มะตูม สมุนไพร ไม้มงคล พืชประจำจังหวัดชัยนาท ต้นมะตูมเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเลือด คุณค่าทางอาหารของมะตูม โทษของมะตูมมะตูม ต้นมะตูม สรรพคุณของมะตูม ประโยชน์ของมะตูม

ต้นมะตูม ( Beal ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะตูม คือ Aegle marmelos (L.) Corrêa เป็นพืชตระกูลส้ม ชื่อเรียกอื่นๆของมะตูม เช่น มะปิน ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร หมากตูม เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะตูม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะตูมสุก ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 61.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 34.7 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม กากใยอาหาร 2.9 กรัม วิตามินเอ 92 มิลลิกรัม วิตามินบี1 1.3 มิลลิกรัม วิตามินบี2 1.19 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1.1 มิลลิกรัม แคลเซียม 85 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะตูม

ต้นมะตูม ถิ่นกำเนิดของมะตูมมาจากประเทศอินเดีย เป็นพันธ์ไม้มงคล ไม้ผลยืนต้น เติบโตได้ดีในป่าดิบ และ ตามเนินเขา ลักษณะของต้นมะตูม มีดังนี้

  • ลำต้นของมะตูม ความสูงประมาณ 18 เมตร เปลือกของต้นมะตูม ผิวเรียบ มีร่องตื้น สีเทา เนื้อไม้แข็ง สีขาวแกมเหลือง ไม้มะตูมมีกลิ่นหอม
  • ใบมะตูม ลักษณะของใบเหมือนขนนก คล้ายรูปไข โคนใบมน ปลายใบแหลม ใบเป็นสีเขียวเข้ม ลักษณะมัน
  • ดอกมะตูม มีสีขาว ขนาดเล็ก ดอกมะตูมออกตามซอกใบ และ ปลายกิ่ง ดอกมะตูมมีกลิ่นหอม
  • ผลมะตูม มีลักษณะกลม เปลือกผิวเรียบ ผลสดมีสีเขียว เปลือกแข็ง ผลมะตูมแก่ มีสีเขียวอมเหลือง เนื้อด้านในของผลมะตูมมีสีส้ม รสหวาน เนื้อนิ่ม มีกลิ่นหอม และ มียางเหนียวข้น ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

ประโยชน์ของมะตูม 

สำหรับมะตูมสามารถใช้ประโยน์นำมาทำเป็นอาหารบริโภค ซึ่งสรรพคุณของมะตูมเป็นยารักษาโรคมากมาย นิยมนำผลสุกแห้ง มาต้มเป็น น้ำมะตูม

สรรพคุณของมะตูม

สำหรับมะตูมสามารถนำมามใช้ประโยชน์ทางการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค ได้ทั้งส่วน ผลดิบ ผลสุก ใบ เปลือก และ ราก โดยยรายละเอียดของ สรรพคุณของมะตูม มีดังนี้

  • ผลดิบของมะตูม สรรพคุณ ช่วยควบควบคุมน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน รักษาลำไส้อักเสบ แก้ท้องเดิน แก้ท้องอืด ช่วยขับลม แก้กระหายน้ำ ทำให้ให้ชุ่มคอ รักษาหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี แก้ไข้ทรพิษ แก้ปวดฝี รักษาเยื่อบุตาอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการแผลอักเสบ ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ผลสุกของมะตูม สรรพคุณ บำรุงระบบลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหาร ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบาย ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ลดไขมันในเส้นเลือด แก้งท้องร่วง แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงผิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงสมอง รักษาอัลไซล์เมอร์ ช่วยขับพยาธิ
  • ใบของมะตูม ใบอ่อนของมะตูม สรรพคุณ ช่วยขับลม รักษาอาการท้องเสีย ลดไข้ รักษาตาอักเสบ ลดอาการตาบวม
  • เปลือกของมะตูม สรรพคุณ แก้ท้องเสีย ช่วยรักษาลำไส้อักเสบ
  • รากของมะตูม สรรพคุณ ลดอาการตกเลือดสำหรับสตรีหลังคลอด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด รักษาโรคกระเพาะ

โทษของมะตูม

สำหรับมะตูม ไม่ได้มีประโยชน์ทุกอย่าง แต่การบริโภคมะตูมในปริมาณที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดโทษได้ โดยโทษของมะตูม มีดังนี้

  • การกินมะตูมมากเกินไป ทำให้ท้องผูกได้ เนื่องจากมะตูมมีสรรพคุณต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • สตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอดบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนำมะตูมมาใช้รักษาอาการป่วย
  • สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การกินมะตูมอาจทำให้น้ำตาลในเลือกต่ำเกินไปได้
  • การกินมะตูมก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 14 วัน อาจส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงระหว่างและหลังการผ่าตัด

มะตูม สมุนไพรกลิ่หอม ไม้มงคล พืชประจำจังหวัดชัยนาท ลักษณะของต้นมะตูมเป็นอย่างไร โทษของมะตูม ประโยชน์ของมะตูม สรรพคุณของมะตูม เช่น บำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหาร คุณค่าทางอาหารของมะตูม มากมาย

ชะคราม ( Seablite ) พบได้ตามชายทะเล ใบชะครามนิยมนำมาทำอาหาร มีรสเค็ม คุณค่าทางอาหารของชะคราม ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน รักษาคอพอก บำรุงสายตาชะคราม ใบชะคราม สรรพคุณของชะคราม ประโยชน์ของชะคราม

ต้นชะคราม มีชื่อสามัญว่า Seablite ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะคราม Suaeda maritime (L.) Dumort. จัดเป็นพืชในตระกูล Chenopodiaceae  ชื่อเรียกอื่นๆของชะคราม คือ ชักคราม ส่าคราม ชั้วคราม ล้าคราม ล่าคราม เป็นต้น ต้นชะครามถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย และ ทุกๆพื้นที่ทีีติดกับทะเล เจริญเติบโตได้ดีตามป่าโกงกาง ชายทะเล และ นาเกลือ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาของชะคราม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด ขนาด 100 กรัม พบว่ามี สารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 1.81% ไขมัน 0.15% กากใยอาหาร 2.40% คาร์โบไฮเดรต 2.97% แคลเซียม 36.68 มิลลิกรัม โซเดียม 2,577 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม และ 1,265 ไมโครกรัม

ส่วนคุณค่าทางโภชนาการของใบชะคราม พบว่ายังมีสารอาหารสำคัญแต่เจือจางลงไปบ้าง ในการศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของใบชะครามลวก ขนาด 100 กรัม พบว่า มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 1.58% ไขมัน 0.15% กากใยอาหาร 2.10% คาร์โบไฮเดรต 2.49% แคลเซียม 43.27 มิลลิกรัม
โซเดียม 1,656 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม 1,265 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นชะคราม

สำหรับ ต้นชะคราม เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี การขยายพันธ์ใช้การปักชำ มีลำต้นแตกกิ่งทรงพุ่มขนาดเล็ก จัดว่าเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง แต่ เติบโตเฉพาะพื้นที่ติดกับทะเล ลักษณะของต้นชะครามมี ดังนี้

  • ลำต้นชะคราม สูงประมาณไม่เกิน 150 เซ็นติเมตร ลำต้นอ่อนมีสีเขียว ลำต้นแก่มีสีน้ำตาลอมแดง ผิวของลำต้นเป็นตุ่มๆ เนื้อไม้อ่อน
  • รากของชะคราม มีรากแก้วแทงลึกลงดิน และรากแขนง
  • ใบชะคราม เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นทรงกระบอกเกือบกลม เรียวยาว ปลายใบแหลม ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ต่อมาที่เจริญเต็มที่จะมีสีเทาเงินอมเขียว ใบชะครามแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือ สีคราม
  • ดอกชะคราม ออกเป็นช่อ ออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกชะครามอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง ส่วนกลีบดอกชะครามแก่มีสีแดงเรื่อ
  • ผลชะคราม ทรงกลม ขนาดเล็ก เปลือกผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ส่วนเปลือกผลแก่มีสีน้ำตาล ด้านในผลชะครามมีเมล็ด 1 เมล็ด

ประโยชน์ชะคราม

สำหรับประโยชน์ของชะครามนั้นนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ให้รสชาติเค็ม  นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของแกงส้ม แกงมัสมั่น เป็นต้น ส่วนใบของชะครามมีสรรพคุณทางยามากมาย นำมาสะกัดน้ำมันเป็นส่วนผสมของยาสระผม ทำให้ผมเงางาม

สรรพคุณชะคราม

สำหรับประโยชน์ของชะครามในด้าน การบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรคนั้น สามารถแยกสรรพคุณของส่วนต่างๆของชะครามได้ ดังนี้

  • ใบของชะคราม ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา แก้อาการตามัว รักษากลากเกลื้อน แก้อาการผื่นคัน ลดอาการบวมของแผล ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย รักษารากผม แก้ผมร่วง
  • รากของชะคราม ใช้เป็นยาบำรุงกระดูก แก้พิษฝีภายใน ดับพิษในกระดูก แก้น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน แก้โรคผิวหนัง และ รักษาเส้นเอ็นพิการ
  • ลำต้นของชะคราม รักษารากผม แก้ผมร่วง

น้ำมันชะคราม

สำหรับคุณสมบัติขงน้ำมันชะคราม ใช้ดูแลเส้นผมทำให้ผมเงางาม ลดการหลุดร่วง วิธีทำน้ำมันชะคราม เตรียมวัตถุดิบ ประกอบด้วย ใบชะคราม 2 กิโลกรัม เนื้อมะพร้าวขูด 5 กิโลกรัม และ น้ำเปล่า 5 ลิตร

วิธีทำน้ำมันชะคราม โดยนำใบชะครามมาต้มในน้ำเดือด จากนั้นคนมาคั้นน้ำทิ้ง เหลือกากของใบชะคราม ให้นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆและใส่เนื้อมะพร้าวขูดและคลุกเคล้าให้เข้ากัน เติมน้ำเปล่าลงไป และ คั้นเอาน้ำของทั้งสามส่วน กรองด้วยผ้าขาวบาง และ นำไปเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนกระทั่งนำมันออกมา ช้อนเอาเฉพาะน้ำมัน และ กรองเอาเศษต่างๆออก ก็จะได้น้ำมันชะคราม

ชะคราม ( Seablite ) คือ สมุนไพร พืชล้มลุก ที่สามารถพบได้ตามพื้นที่ชายทะเล ใบชะครามนิยมนำมาทำอาหาร ใบมีรสเค็ม คุณค่าทางอาหารของชะคราม ประโยชน์และสรรพคุณของชะครามมีอะไรบ้าง ใบชะคราม  ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove