โรคเบาหวานขึ้นตา ระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลต่อสุขภาพดวงตา ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน  ทำให้ลานตาบวมน้ำ เลือดออกในวุ้นตา แนวทางการรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา ทำอย่างไร

เบาหวานขึ้นตา โรคตา โรคไม่ติดต่อ โรคจากเบาหวาน

เบาหวานขึ้นตา หรือ โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ (Diabetes retinopathy) ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ถือเป็นโรคตา โรคที่เกี่ยวกับตา สัญญาณและอันตรายจากเบาหวานขึ้นตา นั้นในระยะแรกของโรคผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการ บางรายมีอาการสายตาพล่ามัว เห็นเงาคล้ายหยากไย่  บางรายเห็นภาพบิดเบี้ยว แต่ในบางรายไม่แสดงอาการเลยแม้อยู่ในระยะรุนแรง แต่หากปล่อยไว้โดยไม่เข้ารับการรักษา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด

สาเหตุของโรคเบาหวานขึ้นตา

โรคเบาหวานขึ้นตาสาเหตุหลักเกิดจากโรคเบาหวาน เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดที่เรตินาหรือจอตาได้รับความเสียหายจากน้ำตาลอุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ส่งผลกระทบต่อดวงตา โดยสามารถระบุลักษณะการเกิดโรคจากสาเหตุต่างๆ ได้ดังนี้

  1. การรั่วของน้ำจากผนังหลอดเลือด ซึ่งเราเรียกว่า Exudate
  2. ผนังของหลอดเลือดในบางส่วน มีอาการโป่งออกมา ซึ่งเราเรียกว่า Aneurysm
  3. เมื่อเกิดการขาดเลือด ทำให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดใหม่เพื่อไปเลี้ยงส่วนที่ขาดเลือด และเส้นเลือดใหม่นี้เกิดขาดเราเรียกว่า proliferative
  4. เส้นเลือดเส้นใหม่ที่งอกออกมา ไม่แข็งแรงแตกง่ายเป็นสาเหตุของการตาบอด
  5. พบว่ามีเลือดออกที่จอรับภาพ เราเรียกว่า Haemorrhage
  6. พบว่ามีเส้นเลือดบางส่วน เกิดการตีบการตัน ซึ่งส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงจอรับภาพไม่พอ

อาการของเบาหวานขึ้นตา

การแสดงอาการของโรคเบาหวานขึ้นตา ผู้ป่วยจะแสดงอาการที่คุณภาพการมองเห็นที่ผิดปรกติ แต่ในระยะแรกจะมองเห็นปรกติ และต่อมา สายตาพล่ามัวลงและอาจจะลุกลามไปถึงจุดรับภาพ ( macula ) การมองภาพอาจเห็นภาพบิดเบี้ยว ลานสายตาจะผิดปรกติจากการบวมน้ำ สายตาจะมืดลงเป็นแถบๆ สายตามืดลงอย่างกระทันหัน มีเลือดออกในน้ำวุ้นตาอย่างกระทันหัน

สำหรับอาการสายตาที่มัวลงเกิดจากการผิดปรกติของเส้นเลือด สามารถแบ่งอาการผิดปรกติได้ 4  กรณี ประกอบด้วย

  • กรณีแรก คือ เกิดการรั่วของน้ำหรือไขมัน โดยรั่วออกมาในเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อจอประสาทตามีอาการบวม หากเกิดการบวมตรงกลางจอประสาทตา จะทำให้การรับภาพไม่ชัดเจน
  • กรณีที่สอง คือ การที่เส้นเลือดมีอาการเสื่อมตัว ทำให้เกิดการอุดตัน ส่งผลต่อเนื้อเยื่อประสาทตาขาดเลือด เกิดอาการอักเสบและตาย ทำให้เนื้อเยื่อบวม และ มีการงอกใหม่ของเส้นเลือดเพื่อชดเชยส่วนที่ตาย ทำให้จอประสาทตาบวม ส่งผลต่อการมองเห็นที่ไม่ชัด
  • กรณีที่สาม คือ การที่เส้นเลือดเกิดแตก และมีเลือดไหลออกในเนื้อเยื่อลูกตา ทำให้การมองเห็นเป็นเงาและมัว
  • กรณีที่สี่ คือ การที่เนื้อเยื่อของจอประสาทตาเกิดพังผืด และไปดึงรั้งเนื้อเยื่อจอประสาทตา ทำให้เกิดภาวะจอประสาทตาลอก  ต้องรับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดตาบอดได้

ระยะของการเกิดโรค

สำหรับโรคเบาหวานขึ้นจอตา นั้นสามารถแบ่งโรคได้เป็น 2 ระยะ คือ เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก และเบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง รายละเอียด ดังนี้

  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก ในระยะนี้ยังไม่มีหลอดเลือดฝอยที่ตางอกขึ้นใหม่
  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง ในระยะนี้เกิดหลอดเลือยฝอยงอกขึ้นใหม่

ไม่ว่าการเกิดเบาหวานขึ้นตาในระยะใดก็ตามจะทำให้เกิดภาวะจอตาบวม ทำให้ความสามารถในการมองเห็นเสื่อมคุณภาพ เกิดอาการพล่ามัว ซึ่งปัจจัยของการเกิดเบาหวานขึ้นตานั้น มีปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย

  • คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานาน
  • คนป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • การมีไตวายจากเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง
  • ผู้หญิงที่มีอาการโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา เบื้องต้นต้องควบคุมโรคเบาหวาน หากอาการเบาหวานขึ้นตามากจะใช้การรักษาด้วยการยิงแสงเลเซอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้น เพื่อทำลายหลอดเลือดที่เกิดใหม่ และรักษาอาการบวมในตา โดยในปัจจุบัน การรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา มี 3 วิธี ประกอบด้วย การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ การใช้ยารักษาและ การผ่าตัด โดยรายละเอียด ประกอบด้วย

  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยแสงเลเซอร์ เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาในระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ และ ผู้ป่วยมีจุดภาพชัดบวม แสงเลเซอร์จะทำให้หลอดเลือดที่ผิดปกติฝ่อลง
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยยา เป็นการรักษาโดยการฉีดยา เพื่อลดการรั่วของหลอดเลือด ยาที่ใช้ในการรักษาปัจจุบัน มี 2  กลุ่ม คือ ยาสเตียรอยด์ และ ยาต้านการสร้างหลอดเลือดใหม่
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่เกิดเลือดออกในวุ้นตาจะถูกดูดซึมใน 3 สัปดาห์ และอาจทำให้เกิดพังผืดที่วุ้นตา จึงจำเป็นต้องผ่าตัดวุ้นตา เพื่อไม่ให้โรคลุกลาม

การป้องกันเบาหวานขึ้นตา

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา ต้องจัดการที่สาเหตุหลักของการเกิดโรค คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ต้องดูแลร่างกายไม่ให้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตน มีวิธีดังต่อไปนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีรสเค็ม หวาน และมีไขมันสูง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ลดละเลิกการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานยารักษาเบาหวานตามกำหนดที่แพทย์สั่ง
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • หากมีอาการผิดปรกติเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น ตามัว มองไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นจุดดำ เป็นต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรค

ไขมันพอกตับ ภาวะไขมันเกาะที่ตับสูง เกิดจากไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาการปวดชายโครงด้านขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก อ่อนเพลีย ไขมันในเส้นเลือดสูงไขมันพอกตับ ไตรกรีเซอไรด์ในเลือดสูง ไขมันเกาะที่ตับ โรคตับ

สำหรับ ภาวะไขมันพอกตับ เป็นโรคที่เกิดมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบมากถึง ร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร แต่ในประเทศไทยพบว่ามีอัตราการเกิดที่ ร้อยละ 9 ของจำนวนประะชากร ซึ่งเกิดกับประชากรอายุ 40 ถึง 50 ปี ที่อัตราการเผาผลาญไขมันเริ่มลดลง แต่ความน่ากลัวของโรคนี้ คือ ร้อยละ 50 ของคนที่เป็นโรคไขมันพอกตับ ไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะแรกของการเกิดโรค

กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ คนอ้วน รวมถึง ผู้ป่วยโรคไขมันโลหิตสูง พบว่าร้อยละ 90 ของคนกลุ่มนี้ เป็น โรคไขมันพอกตับ ซึ่งสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่า ท่านกำลังจะเป็น โรคไขมันพอกตับ คือ

  • การเกิดไขมันสะสมที่หน้าท้อง และมีน้ำหนักตัวมากขึ้น
  • ระดับคอเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
  • รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย
  • เจ็บและตึงๆ ที่ชายโครงด้านขวา
  • มีอาการเบื่ออาหาร และคลื่นไส้อาเจียนเป็นบางครั้ง

ภาวะไขมันพอกตับ นั้นเป็นความผิดปกติของตับ ไม่ต้องดื่มสุรามากก็เกิดได้ ที่สำคัญการที่เกิดภาวะไขมันพอกตับ สามารถนำไปสู่ภาวะตับวายและมะเร็งตับได้ในอนาคต

สาเหตุของการเกิดโรคไขมันพอกตับ

สำหรับสาเหตุการเกิดโรคไขมันพอกตับ นั้นสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุ รายละเอียด ดังนี้

  • เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์สะสมในร่างกาย
  • ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ โรคนี้เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงานของร่างกายด้อยคุณภาพ

กลไกการเกิดโรคไขมันพอกตับ นั้น ตับทำหน้าที่เก็บสะสมพลังงานจากการรับประทานอาหาร หากมีการรับประทานอาหารมากเกินไป ทำให้เกิดไขมันสะสมในตับ เมื่อตับไม่สามารถย่อยสลายไขมันได้ตามปรกติ จึงทำให้ไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับ สามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคได้ 4 ระยะ ซึ่งความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อยๆ รายละเอียด ดังนี้

  • ไขมันพอกตับ ระยะแรก ในระยะนี้ เริ่มมีไขมันก่อตัวที่เนื้อตับ ในระยะนี้ไม่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ หรือ เกิดพังผืดที่ตับ
  • ไขมันพอกตับ ระยะที่สอง ในระยะนี้ ผู้ป่วยเริ่มมีอาการตับอักเสบ และหากปล่อยไว้ให้อักเสบ โดยไม่ทำการรักษา จะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และ จะรุนแรงมากขึ้นในระยะต่อไป
  • ไขมันพอกตับ ระยะที่สาม เริ่มเกิดผังผืดที่ตับ และ เนื้อตับจะค่อยๆถูกทำลาย เป็นการอักเสบของตับอย่างรุนแรง
  • ไขมันพอกตับ ระยะที่สี่ ในระยะนี้ เนื้อตับจะถูกทำลายมาก ตับไม่สามารถทำงานได้ จะเริ่มเข้าสู่ การเกิดโรคตับแข็ง หรือ มะเร็งตับ ได้

อาการของผู้ป่วยไขมันพอกตับ

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ จะมีอาการตับอักเสบ ซึ่งจะรู้สึกเจ็บที่ท้อง ปวดชายโครงด้านขาว มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก มีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน อาการของโรคนี้จะค่อยๆเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หากเกิดตับอักเสบ จึงจะพบว่าเกิดโรคไขมันพอกตับ

การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ

โดยทั่วไป การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ แพทย์จะสัมภาษณ์ถึงลักษณะอาการที่เกิดขึ้น การใช้ชีวิตประจำวัน จากนั้นทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาล ระดับไขมัน และค่าเอนไซม์ของตับ ทำการอัลตร้าซาวด์ดูภาพของตับ รวมถึงการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคไขมันพอกตับ

แนวทางการรักษาไขมันพอกตับ ต้องมุ่งไปที่การลดไขมันสะสมที่ตับ และรักษาอาการอักเสบของตับร่วมด้วย เพื่อหยุดยั้งอาการของโรค ผู้ป่วยต้องรับประทานยา รักษาเบาหวานและยาลดไขมันที่ตับ แต่จะให้ดีที่สุดก็คือ ลดอาหารหวาน ลดอาหารมัน และออกกำลังกาย

การป้องกันการเกิดโรคไขมันพอกตับ

สามารถปฏิบัติตนได้ โดยการลดภาวะความเสี่ยงของการเกิดโรคโดยการควบคุมเรื่องการกินอาหาร ไม่ให้อ้วน จนเป็นสาเหตุของการเกิดโรค

  • ต้องรักษาน้ำหนักตัวให้อยูในเกิดปรกติ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม
  • การควบคุมอาหารให้พอประมาณ
  • ลดและเลิกการดื่มสุรา
  • หลีกเลี่ยงการกินยาโดยไม่จำเป็น

ดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ

สำหรับผุ้ป่วยโรคไขมันพอกตับต้องดูแลตนเอง ดังนี้

  • ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การกินยาต้องเป็นยาที่แพทย์แนะนำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงผิดปกติ นั้นเกิดจากการกินอาหารไม่ถูกสัดส่วนทำให้เกิดพลังงานสะสมในร่างกายมากเกินไป การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย สามารถทำได้โดย

  1. ลดการกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล ข้าว แป้ง
  2. งดกินอาหารประเภทไขมัน เช่น อาหารทอด หนังไก่ หนังเป็ด หมูกรอบ หมูสามชั้น เป็นต้น รวมถึงอาหารประเภทกะทิด้วย
  3. ทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ผัก และผลไม้ เป็นต้น
  4. เลิกดื่มสุราทุกชนิด
  5. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ

สำหรับคนที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ควรควบคุม และรักษาโรคควบคู่กันไป เพื่อทำให้ตับสร้างไตรกลีเซอไรด์น้อยลง และขจัดไขมันในเลือดได้ดีขึ้น

โรคไขมันพอกตับ ภาวะไขมันเกาะที่ตับสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาการปวดชายโครงด้านขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน โรคเสี่ยงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove