หนองในเทียม ( Chlamydia infection ) ติดเชื้อแบคทีเรีย คลามัยเดีย ทราโคมาทิส ที่อวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้มีลูกยาก อาการมีหนองออกจากอวัยวะเพศ รักษาและป้องกันอย่างไร

โรคหนองในเทียม หนองในเทียม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อ

สาเหตุของหนองในเทียม

สาเหตุของการติดโรคหนองในเทียม เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนเป็นโรคหนองในเทียมอยู่แล้ว โดยไม่มีการป้องกันการเกิดโรค ซึ่งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคหนองในเทียม คือ เชื้อแบคทีเรียคลามัยเดียทราโคมาติส ( Chlamydia Trachomatis )  เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตและแพร่กระจายเชื้อโรคทาง เช่น อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือ ดวงตา โดยเชื้อโรคจะปะปนมมากับสารคัดหลั่งของมนุษย์ โรคนี้ยังสามารถแพร่จากแม่สู่ลูกได้ เป็นอันตรายสำหรับสตรมีครรภ์

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสในการติดโรคหนองในเทียม

สำหรับกลุ่มที่มีโอกาสในการเกิดโรคหนองในเทียม คือ กลุ่มวัยรุ่นที่มักไม่มีการป้องกันในการมีเพศสัมพันธ์ กลุ่่มคนที่นิยมเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ รวมถึงเด็กในครรภ์ที่มีแม่มีเชื้อโรคหนองในเทียมในร่างกายเป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคหนองในเทียม

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียม เชื้อโรคจะมีระยะในการฟักตัว ภายใน 7 – 21 วัน อาการที่พบของโรคโดยทั่วไป จะมีอาการติดเชื้อในลำคอ เจ็บคอเรื้อรัง หรือ ปวดรูตูด มีน้ำหรือเลือดไหลออกจากตูด เป็นอาการที่แสดงออกมาจากแหล่งที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หากเข้าทางปาก จะแสดงอาการที่คอ หากเชื้อโรคเข้าทางทวารหนัก ก็จะแสดงอาการทางทวารหนัก แต่อาการของโรคหนองในเทียมจะแสดงอาการแตกต่างกันในชายและหญิง ซึ่งรายละเอียดของการการของโรค มีดังนี้

อาการหนองในเทียมที่เกิดในผู้หญิง

  • มีอาการตกขาวผิดปกติ
  • ปัสสาวะขัดและมีอาการแสบ
  • ปวดท้องน้อย
  • ปวดหลัง
  • คลื่นไส้ อาเจีน
  • มีไข้
  • เลือดออกผิดปกติระหว่างรอบประจำเดือน

อาการหนองในเทียมที่เกิดในผู้ชาย

  • มีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากอวัยวะเพศ ลักษณะใสหรือขุ่นข้นๆ
  • ปวดแสบเวลาปัสสาวะ
  • ปัสสาวะขัด
  • คันบริเวณอวัยวะเพศ
  • ปวดอันฑะ
  • ลูกอัณฑะบวม

อาการแทรกซ้อนที่เกิดกับโรคหนองในเทียม

ความอันตรายหนึ่งของโรคหนองในเทียม คือ ภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งภาวะแทรกซ้อนนี้มีอาการแตกต่างกันในผู้ชายและผู้หญิง โดย รายละเอียด มีดังนี้

ภาวะแทรกซ้อนในเพศชาย

สำหรับโรคที่เกิดและมีสาเหตุของโรคจากการติดเชื้อหนองในเทียม คือ อัณฑะอักเสบ ติดเชื้อต่อมลูกหมาก ถ้าไม่ทำการรักษาอย่างทันทั่งทีทำให้เป็นหมันได้ โรคข้ออักเสบ โรคหนองในเทียม ทำให้ข้อกระดูกอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ตาอักเสบ เช่นเดียวกัน

ภาวะแทรกซ้อนในเพศหญิง

สำหรับโรคที่เกิดและเป็นสาเหตุมาจากการติดเชื้อหนองในเทียม คือ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นต้น

การรักษาโรคหนองในเทียม

สำหรับการรักษาโรคหนองในเทียมนั้น สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยให้กินยา Azithromycin ขนาด 1 กรัม ครั้งเดียว  หรือ กินยา Doxy cycline สองครั้ง ในเวลา 7 วัน คำแนะนำไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ต้องอยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น นอกจากนั้น ต้องรักษาอาการแทรกซ้อนของโรคด้วยตามอาการที่พบ สำหรับคนที่เคยมีประวัติการติดเชื้อหนองในเทียม ต้องเข้ารับการตรวจโรคซ้ำ 90 วันหลังจากรักษาโรคแล้ว

การป้องกันโรคหนองในเทียม

สำหรับสาเหตุหลักของการติดเชื้อโรคหนองในเทียม คือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองในเทียม โดยขาดการป้องกันที่ดี โดยการป้องกันการเกิดโรคหนองในเทียม มีรายละเอียดดังนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอน ที่ไม่ใช้คู่ของตน ต้องสวมถุงยางอนามันป้องกันทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการการเที่ยวกลางคืนและการหลับนอนกับคนที่เราไม่รู้จักโดยไม่มีการป้องกันโรค
  • การใช้ชิวิตร่วมกับผู้ป่วยโรคหนองในเทียม ต้องป้องกันการติดเชื้อ

โรคหนองในเทียม ( Chlamydia infection ) คือ โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย คลามัยเดีย ทราโคมาทิส ทำลายระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง ทำให้มีลูกยาก อาการของโรค คือ มีหนองไหลออกจากอวัยวะสืบพันธ์ การรักษาโรคหนองในเทียม และ การป้องกันโรคทำอย่างไร

อหิวาตกโรค ( Cholera ) โรคติดต่อร้ายแรง จากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิตกินอาหารไม่สะอาดอหิวาตกโรค โรคห่า โรคติดต่อ โรคระบบทางเดินอาหาร

สาเหตุของการเกิดอหิวาตกโรค

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนที่ระบบทางเดินอาหาร ชื่อ แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) เชื้อแบคทีเรียได้หลั่งสารซิกัวทอกซิน ( Ciguatoxin: CTX ) เมื่อสารซิกัวทอกซินรวมตัวกับโซเดียม หรือ คลอไรด์ ที่ลำไส้ ทำให้เกิดการกระตุ้นการขับน้ำออกจากร่างกาย โดยการอุจจาระ ซึ่งเป็นอาการอย่างกะทันหัน แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี จะปนเปื้อนอยู่ตามสิ่งปฏิกูล อุจจาระ ซึ่งเชื้อโรคหากกระจายอยู่ในแหล่งน้ำ ก็มีโอกาสปะปนกับอาหาร และ พืชผัก ผลไม้ ต่างๆได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรค

อหิวาตกโรคเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด ดังนั้น ปัจจัยต่างๆที่มีโอกาสทำให้เกิดอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะสุขอนามัยไม่ดี เชื่ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายตามแหล่งน้ำ หากการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่สะอาด ผิดหลักการอนามัย ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย
  • ภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ( Hypochlorhydria/Chlorhydria ) การที่ร่างกายไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เมื่อเชื้ออหิวาเข้าสู่ร่างกาย ก็สามารถแพร่กระจาย และ เจริญเติบโต จนปล่อยสารพิษ เข้าสู่ร่างกาย
  • การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอหิวาตกโรค เชื้ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายผ่านอุจจาระของผู้ป่วย เมื่ออยู่ใกล้ ก็มีดอกาสในารเกิดโรคเช่นกัน
  • การกินอาหารไม่สะอาด และ ไม่ปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน อาหารทะเล พวกหอย หากปรุงไม่สุกมีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดอหิวาตกโรคได้

การวินิจฉัยอหิวาตกโรค

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการซักประวัติ และ สังเกตุอาการเบื้องต้นก่อน จากนั้น ต้องทำการคตรวจร่างกาย ตรวจอุจจาระ การวินิจฉัยโรค สามารถระบุสาเหตุ ของอาการท้องร่วง เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง

อาการของผู้ป่วยอหิวาตกโรค

เมื่อเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae )เข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะเวลาในการเกิดโรคจะเกิดภายใน 2 ชั่วโมง ถึง 5 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาในการฟักตัวของโรค เมื่อเกิดอาการของอหิวาตกโรค จะแสดงอาการ ท้องเสียอย่างเฉียบพลัน ถ่ายเป็นน้ำ อุจจาระมีสีขาวลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว อุจจาระมีกลิ่นเหม็นคาว คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีไข้ ซึ่งอาการของโรคสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • มีอาการปวดท้อง แบบปวดบิด
  • เกิดภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ โดยแสดงอาการ กระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง ผิวหนังแห้ง ไม่มีน้ำตา กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม หรือ ไม่ถ่ายปัสสาวะ อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ

การรักษาอหิวาตกโรค

สำหรับการรักษาอหิวาตกโรค ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันที่ โดยให้การรักษาอาการร่างกายขาดน้ำก่อน และ แพทย์จะพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการฆ่าเชื้อโรค หลังจากตรวจอุจจาระและทราบเชื้อโรคที่ชัดเจน โดยรายละเอียดของการรักษาอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ให้น้ำเกลือ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำและเกลือแร่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป
  • ให้สารอาหารน้ำทดแทน ( Intravenouse Fluids ) ในกรณีที่ผู้้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง จำเป็นต้องให้สารน้ำทางน้ำเกลือเพื่อป้องกันการช็อคอย่างเฉียบพลัน
  • ให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องมาจากเชื้ออหิวา เช่น ยาดอกซีไซคลิน ( Doxycycline ) ยาอะซีโธรมัยซิน ( Azithromycin )

ภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค

ความอันตรายของอหิวาตกโรค นอกจากการขาดน้ำแล้ว โรคแทรกซ้อน เป็นอีกหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง โดยภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ( Hypoglycemia ) ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะอันตราย หากเกิดกับเด็ก อาจทำให้เกิดอาการชัก ไม่ได้สติ และถึงขั้นเสียชีวิต
  • ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ( Hypokalemia ) ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ส่งผลต่อระบบหัวใจและเส้นประสาท เป็นอันตรายต่อชีวิต
  • ภาวะไตวาย การเสียสมดุลย์ของน้ำในร่างกาย ทำให้ไตไม่ทำงาน ส่งผลต่อของเสียต่างๆ ตกค้างในร่างกาย เป็นอันตรายต่อชีวิต

การป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค โดยหลักๆ คือ การรักษาความสะอาด ของสิ่งแวดล้อมและอาหาร โดยการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาด งดการกินน้ำแข็ง เพราะ อาจมีสิ่งเจือปนในน้ำแข็งได้
  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ปรุงอาหารสุก และ กินอาหารที่สุกเท่านั้น
  • ทำความสะอาด วัตถุดิบของอาหาร ทั้ง ผัก ผลไม้ โดยล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบอาหาร และ รับประทาน
  • รับการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค
  • หากมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคอยู่ใกล้ ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ

อหิวาตกโรค ( Cholera ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) ที่ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยสาเหตุเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด อาการของโรคอหิวาตกโร ถ่ายเหลว อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิต การรักษาโรค และ การป้องกันโรค โรคอหิวาตกโรค คือ โรคเป็นติดต่อ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove