มะรุม ( Horse radish tree ) สมุนไพร สารพัดประโยชน์ ลักษณะของต้นมะรุม โทษของมะรุม สรรพคุณของมะรุม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง

มะรุม สมุนไพร สรรพคุณของมะรุม

ต้นมะรุม มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Moringa oleifera Lam. ภาษาอังกฤษ เรียก Horse radish tree หรือ Drumstick ชื่ออื่นๆ เช่น กาเน้งเดิง ผักเนื้อไก่ ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม เส่ช่อยะ ต้นมะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรโดยมีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก เมล็ด ราก เป็นต้น แต่ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นจะใช้เกือบทุกส่วนของต้นมะรุมรวมทั้งเปลือกด้วย

ลักษณะของต้นมะรุม

มะรุม เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 3-5 เมตร มีเปลือกสีขาว รากของมะรุมจะหนานุ่ม ใบสลับแบบขนนก รูปไข่ ใบจะมีสีเขียวอ่อน ดอกของมะรุม จะออกเป็นช่อแยกแขนง มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม

  • คุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย แคลเซียม 9 มิลลิกรัม เส้นใย 1.2 กรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม  วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินซี 262 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุม 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 2.10 กรัม น้ำ 88.20 กรัม วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะรุม

นิยมใช้ฝักมะรุมมาใช้ประโยชน์ พบว่ามะรุมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ เช่น

  1. ใช้รักษาโรคเบาหวาน นิยมให้ผู้ป่วยบริโภคมะรุม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป
  2. สามารถนำมาใช้รับประทาน เพื่อ ลดความดันโลหิต ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
  4. มะรุมมีสารต้านอนุมูลอิสระ หากรับประทานสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสมสามารถใช้ป้องกันมะเร็งได้
  5. มะรุมสามารถใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ หรือ โรคที่เกี่ยวข้องกับภายในช่องท้องได้ เช่น โรคพยาธิในลำไส้
  6. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
  7. มะรุมช่วยบำรุงสายตา เนื่องจาก ฝักของมะรุมมีวิตามินเอสูง

โทษของมะรุม

มะรุม ไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว เพราะ ในตัวของมะรุมเองนั้นก็มีพิษเหมือนกัน เนื่องจากมะรุมเป็นพืชในเขตร้อน สำหรับหญิงตั้งครรภ์หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจจะทำให้แท้งบุตรได้ และยังรวมไปถึงผู้ป้วยโรคเลือดก็ไม่ควรรับประทานมะรุมเช่นกัน เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะมะรุมมีโปรตีนที่ค่อนข้างสูงมาก แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ความว่ามันจะไม่ปลอดภัย เพราะคนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมานานมากแล้ว ซึ่งสำหรับผู้ที่คิดจะดูแลสุขภาพด้วยการหันไปซื้อมะรุมสกัดแคปซูลมารับประทานนั้น ก็ควรจะต้องระมัดระวังและควรเลือกซื้อมะรุมแคปซูลที่มี อย ด้วย

มะรุม ( Horse radish tree ) สมุนไพร สารพัดประโยชน์ ลักษณะของต้นมะรุม โทษของมะรุม สรรพคุณของมะรุม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง ยาถ่ายพยาธิ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย รักษาโรคปอด รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะรุม Moringa oleifera Lam

เสาวรส ( Passionfruit ) กระทกรกฝรั่ง สมุนไพร สรรพคุณช่วยสมานแผล บำรุงผิว บำรุงสายตา ลดไขมันในเลือด ช่วยถ่ายพยาธิ แก้ไอ ขับเสมหะ นิยมนำมารับประทานผลเสาวรสเสาวรส กระทกรกฝรั่ง สมุนไพร สรรพคุณของกระทกรก

ต้นเสาวรส ภาษาอังกฤษ เรียก Passionfruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของเสาวรส คือ Passiflora edulis สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของเสาวรส เช่น กระทกรก สุคนธรส เป็นต้น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาใต้ พบในประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา

ต้นเสาวรส หรือเรียกอีกชื่อว่า กะทกรกฝรั่ง เป็นผลไม้ เพื่อสุขภาพที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกาใต้ ลักษณะของผลกลม มีสีเขียว เมื่อสุกจะมีหลายสี เช่น สีม่วง สีเหลือง สีส้ม เป็นต้น สำหรับเสวรสในประเทศไทยนิยมปลูก 3 สายพันธุ์ โดยในผลเสาวรสนั้นจะมีเมล็ดจำนวนมาก มีกลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสออกเปรี้ยวจัด แต่บางสายพันธุ์จะมีรสออกอมหวานด้วย

เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส

เสาวรส เป็นไม้เลื้อย ผลของเสาวรสจะมีทรงกลม ผลอ่อนของเสารสจะมีสีเขียว เมื่อสุกมื่อสุกจะมีหลายสี เช่น สีม่วง สีเหลือง สีส้ม กลิ่นคล้ายผลฝรั่งสุก มีรสเปรี้ยว แหล่งปลูกเสาวรสเพื่อการพาณิชย์มีหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา นิวซีแลนด์ ประเทศแถบทะเลแคริบเบียน บราซิล โคลอมเบีย โบลิเวีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย เปรู เปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย แอฟริกาตะวันออก เม็กซิโก อิสราเอล คอสตาริกา แอฟริกาใต้ และ โปรตุเกส

เสาวรสในประเทศไทย

สำหรับเสาวรสในประเทศไทย เราพบว่ามีการปลูกเสาวรสอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ เสาวรสพันธุ์สีม่วง เสาวรสพันธ์สีเหลือง และ เสาวรสพันธ์ผสม สำหรับพันธ์สีม่วง เปลือกสีม่วง เนื้อในสีเหลืองอมหวาน แต่ไม่ค่อยทนโรคในเขตร้อน เสารสพันธุ์สีเหลือง หรือ เสาวรสสีทอง เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกในเขตร้อน ผลแก่สีเหลือง รสเปรี้ยวมาก  ส่วนเสาวรสพันธุ์ผสม ผลสุกเป็นสีม่วงอมแดง รสเปรี้ยวจัด และ กลิ่นแรง

ลักษณะของต้นเสาวรส

สำหรับต้นเสาวรส ไม้เลื้อย สามารถขยายพันธ์ โดยการปักชำและการเสียบยอด ลักษณะของต้นเสาวรส มีดังนี้

  • ลำต้นเสาวรส ลำต้นเป็นเถา ไม้เลื้อย มีหนามขนาดเล็ก เถาแตกมือเกาะบริเวณซอกใบ
  • ใบเสาวรส เป็นใบเดี่ยว ใบมีสีเขียว ปลายแฉกแหลม ใบหนา และ สากมือ
  • ดอกเสาวรส เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบและเถา ดอกสีเขียว ด้านในสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลเสาวรส เป็นผลเดี่ยว ทรงกลม อวบน้ำ สีเปลือกแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์
  • เมล็ดเสาวรส ลักษณะรี เมล็ดด้านในสีดำ เยื่อหุ้มเมล็ดมีรสเปรี้ยวจัด เมล็ดของเสาวรส เป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ทำน้ำผลไม้บริโภค

คุณค่าทางโภชนาการของเสาวรส

สำหรับการบริโภคเสาวรสเป็นอาหาร นิยมบริโภคผลเสาวรส นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลเสาวรสขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 97 กิโลแคลอรี และ มีสารอาหารสำคัญมากมาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.38 กรัม น้ำตาล 11.2 กรัม กากใยอาหาร 10.4 กรัม ไขมัน 0.7 กรัม โปรตีน 2.2 กรัม วิตามินเอ 64 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 734 ไมโครกรัม วิตามินบี 2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 30 มิลลิกรัม วิตามินเค 0.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 68 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 348 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

ในเสาวรสมี ไลโคพีนในชั้นเพอริคาร์บ ผลเสาวรสสุก มีบีตา-แคโรทีน โพแทสเซียมและใยอาหารสูง ส่วนน้ำเสาวรส ให้วิตามินซีสูง ผลเสารสสีม่วง นิยมบริโภคสด

สรรพคุณของเสาวรส

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเสาวรสเพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ ยอด ราก ใบ ผล ซึ่งรายละเอียดของ ประโยชน์ของเสาวรส มีดังนี้

  • ยอดของเสาวรส นำมารับประทานเป็นผัดสด สามารนำไปทำแกง หรือลวก ทากับน้ำจิ้ม เนื้อไม้ของเสาวรส เป็นยาบำรุงธาตุขัน ใช้รักษาแผลได้
  • รากของเสาวรส หากนำมาต้ม สามารถใช้ รักษาผดผื่นคัน และกามโรคได้
  • ใบของเสาวรส หากนำมาบดละเอียดคั้นน้ำ สามารถทำเป็นยาถ่ายพยาธิได้
  • ดอกของเสาวรส สามารถใช้แก้ไอ ขับเสมหะ
  • ผลของเสาวรส รับประทานเมล็ด นำมาคั้นเป็นน้้ำเสาวรส ดื่มเพื่อสุขภาพ น้ำเสาวรสมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา และบำรุงผิวพรรณ น้ำเสารสมีวิตามินซีสูง ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน  นอกจากนั้นยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ก่อนเวลาอันควร สามารถกำจัดสารพิษในเลือด บำรุงไต รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สามารถลดไขมันในเลือดได้

สำหรับประโยชน์ของเสาวรสและสรรพคุณของเสาวรสนั้นก็มีมากมายหลายข้อ เพราะเสาวรสอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมอยู่หลายชนิด ซึ่งได้แก่ วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุสังกะสี และคาร์โบไฮเดรต โดยยังมีของแถมนั่นก็คือใยอาหารในปริมาณสูงรวมอยู่ด้วย ซึ่งนิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้สด โดยเสาวรสที่ลักษณะดีนั้นต้องไม่เหี่ยว ผิวต้องเต่งตึง

โทษของเสาวรส

ห้ามรับประทานในส่วนของต้นสดเสารสเด็ดขาด เนื่องจาก ต้นเสาวรสมีสารพิษอันตราย อาจทำให้เสียชีวิตได้

เสาวรส ( Passion fruit ) กระทกรกฝรั่ง สมุนไพร สรรพคุณของเสาวรส ช่วยสมานแผล บำรุงผิว บำรุงสายตา ลดไขมันในเลือด ช่วยถ่ายพยาธิ แก้ไอ ขับเสมหะ นิยมนำมารับประทานเนื้อของผลเสาวรส น้ำมาทำอาหารต่างๆมากมาย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove