บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ต้นบัวบกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณรักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก

บัวบก สมุนไพร สรรพคุณของบัวบก ประโยชน์ของบัวบก

บัวบก (Gotu kola) สมุนไพร คุ้นหู มาทำความรู้จักกับ ต้นบัวบก และ สรรพคุณของบัวบก เป็นแผลให้ใบบัวบกช่วยให้หายได้เร็วขึ้น ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบกในการรักษาโรคมีอะไรบ้าง ใบบัวบกเหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน มีภาวะแกร่ง หรือมีความร้อนชื้น เพราะเป็น สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. เป็น พืชตระกูลเดียวกับผักชี สำหรับ บัวบก มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ ที่เรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ผักหนอก , ผักแว่น , กะโต่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบัวบก

ต้นบัวบก เป็น พืชล้มลุก เป็น ไม้เลื้อย ขึ้นตามพื้นดิน เป็น พืชคลุมดิน ใบเป็นใบเดียว ออกตามข้อของลำต้น ใบออกเป็นกระจุก ตามข้อของลำต้น ใบลักษณะคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ ดอกของบัวบกคล้ายร่ม ออกเป็นช่อ กลีบดอกมีสีม่วงอมแดง ผลของบัวบกเป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก สดปริมาณ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา ใบบัวบก อย่างจริงจัง พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์ของบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ ใบบัวบก ทั้งใบสดและใบแห้งมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเราได้รวม สรรพคุณของใบบัวบก ดังนี้

  • ช่วยชะลดวัย ลดการเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • ใบบัวบกเป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบบัวบกช่วยเสริมสร้าง และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
  • ใบบัวบกช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกาย มีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงและรักษาสายตา รวมถึงฟื้นฟูโดยรอบของดวงตา
  • ช่วยรักษาอาการอักเสบและบวมแดงของตา
  • ใบบกช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น ทำให้มีปฏิภาณไหวพริบดี ช่วยเพิ่มความจำสำหรับผู้สูงวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อม ช่วยเพิ่มการมีสมาธิ แก้ปัญหาสมาธิสั้นได้
  • ช่วยแก้อาการปวดหัว รักษาอาการไมเกรน แก้ปวดหัวข้างเดียว ลดอาการเวียนหัว
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด ให้นอนหลับสบาย ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • ช่วยบำรุงเลือด ช่วยทำให้เลือดระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย เป็นยาบำรุง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการทำงานของหัวใจสมดุลย์ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับคนป่วย
  • ช่วยให้ความชุ่มชื่นของลำคอ บำรุงเสียง ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้
  • รักษาโรคดีซ่าน รักษาโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาอาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคลมชัก
  • รักษาอาการเต้านมอักเสบ ที่เป็นหนองในระยะแรก
  • ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะติดขัด ป้องกันการเกิดนิ่ว ช่วยรักษาโรคนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ
    ช่วยรักษาอาการหนอง ที่ออกจากปัสสาวะ รักษาหนองใน
  • บำรุงม้าม รักษาโรคม้ามโต ช่วยแก้อาการน้ำดีที่มีมากเกินไปในร่างกาย
  • แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์ รักษาโรครูมาตอยด์ได้
  • ใช้เป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ฟกช้ำ
  • ใบบัวบกช่วยรักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง เช่น รักษาโรคเรื้อน รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาหิด รักษาหัด เป็นต้น ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยรักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลซ้ำ
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ รักษาอาการผมร่วง
  • ใบบัวบก เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิว นำสารสกัดเป็นสบู่ใบบัวบก ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวขาว ใบหน้าเต่งตึง

ข้อควรระวังในการใช้บัวบก

  • ใบบัวบก ไม่เหมาะสำหรับคนที่มี ภาวะตัวเย็น จะทำให้ร่างกายยเย็นขึ้นและท้องอืด
  • การกินบัวบกมากเกินไป ไม่ดี เนื่องจากใบบัวบกเป้นยาเย็น หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้ ร่างกายเสียสมดุลถ้ากิน ใบสด ปริมาณครั้งละ 10 ถึง 20 ใบต่อสัปดาห์ ถือว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรกินทุกวันอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรนำใบบักบกมาตากแห้ง เพราะจะเสียคุณค่าทางตัวยา ใบบัวบกจะนำมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย

ต้นบัวบก พืชสมุนไพร ที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็น พืชล้มลุก มีขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน รสขมอมหวาน สามารถใช้รักษาโรคมากมาย บัวบก ทำให้แผลให้หายได้เร็วขึ้น และ ลดอาการอักเสบของแผล มีการศึกษาพบว่า ใน ใบบัวบก มี กรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และ สารอะเซียติโคไซด์ มีสรรพคุณช่วยในการสมานแผลและลดการอักเสบ

เราจะเห็นว่ามียาหลายชนิด ทั้ง ยาแผนปัจจุบัน และ ยาแผนโบราณ ที่มีส่วนผสมของใบบัวบก ซึ่งผลิตออกมาในรูปแบบ ครีม ผง ยาเม็ด เป็นต้น และยังมีการสกัดสารสำคัญที่ได้จากใบบัวบก ซึ่งสารที่สกัดได้จากใบบัวบก มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ

นอกจาก ใบบัวบก มีสรรพคุณทางยา ใบสดของบัวบก สามารถนำมาทำอาหาร รับประทานเป็นผักสดได้ อาหารไทย ก็ หลายมี เมนูอาหาร ที่มีบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ รวมถึงนำใบสดมาคั้นทำ น้ำใบบัวบก การกินใบบัวบกสดๆ ช่วยแก้อาการเวียนหัว ท้องร่วง รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาอาการแขนขากระตุก

บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ลักษณะของต้นบัวบก เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก ประโยชน์และสรรพคุณของบัวบก เช่น รักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก มีอะไรบ้าง

มะเขือพวง สมุนไพร สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน ผักพื้นบ้าน ประโยชน์ของมะเขือพวงมะเขือพวง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง สมุนไพร คู่ครัวไทย เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสุขภาพ มากมาย สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน มะเขือพวง เป็นพืชผักสมุนไพร และนิยมปลูกจนกลายเป็นพืชผักสวน  นิยมนำผลมาประกอบอาหาร ผักพื้นบ้านของไทย

มะเขือพวง ภาษาอังกฤษ เรียก Pea Eggplant มะเขือพวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Solanum torvum Sw. มะเขือพวง มีชื่ออื่นๆ อาทิ เช่น มะเขือละคร มะแว้งช้าง มะแคว้งกุลา หมากแข้ง เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง เป็นต้น ต้นมะเขือพวง เป็นพืชในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา เป็นพืชที่ทนต่อโรคสูง สำหรับประเทศไทย นิยมนำผลมะเขือพวงมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น แกงป่า แกงคั่วปลาไหล แกงอ่อมปลาดุก แกงเขียวหวาน น้ำพริกกะปิ น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกไข่เค็ม ปลาร้าทรงเครื่อง ผัดเผ็ดต่างๆ เป็นต้น

มะเขือพวง มีสาร อยู่ 2 กลุ่ม ที่มีความสำคัญ เป็นสารในกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ และสารกลุ่มอัลคาลอยด์ มาทำความรู้จักกับสาร 2 กลุ่มนี้ ว่ามีประโยชน์อย่างไร

  • สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) สารอาหารเหล่านี้จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ดีขึ้น  สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ สารสำคัญที่เป็นสารในกลุ่มนี้ คือ Torvoside และซาโปนิน เป็นสารที่ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด กระตุ้นให้ตับนำโคเลสเตอรอลในเลือดไปใช้มากขึ้น ยับยั้งการดูดซึมโคเลสเตอรอลในลำไส้ด้วย ป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด มีฤทธิ์ขับเสมหะ เป็นยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นด่าง รสขม ไม่มีสี มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท และอวัยวะต่างๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อัลคาลอยด์เป็นสารที่สลายตัวได้ง่าย ซึ่งหากนำมาผ่านความร้อนแล้ว สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย สารกลุ่มนี้มีสรรพคุณในการต้านโรคมะเร็ง ยับยั้งการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์มะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง

การศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเขือพวง ขนาด 100 กรัม พบว่า ผลมะเขือพวงให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม น้ำตาล 2.35 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.01 กรัม วิตามีนบี1 0.039 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.037 มิลลิกรัม สารไนอะซิน 0.649 มิลลิกรัม กรดแพนโทเทนิก 0.281 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.084 มิลลิกรัม กรดโฟเลต 22 ไมโครกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม สังกะสี 0.16 มิลลิกรัม และธาตุแมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง เป็น พืชล้มลุก ลำต้นมีความสูง 1 ถึง 4 เมตร กิ่งก้านแตกสาขามากมาย เป็นลักษณะพุ่ม ใบมะเขือพวง ตรงข้ามกิ่งก้าน ใบเป็นมีรูปไข่ สีเขียว ดอกของมะเขือพวง ออกเป็นช่อ เป็นลักษณะรูปกรวย มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ดอกสีขาวหรือสีม่วง และเกสรสีเหลือง ผลของมะเขือพวง เป็นลักษณะกลม ขนาดของผลประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลอ่อนจะมีรสขม แต่ผลสุกจะเป็นสีเหลือง รสฝาด เปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะกลม แบน มีสีน้ำตาล

สรรพคุณของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ ประโยชน์ของมะเขือพวง ด้านสมุนไพร นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ทั้งต้น เมล็ด ผล ใบ และราก ประโยชน์ของมะเขือพวง มีรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของมะเขือพวง ช่วยแก้ปวดฟัน
  • ผลของมะเขือพวง ช่วยบำรุงไต ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลกระเพาะอาหาร รักษาท้องผูก ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ บำรุงสายตา บำรุงเลือด ช่วยให้นอนหลับสบาย รักษาความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล ช่วยดูดซับไขมัน ช่วยขับเสมหะ ป้องกันมะเร็ง
  • ทั้งต้นมะเขือพวง ช่วยรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาฝี รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใบของมะเขือพวง ช่วยรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ใช้ห้ามเลือด รักษาโรคผิวหนัง แก้ฟกช้ำ แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้ ขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย
  • รากของมะเขือพวง ช่วยรักษาแผล รักษาตาปลา รักษาเท้าแตก

การปลูกมะเขือพวง

การปลูกมะเขือพวง นั้นง่ายมาก การขยายพันธ์มะเขือพวงสามารถทำได้โดยเมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และให้ผลผลิตตลอดทั้งปี เป็นผักที่ปลูกตามครัวเรือน มีเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิต รายละเอียดมีดังนี้

  • การเตรียมดิน มะเขือพวงชอบดินร่วน การเตรียมปลูกมะเขือพวง ให้ยกร่องเป็นแปลง ระยะห่างระหว่างต้น 2-3 เมตร
  • การปลูกมะเขือพวง มะเขือพวงสามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย และปลูกได้ตลอดปี สามารถเลือกการปลูกได้ตามต้องการ เช่น เมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับการเพาะเมล็ด นั้น เพาะในกระบะ ในกระถางหรือในถุง อายุได้ 1 เดือน ก็สามารถย้ายลงแปลงที่เตรียมไว้ได้
  • การดูแลมะเขือพวง ให้หมั่นพรวนดิน รดน้ำสม่ำเสมอ หากบำรุงด้วยฮอร์โมน โดยการฉีดพ่นทางใบในทุกๆ 10 วัน ช่วยให้มะเขือพวงออกดอกดก ติดลูกดก
  • การเก็บเกี่ยวมะเขือพวง สามารถเก็บเกี่ยวหลังจากมะเขือพวง อายุ 120 วัน และหากบำรุงดีๆ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 3 ปี

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove