ลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม สรรพคุณขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ ลักษณะของต้นลูกใต้ใบเป็นอย่างไร โทษของลูกใต้ใบมีอะไรบ้าง

ลูกใต้ใบ

ลูกใต้ใบ ภาษาอังกฤษ เรียก Egg woman พืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ทวีปอเมริกา ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ชื่อวิทยาศาสตร์ของลูกใต้ใบ คือ Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของลูกใต้ใบ เช่น หญ้าใต้ใบ ต้นใต้ใบ หญ้าลูกใต้ใบ หมากไข่หลัง ไฟเดือนห้า หญ้าใต้ใบขาว หน่วยใต้ใบ มะขามป้อมดิน จูเกี๋ยเช่า เป็นต้น

ลูกใต้ใบ พืชตระกูลเดียวกับมะขาป้อม พืชที่มีประโยชน์ทางสมุนไพร สรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ

ชนิดของลูกใต้ใบ

สำหรับต้นลูกใต้ใย สามารถแบ่งชนิดได้ 4 ชนิด ประกอบด้วย

  • Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn.
  • Phyllanthus debilis Klein ex Willd.
  • Phyllanthus urinaria L. (หญ้าใต้ใบ)
  • Phyllanthus virgatus G.Forst.

ในประเทศไทยมีการค้นพบลูกใต้ใบเพิ่มเติมอีก 3 ชนิด คือ ลูกใต้ใบดอกขาว ( Phyllanthus sp.1 ) ลูกใต้ใบตีนชี้ ( Phyllanthus sp.2 ) และ ลูกใต้ใบหัวหมด ( Phyllanthus sp.3 )

ลักษณะของต้นลูกใต้ใบ

ต้นลูกใต้ใบ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น อายุเพียงปีเดียว ลักษณะของต้ยลูกใต้ใบ มีดังนี้

  • ลำต้นลูกใต้ใบ ลำต้นมีรสขมมาก ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นมีขน แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบลูกใต้ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบแบบขนนกชั้นเดียว โคนใบมนแคบ ปลายใบมนกว้าง มีหูใบ สีขาวนวล
  • ดอกลูกใต้ใบ ดอกเป็นช่อ ขนาดเล็ก สีขาว ดอกออกบริเวณโคนของก้านใบ กลีบดอกเป็นรูปไข่ ขอบกลีบมีสีอ่อน
  • ผลลูกใต้ใบ ลักษณะกลมแบน ผลของผิวเรียบ สีเขียวอ่อน ผลจะเกาะติดที่ใต้โคนใบ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกใต้ใบ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกใต้ใบ มีสารอาการสำคัญ ประกอบด้วย ธาตุโซเดียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุอะลูมิเนียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคดเมียม และ สารหนู

สารเคมีที่พบในลูกใต้ใบ ประกอบด้วย สารแทนนิน ( Tannins ) ฟลาโวนอยด์ ( Flavonoids ) ลิกแนนส์ ( Lignans ) ไกลโคไซด์ ( Glycosides ) และ ซาโปนิน ( Saponin ) เป็นต้น

สรรพคุณลูกใต้ใบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลูกใต้ใบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ทั้งตน ใบ และ ผล สรรพคุณของลูกใต้ใบ มีดังนี้

  • รากลูกใต้ใบ สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยลดไข้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ใบลูกใต้ใบ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา รักษาโรคตา ช่วยลดไข้ รักษามาลาเรีย แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการคัน รักษาแผลสด รักษาแผลฟกช้ำ
  • ทั้งต้นลูกใต้ใบ สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไข้ แก้ไอ แก้หืด แก้กระหายน้ำ  ช่วยขับเสมหะ รักษาดีซ่าน บำรุงสายตา แก้ท้องเสีย ป้องกันพยาธิในเด็ก ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูขาว ชวยขับประจำเดือน รักษาไข้ทับระดู รักษากามโรค รักษาเริม รักษาฝี
  • ผลลูกใต้ใบ สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ รักษาพิษตาซาง บำรุงตับ แก้ปวดหลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของลูกใต้ใบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลูกใต้ใบ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • ลูกใต้ใบมีสรรพคุณขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ห้ามใช้ลูกใต้ใบ เพราะ อาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับ ก่อนใช้สมุนไพรลูกใต้ใบ ควรศึกษาให้ละเอียด เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม สรรพคุณ โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ ลักษณะของต้นลูกใต้ใบเป็นอย่างไร โทษของลูกใต้ใบ มีอะไรบ้าง

ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี Pulmonary Embolism ภาวะการอุดกั้นในปอดจากกลิ่มเลือด ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แขนขาบวม อันตรายทำให้เสียชีวิตอย่างกระทันหันได้ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี โรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอด

โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด มีปัจจัยหลายประการ เช่น ภาวะพันธุกรรม อายุ โรคประจำตัว และ พฤตอกรรมการใช้ชีวิตในประจำวัน โรคนี้เป็นเพชรฆาตเงียบ คนแข็งแรงก็สามารถเสียชีวิตได้ หากประมาท โรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูง รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

สำหรับสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด เราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 ประเภท คือ สาเหตุจากการเกิดโรคมาก่อน และ สาเหตุที่ไม่พบว่ามีการเกิดโรคมาก่อน ซึ่ง สาเหตุของการเกิดโรคจากการเกิดโรคมาก่อน เช่น เกิดเมื่อได้รับการผ่าตัดและ ต้องนอนนิ่งๆเป็นเวลานานๆ การป่วยเป็นมะเร็งบางชนิด การรับประทานยาบางประเภท ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นต้น ส่วนในสาเหตุการเกิดอีกประเภท คือ การเกิดลิ่มเลือดอุดตันโดยไม่มีสาเหตุของอาการมาก่อน

สาเหตุของการเกิดโรค มีปัจจัยสำคัญจากพฤติกรรมเสี่ยง ที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ และ การไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด สามารถสรุปปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรค ดังนี้

  • อายุของผู้ป่วย คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมากที่สุด
  • ภาวะทางพันธุกรรม สำหรับคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเคนเป็นโรคลิ่มเลือด อาจมีความความเสี่ยงให้เกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอดมากขึ้น
  • การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรง เช่น กระดูกหัก กล้ามเนื้อฉีก การถูกกระแทดอย่างรุนแรง เป็นต้น
  • การเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคเหล่านี้มัโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด
  • เคยเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ หรือ เข้ารับการทำเคมีบำบัด
  • อยู่ในภาวะร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น
  • การสูบบุหรี่
  • โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน
  • ภาวะตั้งครรภ์
  • การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

อาการของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด จะแสดงอาการต่างๆ ซี่งความรุนแรงขึ้นอยู่กับขนาดของลิ่มเลือดที่อุดตันในปอด โดย อาการต่างๆ สามารถสังเกตุ ได้ดังนี้

  • หายใจไม่ออก หายใจลำบาก โดยเกิดแบบฉับพลัน และ จะมีอาการหนักขึ้นหากออกแรง หรือ ออกกำลังกาย
  • เจ็บหน้าอก รู้สึกแน่นหน้าอก เมื่อหายใจเข้าลึกๆ อาการเจ็บหน้าอกจะไม่หายแม้นั่งพักแล้วก็ตาม
  • มีอาการไอเป็นเลือด มีเลือดปนมากับเสมหะเวลาไอ
  • มีไข้สูง
  • วิงเวียนศีรษะ
  • เหงื่อออกมาก
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ชีพจรเต้นอ่อน
  • ผิวมีสีเขียวคล้ำ
  • ปวดขา และ มีอาการขาบวมเฉพาะน่อง
  • หน้ามืดเป็นลม และ หมดสติ

อาการต่างๆนี้ มีอาการของโรคที่รุนแรง ผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดไปอุดตันในปอด สามารถเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดตั้นในปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้ คือ การรักษาลิ่มเลือดที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้น และ ไม่ให้เกิดลิ่มเลือดใหม่ หากรักษาได้ทัน จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน แนวทางการรักษาโรค มีดังนี้

  • การใช้ยารักษา โดยใช้ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และ ยาสลายลิ่มเลือด
  • การสอดท่อเข้าทางหลอดเลือด เพื่อกำจัดลิ่มเลือดที่อุดตัน
  • การใช้ตะแกรงกรองลิ่มเลือด เพื่อไม่ให้ไปอุดกั้นที่ปอด การรักษาแนวทางนี้ สำหรับคนที่ไม่สามารถรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดได้
  • การผ่าตัด โดยผ่าตัดกำจัดลิ่มเลือด

การป้องกันโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

แนวทางการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด คือ การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด แนวทางการป้องกัน มีดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในมาตราฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น เป็นสิ่งจำเป็นช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้
  • เลิกสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทั้งหลายทั้งปวง

โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี ( Pulmonary Embolism ) ภาวะการอุดกั้นในปอด ที่เกิดจากกลิ่มเลือด ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย และ ไอ เป็นอันตรายทำให้เสียชีวิตอย่างฉับพลันได้ สาเหตุ อาการ และ การรักษา ทำอย่างไร