มะเร็งกล่องเสียง ( Laryngeal cancer ) เนื้องอกที่กล่องเสียง ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีก้อนที่คอเป็นก้อนโต มีหลายก้อนหรือก้อนเดียว เสียงแหบ เจ็บคอ น้ำหนักลดลงมาก มะเร็งกล่องเสียง โรคมะเร็ง เสียงแหบนานๆ โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งกล่องเสียง หมายถึง ภาวะผิดปรกติของเนื้อเยื่อบุผิวกล่องเสียง โดยเกิดเนื้องอกที่กล่องเสียง มะเร็งที่กล่องเสียงนั้น พบว่า มีอัตรการเกิด ร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ไม่ใช่มะเร็งที่พบบ่อย จัดว่าเป็น โรคหูคอจมูก ชนิกหนึ่ง มะเร็งกล่องเสียง นั้นจะพบมากในเพศชาย ที่มีประวัติการสูบบุหรี่ โดยกลุ่มคนที่เป็นมะเร็งกล่องเสียงมาก จะเป็น คนอายุ 50 ถึง 70 ปี การเกิดเนื้องอกที่กล่องเสียง นั้นสามารถเกิดได้ในทุกตำแหน่งของกล่องเสียง

หากพบว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียง ต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการลุกลามของมะเร็งสู่ยังอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดเลือดแดง หลอดอาหาร เป็นต้น แต่มะเร็งกล่องเสียง สามารถรักษาให้หยาขาดได้ หากเข้ารับการรักษาในระยะการเกิดโรคแรกๆ

ลักษณะของการแพร่กระจายของมะเร็งกล่องเสียง

การแพร่กระจายของมะเร็งกล่องเสียงนั้นมี 3 ลักษณะ คือ การแพร่กระจายโดยตรง การแพร่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลือง และ การแพร่กระจายสู่เส้นเลือด รายละเอียด ดังนี้

  1. การแพร่กระจายโดยตรง จะเกิดในระยะของมะเร็งกล่องเสียงในระยะสุดท้าย มะเร็งจะแทรกซึมเข้าสู่ชั้นเยื่อบุกล่องเสียงและเข้าสู่ ต่อมไทรอยด์ และ หลอดอาหาร ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ ที่อยู่ใกล้กับกล่องเสียง
  2. การแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองจะอยู่บริเวณหลอดเลือดแดงที่ลำคอ และจะแพร่กระจายไปตามหลอดเลือดดำในลำคอ รวมถึงเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่ลำคอ
  3. การแพร่กระจายเข้าสู่เส้นเลือด เมื่อเชื้อมะเร็งเข้าสู่เส้นเลือด จะทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น ปอด ตับ ไต กระดูก สมอง เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง นั้นทางการแพทย์ยังไม่ทราบสรุปถึงสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่สามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดมะเร็งกล่องเสียง มีดังนี้

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะกระตุ้นเยื่อบุกล่องเสียง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในกล่องเสียง กลายเป็นเนื้อร้ายได้
  • การสูบบุหรี่  ควันของบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง ทำให้เยื่อบุกล่องเสียง หยุดการเคลื่อนไหว หรือ ทำให้เคลื่อนไหวช้าลง และทำให้สารคัดหลั่ง หรือ สารระคายเคือง ตกค้างอยู่ในกล่องเสียง ส่งผลให้เยื่อบุกล่องเสียงหนาขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กลายเป็นเนื้อร้ายได้
  • การอักเสบของเยื่อบุกล่องเสียงชนิดเรื้อรัง การอักเสบแบบเรื้อรังทำให้เกิดการสร้างเซลล์ของร่างกายที่ผิดปรกติได้
  • สภาพแว้ล้อมที่มีมลพิษทางอากาศสูง การสูดดมอากาศที่มีพิษ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการสร้างเซลล์มะเร็ง
  • การติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสบางชนิดทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ที่ผิดปรกติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้
  • เคยมีประวัติการฉายรังสีก้อนเนื้อบริเวณลำคอ
  • ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศ  จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง จะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนรีเซบเตอร์ ( Estrogen receptor , ER ) สูงกว่าปรกติ

อาการของผู้ป่วนโรคมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กล่องเสียง นั้น จะมีอาการเด่นชัดที่ระบบร่างกายที่เกี่ยวข้องกับลำคอ เช่น การออกเสียง การกลืนอาหาร และ การหายใจ โดยรายละเอียดของอาการโรคมะเร็งกล่องเสียงมีดังนี้

  • มีอาการเสียงแหบแห้งเป็นเวลานาน เรื้อรังรักษาไม่หาย
  • ความสามารถในการกลืนอาหารลดลง มีลักษณะของการติดขัด และ เจ็บ รวมถึงสำลักอาหารด้วย
  • เกิดเสมหะ และ มีเลือดปน
  • หายใจลำบาก มีการหายใจติดขัด
  • มีอาการไม่ยากกินอาหาร เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักตัวลดลง เนื่องจากไม่กินอาหาร
  • มีก้อนที่คอ เป็นก้อนโต อาจจะมีหลายก้อนหรือมีก้อนเดียว
  • เจ็บคอบ่อย และ รักษาไม่หายสักที
  • มีอาการไอแบบเรื่องรัง
  • ปวดที่หูบ่อย

หากท่านมีอาการตามลักษณะดังที่กล่าวมาในข้างต้น แสดงว่าท่านมีโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งที่กล่องเสียง ควรเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยด่วน

การรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งที่กล่องเสียงนั้น จากที่กล่าวมาข้างต้น หากรักษาแต่เนิ่นๆ สามารถรักษาให้หายขาด และ กลับเข้าสู่การใช้ชีวิตอย่างปรกติได้ โดยการรักษานั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาด้วย การฉายรังสี การผ่าตัด และใบบางรายต้องเข้ารับการทำเคมีบำบัดด้วย โดยแนวทางการรักษาของแพยทย์ มีแนวทางดังนนี้

  • สำหรับผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก แพทย์จะรักษาด้วยการฉายรังสีเป็นหลัก หรือ จะผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อทำการรักษากล่องเสียงเอาไว้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาพูดได้อย่างปกติ
  • สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะมะเร็งลุกลาม นั้นต้องเข้ารับการผ่าตัดกล่องเสียง และฉายรังสี รวมถึงเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งผู้ป่วยจะไม่สามารถพูดไม่ได้อย่างเป็นปกติ ผู้ป่วยต้องฝึกพูดใหม่ ด้วยการออกเสียงผ่านหลอดอาหาร และ ใช้อุปกรณ์ช่วยพูดเสริม

การรักษามะเร็งที่กล่องเสียง สิ่งที่ต้องระวัง คือ ภาวะแทรกซ้อน หากปล่อยทิ้งไว้ มะเร็งจะลุกลามไปยังอวัยวะรอบข้าง ทำให้ ความสามารถในการ กลืนอาหาร และ การหายใจ ลำบาก และ การแพร่เข้าสู่อวัยวะต่างๆทั่วร่างกายผ่านทางเส้นเลือด จะทำให้ไม่สามารถรักษาได้

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งที่กล่องเสียง

สำหรับการป้องกันการเกิดมะเร็งกล่องเสียงนั้น ต้องป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งหมด รายละเอียดดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ หรือ เลิกสูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลลกอฮอร์ หรือ เลิกดื่มเหล้า
  • ไม่นำตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่มีมลละพิษทางอากาศสูง
  • ไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเป็นโรคกรดไหลย้อน
  • รับประทานอาหารให้มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

มะเร็งกล่องเสียง ( Laryngeal cancer ) เนื้องอกที่กล่องเสียง ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีก้อนที่คอ เป็นก้อนโต อาจจะมีหลายก้อนหรือมีก้อนเดียว การรักษาโรคและการป้องกันต้องทำอย่างไร

ฝีในสมอง ฝีสมอง ( Brain abscess ) ติดเชื้อโรคที่สมองจนเกิดฝี ทำให้สมองอักเสบ โรคอันตรายเสียชีวิตได้ อาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง ชัก หมดสติ ส่งแพทย์ด่วน
โรคฝีในสมอง โรคสมอง โรคติดเชื้อ ฝีที่สมอง

โรคฝีในสมอง เกิดจากการการติดเชื้อที่สมอง ภาษาอังกฤษ เรียก Brain abscess เชื้อโรค คือ เชื้อแบคทีเรีย strephyloccus ทำให้พิการ หรือ เสียชีวิตได้ หากมีอาการ ปวดศรีษะอย่างรุนแรง มีไข้ แขนขาอ่อนแรง ชัก อย่าเบาใจให้รีบพบแพทย์ด่วน

ฝีในสมอง โรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ ที่สมอง โรคนี้ ผู้ป่วยประมาณไม่เกินร้อยละ 20 จะมีฝีที่สมองมากกว่าหนึ่งจุด และร้อยละ 92 ของผู้ป่วยฝีในสมองพบฝีที่สมองเล็กด้านหน้า โรคอันตรายจากเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นอัมพาตครึ่งซีก โรคฝีในสมอง ดาราเคยเป็นข่าวใหญ่คร่าชีวิต บิก ดีทูบี มาแล้ว เรามาทำความรู้จักกับโรคฝีในสมองกันว่า สาเหตุของโรค ปัจจัยเสี่ยง อาการและการรักษาโรคทำอย่างไร

โรคฝีสมอง เป็น ภาวะติดเชื้อ ซึ่งสามารถเกิดจากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียก็ได้ โดยเป็นการสร้างเชื้อโรคจนเกิดอาการอักเสบที่สมอง ส่งผลต่ออาการผิดปกติของระบบประสาท ลักษณะการก่อตัวของเชื้อเป็นแบบฝี หนอง ในเนื้อสมอง อันตรายส่งผลร้ายแรงถึงเสียชีวิต โรคฝีในสมอง นั้นไม่ใช่โรคปรกติที่เกิดกับคนทั่วไป แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในการเกิดอุบัตติเหตุ โรคหูน้ำหนวก และโรคหัวใจพิการ มีอัตราเสี่ยงสูงในการเกิดโรคนี้ เรามาดูสาเหตุของการเกิดโรคฝีในสมองว่ามีสาเหตุจากอะไรบ้าง

สาเหตุของการเกิดฝีในสมอง

สำหรับสาเหตุของการเกิดฝีในสมองนั้น มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมอง ซึ่งเราสามารถแยกสามเหตุหลักๆ ได้ 3 ประการ คือ การติดเชื้อที่อวัยวะที่ใกล้และเกี่ยวข้องกับสมอง การติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อที่สมองโดยตรง รายละเอียดของสาเหตุข้อต่างๆ มีดังนี้

  • การติดเชื้อของอวัยวะใกล้เคียงกับสมอง เป็นลักษณะการแพร่กระจายเชื้อโรคเข้าสู่สมอง อวัยวะที่ต้องป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ เนื่องจากอาจทำให้สมองติดเชื้อได้ คือ หู ฟัน ใบหน้า หัว เป็นต้น
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งการเกิดภาวะพิษที่เลือดสามารถกระจายสู่สมองได้ง่ายมาก การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นโรคอันตรายส่งผลต่อระบบการทำงานทั้งหมดในร่างกาย
  • การติดเชื้อที่สมองโดยตรง เป็นลักษณะของการเกิดอุบัตติเหตุ เกิดการกระแทกอย่างรุนแรง ทำให้เขื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางแผลที่หัว หรือเลือดที่เกิดในอุบัตติเหตุ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดสมอง

กลไกของฝีเกิดขึ้นได้อย่างไร

กระบวนการทางพยาธิวิทยานั้นสามารถกลับมาปรกติได้ใน 3 วัน ตั้งแต่เริ่มเกิดการอักเสบที่สมอง หากการไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้น จะทำให้สมองอักเสบมากขึ้น ซึ่งจะเกิดหนอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองนั้น มีหลายส่วนทั้งที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่เราก็รวมปัจจัยของการเกิดโรคฝีในสมองว่ามีอะไรบ้าง เพื่อจะสามารถป้องกันการเกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคได้

  • ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ ซึ่งปัจจัยนี้เกิดจากร่างกายที่อ่อนแอ สามารถควบคุมได้ด้วยการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย
  • ภาวะการติดเชื้อในอวัยวะส่วนที่เชื่อมโยงกับสมองและใกล้สมอง เช่น หู ไซนัส ฟัน เหงือก แผลที่ศรีษะ เป็นต้น
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคหัวใจ
  • การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือภาวะโลหิตเป็นพิษ
  • อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมองอย่างรุนแรง

อาการของผู้ป่วยโรคฝีในสมอง

สำหรับอาการของโรคฝีในสมองจะส่งผลกระทบกับระบบประสาทเป็นหลัก ซึ่งอาการที่พบเห็นในกรณีที่ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้น โคม่า จะพบอาการ คือ เวียนหัว เสียการทรงตัว ปวดหัวอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง สายตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน มีอาการชัก มีหนองไหลจากหู เป็นต้น

หากพบว่ามีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีไข้สูง แขนขาอ่อนแรง ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลด่วนที่สุด

การวินิจฉัยโรคฝีในสมอง

การวินิจฉัยเพื่อวิเคราะห์หาโรค ซึ่งโรคฝีสมองนั้น สามารถพิจารณาจากอาการผิดปรกติ ประวัติทางการแพทย์ ที่การตรวจเอกเซเลย์สมอง ทำการแสกนเอ็มอาร์ไอ

การรักษาโรคฝีในสมอง

การรักษาโรคฝีในสมองนั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาโรคฝีในสมอง ที่โรงพยาบาลตลอดเวลาและรักษาในห้องปลอดเชื้อโรค สำหรับการรักษานั้น รักษาด้วยการให้ยาต้านจุลชีพ โดยจะให้ยาต้าลจุลชีพ ประมาณ 45 วัน หรือให้จนกว่าฝีที่สมองจะหาย

ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคฝีในสมองไม่ตอบสนองต่อยาต้านจุลชีพ แพทย์จะทำการผ่าตัดสมอง เพื่อนำก้อนเนื้อฝีออกให้หมด แต่การรักษาต้องรักษาโรคพร้อมกับควบคุมการเกิดโรคแทรกซ้อน อย่าง โรคหูน้ำหนวก โรคหัวใจ เพื่อป้องกันไม่เกิดฝีที่สมองซ้ำอีก การรักษาโรคฝีในสมองนั้น หากรักษาช้าหรือไม่ถูกวิธี ส่วยมากผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย แต่หากรักษาได้ จะพบว่ามีผลข้างเคียงต่อระบบประสาทเช่น แขนขาอ่อนแรง หรือ อาการชัก เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมอง

การดูแลผู้ป่วยโรคฝีในสมองนั้น จำเป็นต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างเคร็งคลัด

  • จัดสถานที่ให้สะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีร่างกายที่ผิดปรกติ เช่น แขน ขาอ่อนแรง ต้องจัดสถานที่ให้สะดวกเพื่อป้องกันอุบัตติเหตุ
  • ให้ทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ
  • ต้องพกยากันอาการชักติดตัวเสมอ อย่าให้ขาดยา
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดี เพื่อลดโอกาสการเกิดฝีสมอง อีกครั้ง
  • พาผู้ป่วยพบแทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  • หากพบอาการผิดปรกติมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง แขนขากลับมาอ่อนแรงอีก มีอาการชักบ่อยขึ้น ให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษา

การป้องกันโรคฝีในสมอง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคฝีในสมอง นั้นเราต้องป้องกันปัจจัยทั้งหมดที่สามารถควบคุมได้ โดยการป้องกันโรคฝีในสมองมีดังนี้

  • ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะที่ศีรษะ
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายสามารถมีภูมิต้านทานโรค
  • รับประทาออาหารที่มีประโยชน์และรักษาสุขอนามัยพื้นฐานในสถานที่ที่อยู่อาศัยให้ดี

โรคฝีในสมอง การติดเชื้อที่สมอง เป็นโรคที่คร่าชีวิตดาราชื่อดังอย่าง บิกดีทูบี โรคที่เกิดกับสมองนั้นรุนแรงเสมอไม่ว่าจะโรคอะไร การรักษานั้นก็สามารถทำได้แต่ผู้ป่วยมักไม่เหมือนเดิม หรือ ใช้เวลานานในการเข้าสู่ภาวะปรกติ โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ยังมีอีกหลายโรคที่อยากแนะนำให้รู้จัก โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มีดังนี้

โรคสมอง โรคระบบประสาท โรคพาร์กินสัน พาร์กินสันโรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไม่ติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้ โรคของกลุ่มอาการที่มีการสั่นของมือและการเคลื่อนไหวตัวได้น้อย ความจำเสือม อัลไซล์เมอร์ โรคสมอง โรคความจำโรคอัลไซเมอร์ ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยโรค จะมีอาการ เช่น ความจำเสื่อม หลงลืม
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคสมอง ระบบประสาท หลอดเลือดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเอมจี โรคภูมิต้านทานตัวเอง ชนิดเรื้อรัง ทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลือนไหวของแขน ขา ดวงตา ใบหน้า โคม่า เจ้าชายนิทรา โรคสมอง โรคต่างๆอาการโคม่า โรคเกี่ยวกับระบบสมอง และ ระบบประสาทมาพอสมควรแล้ว อาการหนึ่งที่ควรทความรู้จักกัน คือ อาการโคม่า อาการโคม่าเป็นอย่างไร
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบประสาท โรคกระดูกหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นิ้วเท้าชา อาการของ โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมอง โรคติดเชื้อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อ ภาวะการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง เกิดจากการติดเชื้อ อาการ มีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง ชัก หมดสติ

โรคฝีในสมอง ฝีในสมอง ฝีสมอง ( Brain abscess ) ภาวะติดเชื้อที่สมอง เชื้อรา หรือ เชื้อแบคทีเรีย ทำให้สมองอักเสบ ลักษณะของเชื้อเป็นแบบ ฝี หนอง ในเนื้อสมอง ร้ายแรงทำให้เสียชีวิตได้ การติดเชื้อที่สมอง ปวดศรีษะอย่างรุนแรง มีไข้ แขนขาอ่อนแรง ชัก รีบพบแพทย์ด่วน โรคระบบสมอง สาเหตุ อาการ การรักษา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove