อะโวคาโด ผลไม้สุดยอด สมุนไพร ลักษณะของต้นอะโวคาโด สรรพคุณของอะโวคาโด เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงความงาม คุณค่าทางโภชนาการของอะโวคาโด โทษของอะโวคาโด มีอะไรบ้าง

อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโด

ต้นอะโวคาโด ( Avocado ) เรียกอีกชื่อว่า ลูกเนย ชื่อวิทยาศาสตร์ของอะโวคาโด คือ Persea americana Mill เป็นพืชตระกูลเดียวกับอบเชย สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของอะโวคาโด เช่น อาโวคาโด อาโวกาโด อโวคาโด้ ลูกเนย เป็นต้น ต้นอะโวคาโด เป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก สำหรับประเทศไทย มีการปลูกอะโวคาโดครั้งแรกที่จังหวัดน่าน และกระจายไปทั่วประเทศ อะโวคาโดมีเนื้อผลเป็นเนย

ปัจจุบัน อะโวคาโด ได้รับความนิยมรับประทานในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา เนื่องจาก เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามินและแร่ธาตุหลากหลาย สายพันธ์อะโวคาโด สามารถแบ่งเป็น 3 สายพันธ์ คือ คือ สายพันธ์กัวเตมาลา สายพันธ์อินดีสตะวันตก และ สายพันธ์เม็กซิโก รายละเอียดของแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • อะโวคาโดสายพันธ์กัวเตมาลา ลักษณะผลสีเขียว ผิวขรุขระ เมล็ดกลม เนื้อผลหนา ไขมันสูง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศหนาวเย็น สายพันธ์นี้ เช่น พันธุ์แฮส ( Hass ) และ พันธุ์พิงค์เคอตัน ( Pinkerton )
  • อะโวคาโดสายพันธ์อินดีสตะวันตก ลักษณะผลมีผิวเรียบ ลักษณะมัน ผลสีเขียวอมเหลือง เปลือกของผลหนา รสหวานอ่อน ไขมันน้อย เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศร้อน สายพันธ์นี้ เช่น พันธุ์ปีเตอร์สัน ( Peterson )
  • อะโวคาโดสายพันธ์เม็กซิโก ลักษณะผลเล็ก ผิวของผลเรียบ เปลือกบาง เมล็ดขนาดใหญ่ มีไขมันมาก สายพันธ์นี้ทนต่ออากาศเย็นได้ดี

ลักษณะของต้นอะโวคาโด

  • ลำต้นของอะโวคาโด ลักษณะของลำต้นตั้งตรง เปลือกของลำต้นผิวขรุขระ สีน้ำตาลอ่อน ความสูงประมาณ 18 เมตร
  • ใบของอะโวคาโด ลักษณะรีเป็นรูปไข่ ใบมีสีเขียวสด ใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบ เรียงสลับกันตามกิ่ง
  • ดอกอะโวคาโด ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกบริเวณปลายกิ่ง ดอกมีสีเขียวอมเหลือง ขนาดเล็ก
  • ผลอะโวคาโด ลักษณะรีเป็นรูปไข่ คล้ายผลสาลี่ ผิวของเปลือกเรียบ มีสีเขียว ภายในผลจะมีเนื้อมันและละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองเข้ม ลักษณะคล้ายเนย
  • เมล็ดของอะดวคาโด อยู่ภายในผลของอะโวคาโด สีน้ำตาล หนึ่งผลมี 1 เมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของอะโวคาโด

สำหรับการรับประทานอะโวคาโด จะนิยมรับประทานผลของอะโวคาโด ลักษณะของเนื้ออะโวคาโด คล้ายเนย มีรสชาติ นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลดิบอะโวคาโด พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของอะโวคาโดดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 160 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม น้ำตาล 0.66 กรัม กากใยอาหาร 6.7 กรัม ไขมัน 14.66 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 2.13 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 9.8 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 1.82 กรัม โปรตีน 2 กรัม น้ำ 73.23 กรัม วิตามินเอ 7 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 42 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 271 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.738 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.389 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.257 มิลลิกรัม วิตามินบี9 81 ไมโครกรัม วิตามินซี 10 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.07 มิลลิกรัม วิตามินเค 21 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.142 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 52 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 485 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 7 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.64 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์

สรรพคุณของอะโวคาโด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอะโวคาโด นิยมนำ ผลอะโวคาโด มารับประทาน ซึ่งผลอะโวคาโด มีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคมากมาย สรรพคุณของอะโวคาโด มีดังนี้

  • ช่วยชะลอวัย อะโวคาโดมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกกันเซลล์ต่างๆในร่างกายถูกทำลาย
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ เนื่องจากมีวิตามินอีสูง ทำให้ลดริ้วรอย ก่อนวัย ช่วยให้ผิวชุมชื้น เปล่งปลั่ง
  • ช่วยบำรุงสายตา เนื่องจากมีเบต้าแคโรทีนสูง
  • ช่วยลดคอเลสเตอรัลในเส้นเลือด เนื่องจากมีกรดไขมันชนิดเดียวกันกับน้ำมันมะกอก ป้องกันโรคหัวใจได้ดี
  • ช่วยป้องกันโรคหวัด และ โรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีสูง
  • มีประโยชน์ต่อสตรีมีครรภ์ เนื่องจากมีโฟเลทสูง เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทของทารกในครรภ์
  • ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา และ โรคปากนกกระจอก เนื่องจากมีวิตามินบี1-บี9
  • ช่วยบำรุงสมอง เพราะ อะโวคาโดอุดมไปด้วย DHA ช่วยเสริมสร้างเซลล์สมอง
  • ช่วยบำรุงเส้นผม น้ำมันอะโวคาโด นำมาใช้นวดศีรษะ ช่วยเร่งให้ผมยาวเร็วขึ้น

โทษของอะโวคาโด

สำหรับอะโวคาโด ความเป็นพิษ อาการแพ้จากการกินอะโวคาโดเรียก latex-fruit syndrome การแพ้ลาเท็กซ์ ทำให้เกิดอาการ เช่น ลมพิษ ผื่นคัน ปวดท้อง อาเจียน หรือ อาจอันตรายทำให้เสียชีวิตได้

ผลดิบอะโวคาโดไม่สามารถรับประทานได้ เนื่องจาก มีสารแทนนินในปริมาณมาก มีรสขม หากรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ปวดศีรษะ ดังนั้น ควรรับประทานผลสุกอะโวคาโด

มะขามป้อม หรือ มะขามอินเดีย ผลไม้วิตามินซีสูง ต้นมะขามป้อมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ขับปัสสาวะ โทษของมะขามป้อมมีอะไรบ้าง

มะขามป้อม มะขามอินเดีย สมุนไพร ผลไม้วิตามินซีสูง

ต้นมะขามป้อม ( Indian gooseberry ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขามป้อม คือ Phyllanthus emblica L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะขามป้อม เช่น กันโตด กำทวด มั่งลู่ สันยาส่า หมากขามป้อม เป็นต้น มะขามป้อม จัดเป็นพืชพื้นบ้านของประเทศไทย พบมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และ ป่าดิบเขา ในทุกภาคของประเทศไทย พบมากในภาคเหนือ และ ภาคอีสาน

มะขามป้อม คือ ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว ผลมะขามป้อม มีวิตามินซีสูงมาก เมื่อเทียบกับผลไม้ต่างๆ ผลมะขามป้อม 1  ลูก มีวิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า

ลักษณะของต้นมะขามป้อม

ต้นมะขามป้อม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กและขนาดกลาง สามารถขึ้นได้ดีในประเทศเขตร้อน นิยมรับประทานผลสด เป็นผลไม้ มะขามป้อม สามารถขยายพันธ์ทางการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นมะขามป้อม มีดังนี้

  • ลำต้นมะขามป้อม ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นมะขามป้อมแตกกิ่งก้านสาขา เป็นทรงพุ่ม ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาล ผิวลำต้นเรียบ เปลือกลำต้นมะขามป้อมสามารถลอกเป็นแผ่นได้ เนื้อไม้มะขามป้อมค่อนข้างเหนียว สีของเนื้อไม้มะขามป้อมมีสีแดงอมน้ำตาล
  • ใบมะขามป้อม ลักษณะเป็นใบประกอบ คล้ายใบมะขาม ใบมะขนาดเล็ก จำนวนมาก ใบสดมีสีเขียว ใบแก่มีสีแดงอ่อน ใบมีลักษณะเรียวรี ใบเรียบ ปลายใบมน
  • ดอกมะขามป้อม ออกดอกเป็นกระจุก ออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกมะขามป้อมมีขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง ออกดอกตามปลายกิ่ง
  • ผลมะขามป้อม ลักษณะทรงกลม แบน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกจะมีสีเขียวอมเหลือง เปลือกผลเรียบ มัน เนื้อผลอ่อน ชุ่มน้ำ ภายในผลมีเมล็ด ลักษณะแข็ง รสของผลมะขามป้อมเปรี้ยว และ ฝาดเล็กน้อย

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม

สำหรับมะขามป้อมจะนำผลมะขามป้อมมาบริโภค ทั้งลักษณะของผลมะขามป้อมสด และ ผลมะขามป้อมแช่อิ่ม โดยคุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะขามป้อมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 58 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ 84.10 กรัม ไขมัน 0.50 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.30 กรัม กากใยอาหาร 2.40 กรัม โปรตีน 0.70 กรัม ธาตุแคลเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม และ วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ 100 หน่วยสากล วิตามินบี 10.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 20.04 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.2 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 276 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อมแช่อิ่ม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 222 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 37.60 กรัม ไขมัน 0.60 กรัม คาร์โบไฮเดรต 59.80 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม โปรตีน 0.50 กรัม ธาตุแคลเซียม 39 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี 0.02 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.1 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 3 มิลลิกรัม

สารต่างๆในมะขามป้อม มีมากมายในทุกส่วนของมะขามป้อม ทั้ัง เนื้อผล เมล็ด ผลสด ผลแห้ง เปลือกผล เปลือกลำต้น ใบมะขามป้อม กิ่งมะขามป้อม และ รากมะขามป้อม โดนรายละเอียด ดังนี้

  • รากมะขามป้อม มี กรดเอลลาจิก และ สารลูพิออล
  • เปลือกลำต้น มี สารแทนนิน สารลูพิออล และ สารลูโค เดลฟินิดิน
  • ใบมะขามป้อม มี สารแทนนิน กรดมาลิก และ สารลูพิออล
  • กิ่งมะขามป้อม มี สารแทนนิน
  • เมล็ดมะขามป้อม มีน้ำมันหอมระเหย ฟอสฟาไทด์
  • เนื้อมะขามป้อม มี น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี3 สารแทนนิน กรดเพ็กทิน และ เกลือแร่ต่าง ๆ

สรรพคุณมะขามป้อม

การใช้ประโยชน์ของของมะขามป้อม ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบมะขามป้อม ผลมะขามป้อม เมล็ดมะขามป้อม และ เปลือกมะขามป้อม รายละเอียด ดังนี้

  • ใบมะขามป้อม สรรพคุณบำรุงผิว ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย เสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ แก้กระหายน้ำ ลดเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเหงือกและฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน รักษาแผลในปาก ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขยายหลอดลม รักษาหอบหืด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาโรคตาแดง
  • ผลมะขามป้อม สรรพคุณบำรุงผิว ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย เสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ แก้กระหายน้ำ ลดเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเหงือกและฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน รักษาแผลในปาก ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขยายหลอดลม รักษาหอบหืด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาโรคตาแดง
  • เมล็ดของมะขามป้อม มีน้ำมันหอมระเหย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • เปลือกลำต้น และ แก่นไม้ของต้นมะขามป้อม สรรพคุณแก้อาหารเป็นพิษ ช่วยขับปัสสาวะ และ รักษาดรคผิวหนัง

โทษของมะขามป้อม

สำหรับการรับประทานมะขามป้อม หรือ การใช้ประโยชน์จากมะขามป้อม ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาดรค มีข้อควรระวัง ดังต่อไปนี้

  • มะขามป้อมมีฤทธิ์เย็น เมื่อกินเข้าไปจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง การกินมะขามป้อมต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม
  • มะขามป้อม อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยที่มีแผนในการผ่าตัดควรงดกินมะขามป้อม อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • มะขามป้อมมีรสเปรี้ยว สำหรับคนที่ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร หรือ ผ่าตัดในช่องท้อง ควรงดการกินมะขามป้อม ควรกินอาหารเบาๆรสจืดๆ

มะขามป้อม หรือ มะขามอินเดีย ผลไม้ ที่มีวิตามินซีสูง ลักษณะของต้นมะขามป้อม เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม สรรพคุณของมะขามป้อม เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ขับปัสสาวะ เป็นต้น โทษของมะขามป้อม มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove