กระท้อน ( Santol ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว กระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรอล

กระท้อน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นชื่อ ผลไม้ ที่คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี ตำบักต้อง หรือ ตำกระท้อน เมนูบ้านๆ แต่กระท้อนมีสรรพคุณ สำหรับ คนรักสวยรักงาม กระท้อนป้องกันสิว กระชับผิว ลดหน้ามันได้ สนใจใน กระท้อน แล้วซิ มาทำความรู้จักกับกระท้อนกัน ว่าผลไม้ชนิดนี้ เป็นอย่างไร มีสรรพคุณการรักษาโรคอะไรบ้าง กระท้อนเป็นผลไม้ มาจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย แต่คนไทยรู้จักกระท้อนนานมาก

กระท้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Sentul หรือ Santol หรือ Red sentol หรือ Yellow sentol กระท้อนมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr. ชื่อเรียกอื่นๆของกระท้อน อาทิ เช่น เตียน, ล่อน, สะท้อน,มะต้อง, มะติ๋น ,สตียา, สะตู, สะโต เป็นต้น ผลกระท้อน มีวิตามินเอ วิตามินซีสูง และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิว ดีต่อระบบขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ กระท้อนช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ได้ดี ส่วนใบช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง เปลือกใช้รักษาโรคผิวหนังได้ดี เนื่องจากมีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะของต้นกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นไม้ยืน เป็นไม้ผลัดใบ ที่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 30 เมตร ที่ลำต้นมีกิ่งก้านตั้งแต่กลางลำต้นเป็นต้นไป ใบมีขนาดใหญ่ เป็นทรงพุ่มใหญ่

  • เปลือกของต้นกระท้อน เป็นผิวเรียบ สีน้ำตาล เนื้อไม้ของต้นกระท้อน เมื่อยังเป็นต้นอ่อนจะหักง่าย เมื่ออายุมากขึ้น เนื้อไม้จะมีความแข็งปานกลาง
  • ใบของกระท้อน เป็นใบเดี่ยว แทงออกจากปลายกิ่ง ใบมีลักษณะรูปไข่ สีเขียว ปลายใบมน ใบค่อนข้างเหนียว เนื้อใบหยาบ มีขนอ่อนๆและสากมือ ขอบใบหยักเป็นลูกคลื่น
  • ดอกของกระท้อน จะออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบและซอกกิ่ง แต่ละกิ่งจะมีประมาณช่อดอก 4 ช่อ ดอกยาว ดอกตูมมีสีเขียว ดอกบานมีสีเหลือง ดอกของกระท้อนจะพัฒนาเป็นผล
  • ผลและเมล็ดของกระท้อน ผลกระท้อนมีลักษณะกลม ผิวเปลือกเรียบ และมีขนทั่วผล ที่ผลจะมียางสีขาว ผลแก่จะมีสีน้ำตาล ผิวเปลือกหยาบก้าน มีรอย่น เปลือกจะมีความหนา ภายในผลจะมีเนื้อผล และเมล็ด สามารถนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน

นักโภชนาการได้มีการศึกษาผลกระท้อนขนาดต่อ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารมากมาย ประกอบด้วย โปรตีน 0.118 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม กากใยอาหาร 0.1 กรัม แคลเซียม 4.3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17.4 มิลลิกรัม เหล็ก 0.42 มิลลิกรัม แคโรทีน 0.003 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.045 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.741 มิลลิกรัม และวิตามินซี 86.0 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระท้อน

คุณค่าทางสมุนไพร สำหรับการรักษาโรคของกระท้อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ประกอบด้วย ผล ใบ เปลือกและเนื้อไม้ รายละเอียดดังนี้

  • ผลของกระท้อน ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว สร้างภูมต้านทานโรค ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำตาลในเลือด และลดคอเรสเตอรอล
  • เปลือกของกระท้อน มีสรรพคุณต้านเชื้อจุลินทรีย์ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาการอักเสบ รักษาแผลในปาก ป้องกันฟันผุ แก้อาการท้องเสีย รักษาอาการคันตามผิวหนัง
  • ใบของกระท้อน ช่วยในการขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยลดไข้ ลดอาการหนาวสั่น รักษากลากเกลื้อน และรักษาโรคผิวหนัง
  • รากของกระท้อน ช่วยดับพิษร้อน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

การปลูกกระท้อน

กระท้อนชอบพื้นที่ลุ่ม สำหรับการปลูกกระท้อนให้ยกร่องสูง ทนน้ำท่วม

  • การเตรียมแปลง ต้องไถให้เรียบ กำจัดวัชพืชออก ขุดลึกและกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร เว้นระยะห่างต่อหลุ่มประมาณ 6 เมตร
  • การปลูก แนะนำให้ปลูกช่วงฤดูฝน นำต้นพันธุ์ลงปลูกตรงกลาง ใช้ฟางข้าวหรือเศษใบไม้คลุมรอบโคนต้นและรดน้ำให้ชุ่ม
  • การให้น้ำ ให้น้ำสัปดาห์และ 1 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ และให้น้ำทุกวัน เมื่อต้นกระท้อนเริ่มออกดอกและติดผล
  • การใส่ปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยคอกเป็นหลักในช่วง 2 ปีแรก ที่ยังไม่ให้ผล จากนั้นค่อยให้ปุ๋ยเร่งดอก เร่งผล
  • การเก็บเกี่ยวผล ให้ห่อผล เพื่อป้องกันการเสียหายของผิวเปลือกผล เมื่อผลโต และมีสีเขียวอมเหลือง ให้ใช้กระดาษ ห่อ เพื่อป้องกันศัตรูพืชทำลาย และช่วยให้ผิวเรียบ สวย

กระท้อน ( Santol ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว สร้างภูมต้านทานโรค ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรอล

ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมัน บำรุงผิวถั่วเขียว สมุนไพร สรรพคุณถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green Bean ถั่วเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม, ถั่วมุม, ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว เป็นพืชตระกลูถั่ว มีสรรพคุณสูง เหมาะสำหรับการลดความอ้วน ถั่วเขียวช่วยลดคอเรสเตอรัล บำรุงหัวใจ ช่วยกำจัดสารพิษ บำรุงผิวพรรณ ถั่วเขียวจัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ประโยชน์ของถั่วเขียว มากมาย แต่มีข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียวอยู่บ้าง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเขียวอย่างละเอียด ว่าเป็นอย่างไร ใช้รักษาอะไรได้บ้าง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ ถั่วเขียว ทั้งใน ถั่วเขียวสด และถั่วเขียวต้ม พบว่า มีคุณค่าทางอาหารที่ใกล้เคียงกัน รายละเอียดดังนี้

ถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม นั้น ให้พลังงาน 105 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

ถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 347 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหาร ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม
น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม  วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม 28%

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว เป็นพืชล้มลุกมีอายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นถั่วเขียว นั้นมีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของถั่วเขียว เป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงมากมาย ถั่วเขียวจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้น รากของถั่วเขียว เป็นแหล่งสะสมไนดตรเจนที่ดีสำหรับสารอาหารในดิน
  • ลำต้นของถั่วเขียว มีลักษณะลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้าน เป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลำต้นมีขนอ่อน
  • ใบของต้นถั่วเขียว เป็นใบเดียวแต่ในก้านหนึ่งก้านจะมีใบเดียว สามใบ
  • ดอกของต้นถั่วเขียว จะขึ้นบริเวณมุมใบ ปลายยอด และกิ่งก้าน ลักษณะดอกเป็นช่อ ความยาวประมาณ 2 ถึง 13 เซนติเมตร ดอกของถั่วเขียวมีหลายสี อาทิ เช่น สีเหลือง สีขาว และสีม่วง เป็นต้น
  • ฝักและเมล็ดของต้นถั่วเขียว ฝักจะยาวกลม งอเล็กน้อย ผิวเรียบ มีเมล็ดถั่วเขียวอยู่ด้านใน เมื่อฝักแก่เต็มที่ ก็สามารถเก็บเกี่ยวเอาเมล็ดถั่วเขียวมาใช้งานได้

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับในการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว นั้นนิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดยเฉพาะการกินทั้งแบบสดและแบบต้ม หรือ กินต้นอ่อน ที่เรารู้จักกันใน ถั่วงอก รายละเอียดของ สรรพคุณของถั่วเขียว มี ดังนี้

ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง รักษาไข้หวัด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน ช่วยคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้ บำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยขับร้อน แก้อาการร้อนใน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันช่วยถอนพิษ ช่วยกระตุ้นประสาท ทำให้ช่วยสมองทำงานได้ฉับไว ช่วยบำรุงเซลล์ประสาทและสมอง ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการตาพร่า รักษาตาอักเสบ ช่วยรักษาคางทูม ช่วยแก้อาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ ช่วยบำรุงตับ ช่วยแก้อาการไตอักเสบ ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยลดบวม ช่วยรักษาโรคข้อต่าง ๆ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากพืช แก้พิษจากสารหนู ช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารก

ข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียว

  • ถั่วเขียว มีฤทธิ์ทำให้ท้องอืด ผู้ที่มีอาการท้องอืดอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว เพราะจะทำให้ท้องอืดมากขึ้น
  • ถั่วเขียว จะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น สำหรับผู้ที่ระบบกระเพราะอาหารอ่อนแอ ในช่วยเวลานั้นๆ ควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว
  • ถั่วเขียว เป็นคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันเมื่อร่างกายมนุษย์รับประทานเข้าไป การกินถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้เกิดไขมันสะสมมากเกินไปได้ ดังนั้น การกินถั่วเขียว ต้องกินให้อยู่ในริมาณที่พอดีต่อความต้องการของร่างกาย
  • ใน ถั่วเขียว มีสารชนิดหนึ่ง ชื่อ พิวรีน (Purine) มีผลการสะสมกรดยูริกในร่างกาย ทำให้เกิดเก๊าท์ได้ ผู้ที่เป็นเก๊าท์อยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยง หรือควบคุมปริมาณการกินถั่วเขียว

ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่งเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว ลดความอ้วน ช่วยลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน บำรุงผิวพรรณ ข้อควรระวังในการกินถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove