บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ต้นบัวบกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณรักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก

บัวบก สมุนไพร สรรพคุณของบัวบก ประโยชน์ของบัวบก

บัวบก (Gotu kola) สมุนไพร คุ้นหู มาทำความรู้จักกับ ต้นบัวบก และ สรรพคุณของบัวบก เป็นแผลให้ใบบัวบกช่วยให้หายได้เร็วขึ้น ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบกในการรักษาโรคมีอะไรบ้าง ใบบัวบกเหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน มีภาวะแกร่ง หรือมีความร้อนชื้น เพราะเป็น สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. เป็น พืชตระกูลเดียวกับผักชี สำหรับ บัวบก มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ ที่เรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ผักหนอก , ผักแว่น , กะโต่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบัวบก

ต้นบัวบก เป็น พืชล้มลุก เป็น ไม้เลื้อย ขึ้นตามพื้นดิน เป็น พืชคลุมดิน ใบเป็นใบเดียว ออกตามข้อของลำต้น ใบออกเป็นกระจุก ตามข้อของลำต้น ใบลักษณะคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ ดอกของบัวบกคล้ายร่ม ออกเป็นช่อ กลีบดอกมีสีม่วงอมแดง ผลของบัวบกเป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก สดปริมาณ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา ใบบัวบก อย่างจริงจัง พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์ของบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ ใบบัวบก ทั้งใบสดและใบแห้งมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเราได้รวม สรรพคุณของใบบัวบก ดังนี้

  • ช่วยชะลดวัย ลดการเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • ใบบัวบกเป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบบัวบกช่วยเสริมสร้าง และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
  • ใบบัวบกช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกาย มีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงและรักษาสายตา รวมถึงฟื้นฟูโดยรอบของดวงตา
  • ช่วยรักษาอาการอักเสบและบวมแดงของตา
  • ใบบกช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น ทำให้มีปฏิภาณไหวพริบดี ช่วยเพิ่มความจำสำหรับผู้สูงวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อม ช่วยเพิ่มการมีสมาธิ แก้ปัญหาสมาธิสั้นได้
  • ช่วยแก้อาการปวดหัว รักษาอาการไมเกรน แก้ปวดหัวข้างเดียว ลดอาการเวียนหัว
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด ให้นอนหลับสบาย ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • ช่วยบำรุงเลือด ช่วยทำให้เลือดระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย เป็นยาบำรุง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการทำงานของหัวใจสมดุลย์ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับคนป่วย
  • ช่วยให้ความชุ่มชื่นของลำคอ บำรุงเสียง ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้
  • รักษาโรคดีซ่าน รักษาโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาอาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคลมชัก
  • รักษาอาการเต้านมอักเสบ ที่เป็นหนองในระยะแรก
  • ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะติดขัด ป้องกันการเกิดนิ่ว ช่วยรักษาโรคนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ
    ช่วยรักษาอาการหนอง ที่ออกจากปัสสาวะ รักษาหนองใน
  • บำรุงม้าม รักษาโรคม้ามโต ช่วยแก้อาการน้ำดีที่มีมากเกินไปในร่างกาย
  • แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์ รักษาโรครูมาตอยด์ได้
  • ใช้เป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ฟกช้ำ
  • ใบบัวบกช่วยรักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง เช่น รักษาโรคเรื้อน รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาหิด รักษาหัด เป็นต้น ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยรักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลซ้ำ
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ รักษาอาการผมร่วง
  • ใบบัวบก เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิว นำสารสกัดเป็นสบู่ใบบัวบก ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวขาว ใบหน้าเต่งตึง

ข้อควรระวังในการใช้บัวบก

  • ใบบัวบก ไม่เหมาะสำหรับคนที่มี ภาวะตัวเย็น จะทำให้ร่างกายยเย็นขึ้นและท้องอืด
  • การกินบัวบกมากเกินไป ไม่ดี เนื่องจากใบบัวบกเป้นยาเย็น หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้ ร่างกายเสียสมดุลถ้ากิน ใบสด ปริมาณครั้งละ 10 ถึง 20 ใบต่อสัปดาห์ ถือว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรกินทุกวันอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรนำใบบักบกมาตากแห้ง เพราะจะเสียคุณค่าทางตัวยา ใบบัวบกจะนำมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย

ต้นบัวบก พืชสมุนไพร ที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็น พืชล้มลุก มีขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน รสขมอมหวาน สามารถใช้รักษาโรคมากมาย บัวบก ทำให้แผลให้หายได้เร็วขึ้น และ ลดอาการอักเสบของแผล มีการศึกษาพบว่า ใน ใบบัวบก มี กรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และ สารอะเซียติโคไซด์ มีสรรพคุณช่วยในการสมานแผลและลดการอักเสบ

เราจะเห็นว่ามียาหลายชนิด ทั้ง ยาแผนปัจจุบัน และ ยาแผนโบราณ ที่มีส่วนผสมของใบบัวบก ซึ่งผลิตออกมาในรูปแบบ ครีม ผง ยาเม็ด เป็นต้น และยังมีการสกัดสารสำคัญที่ได้จากใบบัวบก ซึ่งสารที่สกัดได้จากใบบัวบก มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ

นอกจาก ใบบัวบก มีสรรพคุณทางยา ใบสดของบัวบก สามารถนำมาทำอาหาร รับประทานเป็นผักสดได้ อาหารไทย ก็ หลายมี เมนูอาหาร ที่มีบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ รวมถึงนำใบสดมาคั้นทำ น้ำใบบัวบก การกินใบบัวบกสดๆ ช่วยแก้อาการเวียนหัว ท้องร่วง รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาอาการแขนขากระตุก

บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ลักษณะของต้นบัวบก เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก ประโยชน์และสรรพคุณของบัวบก เช่น รักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก มีอะไรบ้าง

ผักชีฝรั่ง ( Culantro ) สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย บำรุงกระดูกและฟัน เป็นยาระบายอ่อนๆ ต้นผักชีฝรั่งเป็นอย่างไรผักชีฝรั่ง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง มีชื่อสามัญ ว่า Culantro หรือ Long coriander หรือ Sawtooth coriander ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชีฝรั่ง เรียก Eryngium foetidum L. เป็นพืชล้มลุก ตระกลูเดียวันกับผักชี สำหรับชื่อเรียกอื่นของผักชีฝรั่ง เช่น ผักชีดอย ผักจีดอย ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา หอมป้อมกูลวา ห้อมป้อมเป้อ มะและเด๊าะ  ผักชีใบเลื่อย  ผักหอมเทศ ผักหอมเป  หอมป้อม หอมเป  หอมน้อยฮ้อ  หอมป้อมเปอะ  เป็นต้น ชื่อเรียกอื่นๆ จะแตกต่างตามพื้นที่ แต่คือ พืชชนิดเดียวกัน

ต้นผักชีฝรั่ง มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ และเม็กซิโก ผักชีฝรั่ง มีสารสำคัญ คือ กรดออกซาลิก ( Oxalic acid ) ซึ่งกรดชนิดนี้ ทำให้เกิดนิ่วที่ไตและนิ่วที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาการนิ้วนี้ จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการปวด ที่ท้อง เอว และปัสสาวะขัดได้ ดังนั้น ไม่แนะนำให้กินผักชีฝรั่งจำนวนมาก ติดต่อกัน หรือ รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป รวมถึงไม่แนะนำให้ สตรีมีครรภ์รับประทานผักชีฝรั่ง

ลักษณะของผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่งเป็นพืชอายุสั้น เป็นพืชล้มลุก ลักษณะของต้นผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชีฝรั่งเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน หรืออยู่เหนือดินไม่มาก ลักษณะเป็นกระเปราะกลม รากของผักชีฝรั่งเป็นรากแก้ว มีรากแขนงและรากฝอยอยู่รอบๆ
  • ใบของผักชีฝรั่ง ใบเป็นแทงยาว ออกมาจากเหง้าของลำต้น ใบยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักฌฆฒ์ฮฯฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด
  • ดอกของผักชีฝรั่ง จะแทงออกมาจากเหง้า เป็นก้านกลมยาวแข็ง ดอกมีสีขาว ผลและเมล็ดของผักชีฝรั่ง
  • ผลของผักชีฝรั่งจะมีเมล็ดจำนวนมาก เมื่อแก่ไปเมล็ดสามารถขยายพันธ์ฺได้ และการขยายพันธ์ของผักชีฝรั่งจะใช้การโน้มกิ่ง และเมล็ด

คุณค่าทางอาหารของผักชีฝรั่ง

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผักชีฝรั่ง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ดังนี้ กากใยอาหาร 1.7 กรัม ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม สารเบต้าแคโรทีน 876.12 RE วิตามินบี 1 0.31 มิลลิกรัม วิตามินบี 2  0.21 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม และวิตามินซี 38 มิลลิกรัม

สรรพคุณของผักชีฝรั่ง

สำหรับการใช้ผีกชีฝรั่งมาใช้ประโยชน์ทางยา ทางสมุนไพร นั้น สามารถนำมาใช้ทุกส่วน แต่นิยมนำใบมาใช้บริโภค เป็นส่วนมาก รายละเอียดของสรรพคุณของผักชีฝรั่ง ส่วนต่างๆ มีดังนี้

  • ใบของผักชีฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ช่วยห้ามเลือด ช่วยบำรุงเลือด สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ ช่วยดับกลิ่นปาก ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร ช่วยเจริญอาหาร
  • ลำต้นของผักชีฝรั่ง ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานปกติ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงเส้นผม บำรุงเล็บ รักษาไข้มาลาเรีย ช่วยขับลม เป็นยาระบาย ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาผดผื่นคัน ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยแก้พิษงู ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ
  • รากของผักชีฝรั่ง ช่วยกระตุ้นร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ

โทษของผักชีฝรั่ง

ในผักชีฝรั่ง มีกรดออกซาลิกสูงมาก เป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในไต ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และ เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ปวดท้อง ปวดเอว ปัสสาวะติดขัด เป็นต้น สำหรับการบริโภคผักชีฝรั่งควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ไม่กินมากเกินไป หรือ กินเยอะเกินไป และ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่แนะนำให้รับประทานผักชีฝรั่ง ผักชีฝรั่ง มีกลิ่นแรงมาก หากกินสดๆ ในปริมาณมาก อาจทำให้อาเจียนได้

ต้นผักชีฝรั่ง ภาษาอังกฤษ เรียก Stink weed หรือ Eryngium เป็นพืชที่คนไทยรุ้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากกลิ่นหอมของผักชีฝรั่ง และสรรพคุณด้านสมุนไพร ของ ผักชีฝรั่ง มีมากมาย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ช่วยห้ามเลือด ช่วยบำรุงเลือด สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ ช่วยดับกลิ่นปาก ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานปกติ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงเส้นผม บำรุงเล็บ รักษาไข้มาลาเรีย ช่วยขับลม ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาผดผื่นคัน ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยแก้พิษงู ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ช่วยกระตุ้นร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ

ผักชีฝรั่ง นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของอาหารไทย หลายเมนูเช่น อาหารยำต่างๆ ต้มยำ ซุปหน่อไม้ ลาบหมู ลาบต่างๆ เป็นต้น สำหรับการปลูกผักชีฝรั่งในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกมากในเขตภาคกลาง ตามจังหวัดนครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ราชบุรี นอกนั้นผักชีฝรั่งสามารถปลูกได้มากในทุกพื้นที่ ของประเทศไทย เรามานำเสนอ ความรู้ของเรื่องผักชีฝรั่งว่าเป็นอย่างไร ลักษณะของผักชีฝรั่ง สรรพคุูณของผักชีฝรั่ง การปลูกผักชีฝรั่ง เป็นต้น

การปลูกผักชีฝรั่ง

การปลูกผักชีฝรั่ง สามารถปลูกได้ด้วยการใช้เมล็ด เพาะในแปรงเพาะและย้ายลงแปรงใหญ่ รายละเอียดของการปลูกผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • การเตรียมแปลงปลูก ให้ยกร่องแปลงปลูกให้สูง เพื่อป้องกันการเกิดโรครากเน่า ควรไถดะ ให้ลึกประมาณ 1 ฟุต ตากดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยคอก จากนั้น พรวนดินอีกครั้ง ความยาวของแปรงปลูกตามความเหมาะสมของพื้นที่ ให้ทำโรงเรือนหรือกางมุ้ง เนื่องจากผักชีฝรั่งไม่ชอบแสงแดดจัด
  • เพาะต้นกล้า ด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ โดยทั่วไปเมล็ดผักชีฝรั่ง 1 ไร่ใช้เมล็ดพันธ์ 3 กิโลกรัม หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง และเกลี่ยดิยกลบเมล็ด จากนั้นรดน้ำ เมล็ดอ่อนจะงอกภายใน 15 วัน
  • การรดน้ำ ให้รดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง รดน้ำให้ดินชุ่ม การใส่ปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักเพื่อรักษาสภาพดิน
  • การย้ายต้นปลูก สามารถย้ายลงแปลงปลูก หลังจากอายุได้ 20 วัน ควรย้ายต้นผักชีฝรั่งให้มีระยะห่างระหว่างต้นอย่างเหมาะสม
  • การเก็บผลผลิต ผักชีฝรั่งจะเจริญเติบโต พร้อมสำหรับการรับประทาน เมื่ออายุประมาณ 45 ถึง 60 วัน

โรคและศัตรูพืชของผักชีฝรั่ง

สำหรับการปลูกผักชีฝรั่งต้องเข้าใจโรคและศัตรูของพืชชนิดนี้ คือ

  • โรคใบไม้ จะมีลักษณะใบเหลืองจากปลายใบ โรคนี้มักเกิดขึ้นในฤดูร้อน ป้องกันโรคใบไม้ได้โดยใช้เบนเลท ฉีดพ่น
  • โรคโคนเน่า จะมีลักษณะใบและลำต้นเหี่ยว เมื่อถอนออกมาพบว่ารากเน่า ให้แก้ปัญหาด้วยหารยกแปลงสูง และจัดให้มีร่องระบายน้ำ
  • หนอนกินใบ เป็นศัตรูพืชของผักชีฝรั่ง ซึ่งหนอนชนิดนี้จะระบาดในช่วงฤดูฝน
  • หอยทาก เป็นศัตรูพืชที่ระบาดในพื้นที่ ที่มีหญ้ารก และปลูกในที่ร่ม

ผักชีฝรั่ง ( Culantro ) พืชสวนครัว ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง คุณค่าทางโภชนาการของผักชีฝรั่ง สรรพคุณของผักชีฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของผักชีฝรั่ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove