โรคแพ้ภูมิคุ้มกันร่างกายตัวเอง ( SLE ) คนไทยชอบเรียกโรคนี้ว่า โรคพุ่มพวง เกิดจากฮอร์โมนร่างกายผิดปรกติ มีไข้สูง มีผื่นขึ้นบนหน้า ผมร่วง มีแผลในปาก ปวดตามข้อโรคเอสแอลอี โรคพุ่มพวง โรคแพ้ภูมิต้านทานตนเอง โรคไม่ติดต่อ

โรคภูมิแพ้ตัวเอง เป็นโรคที่หลายๆคนรู้จักกันในชื่อ โรคลูปัส หรือ โรคเอสแอลอี หรือ โรคพุ่มพวง ทางการแพทย์เรียก Systemic lupus erythematosus เกิดจากการสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกายผิดปรกติ เกิดผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย และ เกิดการอักเสบเรื้อรัง เช่น เกิดการอักเสบของข้อและกระดูก กล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด ระบบเลือด โรคนี้จึงจัดอยู่ในโรคเรื้อรังโรคหนึ่งคำ จากสถิติของการเกิดโรคเอสแอลอี พบว่าเพศหญิงมีอัตราการเกิดโรคมากกว่าเพศชาย มากถึง 7 เท่า แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยจะพบว่าในผู้ป่วยที่มีผิวดำจะมีอัตราการเกิดที่สูงที่สุด รองลงมาเป็น หญิงเอเชีย และ หญิงผิวขาวตามลำดับ

สาเหตุของการเกิดโรคเอสแอลอี

ในปัจจุบันการศึกษาทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างแน่ชัดนัก แต่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ระบบฮอร์โมนของร่างกาย และ ภาวะการติดเชื้อโรค เราสามารถสรุปปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสของการเกิดโรค มีดังนี้

  • เพศ เราพบว่าโรคนี้เกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • การติดเชื้อโรงบางอย่าง ทั้ง เชื้อไวรัส และ เชื้อแบคทีเรีย
  • การใช้ชีวิตอยู่ในที่แจ้ง และถูกกระทบจากแสงแดดเป็นเวลานาน
  • การแพ้อาหารบางชนิด
  • การสูบบุหรี่
  • ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศหญิง
  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากการตั้งครรภ์
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดน้ำหนัก ยากันชัก ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
  • การอยู่ในภาวะความเครียดเป็นเวลานาน
  • การพักผ่อนน้อย
  • การออกกำลังกายมากเกินไป

อาการของโรคเอสแอลอี 

ลักษณะของอาการของโรคแอสแอลอี นั้น อาการจะเกิดขึ้นแบบกระทันหัน และ เกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น มีไข้สูง มีผื่นขึ้นบนหน้า ผมร่วง มีแผลในปาก ปวดตามข้อ เราจะแยกลักษณะของอาการโรคเอสแอลอีให้เห็นอย่างชัดเจนขึ้นมีดังนี้

  • เกิดความผิดปรกติที่ผิวหนัง โดยเฉพาะการเกิดผื่นที่โหนกแก้ม สันจมูก และ เป็นแผลในปาก จะมีลักษณะของอาการผมร่วงร่วมด้วย
  • เกิดความผิดปรกกติที่ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการข้ออักเสบอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะตามข้อเล็กๆ
  • เกิดความผิดปรกติที่ไต โดยสังเกตุจาก การปัสสาวะเป็นฟอง มีโปรตีนปนนปัสสาวะ
  • เกิดความผิดปรกติที่ระบบเลือด ทำให้ร่างกายมีภาวะอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว ตัวซีด และพบจ้ำเลือดตามตัว
  • เกิดความผิดปรกติที่ระบบประสาท จะพบว่า มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง มีอาการชัก
  • เกิดความผิดปรกติที่ระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการของผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการแน่นหน้าอก มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด และ เกิดการอักเสบของปอด และการติดเชื้อง่าย
  • เกิดความผิดปรกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย เนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • เกิดความผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง กินอาหารไม่ได้

การรักษาโรคเอสแอลอี

สำหรับการรักษาโรคเอสแอลอี นี่น ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ให้หายขาด เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดนัก สิ่งที่ทำได้ คือการรักษาตามอาการและประคับประครองไม่ให้ แต่ที่สำคัญต้องพักผ่อนให้มากๆ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูขึ้นมาเอง โดย รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ โดยข้อควรปฎิบัติสำหรับการรักษาโรค มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด เช่น ไม่ตากแดดนานๆ ลดความเครียด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ซื้อยามารับประทานเอง ออกกำลังกายอย่งสม่ำเสมอ และ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยยาส่วนมากจะเป็น ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านอาการอักเสบ ยาแก้ปวด เป็นต้น

การรักษาตัวโรคเอสแอลอี นั้นต้องพักผ่อนให้ร่างกายแข็งแรง เราจึงได้ทำรายการข้อควรปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี มีรายละเอียดดังนี้

  • เมื่อจำเป็นต้องออกแดดเป็นเวลานาน ให้ใส่เครื่องป้องกัน เช่น เสื้อแขนยาว หมวก และ พกร่มด้วย  พักผ่อนให้เพียงพอ
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับ และ พักผ่อนให้พียงพอ รวมถึงหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียดบ้าง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง
  • ไม่ควรกินยาลดความอ้วน
  • หากร่างกายเกิดอาการผิดปรกติ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น มีหนองตามผิวหนัง เสมหะเขียว ให้รีบไปปรึกษาแพทย์ด่วย
  • หากต้องทำฟัน ให้ระวังเรื่องการติดเชื้อ โดยต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำฟัน
    หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายติดเชื้อทั้งหมด

การรักษาโรคเอสแอลอี นั้น ความสำคัญอยู่ที่การดูแลตัวเองของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยเอสแอลอีมีโอกาสเสี่ยงการเสียชิวิตได้ เช่น การเกิดภาวะอักเสบของอวัยวะในร่างกายอย่างรุนแรง และรับการรักษาไม่ทัน หรือ การเลือกใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง การปรึกษาแพทย์จะเป็นส่วนที่ทำให้ลดความเสี่ยงการเสียชีวิตได้มาก

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันร่างกายตัวเอง ( SLE ) โรคพุ่มพวง โรคลูปัส โรคเอสแอลอี มีไข้สูง มีผื่นขึ้นบนหน้า ผมร่วง มีแผลในปาก ปวดตามข้อ เกิดจากความผิดปรกติของระบบฮอร์โมนร่างกาย ส่งผลกระทบต่ออวัยวะในร่างกายหลายๆส่วน

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจอุดตันอย่างกะทันหัน ทำให้อาการเจ็บหน้าอก โอกาสเสียชีวิตสูง หากมีมอาการดังกล่าวต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับหัวใจ โรคไม่ติดต่อ

การอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ อย่างเฉียบพลันและขัดขวางการไหลของเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ เมื่อหัวใจขาดเลือด ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ เป็น โรคที่เกิดจากร่างกายที่ผิดปรกติ เป็น โรคที่เกิดมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชากรมีการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อโรค และ มีความเครียดสูง ส่วนผู้สูงอายุก็มีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ที่อายุไม่มาก และผู้ชายมีความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายมากก่วาผู้หญิง

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน พบมากในประเทศที่พัฒนาแล้วมากกว่าประเทศด้อยพัฒนาอย่างเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยมากถึง 1.5 ล้านคนต่อปี หรือพบผู้ป่วยทุกๆ 600 คนในประชากร 100,000 คน ในประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งรวมถึงประเทศไทยพบผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในรูปแบบของประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งกันมากขึ้นและส่งผลให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายตามมา

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

สำหรับ สาเหตุของอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย นั้น คือ การที่หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งสาเหตุของการทำใหเหลอดเลือดหัวใจตีบตัน คือ การสะสมไขมัน และ คอเรสเทอรัล ในร่างกายสูง โรคนี้เกิดจากการมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ซึ่ง ลิ่มเลือด เหล่านี้ เกิดจากการที่ร่างกายมีภาวะไขมันมากเกินไป จนพอกเป็นตะกรัน (plaque) เกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือด

เมื่อรวมเข้ากับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากัดกินก็ทำให้เกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ไม่สามารถดูดกลับเข้าไปในร่างกายได้ แต่กลับฝังตัวอยู่ในผนังหลอดเลือดแทน เมื่อเวลาผ่านไป ตะกรันนี้จะแตกตัวหรือปริออก หลอดเลือดจะพยายามซ่อมแซมตัวเอง จนเกิดลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือด ถ้าเป็นการแตกตัวที่หลอดเลือดแขนงเล็ก ผู้ป่วยจะมีเพียงอาการเจ็บหน้าอก แต่ถ้าลิ่มเลือดนี้อุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

เราสามารถแบ่งปัจจัยของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ประกอบด้วย

  1. เพศ ซึ่งเพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง
  2. อายุ คนอายุมากมีโอกาสเป็นมากกว่าคนอายุน้อย เนื่องจากระบบการเผาผลาญไขมันและคอเรสเตอรัลในร่างกายคนอายุน้อยจะทำได้ดีกว่านอายุมาก
  3. โรคความดันโลหิตสูง
  4. คนที่มีโคเลสเตอรอลสะสมในเลือดสูง
  5. โรคเบาหวาน
  6. คนอ้วน
  7. คนสูบบุหรี่จัด
  8. คนพักผ่อนน้อย และขาดการออกกำลังกาย

อาการของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

อาการเริ่มต้นคือ ผู้ป่วยรู้สึกแน่นอึดอัดบริเวณกลางหน้าอก อาจมีอาการปวดไปตามต้นคอ กราม และแขน มีเหงื่อออกมาก และอาการเจ็บหน้าอก หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการอย่างนี้ ต้องนำตัวส่งแพทยย์โดยด่วน ซึ่งอาการของโรคสามารถแบ่งได้ดังนี้

  • เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตรงกลางอก และเป็นนานเกินกว่าหนึ่งนาทีขึ้นไป
  • เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปยังบริเวณคอ กราม ไหล่และแขนทั้งสองข้าง
  • มีเหงื่อออกตามร่างกาย
  • เหนื่อยง่าย หายใจถี่กระชั้น
  • วิงเวียน หน้ามืด
  • ชีพจรเต้นเร็ว

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

สามารถทำได้โดยเผ้าดูการเต้นหัวใจอย่างใกล้ชิด เพราะ อาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจล้มเหลวได้ ให้ออกซิเจนกับผู้ป่วย เพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนมากขึ้น ให้ผู้ป่วยนอนพัก ลดการทำงานของหัวใจให้มากที่สุด จากนั้นให้ยา ยาขยายหลอดเลือด ยาลดการทำงานของหัวใจ ยาต้านการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ยาลดไขมัน ยาละลายลิ่มเลือด เป็นต้น แต่การรักษาที่ได้ผลดีที่สุดในภาวะฉุกเฉิน คือ การทำบอลลูนขยายหลอดเลือด คู่กับกานให้ยาสะลายลิ่มเลือด และอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

  • การรักษาในระยะก่อนที่กล้ามเนื้อหัวใจจะตาย คือ การทำให้หลอดเลือดที่อุดตัน หายอุดตันและทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจต่อไปได้ ซึ่งจะช่วยลดบริเวณที่กล้ามเนื้อหัวใจตายให้น้อยที่สุด และลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนต่างๆลงได้ โดยมีวิธีการอยู่ 2 รูปแบบคือ
    • การใส่สายสวนหัวใจเพื่อไปละลายกลุ่มลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดหัวใจเรียกว่า Percutaneous coronary intervention (PCI)
    • การให้ยาละลายกลุ่มลิ่มเลือด (Fibrinolysis) เช่น ยา Tissue plasminogen activa tor, Streptokinase, Tenecteplase และ Reteplase โดยระยะเวลานับตั้งแต่หลอดเลือดเกิดการอุดตันจนกระทั่งกล้ามเนื้อหัวใจตายคือประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงซึ่งระยะเวลาจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆด้วยได้แก่ มีการอุดตันของหลอดเลือดโดยสมบูรณ์หรือไม่ หรือยังพอมีเลือดไหลได้บ้างเล็กน้อย มีหลอดเลือดแดงเล็กๆมาช่วยเลี้ยงบริเวณนั้นหรือไม่ ความต้องการออกซิเจนของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจในขณะนั้น เป็นต้น
  • การรักษาในระยะที่กล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยที่มีอาการมานานเกินระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งกล้ามเนื้อหัวใจตายสนิทแล้ว การรักษาโดยการทำให้หลอดเลือดหายอุดตันและมีเลือดไหลไปเลี้ยงนั้นไม่มีประโยชน์แล้ว
    ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงอาศัยการรักษาตามอาการ โดยผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดภายในหอผู้ป่วยวิกฤตเพื่อระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น มีการติดตามสัญญาณชีพ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัว ใจตลอดเวลา และให้ผู้ป่วยนอนพักอยู่บนเตียงเท่านั้นในช่วง 12 ชั่วโมงแรก ให้ขับถ่ายบนเตียง ทั้งนี้เพื่อลดภาระงานของหัวใจ รวมถึงการงดอาหาร การให้ยาคลายเครียด ยานอนหลับ และให้ยาแก้ปวดแก่ผู้ป่วยเช่น ยากลุ่มมอร์ฟีน เป็นต้น
    นอกจากนี้แพทย์จะใช้ยากลุ่มที่ไปลดภาระการทำงานของหัวใจโดยตรงร่วมด้วยเช่น ยากลุ่ม Beta-adrenoceptor blocker, Angiotensin-converting enzyme inhibitor, Angiotensin recep tor blockers เป็นต้น
  • การรักษาภาวะแทรกซ้อน โดยให้การรักษาตามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายเช่น ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เป็นต้น
  • การป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำ ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย ในบริเวณที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นได้อีก ผู้ป่วยทุกรายจึงต้องได้รับยาป้องกันตลอดชีวิตหากไม่มีข้อห้ามอื่นๆเช่น ยาป้องกันการเกาะตัวของลิ่มเลือด (เช่น แอสไพริน หรือ Clopidogrel) ในบางรายอาจได้รับยาละลายลิ่มเลือดร่วมด้วยเช่น Warfarin ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวายก็อาจได้ยาในกลุ่ม Angiotensin converting enzyme inhibitors หรือ Angiotensin receptor blockers เป็นต้น

การป้องการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย

สำหรับการป้องกัน คือ การลดไขมัน และคอเรสเตอรัลในร่างกาย โดย เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมอาหาร ลดความเครียด ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรีสูง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด อาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูป ลดเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล และเน้นการบริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น
  • หยุดสูบบุหรี่
  • ลดความเครียด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดไขมันในร่างกาย

เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย
ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง
ชุมเห็ดเทศ ต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ สมุนไพรชุมเห็ดเทศ มะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอกมะกอก

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน คือ อาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย เนื่องจากขาดเลือด ซึ่งพบว่าเกิดจากหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจอุดตันอย่างกะทันหัน อาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย คือ เจ็บหน้าอก โรคนี้มีโอกาสเสียชีวิตสูง สิ่งที่ควรทำหากพบผู้ป่วยอาการลักษณะนี้ คือ รีบนำตัวส่งแพทย์


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove