มะเร็งกล่องเสียง ( Laryngeal cancer ) เนื้องอกที่กล่องเสียง ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีก้อนที่คอเป็นก้อนโต มีหลายก้อนหรือก้อนเดียว เสียงแหบ เจ็บคอ น้ำหนักลดลงมาก มะเร็งกล่องเสียง โรคมะเร็ง เสียงแหบนานๆ โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งกล่องเสียง หมายถึง ภาวะผิดปรกติของเนื้อเยื่อบุผิวกล่องเสียง โดยเกิดเนื้องอกที่กล่องเสียง มะเร็งที่กล่องเสียงนั้น พบว่า มีอัตรการเกิด ร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ไม่ใช่มะเร็งที่พบบ่อย จัดว่าเป็น โรคหูคอจมูก ชนิกหนึ่ง มะเร็งกล่องเสียง นั้นจะพบมากในเพศชาย ที่มีประวัติการสูบบุหรี่ โดยกลุ่มคนที่เป็นมะเร็งกล่องเสียงมาก จะเป็น คนอายุ 50 ถึง 70 ปี การเกิดเนื้องอกที่กล่องเสียง นั้นสามารถเกิดได้ในทุกตำแหน่งของกล่องเสียง

หากพบว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียง ต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการลุกลามของมะเร็งสู่ยังอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดเลือดแดง หลอดอาหาร เป็นต้น แต่มะเร็งกล่องเสียง สามารถรักษาให้หยาขาดได้ หากเข้ารับการรักษาในระยะการเกิดโรคแรกๆ

ลักษณะของการแพร่กระจายของมะเร็งกล่องเสียง

การแพร่กระจายของมะเร็งกล่องเสียงนั้นมี 3 ลักษณะ คือ การแพร่กระจายโดยตรง การแพร่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลือง และ การแพร่กระจายสู่เส้นเลือด รายละเอียด ดังนี้

  1. การแพร่กระจายโดยตรง จะเกิดในระยะของมะเร็งกล่องเสียงในระยะสุดท้าย มะเร็งจะแทรกซึมเข้าสู่ชั้นเยื่อบุกล่องเสียงและเข้าสู่ ต่อมไทรอยด์ และ หลอดอาหาร ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ ที่อยู่ใกล้กับกล่องเสียง
  2. การแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองจะอยู่บริเวณหลอดเลือดแดงที่ลำคอ และจะแพร่กระจายไปตามหลอดเลือดดำในลำคอ รวมถึงเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่ลำคอ
  3. การแพร่กระจายเข้าสู่เส้นเลือด เมื่อเชื้อมะเร็งเข้าสู่เส้นเลือด จะทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น ปอด ตับ ไต กระดูก สมอง เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง นั้นทางการแพทย์ยังไม่ทราบสรุปถึงสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่สามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดมะเร็งกล่องเสียง มีดังนี้

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะกระตุ้นเยื่อบุกล่องเสียง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในกล่องเสียง กลายเป็นเนื้อร้ายได้
  • การสูบบุหรี่  ควันของบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง ทำให้เยื่อบุกล่องเสียง หยุดการเคลื่อนไหว หรือ ทำให้เคลื่อนไหวช้าลง และทำให้สารคัดหลั่ง หรือ สารระคายเคือง ตกค้างอยู่ในกล่องเสียง ส่งผลให้เยื่อบุกล่องเสียงหนาขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กลายเป็นเนื้อร้ายได้
  • การอักเสบของเยื่อบุกล่องเสียงชนิดเรื้อรัง การอักเสบแบบเรื้อรังทำให้เกิดการสร้างเซลล์ของร่างกายที่ผิดปรกติได้
  • สภาพแว้ล้อมที่มีมลพิษทางอากาศสูง การสูดดมอากาศที่มีพิษ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการสร้างเซลล์มะเร็ง
  • การติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสบางชนิดทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ที่ผิดปรกติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้
  • เคยมีประวัติการฉายรังสีก้อนเนื้อบริเวณลำคอ
  • ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศ  จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง จะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนรีเซบเตอร์ ( Estrogen receptor , ER ) สูงกว่าปรกติ

อาการของผู้ป่วนโรคมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กล่องเสียง นั้น จะมีอาการเด่นชัดที่ระบบร่างกายที่เกี่ยวข้องกับลำคอ เช่น การออกเสียง การกลืนอาหาร และ การหายใจ โดยรายละเอียดของอาการโรคมะเร็งกล่องเสียงมีดังนี้

  • มีอาการเสียงแหบแห้งเป็นเวลานาน เรื้อรังรักษาไม่หาย
  • ความสามารถในการกลืนอาหารลดลง มีลักษณะของการติดขัด และ เจ็บ รวมถึงสำลักอาหารด้วย
  • เกิดเสมหะ และ มีเลือดปน
  • หายใจลำบาก มีการหายใจติดขัด
  • มีอาการไม่ยากกินอาหาร เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักตัวลดลง เนื่องจากไม่กินอาหาร
  • มีก้อนที่คอ เป็นก้อนโต อาจจะมีหลายก้อนหรือมีก้อนเดียว
  • เจ็บคอบ่อย และ รักษาไม่หายสักที
  • มีอาการไอแบบเรื่องรัง
  • ปวดที่หูบ่อย

หากท่านมีอาการตามลักษณะดังที่กล่าวมาในข้างต้น แสดงว่าท่านมีโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งที่กล่องเสียง ควรเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยด่วน

การรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งที่กล่องเสียงนั้น จากที่กล่าวมาข้างต้น หากรักษาแต่เนิ่นๆ สามารถรักษาให้หายขาด และ กลับเข้าสู่การใช้ชีวิตอย่างปรกติได้ โดยการรักษานั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาด้วย การฉายรังสี การผ่าตัด และใบบางรายต้องเข้ารับการทำเคมีบำบัดด้วย โดยแนวทางการรักษาของแพยทย์ มีแนวทางดังนนี้

  • สำหรับผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก แพทย์จะรักษาด้วยการฉายรังสีเป็นหลัก หรือ จะผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อทำการรักษากล่องเสียงเอาไว้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาพูดได้อย่างปกติ
  • สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะมะเร็งลุกลาม นั้นต้องเข้ารับการผ่าตัดกล่องเสียง และฉายรังสี รวมถึงเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งผู้ป่วยจะไม่สามารถพูดไม่ได้อย่างเป็นปกติ ผู้ป่วยต้องฝึกพูดใหม่ ด้วยการออกเสียงผ่านหลอดอาหาร และ ใช้อุปกรณ์ช่วยพูดเสริม

การรักษามะเร็งที่กล่องเสียง สิ่งที่ต้องระวัง คือ ภาวะแทรกซ้อน หากปล่อยทิ้งไว้ มะเร็งจะลุกลามไปยังอวัยวะรอบข้าง ทำให้ ความสามารถในการ กลืนอาหาร และ การหายใจ ลำบาก และ การแพร่เข้าสู่อวัยวะต่างๆทั่วร่างกายผ่านทางเส้นเลือด จะทำให้ไม่สามารถรักษาได้

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งที่กล่องเสียง

สำหรับการป้องกันการเกิดมะเร็งกล่องเสียงนั้น ต้องป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งหมด รายละเอียดดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ หรือ เลิกสูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลลกอฮอร์ หรือ เลิกดื่มเหล้า
  • ไม่นำตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่มีมลละพิษทางอากาศสูง
  • ไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเป็นโรคกรดไหลย้อน
  • รับประทานอาหารให้มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

มะเร็งกล่องเสียง ( Laryngeal cancer ) เนื้องอกที่กล่องเสียง ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีก้อนที่คอ เป็นก้อนโต อาจจะมีหลายก้อนหรือมีก้อนเดียว การรักษาโรคและการป้องกันต้องทำอย่างไร

มะเร็งช่องปาก ( Oral cancer ) เนื้อร้ายที่ช่องปาก เกิดจากการสูบบุหรี่ อาการมีก้อนในช่องปาก ลิ้นและเยื้อบุช่องปากมีฝ้าสีขาว แผลในปากหายยาก ไม่สามารถกินอาหารได้

มะเร็งช่องปาก โรคมะเร็ง โรคในช่องปาก เป็นมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก เป็นการเกิดเนื้อร้ายที่ช่องปาก เป็นโรคที่ทรมาน ทำให้ไม่สามารถกินอาหารได้ อาการของโรคมะเร็งช่องปากเป็นอย่างไร อะไรคือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค การรักษาและการดูแลผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก ทำอย่างไร รวมอยู่ในบทความนี้

ช่องปาก คือ อวัยวะเริ่มต้นของระบบทางเดินอาหาร ที่มีอวัยวะหลายส่วน ได้แก่ ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก ลิ้น รวมถึงเนื้อเยื่อใต้ลิ้น ด้วยซึ่งอวัยวทั้งหมดในช่องปากสามารถเกิดเนื้อร้ายได้ โรคมะเร็งช่องปาก ทางการแพทย์ เรียก Oral cancer สำหรับมะเร็งช่องปาก พบว่า ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นโรคมะเร็งช่องปาก พบมากในกลุ่มคนวัยกลางคน อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และโอกาสในการเกิดโรค ผู้ชายมีโอกาสเกิดมากกว่าผู้หญิง

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งในช่องปาก

เราได้รวบรวมสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก มาซึ่งส่วนใหญ่กิดจากการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องการใช้สารเสพติดและการพักผ่อนน้อย โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ประกอบด้วย

  • การสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • การกินอาหารที่มีส่วนผสมของสารก่อมะเร็งเป็นประจำ เช่น การเคี้ยวหมากพลู เป็นต้น
  • การอักเสบในช่องปากเป็นประจำ การอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดการระคายเคือง หากเกิดนานๆ เซลล์และเนื้อเยื่อในช่องปากสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อร้ายได้
  • การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma virus) เป็นการติดเชื้อไวรัสจากการมีเพศสัมพัน์ทางปาก
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งในอวัยวะใกล้เคียงกับช่องปาก เช่น มะเร็งลำคอ และมะเร็งศีรษะ

ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของมะเร็งในช่องปากมากที่สุด คือ การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ จากสถิติของผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก พบว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก สูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นประจำ

อาการผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปาก

อาการของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากนั้น จะมีอาการให้เห็นชัดเจนในอวัยวะที่อยู่ในช่องปาก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • บริเวณลิ้นและเยื้อบุช่องปาก จะมีฝ้าสีขาวหรือสีแดง
  • เกิดแผลที่ช่องปาก และแผลในช่องปากนั้นหายยาก ใช้เวลามากกว่า 14 วันถึงหาย
  • ที่ช่องปาก เช่น เหงือก พื้นปาก เพดานปาก มีก้อนเนื้อเกิดขึ้น และขนาดของก้อนเนื้อจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ก้อนเนื้อนี้ไม่มีอาการเจ็บปวด
  • สุขภาพฟันไม่แข็งแรง เช่น ฟันโยก ฟันหลุด
  • การเคี้ยวอาหารและการกลืนอาหาร เกิดความยากลำบาก
  • เกิดโลหิตไหลผิดปรกติที่ช่องปาก
    มีก้อนที่ลำคอ ซึ่งคือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ โต คลำได้จากมีโรคมะเร็งลุกลาม แต่มักไม่มีอาการเจ็บปวด
    อนึ่ง หากโรคมะเร็งช่องปาก แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ก็อาจมีอาการตามอวัยวะนั้น ๆที่โรคแพร่กระจายไปได้ เช่น มะเร็งกระจายไปกระดูก อาจมีอาการปวดตามกระดูกในส่วนต่าง ๆที่โรคแพร่กระจายไป

อาการหลักๆของมะเร็งช่องปากนั้น สังเกตุจากผ้าและก้อนเนื้อที่อวัยวะในช่องปาก หากเกิดความผิดปรกติ อย่าปล่อยให้นาน ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที่

ระยะของการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก นั้นสามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่1 ถึงระยะที่ 4 โดยรายละเอียดของระยะการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก มีดังนี้

  • ระยะที่ 1  เริ่มเกิดก้อนเนื้อ ที่มีขนาดยังไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร ในระยะนี้จะสัมผัสได้ว่ามีก้อนเนื้อแต่ยังไม่เกิดการรบกวนการดำรงชีวิตนัก
  • ระยะที่ 2 ขนาดของก้อนเนื้อร้ายใหญ่ขึ้น แต่ขนาดยังไม่เกิน 4 เซ็นติเมตร ขนาดของเนื้อร้ายเริ่มใหญ่ในระยะนี้เกิดความระคายเคืองในช่องปาก และรวบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ระยะที่ 3 ขาดของก้อนเนื้อร้ายใหญ่ขึ้น และลามไปที่คอและต่อมน้ำเหลือง ในระยะนี้การเกิดมะเร็งยังอยู่ที่ลำคอไม่ลามไปส่วนอื่นๆของร่างกาย
  • ระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งลุกลามเข้าเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆในร่างกาย เชื้อโรคแพร่กระจายเข้าสู่กระแสโลหิต เป็นระยะสุดท้าย

การแพร่กระจายของมะเร็งช่องปาก นั้นสามารแพร่กระจายได้ 3 ทาง คือ

  • การแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง
  • การแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ
  • การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด

การวินิจฉัยโรคมะเร็งช่องปาก

ในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งช่องปาก นั้นสามารถตรวจโรคได้จากาการตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่ง วิธีตรวจโรคมะเร็งช่องปาก สามารถทำได้ ดังนี้

  • ตรวจชิ้นเนื้อ เป็นการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็ง
  • การตรวจเลือด การเจาะเลือด เพื่อตรวจและประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป เช่น ดูค่าเบาหวาน ดูการทำงานของไขกระดูก ดูการทำงานของไต ดูการทำงานของตับ ดูระดับเกลือแร่ในร่างกาย
  • เอกซเรย์ปอด เพื่อตรวจดูการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งที่จะเข้าสู่ปอด และช่องอก
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อดูสภาพร่างกาย
  • ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจดูการลุกลามของเชื้อมะเร็งในอวัยวะต่างๆ
  • ตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง เพื่อสุขภาพภายในช่องท้องและตับ
  • ตรวจสแกนกระดูก เพื่อดูสุขภาพกระดูก
  • ตรวจสุขภาฟัน

ในการตรวจโรคมะเร็งนั้น จำเป็นต้องตรวจอย่างลเอียด เพื่อประเมินการเกิดโรคและระยะของโรค และเพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งช่องปาก ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งช่องปาก แต่สามารถสังเกตุอาการของโรคได้จากอาการของโรคมะเร็งช่องปาก เช่น มีแผลในช่องปากที่รักษาไม่หาย มีฝ้าในช่องปาก มีก้อนเนื้อในช่องปาก เป็นต้น

การรักษามะเร็งช่องปาก

สำหรับการรักษามะเร็งในช่องปากนั้น หลังจากการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคแล้ว การรักษานั้นก็เหมือนการรักษาโรคมะเร็งทั่วไป คือ รักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัด ซึ่งต้องทำทั้ง 3 อย่างควบคู่กัน

  • การรักษามะเร็งช่องปาก ด้วยการผ่าตัด จะใช้การผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่เกินระยะที่ 3 โดยจะตัดเอาก้อนเนื้อร้ายออก อาจต้องตัดต่อมน้ำเหลืองลำคอออกด้วย หากปรเมินว่าอาจลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • การรักษามะเร็งช่องปาก ด้วยการฉายรังสี วิธีนี้จะใช้ 2 วิธี คือ การฉายรังสีและการฝังแร่ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งแต่การฉายรังสีนั้น ต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของเนื้อร้าย
  • การรักษามะเร็งช่องปาก โดยใช้เคมีบำบัด เป็นการให้เคมีเพื่อทำลายเนื้อร้าย ทำลายเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย

การรักษามะเร็งในวิธีต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งการเลือกการรักษาจะต้องอยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งช่องปาก

การรักษามะเร็งช่องปากนั้น ต้องใช้ทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงหลายอย่างที่ตามมาหลังจากการรักษาโรค เราสามารถสรุปผลข้างเคียงของการรรักษาโรคมะเร็งได้ ดังนี้

  • ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด คือ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บ ปวดที่แผล การติดเชื้อเกิดได้ง่าย เนื่องจากช่องปากเป็นอวัยวะที่ถูกสัมผัสได้ง่าย
  • ผลข้างเคียงของการแายรังสี คือ ต้องดูแลผิวหนังให้ดี เนื่องจากการฉายรังสีจะส่งผลกระทบต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อที่ถูกฉายรังสี
  • ผลข้างเคียงของการทำเคมีบำบัด คือ ร่างกายของผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ภาวะเกล็ดเลือดต้ำ และการทำงานของไขกระดูกต่ำ

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

เราสังเกตุได้ว่าการเกิดมะเร็งช่องปาก ส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่ตรวจสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และการใช้ชีวิตไม่ถูกต้อง เป็นอันตรายต่อสุขภาพในช่องปาก การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและการหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและสมบูรณ์คือ การป้องกันการเกิดมะเร็งช่องปากที่ดีที่สุด เราสามารถสรุปการป้องกันมะเร็งในช่องปากได้ดังนี้

  • หากใช้ฟันปลอม ให้ล้างแลทำความสะอาดฟันปลอมอย่าให้มีสิ่งแปลกปลอม
  • ให้ทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟัน อย่างถูกวิธีอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง
  • ให้อมน้ำบาม้วนปากหลังจากรับประทานอาหาร เพื่อล้างคราบสกปรก และเชื้อโรคที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง
  • หมั่นตรวจสุขภาพในช่องปากเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง
  • ไม่สูบบุหรี
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์

มะเร็งช่องปาก จักว่าเป็นโรคอันตราย ซึ่งความรุนแรงของโรคนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ระยะของโรค อายุและความแข็งแรงของผู้ป่วย รวมถึง โรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเหล่านี้หากเป็นร่วมกับมะเร็งในช่องปาก จะมีความอันตรายมากขึ้น ดังนั้น การดูแลสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญ

มะเร็งช่องปาก ( Oral cancer ) การเกิดเนื้อร้ายที่ช่องปาก โรคมะเร็ง โรคในช่องปาก เป็นโรคที่ทรมาน การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรค มีก้อนในช่องปาก ลิ้นและเยื้อบุช่องปากมีฝ้าสีขาว แผลในปากหายยาก ไม่สามารถกินอาหารได้ ปัจจัยเสี่ยง สาเหตุ อาการ การรักษาโรค ทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove