ถุงลมโปร่งพอง โรคเรื้อรังที่ระบบทางเดินหายใจ ภาวะถุงลมขยายตัวผิดปกติ อาการไอแห้งๆ มีเสมหะเล็กน้อย โรคยอดฮิตของคนสูบบุหรี่ การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองต้องทำอย่างไรโรคถุงลมโป่งพอง โรคปอด โรคไม่ติดต่อ โรคทางเดินหายใจ

โรคถุงลมโป่งพอง ทางการแพทย์ เรียก Emphysema เป็นส่วนหนึ่งของโรคปอดอุดกั้น ชนิดเรื้อรัง โดยการอุดกั้นของปอดแบบเรื้อรัง นั้นมี 2 ส่วน คือ โรคหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการทั้ง 2 ร่วมกัน ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรค เกิดจากการสูบบุหรี่ สามารถรักษาหรือประคับประครองไม่ให้อาการของโรคหนักขึ้น ด้วยการเลิกสูบบุหรี่ โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยและ ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลก ในอันดับแรกๆ มีอัตราการเกิดโรค ที่ 18 คนต่อ 1000 คน และพบว่าผุ้ชายมีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเพศหญิง

สาเหตุและปัจจัยของกานเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

สำหรับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง สามารถแยกสาเหตุได้ เป็น 3 สาเหตุ ประกอบด้วย

  • การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 20 ป่วยเป็นโรคถุงลมโปร่งพอง ยิ่งสูบบุหรี่นานเท่าไร โอกาสของการป่วยดรคนี้ก้ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากควันของบุหรี่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพปอด ทำให้เกิดสารตกค้างในปอด ทำให้ปอดทำงานหนักมากขึ้น
  • การอาศัยอยู่ในสถานที่ที่มีมลภาวะของอากาศ ในเมืองใหญ่มีมลพิษทางอากาศสูง พบว่ามีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเมืองที่ไม่มีมลพิาทางอากาศ เนื่องจากมีการหายใจเอามลพิษเข้าสู่ร่างกาย หากเกิดสารตกค้างมากขึ้น ก็ส่งผลให้เกิดการอุดกั้นของปอดได้
  • ปัจจัยการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบในคนที่ขาดเอนไซม์ (Enzyme) ชื่อ Alpha-one antitrypsin เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ป้องกันการถูกทำลายของเนื้อเยื่อ ซึ่งเกิดจากการถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน ความผิดปกติที่เกิดจากการขาดเอนไซม์เพียงเล็กน้อยนั้นไม่ทำให้เกิดโรคได้ แต่หากผู้ป่วยเกิดโรคถุงลมโปร่งพอง โดยไม่ได้รับปัจจัยการเกิดโรคจากการสูบบุหรี่หรือการอยู่ในมลพิษทางอากาศ ก็สามรถสันนิษฐานว่าเกิดจกาการขาดเอมไซม์

อาการและการวินิจฉัยโรค

อาการที่พบสำหรับผู้ป่วยโรคถุงลมโปร่งพอง นั้น พบว่ามีอาการไอเรื้อรัง ซี่งในระยะแรกๆ จะไอตอนเช้า หลังจากตื่นนอน เป็นลักษณะแบบไอแห้งๆ มีเสมหะเล็กน้อย เสมหะมีลักษณะใสๆ ผู้ป่วยเป็นหวัดง่าย เหนื่อยง่าย มีอาการเหนื่อยหอบ เสียงลมหายใจเป้นเสียงหืดๆ อาการเหนื่อยหอบจาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้ภาวะการหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด

การวินิจฉัยโรคของแพทย์ นั้นแพทย์จะสอบถามประวัติของผู้ป่วย และการตรวจสมรรถภาพของปอด เอ็กซ์เรย์ปอด เพื่อวิเคราะห์โรคและ ระดับอาการของโรค

การรักษาโรคถุงลมโปร่งพอง

การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองในปัจจุบัน มีการพัฒนามากขึ้น มีแนวโน้มการใช้ยาที่เหมาะสมมากขึ้น โดยการรักษานั้น ทำเพื่อให้สมรรถภาพของปอดดีขึ้น โดยยาที่ใช้การักษาจะเป็นยาที่ใช้เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอด ลดอาการอักเสบและติดเชื้อของปอด แต่การรักษาโรคนี้นั้น สามารถแบ่งการรักษาโรคได้ 2 วิธี คือ การรักษาโดยการผ่าตัด และ การรักษาโดยการไม่ใช้ยา

  • การรักษาโรคถุงลมโปร่งพอง ด้วยการผ่าตัดนั้นแพทย์จะทำการผ่าตัด 3 ลักษณะ คือ การผ่าตัดเอาถุงลมออก การผ่าตัดเอาปอดบางส่วนออกและการผ่าตัดเปลี่ยนปอด โดยการผ่าตัดเอาถุงลมออก เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยน้อยลง ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยระยะท้ายๆของโรค การผ่าตัดต้องเลือกใช้กับผู้ป่วยให้เหมาะสม การผ่าตัดถุงลมที่ให้ผลที่ดีนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในส่วนบนของปอดกลีบบน และลักษณะของโรคกระจายเป็นหย่อมๆ เนื้อปอดที่ดียังมีเหลืออยู่ สำหรับการรักษาด้วยการตัดปอดนั้นอาจทำให้กล้ามเนื้อช่วยการหายใจโดยเฉพาะกระบังลมทำงานได้ดีขึ้น และวิธีผ่าตัดแบบสุดท้าย การผ่าตัดเปลี่ยนปอด เรียก Lung Transplantation ต้องทำด้วยแพทย์ที่มีความชำนาญเท่านั้น
  • การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองที่ไม่ใช้ยารักษา เป็นการพื้นฟูสุขภาพปอด เพื่อเพื่มสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีขึ้น โดยวิธีรักษาใช้ การออกกำลังกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้่ในการหายใจแข็งแรงมากขึ้น การฝึกการหายใจ การระบายเสมหะ การดูแลการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่สำคัญ คือ หลีกเลื่ยงการสูบบุหรี่และการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง

ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคถุงลมโป่งพอง

สำหรับผลข้างเคียงและความรุนแรงของดรคถุงลมโปร่งพองนั้น โรคนี้จะทำให้เสียชีวิตจากภาวะหายใจล้มเหลว และไม่สามารถทำให้ปอดกลับมาหายเป็นปกติได้

การป้องกันการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

  • ไม่สูบบุหรี่ หรือในผู้ที่สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศ
  • ควบคุมสิ่งแวดล้อมในที่อยู่อาศัย ไม่ให้เกิดมลพิษทางอากาศ

ภาวะถุงลมโปร่งพอง คือ โรคที่เกิดจากภาวะการอุดกลั้นของปอด ที่ให้การทำงานของระบบหายใจผิดปรกติ เกิดจากการสุบบุหรี่หรือการสูดดมมลพิษเป็นเวลานาน สาเหตุหลักของคนเกิดโรคนี้ คือ การสูบบุหรี่ การป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด ต้องป้องกันที่การให้ความรักและความเข้าใจของคนในครอบครัว ซึ่งพ่อแม่ต้องสอนให้ลูกได้เข้าใจถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่ และ ไม่สร้างปัจจัยที่ทำให้ลูกเลือกทำร้ายตัวเองด้วยการสูบบุหรี่

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันร่างกายตัวเอง ( SLE ) คนไทยชอบเรียกโรคนี้ว่า โรคพุ่มพวง เกิดจากฮอร์โมนร่างกายผิดปรกติ มีไข้สูง มีผื่นขึ้นบนหน้า ผมร่วง มีแผลในปาก ปวดตามข้อโรคเอสแอลอี โรคพุ่มพวง โรคแพ้ภูมิต้านทานตนเอง โรคไม่ติดต่อ

โรคภูมิแพ้ตัวเอง เป็นโรคที่หลายๆคนรู้จักกันในชื่อ โรคลูปัส หรือ โรคเอสแอลอี หรือ โรคพุ่มพวง ทางการแพทย์เรียก Systemic lupus erythematosus เกิดจากการสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกายผิดปรกติ เกิดผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย และ เกิดการอักเสบเรื้อรัง เช่น เกิดการอักเสบของข้อและกระดูก กล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด ระบบเลือด โรคนี้จึงจัดอยู่ในโรคเรื้อรังโรคหนึ่งคำ จากสถิติของการเกิดโรคเอสแอลอี พบว่าเพศหญิงมีอัตราการเกิดโรคมากกว่าเพศชาย มากถึง 7 เท่า แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยจะพบว่าในผู้ป่วยที่มีผิวดำจะมีอัตราการเกิดที่สูงที่สุด รองลงมาเป็น หญิงเอเชีย และ หญิงผิวขาวตามลำดับ

สาเหตุของการเกิดโรคเอสแอลอี

ในปัจจุบันการศึกษาทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างแน่ชัดนัก แต่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ระบบฮอร์โมนของร่างกาย และ ภาวะการติดเชื้อโรค เราสามารถสรุปปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสของการเกิดโรค มีดังนี้

  • เพศ เราพบว่าโรคนี้เกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • การติดเชื้อโรงบางอย่าง ทั้ง เชื้อไวรัส และ เชื้อแบคทีเรีย
  • การใช้ชีวิตอยู่ในที่แจ้ง และถูกกระทบจากแสงแดดเป็นเวลานาน
  • การแพ้อาหารบางชนิด
  • การสูบบุหรี่
  • ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศหญิง
  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากการตั้งครรภ์
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดน้ำหนัก ยากันชัก ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
  • การอยู่ในภาวะความเครียดเป็นเวลานาน
  • การพักผ่อนน้อย
  • การออกกำลังกายมากเกินไป

อาการของโรคเอสแอลอี 

ลักษณะของอาการของโรคแอสแอลอี นั้น อาการจะเกิดขึ้นแบบกระทันหัน และ เกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น มีไข้สูง มีผื่นขึ้นบนหน้า ผมร่วง มีแผลในปาก ปวดตามข้อ เราจะแยกลักษณะของอาการโรคเอสแอลอีให้เห็นอย่างชัดเจนขึ้นมีดังนี้

  • เกิดความผิดปรกติที่ผิวหนัง โดยเฉพาะการเกิดผื่นที่โหนกแก้ม สันจมูก และ เป็นแผลในปาก จะมีลักษณะของอาการผมร่วงร่วมด้วย
  • เกิดความผิดปรกกติที่ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการข้ออักเสบอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะตามข้อเล็กๆ
  • เกิดความผิดปรกติที่ไต โดยสังเกตุจาก การปัสสาวะเป็นฟอง มีโปรตีนปนนปัสสาวะ
  • เกิดความผิดปรกติที่ระบบเลือด ทำให้ร่างกายมีภาวะอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว ตัวซีด และพบจ้ำเลือดตามตัว
  • เกิดความผิดปรกติที่ระบบประสาท จะพบว่า มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง มีอาการชัก
  • เกิดความผิดปรกติที่ระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการของผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการแน่นหน้าอก มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด และ เกิดการอักเสบของปอด และการติดเชื้อง่าย
  • เกิดความผิดปรกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย เนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • เกิดความผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง กินอาหารไม่ได้

การรักษาโรคเอสแอลอี

สำหรับการรักษาโรคเอสแอลอี นี่น ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ให้หายขาด เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดนัก สิ่งที่ทำได้ คือการรักษาตามอาการและประคับประครองไม่ให้ แต่ที่สำคัญต้องพักผ่อนให้มากๆ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูขึ้นมาเอง โดย รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ โดยข้อควรปฎิบัติสำหรับการรักษาโรค มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด เช่น ไม่ตากแดดนานๆ ลดความเครียด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ซื้อยามารับประทานเอง ออกกำลังกายอย่งสม่ำเสมอ และ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยยาส่วนมากจะเป็น ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านอาการอักเสบ ยาแก้ปวด เป็นต้น

การรักษาตัวโรคเอสแอลอี นั้นต้องพักผ่อนให้ร่างกายแข็งแรง เราจึงได้ทำรายการข้อควรปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี มีรายละเอียดดังนี้

  • เมื่อจำเป็นต้องออกแดดเป็นเวลานาน ให้ใส่เครื่องป้องกัน เช่น เสื้อแขนยาว หมวก และ พกร่มด้วย  พักผ่อนให้เพียงพอ
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับ และ พักผ่อนให้พียงพอ รวมถึงหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียดบ้าง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง
  • ไม่ควรกินยาลดความอ้วน
  • หากร่างกายเกิดอาการผิดปรกติ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น มีหนองตามผิวหนัง เสมหะเขียว ให้รีบไปปรึกษาแพทย์ด่วย
  • หากต้องทำฟัน ให้ระวังเรื่องการติดเชื้อ โดยต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำฟัน
    หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายติดเชื้อทั้งหมด

การรักษาโรคเอสแอลอี นั้น ความสำคัญอยู่ที่การดูแลตัวเองของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยเอสแอลอีมีโอกาสเสี่ยงการเสียชิวิตได้ เช่น การเกิดภาวะอักเสบของอวัยวะในร่างกายอย่างรุนแรง และรับการรักษาไม่ทัน หรือ การเลือกใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง การปรึกษาแพทย์จะเป็นส่วนที่ทำให้ลดความเสี่ยงการเสียชีวิตได้มาก

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันร่างกายตัวเอง ( SLE ) โรคพุ่มพวง โรคลูปัส โรคเอสแอลอี มีไข้สูง มีผื่นขึ้นบนหน้า ผมร่วง มีแผลในปาก ปวดตามข้อ เกิดจากความผิดปรกติของระบบฮอร์โมนร่างกาย ส่งผลกระทบต่ออวัยวะในร่างกายหลายๆส่วน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove