มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder cancer มะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ อาการปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ที่เยื่อบุผนังของกระเพาะปัสสาวะ เกิดการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ จนเกิดเนื้องอก และ เป็นเนื้อมะเร็งในที่สุด สามารถลุกลามเข้าสู่อวัยวะอื่นๆได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด และตับ

ชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด ซึ่งการแบ่งชนิดของโรคนั้นแบ่งออกได้ตามลักษณะของเซลล์มะเร็ง โดยชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีรายละเอียด ดังนี้

  • Transitional cell carcinoma ( TCC ) พบมากที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเกิดมะเร็งชนิดนี้
  • Squamous cell carcinoma ( SCC ) พบว่าผู้ป่วยมะเร็งจากชนิดนี้ ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์รูปสี่เหลี่ยม ทำให้ระคายเคือง เช่น พยาธิใบไม้ในเลือด
  • Adenocarcinoma พบว่าผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ เกิดร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • Small cell carcinoma พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ Neuroendocrine cells
  • Sarcomas เป็นชนิดที่พบได้น้อยมาก โดยเกิดในเซลล์กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ยังไม่หาสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่พบว่ามีปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยรายละเอียดของปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรค มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่ หรือ การสูดดมควันบุหรี่
  • การได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น สารอะนิลีน ( Aniline ) สารไฮโดรคาร์บอน  ( Hydrocarbon ) เป็นสารเคมีใช้ในการย้อมผ้า และ ใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ยาง และ สายไฟ
  • การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือด ( Schistosomiasis ) พยาธิชนิดนี้จะวางไข่ฝังที่ผนังของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคืองแบบเรื้อรัง
  • การรับยาเคมีบำบัด เช่น ยา Cyclophosphamide
  • เป็นความผิดปรกของร่างกายจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีระยะของโรค 4 ระยะ คือ ระยะ 1-4 โดยแตกต่างกันที่ระดับความรุนแรงของโรค โดยรายละเอียดดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 1 เกิดมะเร็งบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 2 เนื้อมะเร็งบางส่วนลุกลามเข้าสู่กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 3 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ผนังกระเพาะปัสสาวะ และ เนื้อเยื่อรอบๆกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 4 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ตับ หรือ ปอด เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะแสดงอาการอย่างชัดเจนที่การปัสสาวะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนี้

  • ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด
  • ปัสสาวะมากผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย มีอาการแสบ หรือ ขัดตอนปัสสาวะ
  • มีอาการปวดหลัง
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมโต บริเวณขาหนีบ หรือ ไหปลาร้า
  • อาจมีอาการไอ หายใจลำบาก ปวดกระดูก

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการวินิจฉัยโรคนั้น หากผู้ป่วยมีอาการตามอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ตามที่กล่าวมาในข้างต้น เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ และ ลักษณะของอาการที่เกิดขึ้น จากนั้น ต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดย การตรวจร่างกายและตรวจชิ้นเนื้อ มีรายละเอียด ดังนี้

  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูปริมาณของเม็ดเลือดแดงและเซลล์มะเร็งที่ปะปนมากับปัสสาวะ
  • การส่องกล้องตรวจทางเดินปัสสาวะ เพื่อตรวจดูโครงสร้างภายในของกระเพาะปัสสาวะกับท่อปัสสาวะ เพื่อให้เห็นเนื้องอกได้อย่างชัดเจน
  • การตรวจชิ้นเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ การนำชื้นเนื้อต้องสงสัยไปตรวจ เพื่อดูว่าชิ้นเนื้อนั้นๆ เป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
  • การตรวจทางรังสีวิทยา โดยใช้การ เอกซเรย์ ซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ หรือ อัลตราซาวด์ ตรวจที่บริเวณช่องท้อง เพื่อดูตำแหน่งและขนาดของมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นั้น ต้องทำการรักษาโดยการกำจัดก้อนมะเร็ง บรรเทาอาการของโรค และ การรักษาโดย การใช้ เคมีบำบัด การให้ยาฆ่ามะเร็ง การรังสีบำบัด และ การผ่าตัด แต่การเลือกใช้วิธีการรักษาต้องอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ โดยรายละเอียดของการรักษามะเร็งกระเพาปัสสาวะ มีดังนี้

  • การรักษาด้วนเคมีบำบัด โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะผ่านทางสายสวน เพื่อรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้น อาจใช้การรักษาด้วยรังสีบำบัด ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
  • การให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง จะใช้หลังจากการตัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะออกไปแล้ว ให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำใหม่
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด วิธีนี้ทำเพื่อกำจัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะใกล้เคียง ซึ่งการผ่าตัดนั้นใช้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยส่องกล้องซึ่งผ่านทางท่อปัสสาวะ และ การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะผ่านทางช่องท้อง ซึ่งการผ่าตั้นนั้น แพทย์อาจต้องตัดกระเพาะปัสสาวะบางส่วนออก รวมถึงอวัยวะข้างเคียงออก เช่น ท่อไต ต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกราน ต่อมลูกหมาก ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ มดลูก รังไข่ และ ช่องคลอดบางส่วน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
  • การรักษาด้วยรังสีบำบัด วิธีการรังสีบำบัดนั้นจะทำหลังจากการผ่าตัด หรือ ใช้การเคมีบำบัดร่วม สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สร้างความลำบากต่อร่างกายแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้แย่ขึ้นไปอีก คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งก่อนการรักษาโรคและหลังการรักษาโรค โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วย

  • การเกิดโรคโลหิตจาง
  • เกิดความผิดปรกติเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือ ปัสสาวะไม่ออก
  • เกิดภาวะท่อปัสสาวะตีบตัน ทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือ ปัสสาวะยาก
  • เกิดกรวยไตคั่งปัสสาวะ
  • เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เกิดการลามของมะเร็ง จนเกิดมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด หรือ กระดูก เป็นต้น
  • ทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ทำให้เกิดวัยทองก่อนวัยอันควร

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนั้นยังไม่มีวิธีทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการปฏิบัติมีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ หรือ ไม่สูบบุหรี่ หรือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
  • ไม่เที่ยวสถานท่องเที่ยวกลางคืน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ การที่เราไม่สูบบุหรี่แต่การสูดดมควันบุรหรี่ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้ดื่มน้ำตามปรริมาณความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • หากมีอาการผิดปรกติที่ระบบขัยถ่าย เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ให้รีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Bladder cancer ) คือ มะเร็งเกิดที่กระเพาะปัสสาวะ ส่งผลต่อระบบการปัสสาวะ อาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะทำอย่างไร สาเหตุของการเกิดโรค การป้องกันการเกิดโรค

หลอดลมอักเสบ ( Bronchitis ) เกิดจากการติดเชื้อ อาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจเสียงดัง พบบ่อยในเด็ก ผลข้างเคียงจากภูมิแพ้ หืดหอบ สูบบุหรี่โรคหลอดลมอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ

หลอดลมอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Bronchitis เป็นโรคติดเชื้อที่หลอดลม เกิดกับเด็กเป็นส่วนมาก โรคนี้เป็นการการติดเชื้อบริเวณหลอดลม เป็นอวัยวะที่อยู่ลึกลงไปจากกล่องเสียงไปยังปอดส่วนล่าง โรคหลอดลมอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อย กล่าวได้ว่า เป็น โรคเด็ก คนช่วยอายุ 9 ถึง 15 ขวบ มีอัตราการเกิดโรคนี้มากที่สุด

สาเหตุของการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ

เราสามารถแยกสาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบได้ 2 กรณี คือ หลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน และหลอดลมอักเสบแบบเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • สาเหตุของหลอดลมอักเสบ ชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น rhinovirus, adenovirus, corona virus, influenza virus, parainfluenza virus, respiratory syncytial virus (RSV) เป็น ชนิดเหมือนกับไข้หวัด หลอดลมอักเสบชนิดนี้ จะเกิดหลังจากเป็นไข้หวัด หากไม่รักษาอย่างถูกต้อง การติดเชื้อลามไปสู่หลอดลม  หากเป็นหวัด และมีอาการไอ มีเสมหะ นานกว่า 7 วัน มีโอกาสเกิดโรคหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน
  • สาเหตุของหลอดลมอักเสบ ชนิดเรื้อรัง เป็นการอักเสบจากโรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ หรือการสูบบุหรี่ เป็นลักษณะปอดอุดตัน สังเกตุ คือ จะมีอาการไอ โดยมีเสมหะ นานกว่า 90 วัน นอกจากโรคภูมิแพ้ หืดหอบ การสูบบุหรี่แล้ว การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศบ่อยๆ เช่น ฝุ่น ควัน หรือ สารเคมี มีมีการระเหยได้

อาการของโรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุของหลอดลม เมื่อเกิดการอักเสบ ส่งผลให้ เยื่อบุหลอดลมบวม มีเสมหะในหลอดลม มีอาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงดัง ในบางราย จะมีอาการ แสบคอ เจ็บคอ หรือเจ็บหน้าอก ผู้ป่วยจะมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว

เราสามารถแยกอาการให้เห้นอย่างชัดเจนได้ดังนี้

  • มีอาการไอแบบเรื้อรัง ในช่วงเวลา 14 วันโดยไม่หาย
  • มีเลือดปน จากการไอ
  • มีไข้ ไอ และเหนื่อยหอบ
  • มีอาการไออย่างมาก
  • มีอาการเจ็บหน้าอก เวลาไอ หายใจ หรือ การเคลื่อนไหวทรวงอก
  • เกิดอาการหอบเหนื่อยทันที หลังจากการไอ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอังเสบ หากไม่รักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้เกิดการอักเสบลามไปถึงปอด เช่น เกิดปอดอักเสบ หรือโรคถุงลมโป่งพองได้

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบ

สำหรับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคนี้ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ฟังเสียงปอด ฟังเสียงหลอดลม การที่เสมหะมีสีขาว หรือสีเขียว ตรวจภาพรังสีทรวงอก

การรักษาโรคหลอดลมอักเสบ

หากป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ ชนิดเฉียบพลัน ร่างกายสามารถรักษาให้หายได้ภายใน 10 วัน การรักษานั้น สามารถตัว โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยาต้านจุลชีพ การปฏิบัติตนเพื่อรักษาโรคหลอดลมอักเสบ มีดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ เนื่องจาก น้ำอุ่นช่วยละลายเสมหะได้ดีที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการระคายเคืองหลอดลม เช่น การสูบบุหรี่ การสูดดมควัน และทุกอย่างที่ระคายเคืองหลอดลม
  • หลีกเลี่ยงอากาศเย็นและอากาศแห้ง เนื่องจากอากาศเย็น จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ส่งผลให้ไอมากขึ้น
  • ให้รักษาความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เช่น ห่มผ้า ใส่ถุงเท้า ใส่หมวก หรือพันผ้าพันคอ

การรักษาโรคหลอดลมอักเสบ นั้น ต้องหาสาเหตุของการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ เนื่องจากจะช่วยให้เราสามารถป้องกันและรักษาอย่างเร็วที่สุด การรักษาจากการปฏิบัติตัว สามารถทำควบคู่กับการรักษาตามอาการโรค ด้วยยารักษาโรค เช่น ยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม

หากเกิดโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง แสดงว่าร่างกายเกิดการติดเชื้อโรค ซึ่งเราต้องหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคให้เจอ และรับประทานยาป้องกันจุลชีพ ยาต้านจุลชีพ สามารถใช้ได้หากผู้ป่วยไม่แพ้ยา โรคหลอดลมอักเสบ ชนิดเรื้อรัง ต้องรักษาตามสาเหตุ อาจใช้ยาลดการอักเสบของหลอดลม  ยาขยายหลอดลม และหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม

การป้องกันการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ

การป้องกันการเกิดโรคให้ลดปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการระคายเคืองหลอดลมทั้งหมด รายละเอียด ดังนี้

  • ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเย็น
  • อย่าเครียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากจำเป็นต้องสัมผัสอากาศเย็น ให้ใส่เครื่องที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการสูดดม ควัน กลิ่นฉุน ควันบุหรี่ สารเคมี ฝุ่นและสารระคายเคืองต่างๆ

โรคหลอดลมอักเสบ ( Bronchitis ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงดัง พบบ่อยในเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เป็นผลข้างเคียงของโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ หรือ การสูบบุหรี่


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove