มะเร็งปอด Lung Cancer เนื้อเยื้อของปอดผิดปรกติเกิดเนื้องอก โรคมะเร็งปอดมักเกิดกับคนสูบบุหรี่ อาการไอเรื้อรัง หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุมะเร็งปอด โรคมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอด โรคมะเร็ง

มะเร็งปอด ( Lung cancer ) คือ ภาวะเซลล์ของเนื้อเยื้อปอด เกิดการแบ่งตัวผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมักไม่แสดงอาการในระยะแรก ซึ่งการดูแลรักษาร่างกายสามารถทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้นได้ หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด

ชนิดของโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก ( Non-small cell lung cancer – NSCLC ) และ  มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ( Small cell lung cancer – SCLC )

  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก ( Non-small cell lung cancer – NSCLC ) มะเร็งปอดชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ  80 ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งปอดชนิด มี 3 ชนิดย่อย คือ ชนิดสะความัสเซลล์ ( Squamous cell carcinoma ) ชนิดเซลล์ขนาดใหญ่ ( Large cell carcinoma ) ชนิดอะดีโน ( Adenocarcinoma )
  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ( Small cell lung cancer – SCLC ) มะเร็งปอดชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ 20 ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรง แพร่กระจายได้เร็ว หากมะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และ แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งปอด ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดมะเร็งที่ชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การสูบบุหรี่ สำหรับการสูบบุหรี่ทำลายปอด เป็นปัจจัยสำคัญของโรคมะเร็งปอด ร้อยละ 90 ของคนสูบบุหรี่เป็นโรคมะเร็งปอด
  • การสูดดมควันบุหรี่ พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งปอด ไม่ได้สูบบุหรี่แต่สูดดมควันจากบุหรี่ ตามสถานที่เที่ยวตอนกลางคืน
  • การสูดดมฝุ่นระอองจากสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน เช่น การทำงานในเหมืองแร่ สถานที่ก่อสร้าง ทำงานตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น
  • การสูดดมก๊าซต่างๆเป็นเวลานาน เช่น ก๊าซเรดอน ( Radon ) เป็นก๊าซกัมมันตรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียม (Uranium)ในหินและดิน เป็นต้น
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทที่การกินผักและผลไม้น้อย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในกรณีทีมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • ภาวะความเสื่อมของร่างกาย ตามอายุที่มากขึ้น
  • ภาวะการรติดเชื้อเอชไอวี หรือ ป่วยโรคเกี่ยวกับปอดอย่างเรื่องรัง เช่น วัณโรค ถุงลมปอดโป่งพอง ภาวะเยื่อพังผืดในปอด เป็นต้น

อาการของโรคมะเร็งปอด

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด นั้นส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณบางอย่างบ่งบอกว่าอาจการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ สามารถสังเกตอาการต่างๆ ได้ดังนี้

  • มีอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน
  • ไอเป็นเลือด
  • หายใจเหนื่อยหอบ
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • เบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  • เจ็บและปวดเวลาหายใจหรือไอ
  • หายใจมีเสียงวีด
  • เสียงแหบ
  • ใบหน้าและคอบวม

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปมาก การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด ทำได้แม่นยำมากขึ้น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค มีดังนี้

  • การเอกซเรย์ทรวงอก ( Chest X-ray )
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน ( CT-scan )
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพทซีทีสแกน ( Positron Emission Tomography – Computerised Tomography : PET-CT Scan )
  • การส่องกล้อง และ การตัดชิ้นเนื้อ ( Bronchoscopy และ Biopsy )
  • การเจาะตัดชิ้นเนื้อผ่านผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก ( Percutaneous Needle Biopsy )
  • การส่องกล้องในช่องอก ( Mediastinoscopy )

การรักษาโรคมะเร็งปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด นั้น ใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด และ การฉายแสง ซึ่งการรักษามักใช้ทั้ง 3 วิธีร่วมกัน โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์ จากความรุนแรงของโรค ชนิดของมะเร็งปอด และ วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล

  • การผ่าตัด ( Surgery ) จะผ่าเอาเนื้อเยื่อปอดบางส่วนที่มีเซลล์มะเร็งออก
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก และ ทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย
  • การฉายแสง ( Radiation Therapy ) เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง มักจะใช้ควบคู่กับวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด ไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่เป็นแนวทางการปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยแนวทางการปฏิบัติ มีดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ และ เลิกสูบหรี่
  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อม ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่ ควันพิษ หรือ ฝั่น ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ผ่อนคลายความตึงเครียด ฝึกคิดในแง่บวก

โรคมะเร็งปอด ( Lung Cancer ) คือ ความผิดปรกติของเนื้อเยื้อของปอด เกิดเนื้องอกผิดปรกติ จากสาเหตุต่างๆ โรคมะเร็งปอดมี 2 ชนิด อาการของโรคมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอดต้องทำอย่างไร การป้องกันการเกิดโรค

ถุงลมโปร่งพอง โรคเรื้อรังที่ระบบทางเดินหายใจ ภาวะถุงลมขยายตัวผิดปกติ อาการไอแห้งๆ มีเสมหะเล็กน้อย โรคยอดฮิตของคนสูบบุหรี่ การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองต้องทำอย่างไรโรคถุงลมโป่งพอง โรคปอด โรคไม่ติดต่อ โรคทางเดินหายใจ

โรคถุงลมโป่งพอง ทางการแพทย์ เรียก Emphysema เป็นส่วนหนึ่งของโรคปอดอุดกั้น ชนิดเรื้อรัง โดยการอุดกั้นของปอดแบบเรื้อรัง นั้นมี 2 ส่วน คือ โรคหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการทั้ง 2 ร่วมกัน ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรค เกิดจากการสูบบุหรี่ สามารถรักษาหรือประคับประครองไม่ให้อาการของโรคหนักขึ้น ด้วยการเลิกสูบบุหรี่ โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยและ ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลก ในอันดับแรกๆ มีอัตราการเกิดโรค ที่ 18 คนต่อ 1000 คน และพบว่าผุ้ชายมีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเพศหญิง

สาเหตุและปัจจัยของกานเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

สำหรับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง สามารถแยกสาเหตุได้ เป็น 3 สาเหตุ ประกอบด้วย

  • การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 20 ป่วยเป็นโรคถุงลมโปร่งพอง ยิ่งสูบบุหรี่นานเท่าไร โอกาสของการป่วยดรคนี้ก้ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากควันของบุหรี่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพปอด ทำให้เกิดสารตกค้างในปอด ทำให้ปอดทำงานหนักมากขึ้น
  • การอาศัยอยู่ในสถานที่ที่มีมลภาวะของอากาศ ในเมืองใหญ่มีมลพิษทางอากาศสูง พบว่ามีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเมืองที่ไม่มีมลพิาทางอากาศ เนื่องจากมีการหายใจเอามลพิษเข้าสู่ร่างกาย หากเกิดสารตกค้างมากขึ้น ก็ส่งผลให้เกิดการอุดกั้นของปอดได้
  • ปัจจัยการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบในคนที่ขาดเอนไซม์ (Enzyme) ชื่อ Alpha-one antitrypsin เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ป้องกันการถูกทำลายของเนื้อเยื่อ ซึ่งเกิดจากการถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน ความผิดปกติที่เกิดจากการขาดเอนไซม์เพียงเล็กน้อยนั้นไม่ทำให้เกิดโรคได้ แต่หากผู้ป่วยเกิดโรคถุงลมโปร่งพอง โดยไม่ได้รับปัจจัยการเกิดโรคจากการสูบบุหรี่หรือการอยู่ในมลพิษทางอากาศ ก็สามรถสันนิษฐานว่าเกิดจกาการขาดเอมไซม์

อาการและการวินิจฉัยโรค

อาการที่พบสำหรับผู้ป่วยโรคถุงลมโปร่งพอง นั้น พบว่ามีอาการไอเรื้อรัง ซี่งในระยะแรกๆ จะไอตอนเช้า หลังจากตื่นนอน เป็นลักษณะแบบไอแห้งๆ มีเสมหะเล็กน้อย เสมหะมีลักษณะใสๆ ผู้ป่วยเป็นหวัดง่าย เหนื่อยง่าย มีอาการเหนื่อยหอบ เสียงลมหายใจเป้นเสียงหืดๆ อาการเหนื่อยหอบจาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้ภาวะการหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด

การวินิจฉัยโรคของแพทย์ นั้นแพทย์จะสอบถามประวัติของผู้ป่วย และการตรวจสมรรถภาพของปอด เอ็กซ์เรย์ปอด เพื่อวิเคราะห์โรคและ ระดับอาการของโรค

การรักษาโรคถุงลมโปร่งพอง

การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองในปัจจุบัน มีการพัฒนามากขึ้น มีแนวโน้มการใช้ยาที่เหมาะสมมากขึ้น โดยการรักษานั้น ทำเพื่อให้สมรรถภาพของปอดดีขึ้น โดยยาที่ใช้การักษาจะเป็นยาที่ใช้เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอด ลดอาการอักเสบและติดเชื้อของปอด แต่การรักษาโรคนี้นั้น สามารถแบ่งการรักษาโรคได้ 2 วิธี คือ การรักษาโดยการผ่าตัด และ การรักษาโดยการไม่ใช้ยา

  • การรักษาโรคถุงลมโปร่งพอง ด้วยการผ่าตัดนั้นแพทย์จะทำการผ่าตัด 3 ลักษณะ คือ การผ่าตัดเอาถุงลมออก การผ่าตัดเอาปอดบางส่วนออกและการผ่าตัดเปลี่ยนปอด โดยการผ่าตัดเอาถุงลมออก เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยน้อยลง ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยระยะท้ายๆของโรค การผ่าตัดต้องเลือกใช้กับผู้ป่วยให้เหมาะสม การผ่าตัดถุงลมที่ให้ผลที่ดีนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในส่วนบนของปอดกลีบบน และลักษณะของโรคกระจายเป็นหย่อมๆ เนื้อปอดที่ดียังมีเหลืออยู่ สำหรับการรักษาด้วยการตัดปอดนั้นอาจทำให้กล้ามเนื้อช่วยการหายใจโดยเฉพาะกระบังลมทำงานได้ดีขึ้น และวิธีผ่าตัดแบบสุดท้าย การผ่าตัดเปลี่ยนปอด เรียก Lung Transplantation ต้องทำด้วยแพทย์ที่มีความชำนาญเท่านั้น
  • การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองที่ไม่ใช้ยารักษา เป็นการพื้นฟูสุขภาพปอด เพื่อเพื่มสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีขึ้น โดยวิธีรักษาใช้ การออกกำลังกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้่ในการหายใจแข็งแรงมากขึ้น การฝึกการหายใจ การระบายเสมหะ การดูแลการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่สำคัญ คือ หลีกเลื่ยงการสูบบุหรี่และการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง

ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคถุงลมโป่งพอง

สำหรับผลข้างเคียงและความรุนแรงของดรคถุงลมโปร่งพองนั้น โรคนี้จะทำให้เสียชีวิตจากภาวะหายใจล้มเหลว และไม่สามารถทำให้ปอดกลับมาหายเป็นปกติได้

การป้องกันการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

  • ไม่สูบบุหรี่ หรือในผู้ที่สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศ
  • ควบคุมสิ่งแวดล้อมในที่อยู่อาศัย ไม่ให้เกิดมลพิษทางอากาศ

ภาวะถุงลมโปร่งพอง คือ โรคที่เกิดจากภาวะการอุดกลั้นของปอด ที่ให้การทำงานของระบบหายใจผิดปรกติ เกิดจากการสุบบุหรี่หรือการสูดดมมลพิษเป็นเวลานาน สาเหตุหลักของคนเกิดโรคนี้ คือ การสูบบุหรี่ การป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด ต้องป้องกันที่การให้ความรักและความเข้าใจของคนในครอบครัว ซึ่งพ่อแม่ต้องสอนให้ลูกได้เข้าใจถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่ และ ไม่สร้างปัจจัยที่ทำให้ลูกเลือกทำร้ายตัวเองด้วยการสูบบุหรี่


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove