เหงือกอักเสบ ภาวะการอักเสบของเหงือก ทำให้เกิดอาการปวด บวม ที่เหงือก ส่งผลต่างๆภายในช่องปาก เช่น มีกลิ่นปาก ปวดฟัน การรักษาและการป้องกันการเกิดโรคทำอย่างไรโรคเหงือกอักเสบ โรคในช่องปาก โรคเหงือก ปวดเหงือก

โรคเหงือกอักเสบ ( Gingivitis ) คือ โรคหนึ่งที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก เกิดขึ้นกับเหงือก ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ปวด และ บวมแดงที่เหงือก เหงือกมีความสำคัญ เมื่อเกิดภาวะเหงือกอักเสบ จึงควรให้ความสำคัญและควรรักษาอย่างทันท่วงที ป้องกันโทษที่เกิดจากการอักเสบของเหงือกที่จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องตามมา

สัญญาณของการเกิดโรคเหงืออักเสบ

สำหรับอาการต่างๆที่แสดงถึงตัวบ่งชี้ว่า กำลังเกิดโรคเหงือกอักเสบกับตัวเรา คือ

  • เหงือกบวม
  • เหงือกนิ่มผิดปกติ
  • เหงือกร่น
  • มีเลือดออกจากเหงือกง่าย เช่น เวลาแปรงฟัน หรือ เวลาใช้ไหมขัดฟัน
  • เหงือกเกิดการเปลี่ยนสี จากปรกติเหงือกจะมีสีชมพู เปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มหรือมีสีคล้ำมากขึ้น
  • มีกลิ่นปาก
  • มีหนองออกมาจากเหงือก
  • ฟันโยก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระบต่อเหงือก ที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ มีรายละเอียด ดังนี้

  • พฤติกรรมการดูแลดูแลสุขภาพภายในช่องปากไม่ดีเท่าที่ควร
  • ภาวะเกิดคราบหินปูน
  • ภาวะการเกิดฟันผุ
  • ภาวะปากแห้ง
  • การสูบบุหรี่
  • อายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะความเสื่อมของอวัยวะตามการใช้งาน
  • ภาวะโรคเบาหวาน
  • ภาวะโรคจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ เช่น โรคลูคีเมีย โรคเอชไอวี เป็นต้น
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาอาการชัก หรือ ยาไดแลนติน
  • ภาวะการติดเชื้อในช่องปาก เช่น เชื้อไวรัส หรือ เชื้อราบางชนิด เป็นต้น
  • ภาวะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น การมีประจำเดือด ภาวะการตั้งครรภ์ การใช้ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
  • ภาวะการขาดสารอาหารบางชนิด รับประทานอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการไม่ครบถ้วน

สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับสาเหตุหลักของการเกิดโรคเหงือกอักเสบ คือ พฤติกรรมส่วนตัวที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเหงือกและฟัน การดูแลสุขภายในช่องปากไม่ดี การเกิดคราบหินปูนตามร่องเหงือก ซึ่งทำให้เกิดสารที่ทำให้เหงือกเกิดความระคายเคือง จนกลายเป็นภาวะเหงือกอักเสบในที่สุด นอกจาก การเกิดฟันผุ ก็เป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ

อาการของโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับอาการของโรคเหงือกอักเสบนั้น อาการที่พบเห็นจะแสดงออกอย่างชัดเจน ที่เหงือก มีการเปลี่ยนแปลงของเหงือกอย่างชัดเจน เช่น อาการบวมแดง อาการปวด อาการมีเลือดออก เป็นต้น สำหรับอาการของโรคเหงือกอักเสบ มีระยะของโรค 3 ระยะ คือ ระยะเหงือกอักเสบ ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบ และ ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบตอนปลาย โดยรายละเอียดของระยะของอาการเหงือกอักเสบ มีดังนี้

  • ระยะเหงือกอักเสบ เป็นระยะเริ่มต้นของการอักเสบ เกิดจากคราบที่ก่อตัวขึ้นมาตามรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก การสะสมของคราบเหล่านี้จะทำให้เกิดสารพิษ ก่อความระคายเคืองให้แก่เนื้อเยื่อของเหงือก ทำให้เหงือกอักเสบในที่สุด อาการของเหงือกอักเสบระยะนี้ จะมีเลือดออกขณะแปรงฟัน สามารถกลับสู่ภาวะเหงือกสมบูรณ์เหมือนเดิมได้
  • ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบ เป็นระยะกระดูกและเนื้อเยื่อ ที่มีหน้าที่ช่วยพยุงฟันถูกทำลาย จนไม่สามารถกลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิมได้ ระยะนี้เหงือกจะร่นและเกิดโพรงใต้รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน ทำให้เกิดคราบและเศษอาหารติดฟันได้ง่าย การดูแลทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เหงือกได้
  • ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบตอนปลาย ในระยะนี้กระดูกและเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่พยุงฟันถูกทำลายไปจนหมด ทำให้เกิดอาการฟันโยก ส่งผลต่อการเคี้ยวบกพร่อง อาจต้องถอนฟันออก

แนวทางการวินิจฉัยโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับการวินิจฉัยโรคเหงือกของทันตแพทย์ นั้นขึ้นอยู่กับอาการที่แสดงออกกับ ฟัน เหงือก ปาก และ ลิ้น และ ตรวจความผิดปกติของเหงือก เช่น อาการบวมแดง อาการเลือดออกตามเหงือก เป็นต้น นอกจากนั้นสามารถวินิจฉัย จากเครื่องมือและแนวทางต่างๆ ดังนี้

  • ประเมินการเคลื่อนที่ของฟัน และ การตอบสนองต่อการเสียวฟัน
  • ตรวจดูตำแหน่งของฟัน
  • ตรวจสอบกระดูกขากรรไกร

การรักษาโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับการรักษาอาการเหงือกอักเสบ นั้นควรต้องเริ่มจากการรักษาสาเหตุของสิ่งที่ทำให้เกิดอาการเหงือกอักเสบ เพื่อควบคุมอาการและป้องกันการลุกลามของภาวะเหงือกอักเสบ จนทำให้สูญเสียฟัน การรักษาภาวะเหงือกอักเสบที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัย การดูแลสุขภาพเหงือกและฟัน อย่างถูกวิธี โดยแนวทางการดูแลเหงือกและฟัน ที่ถูกต้อง มีดังนี้

  • ทำความสะอาดช่องปาก เพื่อกำจัดคราบพลัค และ คราบหินปูน
  • แปรงฟันอย่างถูกต้อง และ ใช้ไหมขัดฟัน ควบคู่กัน เพื่อลดการสะสมของคราบต่างๆ
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • หากมีปัญหาเกี่ยวกับฟันให้รีบรักษา เช่น ครอบฟัน อุดฟัน ขูดหินปุน เป็นต้น
  • ใช้น้ำยาบ้วนปาก ช่วยควบคุมการเกิดคราบพลัคได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบ หากไม่ทำการรักษาให้หาย อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่างๆ อาจมีผลกับสุขภาพร่างกายโดยรวม แต่สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โรคเหงือกอักเสบ อาจมีความเกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ

การป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ ที่ดีที่สุด คือ การดูแลสุขภาพภายในช่องปากที่ดี ซึ่งต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องและปฏิบัติตลอดชีวิต คือ การทำความสะอาดช่องปาก ด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน และ เข้ารับการตรวจสุขภาพในช่องปาก เหงือก และ ฟัน อย่างสม่ำเสมอ ทุก 6 – 12 เดือน

โรคเหงือกอักเสบ คือ ภาวะการอักเสบของเหงือก ทำให้เกิดอาการปวด บวม ที่เหงือก ส่งผลต่างๆภายในช่องปาก เช่น มีกลิ่นปาก ปวดฟัน สาเหตุของเหงือกอักเสบเกิดจากอะไร การรักษาเหงือกอักเสบ และ การป้องกันการเกิดโรค

หูดงอนไก่ ( Genital wart ) ติ่งเนื้อผิวหนังอวัยวะเพศเกิดจากติดเชื้อไวรัส HPV เรียก หูดอวัยวะเพศ หูดกามโรค อาการติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ไม่เจ็บ ไม่อันตรายหูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ โรคติดต่อ

สาเหตุของการเกิดหูดหงอนไก่

สาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ เกิดจากติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( HPV ) บางสายพันธุ์ ซึ่งร้อยละ 90 ของผู่ป่วยโรคหูดหงอนไก่ เกิดจากไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ย่อย 6 และ 11 ซึ่งการติดโรคหูดหงอนไก่ มักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยมักเกิดในวัยรุ่น เชื้อไวรัสเอชพีวีเมื่อเข้าสู่ร่างการ เชื้อโรคจะมีระยะในการฟักตัวของโรค 30 วัน ถึง 2 ปี แต่จากสถิติพบว่าส่วนมากจะแสดงอาการภายใน 120 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย เมื่อผิวหนังได้รับเชื้อผ่านทางการสัมผัสผิวหนัง เชื้อไวรัสก็จะเจริญเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ที่ผิดปกติ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี สายพันธ์ย่อยที่ 6 และ 11 โดยสามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ ได้ดังนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย ไม่สวมถุงยางอนามัย
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนมีเชื้อไวรัสเอชพีวี หรือ มีประวัติติดเชื้อโรคไวรัสเอชพีวี
  • การนิยมเปลี่ยนคู่นอน

อาการของหูดหงอนไก่

เมื่อได้รับเชื้อไวรัสเอชพีวีเข้าสู่ร่างการ เชื้อโรคจะมีระยะในการฟักตัวของโรค 30 วัน ถึง 2 ปี แต่จากสถิติพบว่าส่วนมากจะแสดงอาการภายใน 120 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย เมื่อผิวหนังได้รับเชื้อผ่านทางการสัมผัสผิวหนัง เชื้อไวรัสก็จะเจริญเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการต่างๆมากมาย คือ เกิดเมือก ( Mucosa ) ที่อวัยวะเพศ ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ทวารหนัก ช่องปาก ในลำคอ จากนั้นจะเกิดรอยต่างๆ ลักษณะเป็นตุ่มเดียวหลายตุ่ม คล้ายดอกกะหล่ำ สีชมพู ผิวขรุขระ เพิ่มจำนวนมากขึ้น สร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วย

การรักษาโรคหูดหงอนไก่

การรักษาเนื่องจากสาเหตุของการเกิดหูดหงอนไก่ คืิอ เชื้อไวรัสเอชพีวี การรักษาต้องกำจัดเชื้อไวรัส พร้อมๆกับการกำจัดติ่งเนื้อออกไป ด้วยใช้วิธีทางการแพทยต่างๆ เช่น ความร้อนจัด ความเย็นจัด หรือ ยาเคมีบำบัดบางชนิด วิธีรักษาหูดหงอนไก่ สามารถสรุปได้ดังนี้

  • ใช้ไฟฟ้าจี้ ( Electrocauterization ) จี้ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ เพื่อตัดติ่งเนื้อออก ซึ่งวิธีนี้มีข้อเสีย คือ ควันที่เกิดจากการจี้ในระหว่างการรักษาหูดนั้น จะมีเชื้อไวรัส HPV ปนอยู่ หากสูดดมเข้าไป อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ HPV ที่ทางเดินหายใจได้
  • ใช้ความเย็นจี้ ( Cryotherapy ) ใช้สำลีชุบไนโตรเจนเหลวป้ายที่รอยติ่งเนื้อ ความเย็นจะสัมผัสติ่งเนื้อประมาณ 15 วินาที อาจทำให้มีรอยดำหลังการรักษา และ มีอาการเจ็บ ขณะรักษา
  • การผ่าตัดหูดหงอนไก่ออก วิธีนี้ลดปัญหาการกลับมาเกิดซ้ำของหูดหงอนไก่ได้มากที่สุด ใช้ในกรณีผู้ป่วยไม่ตอบสนองจากวิธีอื่นๆ
  • ใช้การทาน้ำยาPodophyllin วิธีนี้อาจมีอาการระคายเคือง แสบผิวในจุดที่โดนแต้มยา
  • ใช้การทาด้วยน้ำยาTrichloroacetic acid การรักษาด้วยวิธีนี้อาจทำให้มีอาการแสบ และ ระคายเคืองที่ผิวตรงจุดที่โดนทา

ผลข้างเคียงของโรคหูดหงอนไก่

ผลข้างเคียงของการเกิดหูดหงอนไก่ นั้นสิ่งแรก คือ ไม่น่ามอก หรือ ไม่น่าสัมผัส ทำให้รู้สึกขยะแขยง อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ระบบสืบพันธุ์ และ มะเร็งทวารหนักได้ ซึ่งสามารถสรุปผลข้างเคียงต่างๆ ได้ดังนี้

  • หากเกิดกับสตรีมีครรภ์ หูดหงอนไก่ อาจมีขนาดใหญ่จนเกิดการกีดขวางทางคลอด และเชื้อโรคมีโอกาสติดสู่เด็ทารกได้ ทำให้เกิดหูดในกล่องเสียง ทำให้เด็กทารกออกเสียง หรือ หายใจไม่สะดวก
  • หากเกิดกับชายในกลุ่ม รักร่วมเพศ มักพบหูดหงอนไก่รอบทวารหนัก หรือ เกิดในทวารหนัก ซึ่งการรักษายาก ทำให้เกิดภาวะทวารหนักตีบตัน ขับถ่ายยาก ทำให้ท้องผูก สามารถทำให้เกิดมะเร็งทวารหนักได้
  • หากเกิดหูดหงอนไก่ที่ทางเดินหายใจ ซึ่งพบมากที่สุด คือ เกิดหูดที่กล่องเสียง ทำให้เสียงแหบ และ เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่

การรักษาในปัจจุบัน ไม่สามารถรักษาให้หายขาด ดังนั้นการป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่ เป็นสิ่งที่ควรทำ และ ทำได้ง่ายกว่าการรักษาโรค โดยต้องลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคทั้งหมด สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอนของตน
  • ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยการสวมถุงยางอนามัย
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี

โรคหูดงอนไก่ ( Genital wart ) คือ การติ่งเนื้อ ก้อนผิวหนังที่อวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV เรียกอีกชื่อว่า หูดอวัยวะเพศ หรือ หูดกามโรค เกิดได้กับทุกเพศ อาการของโรค คือ เกิดติ่งเนื้อขรุขระที่อวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก  ไม่เจ็บ และ ไม่อันตราย สาเหตุ อาการ การรักษา และ การป้องกัรนโรคทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove