หืดหอบ หอบหืด ( Asthma ) ภาวะหลอดลมอักเสบ เกิดการหดตัวแบบชั่วคราว ทำให้หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ทำให้เสียชีวิตได้ แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไรโรคหืดหอบ โรคหอบหืด โรคระบบทางเดินหายใจ หายใจไม่ออก

ลักษณะของโรคหืดหอบ ซึ่งสัญญาณที่บ่งบอกอาการของโรคหอบหืด ที่แสดงได้ชัดเจน คือ เหนื่อยหอบ หายใจเสียงหวีด แน่นหน้าอก หายใจลำบากและมีอาการไอ เกิดขึ้นถี่และรบกวนการใช้ชีวิต ต้องใช้ยาบรรเทาอาการหายใจไม่ออก

โรคหืดหอบ คือ โรคระบบทางเดินหายใจ ชนิดเรื้อรัง ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต เพราะ ทำให้หายใจไม่ออก หากเกิดในเด็ก อาจทำให้พัฒนาการเรียนรู้ช้า หากเกิดในวัยผู้ใหญ่การทำงานก็จะไม่เต็มที่ ชีวิตประจำวันจะไม่ปรกติ ผู้ป่วยโรคหืดหอบ ต้องรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

โรคหืดหอบในประเทศไทย 

สำหรับโรคหืดหอบในประเทศไทย นั้น พบได้ร้อยละ 7 ของประชากรในประเทศ โรคนี้พบได้บ่อยและมีโอกาสเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่อัตราการเกิดโรคในเด็กช่วงอายุ 10 – 12 ปี มากที่สุด โดยพบว่าเด็กร้อยละ 10-12% ของเด็กทั้งหมดมีโอกาสเป็นโรคหืดหอบ โดยเฉพาะประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และทั่วโลกพบว่าโรคนี้มีแนวโน้มเกิดมากขึ้น

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วยโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี พ.ศ. 2538 มีผู้ป่วย 66,679 คน และ ปี พ.ศ. 2552 มีผู้ป่วยเป็น 102,273 คน

สาเหตุของการเกิดโรคหืดหอบ

การเกิดโรคหืดหอบมีปัจจัยต่างๆของการเกิดโรค หลายสาเหตุ สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคหอบหืด ได้ดังนี้

  • เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าคนที่มีประวัติการเป็นโรคหอบหืด คนในครอบครัวที่สืบเชื้อสายเดียวกันมีโอกาสเกิดโรคสูงกว่า
  • การเกิดโรคภูมิแพ้ สำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่ทางเดินหายใจมีโอกาสเกิดโรคหืดหอบได้
  • การสูดดมสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย การได้รับสารเคมีต่างๆ เช่น กลิ่นสี ยาฆ่าแมลง สเปรย์แต่งผม หรือ ควันบุหรี่ สูดดมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจนานๆ ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจผิดปรกติได้
  • ภาวะการการออกกำลังกายน้อย หรือ ออกกำลังกายในสภาพอากาศเย็นทำให้ระบบทางเดินหายใจหดตัว
  • ภาวะความเครียดสะสม ความเครียดส่งผลให้ระบบการหายใจผิดปกติโดยไม่รู้ตัว
  • การได้รับสารพิษ โดยเฉพาะสารในกลุ่มซัลไฟต์ ( Sulfites ) และ สารกันบูด โดยสารเหล่านี้มักจะเจือปนในอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ผลไม้แห้ง เบียร์ ไวน์ เป็นต้น
  • ภาวะการเกิดโรคกรดไหลย้อน กรดในกระเพาะอาหารหากไหลย้อนเข้าหลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหอบหืดได้
  • การติดเชื้อโรคที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสทางเดินหายใจ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น

การกำเริบของโรคหืดหอบ

สำหรับการเกิดโรคหืดหอบกำเริบสามารถเกิดได้ตลอดเวลา โดยสัญญาณเตือนและอาการที่แสดงออกจากระบบหายใจอุดกั้น ต้องรับการรักษาจากแพทย์โดยด่วน สถานการณ์ต่างๆที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคหืดหอม มีดังนี้

  • หืดหอบขณะออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยโรคหืดหอบ หากออกกำลังกายหนักเกินไป ทำให้อาการกำเริบได้ แต่ผู้ป่วยโรคหืดหอมสามารถออกกำลังกายได้ โดยควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังในสภาพอากาศแห้งและเย็น
  • หืดหอบขณะทำงาน สำหรับสภาพอากาศที่มีสารพิษ ฝุ่น ควันและแก๊ส สามารถทำให้เกิดอาการกำเริบของหืดหอบได้
  • หืดหอบจากการแพ้อากาศ สำหรับผู้ป่วยที่อาการแพ้อากาอยู่แล้ว หากถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้ ในภาวะอากาศเย็น ทำให้เกิดอาการกำเริบได้

อาการของโรคหืด

สำหรับอาการของโรคหืดหอบนั้นจะแสดงอาการแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยอาการของโรคหืดหอบโดยทั่วไป มีการแสดงอาการ ดังนี้

  • ภาวะการหายใจลำบาก หายใจสั้น หายใจลำบากหายใจไม่อิ่ม หายใจมีเสียงวี้ด
  • เจ็บหน้าอก
  • มีอาการแน่นหน้าอก
  • มีอาการเหนื่อยหอบ
  • มีอาการไอ
  • มีปัญหานอนหลับ หลับไม่สนิท

สำหรับการแสดงอาการของโรคหืดหอบที่รุนแรงต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างเร่งด่วน มีดังนี้

  • มีอาการหายใจหอบและถี่
  • หายใจลำบากและมีเสียงดัง
  • หากใจลำบาก และ ใช้อุปกรณ์พ่นยาช่วยแต่ไม่ดีขึ้น
  • หายใจหอบ เมื่อทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหืดหอบ

การเกิดโรคหืดหอบ หากเป็นภาวะโรคระดับเรื้อรัง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคและเป็นอันตรายต่อชีวิต มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะแทรกซ้อนทั่วไปของโรคหืดหอบ เช่น ภาวะการขาดน้ำ ภาวะปอดแฟบ ภาวะหมดแรง ภาวะการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใน เช่น ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคหืดหอบที่ร้ายแรง เช่น ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต จากโรคหืดหอบ
  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะปอดทะลุ ภาวะมีอากาศในประจันอกและใต้หนัง เป็นลมจากการไอ เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนโรคหืดหอบในสตรีมีครรภ์ สำหรัยผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ จะไม่สามารถควบคุมอาการของโรคหืดหอบได้ อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ทารกตลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย หรือ ทารกตายในครรภ์ เป็นต้น

การรักษาโรคหืด

สำหรับการรักษาโรคหืดหอบในปัจจุบัน ไม่มีวิธีการรักษาให้โรคนี้หายขาดได้ แต่การรักษาทำเพื่อการควบคุมอาการให้เป็นปกติมากที่สุด ผู้ป่วยที่มีอาการหืดหอบบ่อย จะได้รับยาเพื่อลดอาการของโรค แนวทางการรักษามีแนวทาง คือ การให้ยาเพื่อควบคุมอาการของโรค การรักษาเพื่อบรรอาการของโรค และ การปรับพฤติกรรมเพื่อลดการกระตุ้นการเกิดโรค รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยาควบคุมการเกิดโรคหืดหอบ ผู้ป่วยต้องใช้เป็นประจำ เพื่อการรักษาอาการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ( Inhaled Corticosteroid ) และ ยากลุ่มอื่น ๆ เช่น ยาต้านลิวโคไทรอีน ( Leukotriene Modifier Antagonist ) เป็นต้น
  • การบรรเทาอาการหอบหืด ได้แก่ การใช้ยาพ่นขยายหลอดลม
  • การปรับพฤติกรรมต่างๆที่กระตุ้นการเกิดโรคหืดหอบ เช่น รักษาความสะอาดของสภาพแวดล้อม การไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป การไม่ออกแรงมากเกินไป เป็นต้น

การป้องกันโรคหืดหอบ  

แนวทางการป้องกันโรคหืดหอบ เป็นสิ่งที่สำคัณและควรทำมากที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดโรค เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคหืดหอบให้หายขาด การดูแลตนเองและป้องกันการเกิดโรคหืดหอบ มีดังนี้

  • หมั่นตรวจร่างกาย ตรวจสอบการหายใจ ประจำปี
  • รับวัคซีนต่างๆที่กระตุ้นการเกิดโรคหิืดหอบ เช่น รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดบวม เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการถูกกระตุ้นให้เกิดโรคหืดหอบ เช่น ไม่อยู่ในสถานที่ที่สภาพอากาศไม่ดี ไม่ออกกำลังกายขณะอากาศเย็นจัด
  • หากมีอาการโรคหืดหอบ ต้องเข้าพบแพทย์และรับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ
  • เรียนรู้เรื่องการป้องกันตับพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยโรคหืดหอบ
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสม ถูกสุขอนามัย
  • ดื่นน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

โรคหืดหอบ ( Asthma ) การอักเสบของหลอดลม ภาวะการหดตัว หรือ ตีบแคบของหลอดลม แบบชั่วคราว ทำให้หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ทำให้เสียชีวิตได้ โรคของคนกรุง แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร โรคระบบทางเดินหายใจ

หลอดลมอักเสบ ( Bronchitis ) เกิดจากการติดเชื้อ อาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจเสียงดัง พบบ่อยในเด็ก ผลข้างเคียงจากภูมิแพ้ หืดหอบ สูบบุหรี่โรคหลอดลมอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ

หลอดลมอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Bronchitis เป็นโรคติดเชื้อที่หลอดลม เกิดกับเด็กเป็นส่วนมาก โรคนี้เป็นการการติดเชื้อบริเวณหลอดลม เป็นอวัยวะที่อยู่ลึกลงไปจากกล่องเสียงไปยังปอดส่วนล่าง โรคหลอดลมอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อย กล่าวได้ว่า เป็น โรคเด็ก คนช่วยอายุ 9 ถึง 15 ขวบ มีอัตราการเกิดโรคนี้มากที่สุด

สาเหตุของการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ

เราสามารถแยกสาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบได้ 2 กรณี คือ หลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน และหลอดลมอักเสบแบบเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • สาเหตุของหลอดลมอักเสบ ชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น rhinovirus, adenovirus, corona virus, influenza virus, parainfluenza virus, respiratory syncytial virus (RSV) เป็น ชนิดเหมือนกับไข้หวัด หลอดลมอักเสบชนิดนี้ จะเกิดหลังจากเป็นไข้หวัด หากไม่รักษาอย่างถูกต้อง การติดเชื้อลามไปสู่หลอดลม  หากเป็นหวัด และมีอาการไอ มีเสมหะ นานกว่า 7 วัน มีโอกาสเกิดโรคหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน
  • สาเหตุของหลอดลมอักเสบ ชนิดเรื้อรัง เป็นการอักเสบจากโรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ หรือการสูบบุหรี่ เป็นลักษณะปอดอุดตัน สังเกตุ คือ จะมีอาการไอ โดยมีเสมหะ นานกว่า 90 วัน นอกจากโรคภูมิแพ้ หืดหอบ การสูบบุหรี่แล้ว การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศบ่อยๆ เช่น ฝุ่น ควัน หรือ สารเคมี มีมีการระเหยได้

อาการของโรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุของหลอดลม เมื่อเกิดการอักเสบ ส่งผลให้ เยื่อบุหลอดลมบวม มีเสมหะในหลอดลม มีอาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงดัง ในบางราย จะมีอาการ แสบคอ เจ็บคอ หรือเจ็บหน้าอก ผู้ป่วยจะมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว

เราสามารถแยกอาการให้เห้นอย่างชัดเจนได้ดังนี้

  • มีอาการไอแบบเรื้อรัง ในช่วงเวลา 14 วันโดยไม่หาย
  • มีเลือดปน จากการไอ
  • มีไข้ ไอ และเหนื่อยหอบ
  • มีอาการไออย่างมาก
  • มีอาการเจ็บหน้าอก เวลาไอ หายใจ หรือ การเคลื่อนไหวทรวงอก
  • เกิดอาการหอบเหนื่อยทันที หลังจากการไอ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอังเสบ หากไม่รักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้เกิดการอักเสบลามไปถึงปอด เช่น เกิดปอดอักเสบ หรือโรคถุงลมโป่งพองได้

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบ

สำหรับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคนี้ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ฟังเสียงปอด ฟังเสียงหลอดลม การที่เสมหะมีสีขาว หรือสีเขียว ตรวจภาพรังสีทรวงอก

การรักษาโรคหลอดลมอักเสบ

หากป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ ชนิดเฉียบพลัน ร่างกายสามารถรักษาให้หายได้ภายใน 10 วัน การรักษานั้น สามารถตัว โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยาต้านจุลชีพ การปฏิบัติตนเพื่อรักษาโรคหลอดลมอักเสบ มีดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ เนื่องจาก น้ำอุ่นช่วยละลายเสมหะได้ดีที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการระคายเคืองหลอดลม เช่น การสูบบุหรี่ การสูดดมควัน และทุกอย่างที่ระคายเคืองหลอดลม
  • หลีกเลี่ยงอากาศเย็นและอากาศแห้ง เนื่องจากอากาศเย็น จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ส่งผลให้ไอมากขึ้น
  • ให้รักษาความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เช่น ห่มผ้า ใส่ถุงเท้า ใส่หมวก หรือพันผ้าพันคอ

การรักษาโรคหลอดลมอักเสบ นั้น ต้องหาสาเหตุของการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ เนื่องจากจะช่วยให้เราสามารถป้องกันและรักษาอย่างเร็วที่สุด การรักษาจากการปฏิบัติตัว สามารถทำควบคู่กับการรักษาตามอาการโรค ด้วยยารักษาโรค เช่น ยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม

หากเกิดโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง แสดงว่าร่างกายเกิดการติดเชื้อโรค ซึ่งเราต้องหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคให้เจอ และรับประทานยาป้องกันจุลชีพ ยาต้านจุลชีพ สามารถใช้ได้หากผู้ป่วยไม่แพ้ยา โรคหลอดลมอักเสบ ชนิดเรื้อรัง ต้องรักษาตามสาเหตุ อาจใช้ยาลดการอักเสบของหลอดลม  ยาขยายหลอดลม และหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม

การป้องกันการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ

การป้องกันการเกิดโรคให้ลดปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการระคายเคืองหลอดลมทั้งหมด รายละเอียด ดังนี้

  • ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเย็น
  • อย่าเครียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากจำเป็นต้องสัมผัสอากาศเย็น ให้ใส่เครื่องที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการสูดดม ควัน กลิ่นฉุน ควันบุหรี่ สารเคมี ฝุ่นและสารระคายเคืองต่างๆ

โรคหลอดลมอักเสบ ( Bronchitis ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงดัง พบบ่อยในเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เป็นผลข้างเคียงของโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ หรือ การสูบบุหรี่


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove