ต่างๆเหล่านี้ คือ กลุ่มคนที่ีมีโอกาสในการเกิดโรคน้ำกัดเท้ามากที่สุด มีดังนี้

  • คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคน้ำกัดเท้าง่าง กรรมพันธุ์ก็เป็นโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค
  • คนที่มีภาวะภูมิแพ้ที่ผิวหนังง่าย
  • กลุ่มคนที่มีระบบภูมิต้านทานโรคต่ำ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ ผู้ป่วยที่มีระบบไหลเวียนของโลหิตไม่ดี โดยเฉพาะเลือดส่วนขา

อาการของผู้ป่วยโรคน้ำกัดเท้า

สำหรับอาการที่แสดงออกของโรคน้ำกัดเท้า จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนที่ง่ามเท้า ผิวหนังส่วนที่ติดเชื้อจะมีอาการผิวแห้ง ตกสะ เก็ด มีรอยแตกเป็นร่องแผลสด มีอาการบวม คัน และ เจ็บที่แผล ด้วย ในบางรายเกิกตุ่มน้ำ อาจมีหนองได้  สำหรับอาการของโรคน้ำกัดเท้า จะแสดงอาการต่างๆ ดังนี้

  • เกิดรอยแดง และ มีอาการคันของผิวหนังบริเวณง่ามเท้า
  • มีรอยสะเก็ด ที่ฝ่าเท้า ผิวที่เท้าแตก มีอาการเจ็บปวด
  • เกิดแผลพุพองที่เท้า และ อาจมีน้ำหนอง ด้วย
  • ฝ่าเท้าหนาขึ้น
  • เกิดแผลที่เท้า

การรักษาโรคน้ำกัดเท้า

สำหรับแนวทางการรักษาโรคน้ำกัดเท้า คือ แพทย์จะใช้การรักษาแผลด้วยการใช้ยาทา จำพวกเจล ขี้ผึ้ง หรือ สเปรย์ เพื่อบรรเทาอาการคัน และ ลดการลุกลามของเชื้อรา นอกจาก การใช้ยาทาเพื่อรักษาแผล และ บรรเทาอาการคัน นั้น ให้รักษาความสะอาดของแผลที่เท้า รักษาความสะอาดของรองเท้าและถุงเท้า รวมถึงไม่ทำให้เปียกชื้นด้วย

การป้องกันการเกิดโรคน้ำกัดเท้า

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคน้ำกัดเท้า ต้องรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ไม่อับชื้น เพื่อลดโอกาสการติดเชื้ิอรา โดนแนวทางการป้องกันโรคน้ำกัดเท้า มีดังนี้

  • ล้างเท้าให้สะอาด และ ทำให้เท้าแห้ง หลังจากการออกกำลังกาย หรือ การอยู่ในรองเท้าที่อับชื้นนานๆ
  • ไม้ใช้ถุงเท้าหรือรองเท้า รวมถึงผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
  • ต้องทำความสะอาด ถุงเท้า รองเท้า และ ผ้าเช็ดตัว และ ผึ่งลมให้แห้ง อย่าให้อับชื้น เป็นแหล่งที่อยู่ของเชื้อรา
  • ไม่สวมถุงเท้าที่ยังไม่ซักให้สะอาด

โรคน้ำกัดเท้า โรคฮ่องกงฟุต โรคเท้านักกีฬา ( Athlete’s foot ) คือ ภาวะการติดเชื้อราที่ผิวหนังบริเวณเท้า โรคผิวหนัง สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย อาการน้ำกัดเท้าเป็นอย่างไร การรักษาโรคน้ำพัดเท้า และ การป้องกันการเกิดโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove